ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในประเด็นเรื่อง ส่ง SMS แจ้งลิงก์ ให้ดาวน์โหลดแอป "ไทยชนะ" ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบ พบเป็นข้อมูลเท็จ ทางภาครัฐฯ ไม่ได้เป็นผู้ส่ง SMS ดังกล่าว และ “ไทยชนะ” เป็นแพลตฟอร์มไม่ใช่แอปพลิเคชันใดๆ จึงไม่ต้องดาวน์โหลดแอปตามที่กล่าวอ้าง
วันที่ 24 พ.ค. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในประเด็นเรื่อง ส่ง SMS แจ้งลิงก์ ให้ดาวน์โหลดแอป "ไทยชนะ" ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) พบว่าข้อมูลที่ปรากฏดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มี SMS ส่งลิงก์ให้ประชาชนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันไทยชนะ ทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้ชี้แจ้งว่า ทางภาครัฐฯ ไม่ได้เป็นผู้ส่ง SMS ดังกล่าว และ “ไทยชนะ” เป็นแพลตฟอร์มไม่ใช่แอปพลิเคชันใดๆ จึงไม่ต้องดาวน์โหลดแอปตามที่กล่าวอ้าง
ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งในวิธีการล่อลวงข้อมูลจากประชาชน ทันทีที่กดเข้าเว็บ จะมีการพยายามดาวน์โหลดแอป Thaichana.apk เข้ามาในเครื่อง หากกดติดตั้งอาจถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวได้
ทั้งนี้ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อเว็บไซต์ thaichana.pro, thai-chana.asia และ thaichana.asia หรืออื่นๆ เพราะเป็นลิงก์เว็บปลอม เว็บไซต์ของจริงจะใช้ชื่อว่า www. ไทยชนะ .com หรือ www.thaichana.com เท่านั้น โดยหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรสายด่วน 1119 ได้ตลอด 24 ชม.
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เฟซบุ๊ก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) หรือโทร 1111
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ทางภาครัฐฯ ไม่ได้เป็นผู้ส่ง SMS ดังกล่าว และ “ไทยชนะ” เป็นแพลตฟอร์มไม่ใช่แอปพลิเคชันใดๆ จึงไม่ต้องดาวน์โหลดแอปตามที่กล่าวอ้าง