xs
xsm
sm
md
lg

เยาวชนไทยจากทั่วประเทศ เข้าร่วมแข่งขัน Thailand Robot & Coding Challenge 2025 ‘หนูน้อยวิศวกร อัจฉริยะสร้างได้ตั้งแต่เด็ก’

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงาน Thailand Robot & Coding Challenge 2025 ‘หนูน้อยวิศวกร อัจฉริยะสร้างได้ตั้งแต่เด็ก’ เยาวชนไทยจากทั่วประเทศ เข้าร่วมแข่งขันคับคั่ง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงาน Thailand Robot & Coding Challenge 2025 ‘หนูน้อยวิศวกร อัจฉริยะสร้างได้ตั้งแต่เด็ก’ พัฒนาเยาวชนไทย สู่การเป็น นักคิด นักประดิษฐ์ และนักนวัตกรรมแห่งอนาคต ผ่านการเรียนรู้ด้านหุ่นยนต์และการเขียนโปรแกรม ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อโลกยุคดิจิทัลและอุตสาหกรรม 5.0 ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ยอดสุดใจ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ‘ตลอดหลายปีที่ผ่านมา วิศวกรรมหุ่นยนต์หรือ “Robot” การเขียนโปรแกรม หรือ “Coding” และ ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับแบบจำลองเสมือนดิจิทัล หรือ “AI for Digital twin” ได้ปฏิวัติหลายภาคส่วนของสังคม ตั้งแต่หุ่นยนต์อัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึง หุ่นยนต์ตรวจสุขภาพและหุ่นยนต์กู้ภัย สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงพลังของการบูรณาการความรู้เชิง วิศวกรรมกับนวัตกรรมดิจิทัล และ Ai เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยสัมผัสและพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะ พร้อม ส่งเสริม “การส่งต่อทักษะทางวิศวกรรม ผ่าน การสร้าง สิ่งประดิษฐ์ อย่างต่อเนื่อง คณะ วิศวกรรมศาสตร์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยพันธมิตร พัฒนาและส่งต่อหลักสูตร Digital Cobot ที่ ครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่พื้นฐานทางด้าน อิเล็กทรอนิกส์และเซนเซอร์, การควบคุม มอเตอร์, ไปจนถึง การเขียน Coding เพื่อควบคุมหุ่นยนต์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับ ผู้ใช้งาน โดยมุ่งเน้นการบูรณาการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ ออกแบบ สร้าง และประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ได้จริงในบริบทของโลกยุคดิจิทัล ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ’
 
ทางด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรี โตแก้ว ทองรัตนะ หัวหน้าโครงการ Thailand Robot & Coding Challenge 2025 กล่าวว่า ‘ในปัจจุบัน เทคโนโลยี ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาคอุตสาหกรรม การศึกษา และชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดนวัตกรรมและอุปกรณ์อัจฉริยะที่ ช่วยอำนวยความสะดวก ตอบโจทย์การดำเนินชีวิต และเสริมศักยภาพการทำงานของมนุษย์ได้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม” อย่างยั่งยืน จึงจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องสร้างและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิศวกรรม การแก้ปัญหาเชิงระบบ และความคิดสร้างสรรค์ให้กับเยาวชนตั้งแต่ต้นน้ำ’
 
สำหรับ โครงการ “หนูน้อยวิศวกร อัจฉริยะสร้างได้ตั้งแต่เด็ก” ภายใต้การพัฒนาวิชาการของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล ได้เปิดการอบรม หลักสูตร Digital Cobot “ส่งต่อทักษะทางวิศวกรรม ผ่านการสร้างสิ่งประดิษฐ์”ให้แก่เด็ก และเยาวชนอายุ 7–17 ปี เพื่อให้ได้ฝึกฝนทักษะการออกแบบ ทดลอง และเขียน โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ผ่านการปฏิบัติจริง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567 เป็นต้นมา

จากความ สำเร็จในการอบรมและการประกวดภายในหลักสูตร Digital Cobot ทำให้เรา ต่อยอดจัดการแข่งขัน Thailand Robot & Coding Challenge 2025 ซึ่งปีนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 785 คน แบ่งเป็น Robot Challenge 323 คน และ Coding Challenge 462 คนโดยน้องๆ ที่ได้รับรางวัลต่างๆ มีดังนี้
 
