กลุ่มอนุภูมิภาค 4 กลุ่มเศรษฐกิจ อันประกอบด้วย กลุ่ม BIMSTEC, IMT-GT, ACMECS และ LMC ซึ่งมีสมาชิกรวมกันจำนวน 13 ประเทศ อันประกอบด้วย ไทย เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน อินเดีย และศรีลังกา โดยประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่เป็นสมาชิกอยู่ในทั้ง 4 กลุ่มอนุภูมิภาค ด้วยความเหมาะสมที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ในทั้ง 4 กลุ่มเศรษฐกิจ และมีภูมิประเทศที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มอนุภูมิภาค 4 กลุ่มเศรษฐกิจนี้
จึงเหมาะเป็นเวทีศูนย์กลางสำหรับประชุมสัมมนาและเจรจาจับคู่ด้านการท่องเที่ยวและไมซ์เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ภาคเอกชนโดยการสนับสนุนจาก สสปน. จึงมีแนวคิดร่วมกันในการจัดทำกรอบความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและไมซ์ BIAL ภายใต้ชื่อกรอบความร่วมมือ BIAL TOURISM & MICE Cooperation รวมถึงสร้างเวทีประชุมสัมมนาและเจรจาจับคู่ทางธุรกิจนานาชาติ ด้านการท่องเที่ยว
และไมซ์ ขึ้นในประเทศไทย โดยมีแผนจัดเป็นงาน BIAL TOURISM & MICE BUSINESS CONFERENCE ขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้เป็นเวทีในการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและไมซ์ร่วมกันของประเทศ 4 กลุ่มเศรษฐกิจ (BIMSTEC, IMT-GT, ACMECS และ LMC) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 13 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน อินเดีย และศรีลังกา
BIAL TOURISM & MICE BUSINESS CONFERENCE จึงเป็นเวทีความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยวและไมซ์ เพื่อนำผลที่ได้จากการประชุมมานำเสนอต่อภาครัฐและผู้นำภาคการท่องเที่ยวและไมซ์ รวมถึงสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวและไมซ์บนเส้นทางสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ BIAL ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามระดับประเทศและระดับสากล เป็นเวทีนำเสนออัปเดตข้อมูลด้านไมซ์และการท่องเที่ยวระหว่างกันของผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศ 4 กลุ่มเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นเวทีในการเจรจาจับคู่ทางธุรกิจระหว่างกัน
นายสุวัชชัย นิมมานเทวินทร์ ผู้อำนวยการสำนักภาคกลางและตะวันออก สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ สสปน. หรือ ทีเส็บ (TCEB) กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือกันระหว่าง ทีเส็บ กับภาคีเอกชนด้านการท่องเที่ยวและไมซ์ในครั้งนี้ ถือเป็นบทบาทสำคัญของ
ทีเส็บในการเป็นผู้ร่วมสร้างโอกาสทางธุรกิจหรือ Co-creator of business opportunities ร่วมกับพันธมิตร Alliance ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งความร่วมมือของภาคเอกชนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและไมซ์ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศภายใต้งาน BIAL TOURISM & MICE BUSINESS CONFERENCE ในครั้งนี้ คือภาพสะท้อนที่ชัดเจนของ ทีเส็บ โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ทีเส็บได้ร่วมมือกับ 3 พันธมิตรที่สำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและไมซ์ของไทย คือ สมาคม ATTA สมาคม TTAA และสมาคม ADT โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเกิดการร่วมกลุ่มกัน เกิดเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างกันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวและไมซ์จาก 13 ประเทศ ภายใต้ 4 กลุ่มอนุภูมิภาค อันประกอบด้วย BIMSTEC, IMG-GT, ACMECS และ LMC ในการอัปเดตข้อมูล แลกเปลี่ยนมุมมอง แชร์ประสบการณ์ สร้างเครือข่าย และเจรจาธุรกิจ ผ่านกิจกรรมประชุมสัมมนา และเวทีจับคู่ทางการค้า
ด้าน นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) กล่าวว่า หลังจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและไมซ์เป็นอย่างมาก ความร่วมมือร่วมกันของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งสำคัญ การจัดงาน BIAL TOURISM & MICE BUSINESS CONFERENCE ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 29 - 30 กันยายน 2565 ณ โรงแรม รามาดา พลาซา บาย วินด์แฮม แบงคอก แม่น้ำ ริเวอร์ไซด์ จึงถือเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและไมซ์ จากทั้งหมด 13 ประเทศ ได้มีโอกาสใช้เวทีดังกล่าวในการ
อัปเดต ข้อมูลคู่ค้าและข้อมูลทางการตลาดระหว่างกัน โดยกิจกรรมภายในงาน มีเสวนาในหัวข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับมุมมองกับโอกาสความร่วมมือส่งเสริมการท่องเที่ยวและไมซ์กลุ่มประเทศสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ BIAL การอัปเดตข้อมูลทางการตลาดและการนำเสนอข้อมูลด้านการท่องเที่ยวและไมซ์ไทยระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการจากประเทศในกลุ่ม BIAL กิจกรรม Business Matching
ระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวและไมซ์ไทยกับผู้ประกอบการจากประเทศในกลุ่มความร่วมมือ BIAL
นางกัลญาณี อัสนี เลขาธิการสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA) กล่าวเสริมว่า ประเทศทั้ง 13 ประเทศ ภายใต้ 4 กลุ่มอนุภูมิภาคอันประกอบด้วย BIMSTEC, IMG-GT, ACMECS, LMC มีประชากรร่วมกันกว่า 2,000 กว่าล้านคน มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง รวมถึงเป็นแหล่งรวมของวัฒนธรรมและอารยธรรมที่เก่าแก่และหลากหลาย ทำให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวและกลุ่มเป้าหมายไมซ์ ดังนั้นการรวมกันเพื่อก่อเกิดกรอบความร่วมมือ BIAL TOURISM & MICE BUSINESS Cooperation นั้น จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาวางแผนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและไมซ์ระหว่างกันต่อไปในอนาคต
นายฉัตริน เพียรธรรม อุปนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) กล่าวว่า การเริ่มต้นของกรอบความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อจากนี้ ภายใต้การเชื่อมโยงกันของโลกที่ไร้พรมแดน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกันของเส้นทางคมนาคมของเส้นทาง One Belt One Road จะทำให้เส้นทางการท่องเที่ยวและการเดินทางทำกิจกรรมไมซ์สามารถเชื่อมกันได้มากขึ้น โดย สทน. จะเป็นผู้ต่อยอดให้เกิดการเดินทางเชื่อมโยงของนักเดินทางจากต่างประเทศ เดินทางเชื่อมต่อไปยังส่วนต่างๆของภูมิภาคของประเทศไทย ให้เกิดการรับรู้ถึงสถานที่ท่องเที่ยวและการทำกิจกรรมไมซ์ในจังหวัดที่แปลกใหม่ในสายตาชาวต่างชาติ เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของนักเดินทาง อันจะเป็นการกระจายรายได้อย่างมีประสิทธิภาพลงสู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยต่อไป