xs
xsm
sm
md
lg

สธ. ชู ส้วมวัด ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 61 หนุนสร้างนักบริบาลสุขา ช่วยพัฒนาส้วม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กระทรวงสาธารณสุข เผย ส้วมวัดผ่านการประเมินตามมาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) ร้อยละ 61 พร้อมส่งเสริมให้มีนักบริบาลสุขา ช่วยพัฒนาส้วมวัดหรือศาสนสถานทุกประเภท ให้สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย

“ดร.สาธิต ปิตุเตชะ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเข้าเฝ้าถวายสักการะสมเด็จพระสังฆราช  และกราบทูลรายงานผลการพัฒนาส้วมวัดและศาสนสถานทุกประเภท ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เขตพระนครกรุงเทพมหานคร ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาส้วมวัดทั่วประเทศ และส่งเสริมให้มีผู้รับผิดชอบดูแลทำความสะอาดส้วมวัดและศาสนสถาน หรือ นักบริบาลสุขา เพื่อสร้างผู้มีความรู้ในการจัดการส้วมสาธารณะ มีพฤติกรรมการใช้ส้วมที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งผลการดำเนินงานพัฒนาส้วมวัดประจำปี 2565 พบว่า ส้วมวัดผ่านการประเมินตามมาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) ร้อยละ 61 เพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2564 ที่ผ่านมาตรฐานเพียงร้อยละ 48 พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีนักบริบาลสุขา โดยผ่านการอบรม จำนวน 3,162 คน ตลอดจนพัฒนาวัดให้มีการจัดการส้วมสาธารณะที่ดี จนผ่านเกณฑ์ประเมินระดับดีเด่น จำนวน 322 แห่ง ซึ่งการพัฒนาส้วมวัดและส้วมในศาสนสถานทุกประเภทให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้นนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการร่วมกัน กระทรวงสาธารณสุขจึงขอเชิญชวนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชน ร่วมกันเป็นนักบริบาลสุขา โดยช่วยกันพัฒนาส้วมวัดและส้วมในศาสนสถานทุกประเภท ให้สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค

ทางด้าน “นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า “การขับเคลื่อนพัฒนาส้วมวัด กรมอนามัยได้กำหนดเป้าหมายและแผนดำเนินงาน ดังนี้ 1) จัดทำระบบการประเมินและกำกับติดตามการพัฒนา    ส้วมวัด 2) สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายส้วมสาธารณะไทย เพื่อร่วมกันพัฒนาส้วมวัดที่พบว่า ร้อยละ 38.9         ยังไม่ผ่านมาตรฐาน 3) ส่งเสริมให้มีนักบริบาลสุขาหรือจิตอาสาในการดูแลความสะอาดส้วมวัดให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจัดอบรมนักบริบาลสุขา และ 4) ให้วัดทั่วประเทศมีการประเมินตนเองผ่านระบบการประเมิน และพัฒนา กำกับติดตามการพัฒนาส้วมวัด

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือวัด และศาสนสถานทุกแห่งใส่ใจเรื่องความสะอาดของส้วม โดยเฉพาะบริเวณผิวสัมผัสร่วม 7 จุดเสี่ยง ได้แก่ สายฉีดชำระ ที่กดโถส้วม โถปัสสาวะ ลูกบิดหรือกลอนประตู ที่รองนั่งโถส้วมพื้นห้องส้วม และที่เปิดก๊อก เพื่อป้องกันเชื้อโรค ลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่วนผู้ใช้บริการต้องมีพฤติกรรมการใช้ส้วมอย่างถูกต้อง โดยก่อนใช้ส้วมทุกครั้ง ให้เช็ดฆ่าเชื้อก่อนนั่งลงบนโถส้วม ไม่ทิ้งวัสดุใด ๆ ลงในโถส้วม ปิดฝาโถส้วมก่อนกดชักโครกทุกครั้ง ป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรค ให้เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ขณะรอใช้ส้วมสาธารณะ popรวมทั้งล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาดอย่างน้อย 20 วินาที ทุกครั้งหลังใช้ส้วมเพื่อสุขอนามัยที่ดี”













กำลังโหลดความคิดเห็น