“โรคหัวใจไม่เลือกวัยใครก็เป็นได้” คือ เหตุผลสำคัญที่วันนี้คนไทยทุกคนควรตรวจหาความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อป้องกันก่อนที่จะเป็น ด้วยนวัตกรรมที่ครบวงจรและทันสมัยของ “ศูนย์หัวใจ รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง” จะช่วยให้รู้ว่ามีภาวะหรือแนวโน้มจะเป็นโรคหัวใจหรือไม่ และหากเป็นโรคหัวใจก็มีนวัตกรรม Cath LAB หรือห้องปฏิบัติการเครื่องฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจที่สามารถปรับหมุนได้ 360 องศาเพื่อช่วยให้การรักษาทำได้ตรงจุด ประกอบกับทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ตอกย้ำได้เป็นอย่างดีถึงคุณภาพการดูแล – รักษา “ศูนย์หัวใจ รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง” โชว์นวัตกรรมดูแล “หัวใจ” ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการดูแล – รักษา “โรคหัวใจและหลอดเลือด” โดย “คุณหมอปริญญ์-นายแพทย์ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ”แพทย์ผู้ชำนาญการสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจและผู้อำนวยการอาวุโสศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ร่วมให้ความรู้และพบปะพี่ๆสื่อมวลชน
งานนี้ได้ “ก๊อบแก๊บ-รัฐนารินทร์ แสงปราโมทย์” พิธีกรและครีเอทีฟ รายการแนวเซเลบริตี้ชื่อดัง Bangkok Gossip มาร่วมสร้างสีสัน แถมกดไลค์รัวๆ ที่ได้มาไตหาหัวจาม ตามหาหัวใจ ของตัวเอง เพราะที่ผ่านมาเจ้าตัวทำงานหนักมากแต่ไม่เคยตรวจหัวใจอย่างจริงจัง นอกจาก Bangkok Gossip แล้ว “ก๊อบแก๊บ””ยังมี รายการเผือกร้อนตอนบ่าย(ช่อง3) , พาผู้ไปรัวลิ้น(YouTube) และรายการก้องซด พชร์มู(ช่อง9 พิธีกร)ตามประสาคนรุ่นใหม่ที่บีซี่ ทำงานหนักตลอดเวฯ “หัวใจ”มีดวงเดียวไม่ดูแลไม่ได้แล้ว
นายแพทย์ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ แพทย์ผู้ชำนาญการสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจและผู้อำนวยการอาวุโสศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาสุขภาพของคนไทย อันดับ 1 คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด อันดับ 2 โรคมะเร็ง จากสถิติเมื่อปี 2563 พบคนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 51,305 คนหรือชั่วโมงละ 5-6 คน นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอีก 300,000 คนและมีแนวโน้มที่คนไทยจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว เนื่องจากการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น การกินอาหารที่ไม่เหมือนในอดีต การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ ความเครียด เป็นต้น ประกอบกับภาวะการเป็นโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดัน หรือแม้แต่พันธุกรรมก็ส่งผลให้เป็นโรคได้เช่นกัน
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคนไทยเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลันมากขึ้น ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แม้แต่นักกีฬาก็มีโอกาสเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ โดยอาการเตือนของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน คือ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก แน่นท้อง ปวดหลัง บางรายวูบหมดสติหรือมีอาการหัวใจเต้นเร็ว สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลัน คือ 1. หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้หมดสติไป มักพบในกลุ่มคนอายุน้อย คนที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงและคนที่ใช้สารเสพติด 2. กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ พบได้ในคนทุกอายุและสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยจะมีอาการวูบหลังจากออกแรง และ 3. เส้นเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน
อย่างไรก็ดี การให้ความสำคัญกับเรื่องของการตรวจสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้คนไทยหันมาตรวจสุขภาพตัวเองก่อนที่จะเป็นโรคก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้พบผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น แต่มีข้อดี คือ สามารถป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที
“ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สามารถบอกได้ว่าเรามีโรคอะไรซ่อนอยู่หรือไม่ ไม่ต้องรอให้เป็นโรคแล้วถึงมาตรวจ ก่อนเป็นโรคก็สามารถเข้ามาตรวจได้ ซึ่งศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มีองค์ความรู้ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นอย่างดี ตัวผมเองก็เป็นผู้เชี่ยวชาญการประเมินความเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและเป็นผู้สอนด้านนี้ด้วย”
นายแพทย์ปริญญ์ กล่าวต่อว่า ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง นับเป็นศูนย์หัวใจอันดับต้นๆ ของประเทศไทยที่มีความพร้อมด้านเครื่องมือและนวัตกรรมในการตรวจและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด อาทิ เครื่อง EST (EXERICSE STREES TEST) คือ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดขณะออกกำลังกาย ทำให้แพทย์เห็นถึงการตอบสนองที่ผิดปกติของหัวใจ เช่น หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย การเต้นหัวใจผิดปกติ เป็นต้น
เครื่อง ECHO (ECHOCARDIOGRAM) เทคโนโลยีการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง เป็นการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น
เครื่อง EKG (ELECTROCARDIOGRAPHY) การตรวจกระแสไฟฟ้าและจังหวะการเต้นของหัวใจ เครื่องจะประมวลผลออกมาเป็นกราฟหัวใจและจังหวะการเต้นของหัวใจ สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับหัวใจ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ เส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจหนา/โต ห้องหัวใจโต โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจที่ซ่อนเร้นทางพันธุกรรม เช่น โรคไหลตาย
เครื่อง CARDIAC MRI เทคโนโลยีการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถให้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งแพทย์สามารถใช้ข้อมูลจากภาพ MRI เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของหัวใจเพื่อวางแผนการรักษาได้
เครื่อง CT scan เพื่อดูเส้นเลือดหัวใจในรายที่มีอาการเจ็บหน้าอกง่าย ซึ่งจะบอกได้ว่าในเส้นเลือดมีไขมันสะสมอยู่หรือไม่ และเครื่อง Coronary Artery Calcium scan (CAC) เป็นการตรวจหาปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ เพื่อทำนายการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ด้วยนวัตกรรมต่างๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี แต่หากเป็นแล้วศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ก็พร้อมในการรักษา สิ่งสำคัญที่จะช่วยผู้ป่วยได้ คือ การวินิจฉัยที่รวดเร็ว หากพบว่าเป็นโรคหัวใจ ขั้นตอนการรักษา คือ การสวนหัวใจ ทำบอลลูน ใส่ขดลวดขยาย ฯลฯ ซึ่งวิวัฒนาการในการรักษามีการปรับตลอดเวลา
“ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เรามีนวัตกรรม Cath LAB หรือห้องปฏิบัติการเครื่องฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นห้องที่มีเทคโนโลยีการประมวลภาพการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับหมุนได้ 360 องศา เพื่อแพทย์สามารถทำการรักษาได้อย่างตรงจุด เรามีทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ”
นายแพทย์ปริญญ์ ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดว่า อยากให้ระมัดระวังและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ กินยาตามแพทย์สั่ง มาตรวจสม่ำเสมอ ส่วนท่านที่ยังไม่ป่วยก็อยากให้ลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ลดการสูบบุหรี่ หากอ้วนก็ให้ลดน้ำหนัก ลดการกินไขมัน เป็นต้น
“โรคหัวใจและหลอดเลือด” แม้จะเป็นโรคที่อันตรายและมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลตัวเองในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การลดภาวะความเครียด เป็นต้น หากพบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์โดยเร็วและหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี
ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวเรื่องสุขภาพและแนวทางการรักษาโรคต่างๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ได้ที่ เว็บไซต์ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง