ทำเอาแฟนๆ ห่วงใยอยู่ไม่น้อย สำหรับ “น้องซารัง” ลูกของ “อ้วน รังสิต ศิรนานนท์” กับ “ปาร์ค ฮยอนซอน” ที่ป่วยแอดมิดเข้ารพ. จากภาวะสำไส้กลืนกัน พร้อมลั่นสุดสงสารลูก ถูกจับล็อกทั้งวัน ตะโกนจนหมดแรง
“ตั้งแต่เมื่อวานโรฮาปวดท้องแล้วไปหาหมอมา 3 คนภายในวันเดียว หมอบอกไม่เป็นไร ไม่มีไรน่าห่วง กลับมาบ้านแต่ก็ยังคงปวดท้องเป็นระยะ จะปวดมากทุกครั้งที่กินอาหาร สุดท้ายมาอีกครั้งและออมม่าขอให้หมออัลตร้าซาวด์ถึงเห็นว่ามีภาวะลำไส้กลืนกันอย่างที่ออมม่าคิด สรุปงานนี้ออมม่าวิเคราะห์เก่งกว่าหมอ คุณแม่ทุกคนต้องสังเกตอาการลูกน้อยกันดีๆด้วยน้า อย่าปล่อยผ่านง่ายๆ ไม่งั้นอาการจะยิ่งแย่อาจถึงขั้นต้องผ่าตัด สุดท้ายคือสงสารเด็กน้อยมาก ถูกจับล็อกทั้งวัน ตะโกนจนหมดแรงเลย หายไวๆ แล้วกลับไปฉลองวันเกิดน้าเจ้าโรฮา”
สำหรับโรคลำไส้กลืนกัน (Intussusception) คือภาวะที่ลำไส้ส่วนต้นมุดเข้าสู่โพรงของลำไส้ส่วนที่อยู่ถัดไปทางด้านปลาย เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะถ้าลำไส้กลืนกันอยู่เป็นเวลานาน จะเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดจนเกิดการเน่า ลำไส้แตกทะลุ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รวมทั้งติดเชื้อในกระแสเลือดและอาจจะเสียชีวิตได้ ซึ่งเด็กวัย 3 เดือน ถึง 2 ปี เป็นวัยที่เสี่ยงที่สุด จะเป็นชนิดกลืนกันแบบมีการมุดตัวของลำไส้เล็กส่วนปลายเข้าสู่โพรงลำไส้ใหญ่ส่วนต้น Ileocolic Type
ข้อสังเกตสำไส้กลืนกันคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกมีภาวะลำไส้กลืนกันจากอาการปวดท้อง กระสับกระส่าย มือเท้าเกร็งร้องไห้เป็นพัก ๆ ประมาณ 15 – 30 นาทีก็เริ่มร้องอีก เวลาที่ร้องไห้ลูกจะงอเข่าขึ้นทั้งสองข้าง Colicky ain ท้องอืดและอาเจียน ช่วงแรกมักจะเป็นนมหรืออาหารที่ลูกกินเข้าไป แต่ระยะหลังจะมีสีเหลืองหรือเขียวของน้ำดีปนออกมา อุจจาระมีเลือดคล้ำ ๆ ปนเมือก เด็กบางคนอาจจะมีอาการซึมหรือชักร่วมด้วย
การรักษาโรคลำไส้กลืนกันมี 2 วิธี
วิธีที่ 1 คือ การดันลำไส้ส่วนที่ถูกกลืนให้ออกมาจากลำไส้ส่วนที่กลืนกันอยู่ โดยการใช้แรงดันผ่านทางทวารหนัก ซึ่งอาจจะใช้การสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารของเหลวที่เป็นสารทึบรังสี Barium หรือใช้ก๊าซเป็นตัวดัน ถ้ากระบวนการสวนลำไส้ใหญ่สามารถดันลำไส้ที่กลืนกันออกได้สำเร็จ ก็ไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรับประทานอาหารได้ภายใน 1 – 2 วัน
วิธีที่ 2 คือ การผ่าตัดเปิดช่องท้อง ในการผ่าตัดนั้นศัลยแพทย์จะใช้มือบีบดันให้ลำไส้ส่วนที่กลืนกันคลายตัวออกจากกัน มีเพียงผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีการเน่าหรือมีการแตกทะลุของลำไส้แล้ว ซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเป็นจะต้องตัดลำไส้ส่วนที่เน่าตายออกและทำการต่อลำไส้ส่วนที่ดีเข้าหากัน กลุ่มนี้จะรุนแรงและให้การดูแลรักษาแบบกลุ่มลำไส้อุดตัน นอนในโรงพยาบาลนาน และมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่า
(ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ โรงพยาบาลกรุงเทพ)