xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! ผลิตภัณฑ์น้ำมันพลูคาว ช่วยรักษาเอชไอวีได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากที่มีการนำผลิตภัณฑ์น้ำมันพลูคาวมาจำหน่าย โดยระบุสรรพคุณตามข้อความข้างต้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลงานวิจัยที่สามารถนำมายืนยันว่า สมุนไพรพลูคาว สามารถช่วยรักษาเอชไอวีได้แต่อย่างใด และจากข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาต พบผลิตภัณฑ์ยาที่มีพลูคาวเป็นส่วนประกอบ โดยได้รับอนุญาตในสรรพคุณบรรเทาอาการน้ำเหลืองเสียเท่านั้น

วันนี้ (26 ม.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ผลิตภัณฑ์น้ำมันพลูคาว ช่วยรักษาเอชไอวีได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากที่มีการนำผลิตภัณฑ์น้ำมันพลูคาวมาจำหน่าย โดยระบุสรรพคุณว่า สามารถใช้ต้านเอชไอวี ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้ามาสู่ร่างกาย ได้นั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลงานวิจัยที่สามารถนำมายืนยันว่า สมุนไพรพลูคาว สามารถช่วยรักษาเอชไอวีได้แต่อย่างใด

ซึ่งพลูคาวเป็นพืชสมุนไพร ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata Thunb จัดอยู่ในวงศ์ Saururaceae มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ผักก้านตอง เป็นต้น พลูคาวเป็นพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นคาวจัด นิยมใช้ส่วนใบในการปรุงเป็นอาหารและยา โดยจะมีสรรพคุณช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ และจากการสืบค้นระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบผลิตภัณฑ์ยาที่มีพลูคาวเป็นส่วนประกอบ โดยได้รับอนุญาตในสรรพคุณ “บรรเทาอาการน้ำเหลืองเสีย” เท่านั้น

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพ หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1556 และสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลงานวิจัยที่สามารถนำมายืนยันว่า สมุนไพรพลูคาว สามารถช่วยรักษาเอชไอวีได้แต่อย่างใด และจากข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาต พบผลิตภัณฑ์ยาที่มีพลูคาวเป็นส่วนประกอบ โดยได้รับอนุญาตในสรรพคุณ “บรรเทาอาการน้ำเหลืองเสีย” เท่านั้น

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)


กำลังโหลดความคิดเห็น