กรณีดาราพาเหรดติดเชื้อโควิด แค่เดือนกุมภาพันธ์ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันนี้ (24 ก.พ) มีดาราติดเชื้อไปแล้วทั้งหมด 41 คน อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ “โอมิครอน” หนึ่งในสายพันธ์ของโควิดทำให้ประชาชนติดเชื้อได้ง่าย ความรุนแรงจะเป็นอย่างไร และเชื้อโควิด-19 จะมีโอกาสสูญพันธ์หรือไม่
รายการโหนกระแสวันที่ 24 ก.พ. 65 ดำเนินรายการโดย “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 เปิดใจสัมภาษณ์ “ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิพย์” หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี
อาจารย์ทำอะไรในศูนย์จีโนม?
ดร.วสันต์ : เราจะถอดรหัสพันธุกรรมเป็นหลัก ปกติถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ที่เป็นโรค เพื่อใช้ยา หรือปรับเปลี่ยนอะไรต่างๆ หรือผ่าตัด ทีนี้พอมีปัญหาเรื่องโควิด ทั่วโลก โดยเฉพาะ WHO เขาขอร้องมาว่าห้องแล็บทั่วโลกไม่ว่าเล็กใหญ่ขอให้ช่วยถอดรหัสพันธุกรรม เพราะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะอัปโหลดขึ้นไปในคลาวน์ซิทเต็มอันนึง แล้วจะได้วิเคราะห์กันทั่วโลก
ทั่วโลกจะได้รู้กันหมดว่ามันเปลี่ยนอะไรยังไงบ้าง?
ดร.วสันต์ : ถูกต้องครับ และจะได้เอาไปใช้พัฒนาชุดตรวจหรือควบคุมโรค หรือพัฒนายา วัคซีนต่างๆ
สายพันธุ์ที่เกิดคือโอมิครอน มันติดเร็วขนาดนั้นเลยเหรอ?
ดร.วสันต์ : ถ้าดูโอมิครอน WHO ขอร้องให้บรรดาห้องแล็บช่วยดู จะมีพี่ๆ น้องๆ เขา โอมิครอนแตกเป็นสายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 และ BA1.1 หลังจากนั้นเป็น BA.2 และ BA.3 นี่คือโอมิครอน
ทำไมเยอะ?
ดร.วสันต์ : ถ้าเราดูเดลต้า เดลต้ามีสายพันธุ์ย่อยเยอะกว่านี้ เป็น AY.1-80 เพราะว่าโอมิครอน ไม่เคยหยุดการกลายพันธุ์ มันจะกลายไปเรื่อยๆ
ณ วันนี้ที่กำลังเผชิญอยู่เป็นตัวไหน?
ดร.วสันต์ : ถ้าดูภาพอินเสิร์จที่สองจะชัดเจน ตอนนี้เรามีไวรัสที่ถอดรหัสพันธุกรรมไปแล้วประมาณ 8 ล้านตัว พอ 8 ล้านตัวก็ใช้แอปพลิเคชั่นมาดูว่ากลายพันธุ์ยังไง ซ้ายมือสุดคืออู่ฮั่น ไม่มีการกลายพันธุ์เลย ถัดมาคือเดลต้า โอมิครอนอะไรต่างๆ ถ้าลากเส้นตรงตำแหน่งที่ 60 คือหมายถึงว่ากลายพันธุ์จากอู่ฮั่นไป 60 ตำแหน่ง อันนี้ยังดีนะ ไวรัสอะไรก็ตามที่กลายพันธุ์ต่างจากอู่ฮั่นไปน้อยกว่า 60 หรือเท่ากับ 60 ถือว่ากำลังจะสูญพันธุ์ไม่ต้องไปสนใจแล้ว
เอาง่ายๆ อู่ฮั่นอยู่แถวเลข 0 แต่พอเริ่มกลายพันธุ์จะทวีความรุนแรง แต่พอมาถึง 60 ปุ๊บ มันลดลงแล้ว?
ดร.วสันต์ : คือแต่ละสายพันธุ์ โดยเฉพาะโอมิครอน จากการเข้าไปดูทุกประเทศ สายพันธุ์เหล่านี้จะอยู่ได้ไม่นาน และเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ใหม่ อย่างโอมิครอน ที่แอฟริกาใต้ หรืออังกฤษ หรือสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้น คงอยู่และดับสูญไปประมาณ 2 เดือนเท่านั้นเองครับ ก็มีคำถามว่าเราจะอยู่กับโอมิครอนไปอีกนานเท่าไหร่ ก็ต้องบอกว่าประมาณ 2 เดือน แต่เราจะอยู่กับไวรัสโคโรน่า 2019 ไปอีกเท่าไหร่ ก็ต้องบอกว่าอีกนาน เพราะเขาจะกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ
มี 14 คำถามที่ต้องถามอาจารย์ คำถามแรก โอมิครอนจะระบาดในไทยอีกนานแค่ไหน?
ดร.วสันต์ : จากข้อมูลทั่วโลก หลายประเทศ โดยเฉลี่ยไม่เกิน 2 เดือน คือ 60 วัน ทุกประเทศทั่วโลกไม่เคยเกิน 2 เดือน
ของเราก.พ. มี.ค.น่าจะจบ แล้วจะเปลี่ยนสายพันธุ์อีกมั้ย?
ดร.วสันต์ : เปลี่ยนครับ WHO บอกว่าโอมิครอนไม่ใช่สายพันธุ์สุดท้ายอย่างแน่นอน
ต้องไปอีกกี่สายพันธุ์?
ดร.วสันต์ : WHO บอกว่าคงต้องอยู่ไปกับไวรัสโคโรน่า 2019 ไปอีกนาน แต่ WHO บอกชัดเจนว่าปีนี้การระบาดใหญ่ ทีแพนิกไปทั่วโลกจะยุติลง ประมาณกลางปีนี้ เปลี่ยนจากโรคอุบัติใหม่ที่รุนแรง เป็นโรคที่ควบคุมได้ แต่ยังไม่ใช่โรคประจำถิ่น ไวรัสประจำถิ่นปีนี้จะลดระดับลงจนเราควบคุมได้แต่เราไม่แน่ใจว่าจะประจำถิ่นเมื่อไหร่ เพราะไวรัสประจำถิ่นมันมีอีกปัจจัยนึงคือเราต้องสามารถคาดคะเนได้ว่าเขาจะมาเมื่อไหร่ ไปเมื่อไหร่ ตอนนี้เรายังเดาใจเขาไม่ถูก
ประเมินได้มั้ยว่าจะสูญพันธุ์เมื่อไหร่?
ดร.วสันต์ : ประเมินได้ว่ามันจะไม่สูญพันธุ์ ไวรัสมีหลายประเภท ถ้าไวรัสเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ จากประวัติศาสตร์ในอดีตถึงปัจจุบัน เช่นไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดธรรมดา ไม่เคยมีสายพันธุ์ไหนหายไปเลย มีไวรัสบางประเภทที่หาย เช่นไข้ทรพิษ หรือโปลิโอ อันนี้เราควบคุมและหายได้ แต่ไวรัสที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ยังไม่มีตัวไหนหายไปเลยจากระบบ เพียงแต่ว่าเมื่อระบาดแล้ว อาการทีแรกรุนแรง มีคนเสียชีวิต และจะค่อยๆ บรรเทาเบาบางลง จนเราอยู่ร่วมกับเขาได้
ต่อไปก็จะเหมือนไข้หวัดแล้วเราก็กินยาและหายไป?
ดร.วสันต์ : ใช่ครับ เป็นอย่างนี้ ฉะนั้นวันนี้สมมติมีใครติดกันมากมาย สำหรับผมถือว่าเป็นโอกาสดีที่มาติดกันช่วงนี้ เพราะโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตโดยอัตราจากต่างประเทศ 0.9 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดลต้า เมื่อก่อนถึง 5.4 เปอร์เซ็นต์
โอมิครอนที่บอกว่าไม่รุนแรง ทำไมยังมีคนเสียชีวิตอยู่?
