”พิกุลแก้ว เดอะมิวสิคัล“ เป็นเรื่องราวของการเรียนรู้ชีวิตตามช่วงเวลาการเติบโตของ “พิกุล”ผ่านมุมมองของเด็กหญิง พิมพ์ใจ ผู้เบื่อระเบียบวินัยและวิถีของโรงเรียนราชินี กับลูกชายของเพื่อนแม่ เด็กชายศรุต นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ที่หลงเดินทางข้ามเวลาไปกับพิมพ์ใจ
สร้างสรรค์การแสดง DREAMBOX บทละคร: ดารกา วงศ์ศิริ กำกับการแสดง: สุวรรณดี จักราวรวุธ
ประพันธ์และเรียบเรียงดนตรี: สุธี แสงเสรีชน อำนวยการแสดง : ตรีดาว อภัยวงศ์ สุขุม
แสดงโดยศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันจากโรงเรียนราชินี ราชินีบน และวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมด้วยศิลปินรับเชิญ
โอ อนุชิต สพันธุ์พงษ์ (ศิลปินรับเชิญ)/ตรีรัก รักการดี/รวมพร เกตุทัต /นาเดีย โสณกุล ณ อยุธยา/อภิสรา เกิดชูชื่น/ แอนนิต้า ศรุชา พงศ์ทรงกุล(ศิลปินรับเชิญ)/ธนิษฐา ลิ้มวงษ์ทอง/สุธิดา ลิ้มวงษ์ทอง/ทิชา อภัยวงศ์
พิกุลแก้ว The Musical การแสดงจัดขึ้น 3 รอบ วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2567
(รอบReception) เวลา 17.00 น. บัตรราคา 4,000/ 3,000/ 2,000
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 รอบ 14:00 น. และ 19:00 น. บัตรราคา 3,000/ 2,200/ 1,500
ณ หอประชุมอาคารนวมภูมินทร์ วชิราวุธวิทยาลัย
สำรองบัตรได้ที่ :063-082-6613 /Id line:Pikulkaew.themusical เท่านั้น
**************
ที่มาที่ไปของการทำละครเพลง โรงเรียนราชินี ในครั้งนี้
เนื่องในปีพ.ศ.2567 เป็นปีที่โรงเรียนราชินีได้รับพระราชทานกำเนิดครบ 120 ปี เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง องค์ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนราชินี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระกรุณาธิคุณในพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์จักรี ชมรมนักเรียนเก่าราชินี มีความตั้งใจที่จะจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อสร้างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวไปสู่สาธารณชนทั่วไป โดยเลือกที่จะสื่อสารในรูปแบบของละครเวที ด้วยเหตุนี้ ละครเพลงเรื่อง “พิกุลแก้ว The Musical” จึงได้เกิดขึ้น
“พิกุลแก้ว The Musical” เป็นเรื่องเล่าที่สะท้อนให้เห็นถึงพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5และรัชกาลที่ 6 ที่ได้ทรงเล็งเห็นว่าการที่จะปฏิรูปประเทศให้ทัดเทียมตะวันตกได้นั้นจำเป็นที่จะต้องสร้างประชากรที่มีความรู้อย่างทั่วถึง ซึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงก็ทรงตระหนักถึงความสำคัญตามพระราชปณิธานดังกล่าวเช่นกัน แต่ทรงเน้นบทบาทในการพัฒนาโรงเรียนสำหรับสตรี จึงได้ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ในการก่อตั้งโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้นหลายแห่งในช่วงปลายทศวรรษของปี 2440 ซึ่งได้ทรงพระราชทานกำเนิดโรงเรียนราชินีขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2447 และเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบรมราโชบายด้านการศึกษายังคงเป็นพระบรมราโชบายสำคัญ โดยได้ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งในปัจจุบันคือ วชิราวุธวิทยาลัย
ดังนั้น ครั้งนี้จึงจะเป็นครั้งแรกที่ชาวราชินีจะมีละครเพลงที่เล่าถึงการใช้ชีวิตในรั้วโรงเรียนราชินี ตั้งแต่นักเรียนราชินีรุ่นแรกๆ จนถึงรุ่นปัจจุบัน โดยผู้แต่งได้รวบรวมเอาเกร็ดเรื่องเล่าจากบันทึกความทรงจำนักเรียนเก่าราชินีที่โรงเรียนราชินีได้รวบรวมไว้ในแต่ละยุคแต่ละสมัย และนำมาผูกร้อยเรียงเข้าด้วยกันได้อย่างน่าสนใจ เพื่อที่ชาวราชินีจะเก็บบันทึกเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในความทรงจำ
วัตถุประสงค์ในการเลือกทำละครเพลง “พิกุลแก้ว เดอะมิวสิคัล”
“รายได้เพื่อบูรณะอาคารสุนันทาลัย”
1. ทางชมรมนักเรียนเก่าราชินีตระหนักว่า เราในฐานะประชาชนชาวไทยผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์และเจ้านายทุกพระองค์ โดยเฉพาะ ในหลวงรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และเจ้านายทุกพระองค์ที่ทรงมีคุณูปการแก่โรงเรียนราชินี ราชินีบน และวชิราวุธวิทยาลัย โดยให้กำเนิดโรงเรียนทั้ง 3 แห่ง เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่สตรีและบุรุษ อย่างเท่าเทียมกัน
2. การส่งเสริมทักษะ และความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน พัฒนาด้านการร้องและการแสดงผ่านกระบวนการทำละคร ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการสื่อสารต่อสาธารณะ ระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความสามัคคี และความอดทนในการทำงานร่วมกัน
3. เด็ก ๆได้รับประสบการณ์ในการทำงานกับมืออาชีพ ด้านละครเวที โดย บริษัท ดรีมบอกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตการแสดงละครเวทีและละครเพลงมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี พร้อมด้วยทีมงานและบุคลากรมืออาชีพตัวจริงในวงการผู้สร้างสรรค์ผลงานการแสดงผ่านสายตาผู้ชมมามากมาย นอกเหนือจากการแสดงละครเวที/ละครเพลง ที่แสดงที่โรงละคร m theatre (อดีตคือโรงละครกรุงเทพ) ดรีมบอกซ์ยังจัดทำการแสดงแสงสีเสียง การแสดงสำหรับอีเว้นต์นอกสถานที่ต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งละครโทรทัศน์ คอนเสิร์ต และงานแสดงรูปแบบต่าง ๆ ผลงานที่ผ่านมาล้วนพิสูจน์คุณค่าที่มีต่อสายอาชีพนี้ ด้วยการคัดสรรกลั่นกรองงานที่มีรสนิยม โดยมุ่งสร้างแรงบันดาลใจ ทัศนคติและจิตสำนึกดีงามให้กับสังคม เนื่องเพราะดรีมบอกซ์ตระหนักอยู่เสมอว่า ศิลปะการแสดงเป็นศาสตร์ที่สัมผัสใกล้ชิดจิตวิญญาณมนุษย์มากที่สุด