xs
xsm
sm
md
lg

คณะบัญชี ม.กรุงเทพ ชูจุดเด่นด้านบัญชีดิจิทัล ตอบรับยุคเอไอเฟื่อง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คณบดีบัญชี ม.กรุงเทพ ชี้โอกาสนักบัญชีไทยยังสดใส เป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก เผยเตรียมพร้อม นักศึกษาของคณะให้แข่งขันได้ในยุคเอไอ (AI) ด้วยหลักสูตรบัญชีบัณฑิตที่ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชีฯ และมีโปรแกรมการพัฒนานักบัญชียุคดิจิทัล ทำให้เป็นนักบัญชีที่สามารถสื่อสารได้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกองค์กร อีกทั้งยังทำงานร่วมกับบุคลากรด้านไอทีได้อย่างราบรื่นไร้รอยต่อใน โลกยุคใหม่ พร้อมเน้นฝึกงานจริง มีผู้เชี่ยวชาญจากธุรกิจและวงการวิชาชีพบัญชีระดับคุณภาพอย่าง Big 4 มาร่วมเป็นทีมสอน ศิษย์เก่าผู้บริหารจากภาคธุรกิจและแวดวงวิชาชีพปลื้ม เห็นพัฒนาการการเรียนการสอนของคณะที่สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป มั่นใจได้บัณฑิตคุณภาพ มีทักษะรอบด้านตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

ในกระแสเชี่ยวกรากของการเปลี่ยนไปของสังคม เศรษฐกิจและวิทยาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามา ของ เอไอ (AI) ส่งผลกระทบต่ออาชีพต่างๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม ดร.กรัณฑรัตน์ บุญญวัฒน์ คณบดีคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ยังมีความเชื่อมั่นว่า อาชีพนักบัญชียังเป็นที่ต้องการของตลาดเมืองไทยอยู่ เพียงแต่เราจะต้องสร้างนักบัญชีที่มีศักยภาพสูงที่จะสามารถปฏิบัติงานได้ในโลกยุคใหม่ ซึ่งคณบดีได้ชี้ ให้เห็นถึงจุดเด่นของหลักสูตรคณะบัญชี ม.กรุงเทพที่จะทำให้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการที่ตลาดมองหาสามความโดดเด่นของคณะบัญชี ม.กรุงเทพ ได้แก่

1. โปรแกรม Digital Accounting หลักสูตรฯ ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชีฯ พร้อมเปิดทางเลือกให้กับผู้เรียนที่ต้องการเป็นมากกว่านักบัญชี ด้วยโปรแกรมที่จัดการเรียนการสอนด้านดิจิทัลมากถึง 7 วิชา บ่มเพาะให้นักศึกษามีศักยภาพแบบ 3 in 1 ทั้งด้านบัญชี ไอที และการสื่อสารในบริบทสากล เรียนตั้งแต่การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการออกแบบระบบโปรแกรมทางบัญชี การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านบัญชี ที่ใช้ในธุรกิจขนาดเล็กถึงใหญ่ เช่น โปรแกรม SAP เป็นต้น รวมถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อให้บัณฑิตของม.กรุงเทพ ออกไปเป็นนักบัญชีที่มีคุณภาพ ทันต่อโลก ปรับตัวได้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในวิชาชีพได้อย่างชาญฉลาด และสามารถสื่อสารในบริบทสากลได้อย่างเหมาะสม

2.ทุกคนต้องฝึกงานจริงกับองค์กรชั้นนำ เพื่อสะสมประสบการณ์ทำงานตั้งแต่เรียน การเรียนการสอนของคณะบัญชี ม.กรุงเทพนั้น นักศึกษาทุกคนต้องฝึกงานจริง ซึ่งทาง มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสำนักงานสอบบัญชีระดับคุณภาพอย่าง Big 4 ที่เป็น  Professional firm ระดับนานาชาติด้วย ซึ่งหากนักศึกษาไปฝึกงานกับ สำนักงานสอบบัญชี ยังสามารถนับชั่วโมงการฝึกงาน เพื่อเริ่มต้นสะสมให้ครบ 3,000 ชั่วโมง ในการมี คุณสมบัติเบื้องต้นไปสอบผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จากสภาวิชาชีพบัญชีฯได้อีกด้วย

3.สอนโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริงจากภาคธุรกิจและวงการวิชาชีพบัญชี ให้นักศึกษาเรียนรู้จากโจทย์ทางธุรกิจในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย นักศึกษาคณะบัญชี ม.กรุงเทพ ได้เรียนกับมืออาชีพจากภาคธุรกิจ ภาครัฐ และสำนักงานสอบบัญชีคุณภาพในทุกระดับ ในการเรียนการสอนของคณะบัญชี ม.กรุงเทพ ทางมหาวิทยาลัย ยังมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงมากที่สุด จึงได้มีความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาคธุรกิจและรัฐ รวมถึงสำนักงานสอบบัญชีระดับโลกอย่าง Big 4 ส่งบุคลากรคุณภาพมาร่วมเป็นผู้สอนในวิชาเฉพาะทาง เช่น การสอบบัญชี การรายงานทางการเงิน วิทยาการข้อมูล และการวิเคราะห์สำหรับวิชาชีพบัญชี เป็นต้นเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ฝึกการทำงานจริง และเข้าใจธุรกิจต่าง ๆ อย่างแท้จริง  รวมถึงการได้มีโอกาสรู้จัก เรียนรู้จากประสบการณ์ และมุมมองทางธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญ ที่จะเป็นต้นแบบที่ดีในการประกอบวิชาชีพต่อไปในอนาคตอีกด้วย

คณบดียังกล่าวต่อไปว่า “ตลอดระยะเวลาที่คณะบัญชีเปิดการเรียนการสอนมากว่า 60 ปี ได้ผลิตบัณฑิต ออกสู่ตลาดงานจำนวนมาก ในตลาดงานไปที่ไหนก็มักจะพบกับนักบัญชีที่จบจากม.กรุงเทพ ซึ่งถือว่าเราสามารถผลิตนักบัญชีคุณภาพให้กับตลาดงานได้ตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบันและที่ผ่านมา บัณฑิตได้ทำงานเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ นักบัญชียังสามารถประกอบวิชาชีพอิสระได้เช่นเดียวกับผู้จบหมอหรือวิศวะ สามารถเปิดสำนักงานของตัวเองได้ รับทำบัญชี รับสอบบัญชี หรือร่วมกับเพื่อนช่วยกันทำได้ ซึ่งผู้ที่ทำงานรูปแบบนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นด้วย”

ผู้เชี่ยวชาญชี้ตลาดงานในวิชาชีพบัญชีเปิดรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเพิ่มขึ้น ย้ำเรียนบัญชีมีโอกาสและทางเลือกหลากหลาย

ด้านดร.เกียรตินิยม คุณติสุข หุ้นส่วนสำนักงานด้านการสอบบัญชี บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด ภายใต้ ดีลอยท์ ประเทศไทย  หนึ่ง ใน Big 4  ในฐานะศิษย์เก่าคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ปัจจุบัน นักศึกษาที่เรียนจบสาขาบัญชี มีโอกาสความก้าวหน้าสูงในสายงานผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เมื่อเทียบกับสมัยที่ตนเองเรียนจบมา โดยเฉพาะการเข้าทำงานในกลุ่มบริษัทBig4 ที่เปิดรับนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเอกชนเพิ่มมากขึ้น และยังมีโอกาสสูงในการก้าวสู่ตำแหน่งหุ้นส่วนสำนักงาน ขณะเดียวกัน นักศึกษาที่เรียนจบสาขาบัญชี ยังมีโอกาสและทางเลือกที่หลากหลายในการประกอบวิชาชีพ  ไม่ว่าจะเป็นนักการตลาด นักขาย นักการเงิน หรือมีธุรกิจเป็นของตนเอง เนื่องจากวิชาชีพด้านบัญชีเป็นพื้นฐานและหัวใจสำคัญในทุกธุรกิจ 

บัญชีคือหน้าต่างของโลกธุรกิจ
ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องมีความรู้ด้านบัญชี
“ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ บัญชีก็เป็นหน้าต่างของโลกธุรกิจ เนื่องจากทุกกิจการไม่ว่า จะดำเนินโดยบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ทุกกิจการจะต้องจัดทำบัญชี เพื่อดูผลการดำเนินงานของแต่ละกิจการ ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงไม่ว่าจะเป็นประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร หรือประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน มีความจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านบัญชี หากไม่เรียนจบสาขาบัญชีมาก็อาจจะต้องไปเรียนหลักสูตรระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีเพื่อผู้บริหารเพื่อเสริมความรู้ทางด้านบัญชีเพิ่ม” ดร.เกียรตินิยมเผยซึ่งสอดคล้องกับที่คณบดีคณะบัญชี ม.กรุงเทพเน้นย้ำไว้ว่าบัญชีถือว่าเป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจให้ ประสบความสำเร็จ 
คณะบัญชี ม.กรุงเทพ พัฒนาหลักสูตรตอบรับยุคเทคโนโลยี  

ติวเข้มทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมทักษะด้านการสื่อสารและการนำเสนอข้อมูล
ดร.เกียรตินิยม กล่าวอีกว่า สำหรับรูปแบบการทำงานของนักบัญชีในปัจจุบัน ถือว่ามีความ สะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นแตกต่างจากในอดีตเพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่ทุกอย่างต้องทำด้วยมือทั้งหมด ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจำเป็นต้องมีทักษะความรู้ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ นอกจากนั้นผู้ประกอบวิชาชีพยังควรมีทักษะด้านการสื่อสารและการนำเสนอเพราะเป็นอาชีพที่จะต้องมีการพบปะผู้คนและนำเสนอข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นภาพรวมบริษัทในฐานะที่ตนเองเป็นศิษย์เก่า ได้เห็นพัฒนาการของหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพว่ามีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้ปรับปรุงหลักสูตรด้วยการบูรณาการในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาผสมผสานในหลักสูตร รวมถึงการให้ความสำคัญกับการสื่อสารในบริบทสากล ส่งผลให้นักศึกษามีทักษะรอบด้านตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม 

อาชีพนักบัญชียังเป็นที่ต้องการของตลาดงานสูง
อนึ่งสถานการณ์ความต้องการแรงงานในสายอาชีพบัญชีพบว่าตลาดงานยังคงมีความต้องการบัณฑิต ที่เรียนจบจากสาขาบัญชีค่อนข้างสูง เนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2566 มีธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศทั้งสิ้น จำนวน 830,317 ราย มูลค่าทุนมากถึง 21.70 ล้านล้านบาท เฉพาะที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ในเดือน มกราคม - ธันวาคม 2566 จำนวน 85,300 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 562,469.64 ล้านบาท แต่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีจำนวน ประมาณ 15,000 รายเท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่รวมผู้สอบบัญชีที่มีใบอนุญาตสิ้นผลและผู้สอบบัญชีที่ไม่ได้ปฏิบัติงานในฐานะผู้สอบบัญชีด้วย นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้บริษัท นิติบุคคลต่างๆต้องมีผู้ทำบัญชี ส่งผลให้นักบัญชีขาดแคลนพอสมควร ซึ่งนักศึกษาที่เรียนจบบัญชีมาแต่ละปีเมื่อเทียบกับความต้องการของบริษัทต่างๆ ก็ยังถือว่าน้อยอยู่มาก  











กำลังโหลดความคิดเห็น