กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมากกว่า 100,000 ราย และจากการติดตามโครงการฯ จนถึงปัจจุบันพบว่างานประเภทหัตถกรรมจักสาน ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคให้ความใส่ใจและความสำคัญกับงานฝีมือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความละเอียดอ่อนปราณีตในทุกขั้นตอนการผลิต และยังสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมชุมชน "จักสาน" สู่ตลาดสากล ภายใต้โครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสาน ให้สร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม สร้างมูลค่า พร้อมสู่ความเป็นสากล ผ่านการอบรบการพัฒนาและการต่อยอดผลิตภัณฑ์แบบครบองค์รวมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
โครงการฝึกอบรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานในครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะองค์ความรู้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้แก่ช่างหัตถศิลป์ และผู้ประกอบการทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์จักสานประเภทต่าง ๆ มารับคำแนะนำ กับ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักออกแบบที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ แบบครบองค์รวม เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์งานจักสาน และส่งต่อความรู้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพชีวิต อย่างยั่งยืนต่อไป