xs
xsm
sm
md
lg

“เบิร์ด ธงไชย” ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565 ขอบคุณโรงลิเกที่เป็นครูทำให้ตนมีวันนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้ (23 ส.ค.66) กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้แถลงข่าวผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ 2565 ซึ่ง “เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์”ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565 สาขา ศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)

โดยมีบุคคลที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ จำนวน 12 ราย ดังนี้

สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่
1) ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์)
2) นายเจตกำจร พรหมโยธี (สถาปัตยกรรมผังเมือง)
3) นายดิเรก สิทธิการ (งานสลักดุนเครื่องเงินและโลหะ)
4) นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์)

สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่
1) ศาสตราจารย์เกริก ยุ้นพันธ์
2) นายบุญเตือน ศรีวรพจน์

สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่
3) นางนพรัตน์ศุภาการ หวังในธรรม (ละครรำ)
4) นายสมชาย ทับพร (ดนตรีไทย - ขับร้อง)
5) นางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร (หมอลำประยุกต์)
6) นายธงไชย แมคอินไตย์ (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง)
7) นายสมเถา สุจริตกุล (ดนตรีสากล - ประพันธ์เพลงร่วมสมัย)
8) นายประดิษฐ ประสาททอง (ละครร่วมสมัย)

“อิทธิพล คุณปลื้ม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวว่า “ผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับสวัสดิการประกอบด้วย ค่าตอบแทนรายเดือนๆ ละ 25,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่

ค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยอนุโลม เว้นแต่มีสิทธิเบิกจากหน่วยงานอื่น ให้เบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน ถ้าเบิกจากหน่วยงานนั้นได้ต่ำกว่าสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้มีสิทธิเบิกในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้อีกภายในวงเงินไม่เกิน 1000,000 บาท ต่อปีงบประมาณ

เงินช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัยเท่าที่เสียหายจริง รายละไม่เกิน 50,000 บาท ต่อครั้ง ค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 3,000 บาท ต่อครั้ง และกรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือบำเพ็ญกุศลศพ รายละ 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นต้น”

ในการนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสนำศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 ทั้ง 12 คน เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ ในวัน เวลา ตามแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และจัดงานนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ประวัติผลงานของศิลปินแห่งชาติ ให้ประจักษ์ต่อสาธารณะ ต่อไป

เบิร์ด ธงไชย เปิดเผยความรู้สึกหลังทราบว่าตนได้เป็นศิลปินแห่งชาติว่า… “ความรู้สึกตอนนี้ รู้สึกดีใจและภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย ในความบากบั่นทำงาน เบิร์ดว่าความเป็นไทยมันสวยงาม ร้องรำทำได้หมดครับ แม้กระทั่งโรงลิเกที่เราเคยดูแถวบ้านบางแคนั่นก็คือครูของเบิร์ดนะครับ เบิร์ดได้ยินตลอดเวลา ทำให้เบิร์ดได้มีวันนี้เหมือนกัน ขอขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรมและคนไทยทุกคนนะครับที่รักและเมตตาเบิร์ดขอบคุณมากครับ”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ  ศุภนิมิตร ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565 สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์)

เจตกำจร  พรหมโยธี ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565 สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมผังเมือง)

ดิเรก  สิทธิการ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565 สาขาทัศนศิลป์ (งานสลักดุนเครื่องเงินและโลหะ)

ฤกษ์ฤทธิ์  แก้ววิเชียร ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565 สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์)

ศาสตราจารย์เกริก  ยุ้นพันธ์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565  สาขาวรรณศิลป์

บุญเตือน  ศรีวรพจน์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565  สาขาวรรณศิลป์

นพรัตน์ศุภาการ  หวังในธรรม  ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565  สาขาศิลปะการแสดง(ละครรำ)

สมชาย  ทับพร  ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565  สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย - ขับร้อง)

ราตรีศรีวิไล  บงสิทธิพร ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565  สาขาศิลปะการแสดง(หมอลำประยุกต์)

สมเถา  สุจริตกุล ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565  สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีสากล - ประพันธ์เพลงร่วมสมัย)

ประดิษฐ  ประสาททอง ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565  สาขาศิลปะการแสดง(ละครร่วมสมัย)



กำลังโหลดความคิดเห็น