จากประเด็นพายุหลิ่นฟาและดานัง จะเข้าไทย 11-20 ต.ค นี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ชี้แจงว่า พายุที่จะเกิดขึ้นลำดับต่อไปตามตารางความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ จะได้ชื่อว่าพายุ หลิ่นฟา (LINFA) และลูกต่อไปจะได้ชื่อว่า ชื่อนังกา (NANGKA) ไม่ใช่ดานัง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเฝ้าติดตามของทางกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด
วันนี้ (10 ต.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวเตือนภัยเรื่อง พายุหลิ่นฟาและดานัง จะเข้าไทย 11-20 ต.ค นี้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน
จากประเด็นข้อความเตือนภัยพายุหลิ่นฟาและดานัง จะเข้าไทย 11-20 ต.ค นี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงว่าช่วงวันที่ 10-14 ต.ค. 63 คาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ซึ่งมีโอกาสจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุได้ และเคลื่อนตัวทางตะวันตก เข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม หากทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน พายุจะได้ชื่อว่า หลิ่นฟา (LINFA) (กรณีถ้าไม่มีตัวอื่นมาแทรกและเกิดก่อน ) แต่ในช่วงวันเวลาดังกล่าวจะมีความกดอากาศสูง (มวลอากาศเย็น) จากประเทศจีน แผ่ลงมาและจะทำให้พายุเปลี่ยนทิศทางไปทางเหนือ เข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยในระยะต่อไป
ส่วนลำดับชื่อพายุลูกต่อไปหากมีการก่อตัว และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน จะได้ชื่อว่า นังกา (NANGKA) ซึ่งมีหมายถึง “ขนุน” เป็นภาษามาเลเซีย ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังและติดตามของทางกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 10-14 ตุลาคม 2563 คาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น เคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามและเคลื่อนตัวไปทางเหนือ เข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยในระยะต่อไป
จากพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 9-15 ตุลาคม 2563 จะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ตอนล่างภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกประกอบกับมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภาคใต้ มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตก หนักบางแห่งตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ตุลาคม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนบน จะเคลื่อนที่ลงสู่ทะเลอันดามันต่อไปในขณะที่มรสุมรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคใต้ มีฝนตกบางแห่งกับมีลมแรง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณอันดามัน และอ่าวไทย มีกำลังแรงโดย ทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร หลังจากนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลัง อ่อนลง ทำให้คลื่นลมมีกำลังอ่อนลง
ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สามารถติดตามได้ www.tmd.go.th หรือโทร. 1182
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ขณะนี้หย่อมความกดอากาศต่ำได้เคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนบน ลงสู่ทะเลอันดามันแล้ว ส่วนพายุที่จะเกิดขึ้นลำดับต่อไปตามตารางความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ จะได้ชื่อว่าพายุ หลิ่นฟา (LINFA) และลูกต่อไปจะได้ชื่อว่า ชื่อนังกา (NANGKA) ไม่ใช่ดานัง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเฝ้าติดตามของทางกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด