xs
xsm
sm
md
lg

ทำเด็กหลอดแก้วที่ Lifespan IVF สานฝันคนอยากมีลูก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คู่สมรสที่มีบุตรยากและกำลังมองหาตัวช่วย เพื่อส่งเสริมการมีบุตรที่สำเร็จได้ ขอแนะนำ Lifespan IVF ที่มีโปรแกรมการรักษาด้วยวิธีทำเด็กหลอดแก้วรองรับ จากทีมสูติ-นรีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ 

Lifespan IVF อธิบายความหมายของการทำเด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้วด้วย IVF คือการทำให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกาย อันเนื่องมาจากคู่สมรสมีปัญหาบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิสนธิภายในร่างกาย โดย IVF ย่อมาจาก In Vitro Fertilization เป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ โดยการนำไข่และอสุจิมาผสมกันภายนอกร่างกาย กระทั่งเกิดเป็นตัวอ่อนและใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกฝ่ายหญิง เพื่อให้เจริญไปเป็นทารกตามลำดับ 

ปัจจุบันวิธีการดังกล่าวถือเป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีประสิทธิภาพสูง และได้รับการยอมรับอย่างมาก ช่วยสานฝันผู้มีบุตรยากให้มีบุตรได้สำเร็จ

ขั้นตอนการรักษาของ Lifespan IVF

1.กระตุ้นรังไข่
ขั้นตอนแรกคือการกระตุ้นรังไข่ด้วยยา โดยถุงรังไข่แต่ละถุงจะมีเซลล์ไข่หนึ่งใบ การใช้ยาจะช่วยพัฒนาเซลล์ถุงรังไข่ เพื่อให้ได้ไข่ที่เหมาะกับการปฏิสนธิ วิธีการประกอบไปด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์และตรวจเลือด เพื่อสังเกตการเจริญเติบโตของถุงไข่ และระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตกไข่ 

2.เก็บเซลล์ไข่
เมื่อถุงไข่มีขนาดเหมาะสมแล้ว จะทำการเก็บไข่โดยวิธีผ่าตัดเล็ก โดยจะมีการอัลตราซาวนด์ช่องคลอดก่อน จากนั้นใช้เข็มสอดเข้าไปในผนังช่องคลอดและถุงไข่แต่ละใบ แล้วทำการดูดของเหลวกับเซลล์ไข่ออกมา 

3.เก็บอสุจิ
การเก็บอสุจิจะเป็นวันเดียวกันกับวันเก็บไข่ ซึ่งทางศูนย์จะให้คนไข้ฝ่ายชายเก็บอสุจิด้วยตัวเอง โดยใส่ภาชนะที่ทางศูนย์ Lifespan IVF จัดเตรียมไว้ให้ และอสุจิที่เก็บได้จะถูกส่งไปห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการคัดแยกอสุจิตามลำดับ โดยจะคัดเลือกอสุจิที่เคลื่อนที่ได้ดี และมีรูปร่างสมบูรณ์

4.ทำการปฏิสนธิ
ขั้นตอนต่อมาหลังจากเก็บไข่และอสุจิแล้ว จะถูกนำมาปฏิสนธิภายในห้องปฏิบัติการ โดยจะนำมาผสมกันในจานเพาะเลี้ยง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติ กระทั่งเกิดเป็นเอ็มบริโอหรือตัวอ่อน

5.ทำการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน
หลังจากได้เอ็มบริโอแล้ว จะทำการเพาะเลี้ยงพิเศษในห้องปฏิบัติการโดยนักวิทยาศาสตร์ด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนโดยเฉพาะ ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมประมาณ 3 - 5 วันโดยปกติ เอ็มบริโอจะได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามคุณภาพและการเจริญเติบโต จากนั้นจะมีการคัดเลือกเอ็มบริโอที่สุขภาพดีที่สุด 

6.ตรวจ PGT-A
ขั้นตอนต่อมาคือการทดสอบทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวอ่อน เพื่อหาโครโมโซมผิดปกติ (PGT-A) เป็นการคัดเลือกเอ็มบริโอที่มีจำนวนโครโมโซมถูกต้อง และหลีกเลี่ยงตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ขั้นตอนนี้ช่วยลดอัตราความล้มเหลวในการฝังตัวที่มดลูก ลดความเสี่ยงจากการแท้ง และลดอัตราการเกิดทารกที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

7.ย้ายเอ็มบริโอ
เอ็มบริโอที่มีสุขภาพดีจะถูกย้ายไปยังโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง วิธีการคือใช้สายสวนขนาดเล็กสอดผ่านปากมดลูกเข้าไป เพื่อฝังเอ็มบริโอไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม ในส่วนของจำนวนเอ็มบริโอที่ถูกเลือก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ อายุของเพศหญิง คุณภาพของตัวอ่อน และผลลัพธ์ของการทำ IVF ในครั้งก่อน ซึ่งจะวิเคราะห์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

8.ทดสอบการตั้งครรภ์
หลังย้ายตัวอ่อนไปแล้ว ประมาณ 10 - 14 วัน ทางศูนย์ Lifespan IVF จะนัดพบคนไข้ เพื่อตรวจเลือดหรือปัสสาวะ หา human chorionic gonadotropin (hCG) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยตัวอ่อนที่กำลังเติบโต หากผลตรวจ hCG เป็นบวก หมายความว่ามีการตั้งครรภ์ที่สำเร็จ นอกจากนั้นยังมีการอัลตราซาวนด์เพิ่มเติม เพื่อประเมินระดับฮอร์โมน ที่แสดงถึงแนวโน้มการตั้งครรภ์ที่กำลังดำเนินไป 

Lifespan IVF เป็นอีกหนึ่งสถานพยาบาลในหมวดหมู่ของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ที่โดดเด่นเรื่องของโปรไฟล์ความสำเร็จในการรักษา มาพร้อมการดูแลแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วยความใส่ใจรอบด้าน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด



กำลังโหลดความคิดเห็น