xs
xsm
sm
md
lg

เปิดตัวโครงการค่ายผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียน-นักศึกษาและหลักสูตรออนไลน์ด้านภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์ และแอนิเมชัน สำหรับประชาชนทั่วไป ภายใต้นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้อำนวยการหลักสูตร OFOS สาขาภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ สารคดี และแอนิเมชัน ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย บริษัท ซียู นิเทด เอ็กซ์เทนชั่น จำกัด, วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการค่ายผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียน-นักศึกษา

และยังร่วมกับ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, สมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์วิชาชีพสื่อบันเทิงไทย (TECNA), สมาคมนักแสดง (ประเทศไทย), สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA), สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ (TSA), บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท เกียร์เฮด จำกัด เปิดตัวหลักสูตรออนไลน์ด้านภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์ และแอนิเมชัน สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันชั้นนำ งานแถลงข่าวจัดขึ้น ณ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 โดยได้รับเกียรติจากท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเป็นประธานในการเปิดงาน

หลังจากนั้น นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี, กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) ที่มุ่งสร้างแรงงานทักษะสูงเพื่อเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนทั่วประเทศ ผ่านการพัฒนาศักยภาพและสร้างบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรในแรงงานสร้างสรรค์ ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศในอนาคต

โดยโครงการค่ายผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียน-นักศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามระดับ ดังนี้

ประเภทที่ 1 ค่ายผลิตภาพยนตร์สั้นระดับมัธยมศึกษา (จำนวน 7 โครงการ รวม 12 ครั้ง)
1. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : Bangkok และ Central (ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นที่ภาคกลาง) จำนวน 2 ครั้ง
2. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : SWU (ในพื้นที่ภาคตะวันออก) จำนวน 1 ครั้ง
3. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : KMITL (ในพื้นที่ภาคใต้) จำนวน 1 ครั้ง
4. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : Chiang Mai 1-2 (ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน) จำนวน 2 ครั้ง
5. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : MJU 1-2 (ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง) จำนวน 2 ครั้ง
6. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : Khon Kaen 1-2 (ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน) จำนวน 2 ครั้ง
7. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : MSU 1-2 (ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) จำนวน 2 ครั้ง

ประเภทที่ 2 ค่ายผลิตภาพยนตร์สั้นระดับอุดมศึกษา (จำนวน 7 โครงการ รวม 15 ครั้ง)
1.ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์บันเทิงคดีและสารคดีสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : Metropolitan Hub (ภาพยนตร์บันเทิงคดี และ ภาพยนตร์สารคดี) จำนวน 2 ครั้ง
2. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์บันเทิงคดี, ซีรีส์ และบันเทิงคดีภาคใต้ : Urban Center & Southern Sight สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (ซีรีส์, ภาพยนตร์บันเทิงคดี และภาพยนตร์บันเทิงคดีภาคใต้) จำนวน 3 ครั้ง
3. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน 2D และ 3D สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : Tech Vision (2D Animation และ 3D Animation) จำนวน 2 ครั้ง
4. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์บันเทิงคดีภาคเหนือและภาพยนตร์ทดลอง สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : Lanna Legacy (ภาพยนตร์บันเทิงคดีภาคเหนือ และ ภาพยนตร์ทดลอง) จำนวน 2 ครั้ง
5.ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์แฟนตาสติกแนวจินตนาการ/วิทยาศาสตร์และสยองขวัญ สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : Fantastic Film (ภาพยนตร์ Fantasy Sci-fi และ ภาพยนตร์ Horror) จำนวน 2 ครั้ง
6. ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์บันเทิงคดีอีสาน สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : E-San Insight (ภาพยนตร์บันเทิงคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 และ ภาพยนตร์บันเทิงคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) จำนวน 2 ครั้ง
7.ค่ายพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตภาพยนตร์แนวแอ็กชันและดุริยนาฏกรรมสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : Action & Musical (ภาพยนตร์แอ็กชัน และภาพยนตร์เพลง/นาฏกรรม) จำนวน 2 ครั้ง

และโครงการหลักสูตรออนไลน์ด้านภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์ และแอนิเมชัน ประกอบไปด้วย 9 โครงการ ซึ่งแต่ละโครงการมีหลักสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

โครงการที่ 1 การผลิตคลิปวิดีโอหลักสูตรออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซีรีส์ และแอนิเมชัน โดย สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
(จำนวน 12 หลักสูตร)
1.หลักสูตรการเขียนบทสำหรับภาพยนตร์ 101
2.หลักสูตรการพัฒนาไอเดียสู่ภาพยนตร์สั้น
3.หลักสูตรการวางบล็อคกิ้งและออกแบบมิซองซีน
4.หลักสูตรการกำกับฉากแอ็คชั่นเบื้องต้น
5.หลักสูตรตำแหน่งและการประสานงานในกองถ่าย
6.หลักสูตรการควบคุมความต่อเนื่องขั้นพื้นฐาน
7.หลักสูตรการหาทุนและ Pitching
8.หลักสูตรการจัดการทรัพยากรและอำนวยความสะดวกในกองถ่าย
9.หลักสูตรการพัฒนาโครงการร่วมผลิตระหว่างประเทศ
10.หลักสูตรกลยุทธ์การตลาดและจัดจำหน่าย
11.หลักสูตรกระบวนการตัดต่อ Post Production 101
12.หลักสูตรการเล่าเรื่องผ่านการลำดับภาพและจังหวะการตัดต่อ 101

โครงการที่ 2 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ e-Learning เรื่องการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยใช้แสงธรรมชาติและการจัดการข้อมูลในกองถ่าย โดย สมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์วิชาชีพสื่อบันเทิงไทย (TECNA) (จำนวน 2 หลักสูตร)
1.หลักสูตรการถ่ายภาพยนตร์โดยใช้แสงธรรมชาติ (Natural Light Cinematography)
2.หลักสูตรการจัดการข้อมูลในกองถ่าย

โครงการที่ 3 การผลิตคลิปวิดีโอหลักสูตรออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะนักแสดงในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ (TOSAA Courses) โดย สมาคมนักแสดง (ประเทศไทย)
(จำนวน 2 หลักสูตร)
1.หลักสูตรการวิเคราะห์และตีความบทบาท
2.หลักสูตรการเตรียมตัวเพื่อการคัดเลือก Audition

โครงการที่ 4 การผลิตคลิปวิดีโอหลักสูตรออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแอนิเมชันและวิชชวลเอฟเฟกต์ โดย สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (จำนวน 2 หลักสูตร)
1.หลักสูตร Basic Animation 101
2.หลักสูตรการถ่ายทำฉาก VFX สำหรับ Production

โครงการที่ 5 การจัดทำหลักสูตรและสื่อการสอนแบบวิดีโอเรื่องการเขียนบทซีรีส์เบื้องต้นและการดัดแปลงนวนิยายเป็นบทละครโทรทัศน์ โดย สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ (TSA)
(จำนวน 2 หลักสูตร)
1.หลักสูตรการเขียนบทสำหรับซีรี่ส์ 101
2.หลักสูตรการดัดแปลงบทประพันธ์

โครงการที่ 6 การผลิตหลักสูตรและสื่อการสอนความรู้ด้านการจดจัดตั้งบริษัทและภาษีสำหรับบุคลในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์ และแอนิเมชัน โดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (จำนวน 1 หลักสูตร)
1.หลักสูตรภาษีสำหรับผู้ประกอบการ Production House

โครงการที่ 7 การผลิตหลักสูตรและสื่อการสอนความรู้ด้านการผลิตและการออกแบบฉากสำหรับบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์ และแอนิเมชัน โดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (จำนวน 2 หลักสูตร)
1.หลักสูตรการออกแบบและสร้างสรรค์ฉากสำหรับภาพยนตร์
2.หลักสูตรการบริหารจัดการและการควบคุมงบประมาณในการสร้างฉาก

โครงการที่ 8 การผลิตหลักสูตรและสื่อการสอนความรู้ด้านการจัดการและบริหารลิขสิทธิ์สำหรับบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สารคดี ละคร ซีรีส์ และแอนิเมชัน โดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (จำนวน 1 หลักสูตร)
1.หลักสูตรการจัดการลิขสิทธิ์และสัญญาจ้างงาน

โครงการที่ 9 การผลิตคลิปวิดีโอหลักสูตรออนไลน์อบรมพื้นฐานอุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์ อบรมการจัดแสงภาพยนตร์เบื้องต้น โดย บริษัท เกียร์เฮด จำกัด (จำนวน 2 หลักสูตร)
1.หลักสูตรรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ (กล้อง ไฟ กริป 101)
2.หลักสูตรการจัดแสงเพื่อสร้างมิติและอารมณ์ให้กับภาพ

นักเรียน-นักศึกษาที่สนใจโครงการค่ายผลิตภาพยนตร์ สามารถติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครได้ที่ช่องทางโซเชียลมีเดียของ THACCA-Thailand Creative Culture Agency, สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, Studio Commuan และสถาบัน/หน่วยงานต่าง ๆ ในความร่วมมือ

ส่วนประชาชนทั่วไปที่สนใจหลักสูตรออนไลน์ สามารถติดตามเข้าเรียนที่เว็บไซต์ OFOS Portal (htts://ofos.thacca.go.th) ทั้งนี้ ทุกกิจกรรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย















กำลังโหลดความคิดเห็น