การแข่งขัน Blitzstrike Robot ประเภทเดี่ยว อายุ 7 - 9 ปี
รางวัลชนะเลิศได้แก่ ธรรมจักร์ จารุสวัสดิ์
รองชนะเลิศอันดัน 1 ญฐพงศ์ กาวิเศษ
รองชนะเลิศอันดับ 2 ธัญวัช เกียรติสุข
 
การแข่งขัน Blitzstrike Robot ประเภททีม รุ่นอายุ 7 - 9 ปี
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ณัฐวรรธน์ อินทนากรวิวัฒน์ และ ทัศน์รัตน์ ปรัชญบริรักษ์
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ณปวิณ นิมานันท์ , สณัจกฤษณ์ รัตน์ธนวรกาณต์ และเธียรวิชญ์ พงษ์แก้ว
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ วสุภัทร ภัทรพงษ์ดิลก และ ธีร์นพัต ปราณีจิตต์
 
การแข่งขัน Blitzstrike Robot ประเภทเดี่ยว อายุ 10 - 12 ปี
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ณัฐณิชา แต่ผู้เจริญ
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ พรไพศาล บุญวงศ์
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ปัณณวิชญ์ เลิศวิจิตรธนา
 
การแข่งขัน Blitzstrike Robot ประเภททีม อายุ 10 - 12 ปี
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ณัฎฐพล โฆษิตฤทธิเดช และ สุริวิภา เนื้อสีจัน
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ปรานต์ ปิ่นหย่า , ณัฏฐ์ฐนนท์ กึนสี และ พชรธรรม เรืองกาญจนเศรษฐ์
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ จิรโชติ จิตตานันท์ , ทิวัตถ์ เทียนวัง และวรทย์ สุนทรนันท์
 
การแข่งขัน Scobot Robot ประเภทเดี่ยว รุ่นอายุ 13 - 15 ปี
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ กุลวัสส์ สินธพพันธุ์
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ภคพล โสภาจิตต์วัฒนะ
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ฤลดา เสมรสุวรรณ
 
การแข่งขัน Scobot Robot ประเภททีม รุ่นอายุ 13 - 15 ปี
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ พัชรวัฒน์ สุมารสิงห์ , จิรณกร งามเถื่อน และ ณัฐกรณ์ พิกุลทอง
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ญาณิดา พงษ์ศักดิ์ และ ลิขิตฟ้า ลิขิตปราชญ์กุล
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ชยกฤช ดอนมูล และ เปรมคุณา นันตา
 
การแข่งขัน Scobot Robot ประเภทเดี่ยว รุ่นอายุ 16 - 17 ปี
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ภูมิพัฒน์ สิริชยานุกุล
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ กฤตภาส ธนาผลไพบูลย์
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ตฤณ วิเศษสุข
 
การแข่งขัน Scobot Robot ประเภททีม รุ่นอายุ 16 - 17 ปี
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนธัญรัตน์
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนยอเซฟอุปถัมภ์
 
การแข่งขัน Robot for Ai& Digital Twin รุ่นอายุ 13 - 17 ปี
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนสตรีวิทยา 2
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการ ปัญญาภิวัฒน์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ธนากฤต ม่วงแก้ว ,ปภาดา สาธิตพิฐกุล และ พศิน มากเจริญ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชมเชย ได้แก่ โรงเรียนสารสาสน์ วิเทศร่มเกล้า
 
การแข่งขัน Python Competition ระดับมัธยมต้น
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม PY025
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม PY002
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม PY017
 
การแข่งขัน Python Competition ระดับมัธยมปลาย
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม PY103
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม PY038
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม PY085
 
การแข่งขัน Web development Competition ระดับมัธยมต้น
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม WEB003
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม WEB004
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม WEB001
 
การแข่งขัน Web development Competition ระดับมัธยมปลาย
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม WEB031
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม WEB019
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม WEB005
 
ภายในงานยังมีนิทรรศการจากบริษัทชั้นนำด้านหุ่นยนต์และเทคโนโลยีดิจิทัล การสาธิต นวัตกรรมและหลักสูตรใหม่ ๆ จากภาคอุตสาหกรรมจากบริษัทชั้นนำ และกลุ่มธุรกิจด้าน การศึกษา ด้านเทคโนโลยี โดยมีผู้เข้าชมงานกว่า 4,500 คน













กำลังโหลดความคิดเห็น