xs
xsm
sm
md
lg

เจาะประเด็นการปกครองในละคร “เล่ห์ลุนตยา” ในสภาวะผู้นำ!!?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หากพูดถึงวงการละครโทรทัศน์ของไทย ในยุคสมัยนี้คำว่า “ละคร” เปรียบเสมือนหนึ่งในอาวุธของการต่อสู้ ที่ใช้ลงสนามฟาดฟันของช่องทีวีดิจิตอลในยุคปัจจุบัน เพื่อหวังชิงเรตติ้งมาให้กับช่องทางของตัวเอง และนั่นหมายถึง คอนเทนต์ที่สามารถดึงดูดฐานแฟนละครให้เข้ามารับชมเพิ่มมากขึ้น จนหลายครั้งผู้จัดละคร ก็มุ่งผลิตจนสร้างบรรทัดฐานใหม่ในวงการขึ้นมาแบบไม่รู้ตัว ว่าละครที่จะสามารถดึงคนดูได้ ต้องมีความรุนแรง เลิฟซีน มาใช้เป็นเครื่องมือ ชูโรงในการเรียกแขก แต่สำหรับละคร เล่ห์ลุนตยา ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ที่กำลังออกอากาศ ทุกวันจันทร์ – พฤหัสบดี เวลา 20.30 น. อยู่นั้นสิ่งที่เป็นตัวชูโรง หรือเรียกแขก นอกจากความสนุกของเรื่อง คงเป็นหน้าที่ของคนดูอย่างเรา ที่จะสามารถอ่าน ตีความอะไรบางอย่าง ที่ละครให้เราได้ มากกว่าความบันเทิง

โดยสิ่งที่จะหยิบยก และคิดว่า เรื่องนี้คือประเด็นที่ละคร เล่ห์ลุนตยา พยายามจะบอกคนดูเรามากที่สุด ถ้าให้คิดเร็ว ๆ ก็จะได้ประเด็นว่า ถ้าคนในระดับปกครอง หรือผู้นำอย่าง เจ้าจา ที่รับบทโดย ลิฟท์-สุพจน์ และเจ้าแสนดา ที่รับบทโดย พิม-พิมพ์พรรณ ในระดับนโยบาย ดูแลประชาชนได้ดีจริง แบบที่จับต้องได้ มีความเป็นเหตุเป็นผล ไม่กดดัน ไม่ผลีพลาม คิดไต่ตรองให้ดีและไม่ขาดสติ แนวโน้มว่า ประชาชน ชาวบ้านตาดำ ๆ ก็จะตอบสนองรัฐด้วยดี และให้ความร่วมมือ ปกป้องบ้านเมือง แต่สิ่งอื่นสิ่งใด กล่าวคือ ก่อนเราจะบอกให้ ประชาชนทำอะไร อยากให้ประชาชน รักบ้านรักเมือง เราต้องทำให้เขาเห็นก่อน ไม่ใช้เอาแต่กำหนดบทลงโทษ หรือที่เรียกที่ว่ากฎหมาย โดยพร่ำบอกให้ท่องจำว่าต้องรัก แต่ต้องอภิบาลดูแลประชาชนให้ดี ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในละครเล่ห์ลุนตยา ถ้าเจ้าแสนดา ไม่ว่าร้ายกดดัน เนงลีโอ ที่รับบทโดย อนันต์ เสมาทอง จนเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ก็เป็นไปได้ยากที่เนงลีโอ คิดจะเล่นแร่แปรพักตร์ไปชักศึกเข้าบ้านร่วมมือกับทหารฝรั่ง หรือหากเจ้าแสนดา รู้ว่า ยองตมานและยองตยา ประพฤติไม่ดี การที่ไปใช้อำนาจของการเป็นแม่เมืองไปทำการระรานกดดัน ก็ไม่ได้แปลว่า สองแม่ลูกจะต้องยอมตลอดไป ไม่ช้าก็เร็วเค้าต้องหาจังหวะเอาคืนอยู่ดี หากลองมองมุมสถานการณ์ที่เจ้าจาปกครองไพร่ฟ้า มันก็คงเป็นคำจริงที่พวกฝรั่งว่า ไม่มีความเป็นศิวิไลซ์ที่แท้จริง หากแต่เป็นความศิวิไลซ์จอมปลอมแค่ในโลกของตัวเองเท่านั้น

ดังนั้นงานการปกครองที่ดี ต้องเป็นการปกครองที่ส่งเสริมฝ่ายที่สนับสนุนตัวเอง และฝ่ายตรงข้ามด้วย ถ้าไปกดขี่ ฝ่ายตรงข้ามมากๆ เค้าก็ย่อมหาจังหวะเอาคืน บ้านเมืองก็ไม่สงบสุข และต้องมีวิธีลงโทษที่เป็นเหตุเป็นผล ที่ทำให้คนทำผิดยอมรับในความผิดนั้น อย่างตรงไปตรงมา ตัวผู้นำก็ต้องมองให้รอบด้าน มิเช่นนั้นอาจนำพาไปสู่ความล่มสลาย เฉกเช่นดังเมืองสมมุติในเรื่องเล่ห์ลุนตยา ที่อาจจะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับบ้านเมืองเราเข้าสักวันก็เป็นได้ เพราะหลายคนที่ถูกกดขี่ ก็อยากจะลุกขึ้นสู้เข้าสักวัน

























กำลังโหลดความคิดเห็น