โครงการดีๆ “HER” ที่เริ่มต้นจากโครงการของเยาวชนไทย สู่รางวัลระดับโลก “ Diana Award” โดยมี “นางสาวมัญญสิริ โชติบูรณ์วงศ์” หรือ “น้องแพร” นักเรียนชั้นเกรด 12 โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา เป็นผู้ก่อตั้ง โดยโครงการ “HER” ผ้าอนามัยแบบผ้าที่สามารถช่วยเหลือผู้หญิงที่ขาดแคลนผลิตภัณฑ์ประจำเดือนได้ในระยะยาว และอีกหนึ่งความภาคภูมิใจ น้องแพรได้เข้าแคมป์ปรัชญาโอลิมปิกเป็นตัวแทนประเทศ และได้รางวัลชมเชยที่ประเทศโปรตุเกส
“HER เป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้หญิง ที่ขาดแคลนสุขอนามัย และขาดความรู้สึกเรื่องประจำเดือน สิ่งที่พวกเราทำคือดีไซน์ผ้าอนามัยแบบผ้าของพวกเราเอง และนำไปบริจาคให้กับผู้หญิงและน้องๆในถิ่นทุรกันดาร คนที่เค้าขาดแคลน นอกจากนี้เรายังทำทำกิจกรรมชูเรื่องประจำเดือน สามารถพูดคุยได้อย่างเปิดเผย จุดเริ่มต้นคือแพรมีปัญหาเรื่องประจำเดือน และมาคุยกับเพื่อนๆ และมีความเห็นตรงกัน ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผู้หญิงที่ขาดแคลนผ้าอนามัย จึงมีแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์แบบผ้า เป็นวิธีการที่เราจะสามารถช่วยเหลือผู้หญิงที่ขาดแคลนผลิตภัณฑ์ประจำเดือนได้ในระยะยาว ในระยะสั้น มอง ว่าในคนส่วนใหญ่เขาก็จะเอาเงินไปซื้อผ้าอนามัยธรรมดาทั่วไปที่อยู่ตามท้องตลาด ที่ใช้แล้วทิ้ง แล้วเขาก็จะเอาไปบริจาคกัน ซึ่งคิดว่าการที่เราทำแบบนี้ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่เราสามารถช่วยผู้หญิงได้ค่ะ”
“ตอนแรกเราก็ยังกังวลใจ เมื่อเราเอาไปแจก เราจะมีเขียนคำอธิบาย ให้ความรู้ต่างๆด้วยค่ะ และก็มีฟีดแบคที่ดี อย่างประหยัด และใส่แล้วสบายซึมซับได้ดี นอกจากนั้นแล้ว เราก็ต้องทำให้คนที่ใช้ รู้สึกมั่นใจในผลิตภัณฑ์ เพราะว่าหลายครั้ง คนไทยหลาย ๆ คนยังไม่เคยใช้ผ้าอนามัยแบบผ้ามาก่อน แล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ใหม่ แล้วพวกเราก็มักจะกลัว หรือว่าไม่มั่นใจ กับสิ่งใหม่ ๆ เสมอ พวกเราจึงคิดว่า หลังจากที่ได้รับฟังแล้ว เราก็กลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เราต่อไป เป็นผลิตภัณฑ์ ณ ปัจจุบันของเรา ณ ตอนนี้ ต่อไปก็คือเป็นพาร์ทเนอร์กับองค์กรต่าง ๆ เช่นองค์กรบ้านพระพร องค์กรที่อเมริกา อย่างแอมนาสตี้ ซึ่งเราก็ไปหาทุน ระดมทุน เพื่อที่จะเอาทุนเหล่านี้ มาเย็บผ้าอนามัย ซึ่งเราก็มีแอมบาสเดอร์ต่าง ๆ จากหลายโรงเรียน รอบ ๆ กรุงเทพฯ ที่เขาคอยช่วยกันระดมทุนในโรงเรียนของพวกเขา จัดงานในโรงเรียนอะไร เราก็เอาทุนเหล่านี้ มาเพื่อที่จะมาเย็บผ้าอนามัย”
โครงการ “HER” ได้รับรางวัล Diana Award เป็นรางวัลที่อยู่ในนามเจ้าหญิงไดอาน่าของประเทศอังกฤษ
“ดีใจมากค่ะกับรางวัลนี้ เริ่มทำโครงการก็ไม่ได้วางแพลนว่าจะได้รับรางวัลอะไร แต่มีเพื่อนร่วมงานบอกลองส่งไปสิ มันเป็นโอกาสที่ดี เป็นประตูเปิดโอกาสให้เราหลายๆเรื่อง จะมีแค่ไม่กี่คนที่ได้รับรางวัลนี้ ซึ่งพวกเราก็รู้สึกเป็นเกียรติมาก ๆ ที่ได้รับ เป็นเยาวชนไทยคนเดียวในปีนี้นะที่ได้รับรางวัลนี้ จากโครงการ HER ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้หญิงที่ขาดแคลนผลิตภัณฑ์ประจำเดือน และความรู้ประจำเดือน ให้เขามีสุขอนามัยประจำที่ดีขึ้นผ่านผ้าอนามัยแบบผ้าที่เรานำไปมอบให้กับพวกเขาค่ะ”
อีกหนึ่งความภาคภูมิใจได้เข้าแคมป์ปรัชญาโอลิมปิก และได้รางวัลชมเชย
“ได้เจอเพื่อน ๆ จากหลายประเทศ จาก 46 ประเทศด้วยกัน ซึ่งพวกเขาก็เก่ง ๆ กันทั้งนั้นเลย บางคนเขาถูกเลือกมาจากเป็นพัน ๆ คนเลย พวกเขาก็คือเก่งที่สุดจากพันคนเลย ซึ่งเราก็โชคดีมาก ๆ ที่ได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ ณ จุด ๆ นั้น ที่เราสามารถได้คุยกับพวกเขา ได้ทำความรู้จักพวกเขา เป็นเพื่อนกับพวกเขา ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเกี่ยวกับประเทศของกันและกัน ปรัชญาสามารถเข้ามาใช้ในสังคมไทยเราได้ เราอาจจะสามารถสร้างสังคมที่ตั้งคำถาม สามารถตั้งคำถามได้มากขึ้น นั้นอาจจะเป็นสาเหตุที่เราไม่มีการสอบปรัชญาในโรงเรียนของเรา แต่ว่าถามว่าเราสอนได้ไหม เราก็จำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่พร้อมก่อน ที่จะสอนปรัชญา เพราะปรัชญามันไม่ใช่แค่การสอนธรรมะ มันคือการสอนมันเป็นคล้าย ๆ วิชาวิทยาศาสตร์ เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการตั้งคำถามแต่มันก็คือการที่เราจะต้องหาข้อมูล มีข้อมูลของนักปรัชญาหลายคน มาซัพพอร์ตความคิดเห็นของเรา ซึ่งความคิดเห็นของเรามันสามารถแตกต่างไปจากใครก็ได้เป็นความคิดเห็นของเราเองก็ได้ แต่เราจะต้องสามารถอธิบาย แล้วเราก็จะต้องสามารถสนับสนุน ประเด็นของเราได้ว่าทำไมเราถึงเชื่อแบบนี้ค่ะ”