ออกมาเกาะกระแสเด็กหญิงวัย 15 ปีคนหนึ่งที่พยายามทำตัวเองให้เป็นข่าวด้วยการปีนรั้วเข้าไปในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โดยอ้างว่าพยายามจะเข้าไปเรียนหนังสือกันหลายต่อหลายคนเลยทีเดียวสำหรับนักการเมืองบ้านเรา
หนึ่งในนั้นก็เห็นจะเป็น น.ส.รักชนก ศรีนอก หรือ "ไอซ์" ว่าที่ ส.ส.กทม. เขตบางบอน หนองแขม จอมทอง แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก โดยออกมาถามทำนองว่ามีระเบียบกฏหมายข้อไหนที่พ่อแม่ต้องพามอบตัวเท่านั้น แล้วคนที่เป็นเด็กกำพร้าจะทำยังไง? (อ่านข่าว : “ไอซ์ รักชนก” ถามกฎระเบียบข้อไหนบังคับ ต้องเอาพ่อแม่มาเท่านั้น ถึงมอบตัวได้)
โดยเรื่องดังกล่าวก็ได้มีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ความคิดของว่าที่ ส.ส.กทม. รายนี้เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม หากไปดูในรายละเอียดที่เป็นข้อบังคับที่เจ้าตัวสงสัยนั้น ในพรบ. การศึกษาแห่งชาติ มาตรา ๑๑ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า "บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือ บุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา ๑๗ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือ จากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว"
ขณะที่ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ ได้ให้ความหมายถึง “ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
นอกจากนี้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๒๑ ยังระบุว่าผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้แทนโดยชอบธรรม ตัวบุคคลซึ่งกฎหมายให้เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม เพื่อทำหน้าที่ให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมนั้น กล่าวโดยสรุปก็ คือ ผู้ใช้อำนาจปกครอง (มาตรา ๑๕๖๙) อันได้แก่บิดา มารดาของผู้เยาว์นั้นเอง (มาตรา ๑๕๖๖) หรือผู้ปกครอง (มาตรา ๑๕๙๘/๓) อันได้แก่บุคคลที่ศาลสั่ง