ดร.วสันต์ : เราต้องเข้าใจว่าโรคไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นกลุ่มอาการ ภาษาหมอคือสเปกทรัมป์ ตั้งแต่ไม่มีอาการเลย จนมีอาการรุนแรง ถ้าเดลต้าจะหนักไปทางรุนแรง ถ้าโอมิครอน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ หรือมีอาการนิดหน่อยคล้ายไข้หวัด แต่มี 0.9 เปอร์เซ็นต์ที่เสียชีวิต ฉะนั้นจะมีอาการรุนแรงน้อย แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีเลย
คนมีอาการรุนแรง อาจเป็นคนไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือมีโรคประจำตัว หรือคนแก่?
ดร.วสันต์ : ถูกต้องครับ เป็นอย่างนั้น
มีจำกัดอายุมั้ย?
ดร.วสันต์ : 608 เป็นลักษณะซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเขาระบุไว้ เป็นโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เบาหวาน ต่างๆ นานา แต่เหล่านี้พยายามเลย รีบไปฉีดวัคซีนไว้ก่อนเลย
เขาลือกันว่า สุดท้ายต้องติดทุกคนจริงมั้ย?
ดร.วสันต์ : อันนี้อาจคลาดเคลื่อนนิดนึง ที่ลือกันว่าทุกคนจะติดโอมิครอน ในประเทศไทย ไม่น่าจะใช่ เพราะโอมิครอนจะมาแล้วก็ไปภายใน 2 เดือน ไม่ทันติดคนไทยทั้งประเทศ แต่ถ้าเปลี่ยนคำพูดใหม่ว่าพวกเรา คนทั้งโลก ท้ายที่สุดในช่วงชีวิตของเราจะมีโอกาสติดไวรัสโคโรน่า 2019 ไม่ว่าสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งในปัจจุบันหรืออนาคต ก็จะใกล้เคียงกว่า
มีประเทศไหนที่ตัวเลขประเทศเขาขึ้นสูงทุกวัน และขึ้นสูงจนน่ากลัว?
ดร.วสันต์ : เดนมาร์ก คือประจวบเหมาะเดนมาร์กมีประชากร 5-6 ล้านคน เขาก็ฉีดวัคซีนให้ตั้งแต่เด็ก 5 ขวบถึงทั้งหมดเลย ฉีดไปแล้วเยอะมาก ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ได้ แล้วเข็มสามก็เยอะ ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์มาก ซึ่งเขามีความมั่นใจในวัคซีนมาก จากนั้นเขายกเลิกมาตรการต่างๆ หมดเลย ไม่ต้องใส่มาสก์ ไม่ต้องโซเชียลดีสแทนซิ่งอะไรต่างๆ แล้วก็จะเห็นชัดเจนว่ากราฟโดยเฉพาะในอินเสิร์จที่ 5 จะเห็นว่าปรู๊ดขึ้นไปเลย จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเดนมาร์กพุ่งสูงขึ้นมากกว่าประเทศอื่นๆ กราฟอันบนจะบอกถึงผู้ติดเชื้อรายใหม่ และน่าสนใจคือของเดนมาร์กเดิมจะติดเชื้อ BA.1 ก่อน แล้วพอเคิร์ฟยังไม่ทันลงดีเลย ก็ติด BA.2 ตามเข้าไป ฉะนั้นเคิร์ฟก็เป็นหยัก 2 อัน ถ้ามาดูกราฟอันล่าง จะเห็นว่าไม่ว่าประเทศไหนก็ตามที่มีการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามผู้เสียชีวิตไม่มาก ใกล้เคียงกัน
ปัจจัยการแพร่กระจาย ที่ติดกันเยอะๆ ส่วนใหญ่น่าจะมาจากตรงจุดไหน?
