xs
xsm
sm
md
lg

“ไทยฟุ้ง ปรุงไทย” (Thai Taste Thai Fest 2024) “เลิศล้ำภูมิปัญญา เลอค่ารสชาติไทย”กระทรวงวัฒนธรรม เปิดโลกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแห่งปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดพิธีเปิดงาน “ไทยฟุ้ง ปรุงไทย” (Thai Taste Thai Fest 2024) โดยมี สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน ยุพา ทวีวัฒนกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมผู้บริหาร ประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม สมพล ตรีภพนารถ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจ ศูนย์การค้าบริษัท เอ็มบีเค จํากัด (มหาชน) บริพันธ์ ชัยภูมิ นายกสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย ร่วมด้วยองค์กรภาคีด้านวัฒนธรรม ร่วมงาน ณ Royal Park Plaza ชั้น 1 ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค กทม.
ภายในงาน สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบเกียรติบัตรให้จังหวัดที่ได้รับการประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 18 รายการ 15 จังหวัด / มอบโล่เชิดชูเกียรติผู้ทําคุณประโยชน์ใน การส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 23 ราย และมอบเกียรติบัตร กิจกรรม 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชู อาหารถิ่น “รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste” ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จํานวน 76 จังหวัด และ กรุงเทพมหานคร
จากนั้นชมการสาธิตทางวัฒนธรรม ได้แก่ การปักชุดไทย การแกะสลักผลตูมกา การสานปลาตะเพียนใบลาน การทอผ้าและการเขียนเทียนบนผ้าม้ง การลงถมบนเครื่องประดับ ชมนิทรรศการองค์ความรู้ รายการต้ม ยํากุ้ง และรายการมรดกร่วม เคบายา ซึ่งเป็นรายการเพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่จับต้อง ไม่ได้ของมนุษยชาติโดยยูเนสโก และสาธิตคอสเพลย์เยอร์ “4 COS คอสเพลย์ 4 ภาค ไทยแลนด์” การแสดง ลวดลายร่ายรำโนราขับร้อง, สีสันชาวดอยเด่นคีรีศรีชาติพันธ์, งิ้วเปลี่ยนหน้า ฯลฯ และขับร้องเพลงลูกทุ่ง โดย แซ็ค ชุมแพ โดยมี อ.ภูพาน เพชรปฐมพร และลูกทุ่งสาว จอมขวัญ กัลยา ร่วมงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์ที่สะท้อนตัวตน ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต อันประกอบด้วย วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ศิลปะการแสดง แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณีและงานเทศกาลต่าง ๆ เป็นความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล รวมไปถึงทักษะ งานช่างฝีมือดั้งเดิม หรือแม้แต่ การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ซึ่งถูกสร้างขึ้นและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน”

“มรดกภูมิปัญญาด้านต่างๆ เป็นทุนทางวัฒนธรรม เป็น soft power สำคัญในการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จึงมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาฯ ของชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงดำเนินการอย่างรอบด้าน เช่น การบันทึก การวิจัย, การจัดทำบัญชี ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ, การถ่ายทอดความรู้ทักษะ, การประกาศขึ้นบัญชี, การยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อมรดกฯ, การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอนุรักษ์ฟื้นฟู และ การนำเสนอเผยแพร่ความรู้เมนูอาหารถิ่นของทุกจังหวัด ในช่องทางต่าง ๆ ยังได้รับความร่วมมือจาก อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ช่วยสร้างกระแสการรับรู้ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศอีกด้วย”

สุดาวรรณ กล่าวอีกว่า “นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ยังให้ความสำคัญในการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของประเทศผ่านเวทียูเนสโก เช่น โขน นวดไทย โนรา สงกรานต์ และที่กำลังจะได้รับการประกาศในปลายปีนี้ ได้แก่ รายการ ต้มยำกุ้ง และ มรดกร่วมเคบายา ที่เสนอร่วมกับสหพันธรัฐมาเลเซีย บรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึ่ง งานไทยฟุ้ง ปรุงไทย เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติสืบทอด สร้างความภาคภูมิใจให้เจ้าของมรดกภูมิปัญญา นับเป็นกิจกรรมที่สำคัญอันจะส่งผลให้มรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติดำรงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป”
งาน “ไทยฟุ้ง ปรุงไทย” (Thai Taste Thai Fest 2024) จัดขึ้นวันที่ 20-22 กันยายน 67 นี้ ณ Royal Park Plaza ชั้น 1 ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค กทม. พบกับกิจกรรมมากมาย วันเสาร์ที่ 21 กันยายน จัดเสวนาเปิดโลกงานวิจัยวัฒนธรรม ในหัวข้อ ซอฟต์พาวเวอร์ในมิติพหุวัฒนธรรม และการเสวนาเรื่อง “วัฒนธรรมไทยคอสเพลย์เยอร์” ชมคอนเสิร์ตลูกทุ่งศิลปินแห่งชาติและศิลปินยอดนิยม นําโดย ชัยชนะ บุณโชติ, ทศพล หิมพานต์, ศิรินทรา นิยากร, กุ้ง-สุธิราช วงศ์เทวัญ และรุ่ง สุริยา การแสดงจากโขนชุด พระรามตามกวาง การแสดงหนังตะลุง การแสดงสืบ สานศิลป์เสียงแผ่นดินอีสาน และ ลิเกร่วมสมัยสไตล์คอนเสิร์ต ชุด จันทรโครพ

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน คอนเสิร์ตเพลงลูกกรุง โดย วินัย พันธุรักษ์, สุดา ชื่นบาน, วง สาว สาว สาว (แหม่ม พัชริดา , ปุ้ม อรวรรณ), โตโต้ The Golden Song ขับร้องเพลงลูกทุ่งโดย จอมขวัญ กัลยา การแสดงดนตรีโดยวงดุริยางค์เยาวชนไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ, วงดุริยางค์ เครื่องลมเยาวชน, การแสดงสมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ และการแสดงชุดเพลงพื้นบ้าน “เลิศล้ำภูมิปัญญา เลอค่า รสชาติไทย” โดย น้าโย่ง เชิญยิ้ม ศิลปินแห่งชาติ

ชิมฟรีทุกวันกับเมนูอาหาร 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น “รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste” อาทิ แกงส้มใบ สันดาน จากจันทบุรี แกงอีเหี่ยว จากเพชรบูรณ์ แกงนอกหม้อ จากนครสวรรค์ ยําไก่ผีปู่ย่า จากสุโขทัย นมเนียล จากสุรินทร์ ส้มตีนโคขุนโพนยางคํา จากสกลนคร ขนมพระพาย จากพระนครศรีอยุธยา ขนมขึ้น นครศรีธรรมราช เป็นต้น

วินมอเตอร์ไซค์พี่ ติดตามข่าวสารได้ทาง www.culture.go.th และ แฟนเพจกรมส่งเสริมวัฒนธรรม www.facebook.com/DCP.culture























กำลังโหลดความคิดเห็น