จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อความในสื่อโซเชียลมีเดียว่า ช่วงนี้ให้งดรับประทานหมู เนื่องจากขณะนี้หมูติดโรค ทางกรมปศุสัตว์ได้ชี้แจ้งว่า ข้อความที่ส่งต่อกันโซเชียลมีเดียไม่เป็นความจริง คาดว่าเป็นขบวนการปล่อยข่าวเพื่อกดราคาสุกรของพ่อค้าคนกลาง ซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยงในช่วงโควิด-19 เพราะการกล่าวอ้างถึงโรคระบาดสัตว์ มักสร้างความตระหนกแก่ประชาชนได้ง่าย
วันนี้ (8 ก.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง หมูติดโรคตายเกลื่อน ชี้ควรงดรับประทานหมู ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จโดย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อความในสื่อโซเชียลมีเดียว่า ช่วงนี้ให้งดรับประทานหมู เนื่องจากขณะนี้หมูติดโรค ทางกรมปศุสัตว์ได้ชี้แจ้งว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยคาดการว่าอาจเป็นขบวนการปล่อยข่าวเพื่อกดราคาสุกรของพ่อค้าคนกลาง ซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยงในช่วงโควิด-19 เพราะการกล่าวอ้างถึงโรคระบาดสัตว์ มักสร้างความตระหนกแก่ประชาชนได้ง่าย และภาพสุกรที่นำมาประกอบนั้นคาดว่าน่าจะเป็นของประเทศอื่น เนื่องจากตามหลักปฏิบัติของกรมปศุสัตว์แล้ว จะยึดหลักการพื้นฐานด้านการควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ตามมาตรฐานสากลอย่างเข้มงวด
ซึ่งกระบวนการผลิตเนื้อสุกรของไทย มีมาตรฐานกรมปศุสัตว์รองรับ ทำให้ได้เนื้อสุกรที่มีคุณภาพปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับได้ ผู้บริโภคสามารถนำไปปรุงสุกและรับประทานได้อย่างมั่นใจ อีกทั้งทางกรมปศุสัตว์มีมาตรการในการป้องกัน และควบคุมโรคระบาดในสุกร ตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ดังนั้น ขอเกษตรกรและประชาชนเชื่อมั่นในมาตรการดังกล่าว ซึ่งดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ เพียงซื้อสุกรจากแหล่งผลิตและผู้จำหน่ายที่ได้รับสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” โดยต้องปรุงสุกทุกครั้งเพื่อสุขอนามัยที่ดี
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมปศุสัตว์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dld.go.th หรือโทร. 02 6534444
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อความที่ส่งต่อกันโซเชียลมีเดียไม่เป็นความจริง คาดว่าเป็นขบวนการปล่อยข่าวเพื่อกดราคาสุกรของพ่อค้าคนกลาง ซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยงในช่วงโควิด-19 เพราะการกล่าวอ้างถึงโรคระบาดสัตว์ มักสร้างความตระหนกแก่ประชาชนได้ง่าย