xs
xsm
sm
md
lg

เหรียญ“พุทธคูณทวี” วัดอินทร์ บางขุนพรหม.. อนุสรณ์150 ปี มรณกาลสมเด็จฯโต..สุดยอดพุทธศิลป์- รวมเกจิดังปลุกเสก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อกล่าวถึงเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) ชาวไทย รวมไปถึงชาวต่างชาติ ต่างทราบถึงกิตติคุณ และกิตติศัพท์อันเลื่องลือว่า ท่านเป็นพระอริยบุคคล ผู้ทรงธรรมกระจ่างทั้งอรรถและพยัญชนะ ทรงคุณวิเศษ และทรงฤทธิ์ด้วยวิชาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก สมเด็จฯโตนั้นตั้งแต่ยังเยาว์วัย ท่านก็มาเติบโตอยู่ ณ วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. มีพระอาจารย์รูปแรก คือ เจ้าคุณอรัญญิก (นามเดิมว่า ด้วง) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร รูปแรก เป็นอาจารย์สอนอักขระวิธี และวิปัสสนาวิธี ให้แก่สมเด็จฯโต

วาระสุดท้ายแห่งการละจิตจากสังขาร สมเด็จฯโตท่านมรณภาพลงเมื่อวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ณ วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร

สมเด็จฯโตนั้นมีความผูกพันกับวัดอินทรวิหารเป็นที่สุด ตามประวัติและตามหลักฐาน ตั้งแต่มารดาให้กำเนิดท่านมา แล้วย้ายถิ่นฐานลงมาพำนักอยู่ ณ ตำบลไร่พริก ปัจจุบันคือ แขวงบางขุนพรหม บริเวณข้างธนาคารแห่งประเทศไทย ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้นเติบโตพอสมควรจะได้รับการศึกษา โยมมารดาได้นำมาฝากเป็นศิษย์ของเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) พระวิปัสสนาจารย์จากราชสำนักลาวเวียงจันทน์ เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร รูปแรก จึงเรียนอักขระวิธีจนแตกฉาน แล้วบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบางลำพู (ปัจจุบันคือ วัดสังเวชวิศยาราม) แล้วจำพรรษาอยู่กับเจ้าคุณอรัญญิก(ด้วง) ผู้เป็นอาจารย์

ต่อมาได้ออกธุดงค์ เรียนวิปัสสนาวิธีเรื่อยมาจนกระทั่งได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ แล้วอยู่จำพรรษากับเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง)ตลอดมา จึงเป็นสาเหตุให้ประจักษ์ถึงความผูกพันระหว่างท่านกับวัดอินทรวิหารผ่านถาวรวัตถุที่ท่านได้สร้างไว้ เช่น ท่านได้สร้างไว้เป็นมงคลสถานระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และระลึกถึงท่าน คือ องค์พระพุทธศรีอริยเมตไตรย หรือ องค์หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธมหาปฏิมากร ปางประทับยืนทรงบาตรที่สูงใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และท่านได้สร้างบ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งได้ให้ช่างเขียนจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เป็นภาพชีวประวัติของท่าน ไว้ ณ วัดอินทรวิหารแห่งนี้

ในโอกาสระลึกถึงการมรณภาพครบ 150 ปี ของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯ โต ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ทางวัดอินทรวิหารจึงมีดำริการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกถึงสมเด็จฯ โต และองค์พระพุทธศรีอริยเมตไตรย (หลวงพ่อโต) ออกแบบงดงาม ลงตัว ถวายนามว่า เหรียญ"พุทธคูณทวี”บารมีพุทธซ้อน

ทั้งนี้ เพื่อหารายได้สมทบทุน 1.บูรณะบาตรองค์พระพุทธศรีอริยเมตไตรย (หลวงพ่อโต) 2.เพื่อสร้างซุ้มประตูหน้าวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง ขนาด 15 x 16 เมตร และปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเข้าสู่วัดอินทรวิหาร

รูปแบบลักษณะเหรียญ คล้ายทรงใบเสมา
ด้านหน้า อัญเชิญรูปองค์พระพุทธศรีอริยเมตไตรย (องค์หลวงพ่อโต) ซ้อนด้วยรูปเหมือนเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ริมขอบเหรียญสลักลายกนกหัวนาคหางสิงห์ งดงาม ชัดเจน เป็นที่มาของความหมายอันเป็นมงคลนามว่า “พุทธคูณทวี ” บารมีพุทธซ้อน

ด้านหลัง อัญเชิญรูปพระเกศโมลีขององค์หลวงพ่อโต เป็นศุภสัญลักษณ์ เบื้องล่างจารึกพระอนุพุทธคาถา หัวใจพระพุทธศาสนา เป็นภาษาบาลีโบราณอักษรโบราณ ซึ่งเป็นภาษาบาลีอักษรไทย ได้ว่า “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา, เตสํ เหตุงฺ ตถาคโต (อาห), เตสญฺจ โย นิโรโธ จ, เอวํวาที มหาสมโณติ ฯ ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ, พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น, และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น, พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้ ” เบื้องล่างสลักลายกนกผูกลวดลายคล้ายรูปครุฑพ่าห์ พร้อมกับจารึกข้อความว่า “ พ.ศ. 2565 วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง บางขุนพรหม พระนคร กรุงเทพมหานคร” รองรับด้วยลายกนก

พิธีมหาพุทธาภิเษกกำหนดจัดขึ้นในวันอังคารที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 17:19 น โดยมี เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นประธานจุดเทียนชัย และนั่งปรก พร้อมด้วยพระเกจิภาวนาจารย์ทั่วราชอาณาจักร ณ บริเวณมณฑลพิธีอันศักดิ์สิทธิ์หน้า องค์พระพุทธศรีอริยเมตไตรย หรือ องค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหารพระอารามหลวงแขวงบางขุนพรหม เขตพระนค กรุงเทพฯ

รายนามพระสงฆ์เกจิภาวนาจารย์นั่งปลุกเสก อาทิ 1.หลวงปู่ทอง วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร 2.หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 3.หลวงพ่อจง วัดสังฆาราม จ.สุโขทัย 4.หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้ จ.อยุธยา 5.หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ จ.สมุทรสาคร 6.หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาส กทม. 7.หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 8. ครูบาน้อย วัดสันปูเลยฯ จ.เชียงใหม่ 9.หลวงปู่สมบุญ วัดลำพันบอง จ.สุพรรณบุรี 10.หลวงพ่ออนันต์ วัดบางพลีน้อย จ.สมุทรปราการ,พระครูวิมลญาณอุดม (ธรรมนูญ ฐิตวฑฺฒโน) วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี,พระครูปลัดจริยวัฒน์ (แก้ว ขนฺติพโล) วัดตะโก จ.อยุธยา ฯลฯ

ในโอกาสนี้ จึงขอเชิญพุทธศาสนิกชน ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญครั้งใหญ่ ร่วมสั่งจองบูชาได้ที่ m.me/WatIndharaviharn หรือวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 กำหนดรับวัตถุมงคล ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 สอบถามโทร.02-2823173













กำลังโหลดความคิดเห็น