ดร.วสันต์ : ถ้าพูดถึงสิ่งแวดล้อมก่อน ในกรณีของโอมิครอน ก็จะติดต่อกันได้ โดยผ่านทางเดินหายใจ อีกอันนึงคือสิ่งแวดล้อมเองโอมิครอนจะทนทานมาก ถ้าติดอยู่ตรงมือ อยู่ได้วันนึง ถ้าติดบนพื้นผิว 8 วันนะครับ นั่นหมายถึงว่า ถ้าบนผิวหนังตอนนี้โอมิครอนยาวไปแล้วเกือบวันนะครับ
ถ้าเดลต้า อัลฟ่าอยู่บนผิวหนัง 4 ชม. แล้วจะตายไปถ้าเข้าเซลล์เราไม่ได้ อยู่บนพื้น ติดตามพื้นพวกลูกบิดกี่วันถ้าเป็นเดลต้า?
ดร.วสันต์ : เดลต้าจะน้อยกว่า แต่ถ้าของโอมิครอนคือ 8 วัน
ถ้ามีคนไอแล้วเอามือไปจับ โอมิครอนติดมือ แล้วไปจับประตูห้องน้ำ เชื้อติดอยู่ตรงนั้น 8 วัน?
ดร.วสันต์ : ครับ แต่ต้องเป็นพวกห้องส่ง ไม่มีแสงแดด พวกอุณหภูมิอย่างนี้จะอยู่ ถ้าเจอแสงแดดไม่รอด แสงยูวีทำลายทุกสิ่งอย่าง อยู่ที่โล่งๆ ไม่มีปัญหา แต่ถ้าอยู่ห้องส่งเย็นๆ ห้องน้ำก็อยู่นานเช่นเดียวกัน ฉะนั้นแปลกมาก พอเขากลายพันธุ์ไป เข้าใจว่าอาจทำให้โครงสร้างไวรัสเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร ทำให้เขาทนทานต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้คนสงสัยว่าทำไมติดเชื้อกันง่าย ติดเชื้อกันบ่อย ติดกันเยอะ ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งแวดล้อมด้วย
มันติดเร็วมากขึ้นกี่เท่าถ้าเทียบกับอัลฟ่า หรือเดลต้า?
ดร.วสันต์ : ถ้าเป็น BA1 กับ BA2 ประมาณ 1.5 เท่า แต่ของเดลต้าจำไม่ได้ว่าเท่าไหร่ ถ้ามองดูกรณี BA.2 การแพร่ ก็เทียบกับหัดเยอรมัน ประมาณ 18 หมายถึง 1 คน แพร่ไป 18 คน ขณที่เดลต้าการแพร่อยู่ที่ 6.5 – 8 คน
ตั้งแต่ 1 ก.พ. จนถึงตอนนี้ ติดทั้งหมด 41 คน 1 ก.พ. มิว ศุภศิษฐ์, 7 ก.พ. เบลล่า ราณี , 11 ก.พ. บอม ธนิน , ไวท์ ณวัชร์ , ม่อน ธนัชชัย, พลอยชมพู, ซิง หฤษฎ์, 14 ก.พ. บอย ปกรณ์ , มะปราง อลิสา, 15 ก.พ. ตู่ จารุศิริ, 20 ก.พ. จอนนี่ แอนโฟเน่, กิต Three Man Down , 21 ก.พ. หน่อย บุษกร, เต-โอม-ตูน Three man down , ฟอส จิรัชพงศ์ , 22 ก.พ. เจมส์ จิรายุ , แอน ทองประสม, เจ เจตริน , ส้ม มารี, อิน บูโดกัน ,น้ำฟ้า ธัญญภัสร์, ณัฐ วงเคลียร์, ณัฐ ณัฐสิชณ์, ติวเตอร์ กรภัทร, ซี พฤกษ์, นุนิว ชวรินทร์, จ๊อบ รัชพล, จิมมี่ กานต์, แม็ก กรธิสส์, ยิม ปริญญากรณ์, ทอมมี่ สิทธิโชค, เจมส์ ศุภมงคล, 23 ก.พ. เกรท วรินทร , อาเล็ก ธีรเดช, ป๊อบ ฐากูร ,ว่าน วันวาน , โปเต้ วง MEAN, มิ้นท์ ณัฐวรา และหยาดทิพย์ ราชปาล ซึ่งหยาด 2 ครั้งแล้ว เยอะมากนะ?
ดร.วสันต์ : ผมไม่ประหลาดใจ ต้องถามว่าทั้งหมดที่อ่านมาฉีดวัคซีนแล้วใช่มั้ย คำถามคือใช่ ทำไมถึงเกิดอย่างนั้น คือวัคซีนที่เราใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน เราสร้างขึ้นมาอาศัยรูปลักษณ์อู่ฮั่นเป็นหลัก ถ้าเราดูโอมิครอน โดยเฉพาะ BA.2 ต่างจากอู่ฮั่น 100 ตำแหน่ง ฉะนั้นประสิทธิภาพของวัคซีนจะด้อยลง แล้วมีลักษณะการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน เรียกว่าวัคซีนเบร้กทู โอมิครอน 55.9 เปอร์เซ็นต์ คือ 100 นึงติดเชื้อได้ครึ่งนึง ฉะนั้นหลายคนเลยบอกว่าทำไมมีการติดเชื้อใหม่ เมื่อเทียบกับเดลต้า 24 เปอร์เซ็นต์
“อาเล็ก ธีรเดช” กับ “เกรท วรินทร” อยู่ในสาย ปุ๊บปั๊บรับโชคทั้งคู่ เกรทอาการเป็นยังไงบ้าง?
เกรท : ตอนนี้อาการผมเหลือแค่รู้สึกไม่ค่อยสบายคอ คันๆ คอ ถามว่าเจ็บคอมั้ยก็ไม่เจ็บคอแล้วด้วยครับ กลืนน้ำลายก็ไม่เจ็บคอ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือรู้สึกว่าเสียงไม่ปกติ ยังระคายคออย่างเดียวครับ เพราะเมื่อประมาณวันจันทร์ ที่มีไข้ แต่ก็ไม่ได้สูงมาก
ธรรมดาตรวจโควิดตลอด?
เกรท : ปกติตรวจ ATK ทุกวันครับ เคยพลาดไม่ตรวจบางวันแต่ไม่เคยเกิน 1 วัน แต่จะตรวจตลอด ไม่ว่าทำงานที่กองก็มีการจัดไว้ให้ในการตรวจ หรือนัดไปทานข้าวกับเพื่อน หรือไปเตะฟุตบอลกับเพื่อนก็ยังต้องตรวจ ATK กันทุกคนเพื่อจะได้สบายใจ เคยไม่ตรวจเต็มที่ก็แค่วันเดียวครับ แต่ก็ยังติดครับ ล่าสุดที่ไปทานข้าวมาก็ปิดโซนตรวจ ATK ทุกคน พนักงานก็ตรวจครับ แต่ก็ยังติดครับ
คนคลั่งรักเป็นไงบ้าง?
อาเล็ก : ผมไม่ได้มีอาการอะไรเป็นพิเศษ คล้ายๆ พี่เกรทคือคันคอ วันนี้เริ่มรู้สึกมีเสมหะ เสียงเปลี่ยนนิดหน่อย แต่ไม่ได้มีอะไรรุนแรง
เดาได้มั้ยรับเชื้อจากไหน?
อาเล็ก : ยากมากเลย เพราะมันคลุมเครือมาก เราไม่ได้มีความรู้เรื่องแพทย์เยอะขนาดนั้น ก็เลยไม่แน่ใจว่าคนที่เราเจอแล้วติดมา มันดูวันดูอะไร เราเลยไม่ได้ไปเจาะจงว่าติดจากตรงไหน แต่โชคดีที่ส่วนตัวก่อนเข้าบ้านเราค่อนข้างเซฟอยู่แล้ว ใส่มาสก์ไม่คอนแทคกับพ่อแม่อยู่แล้ว ที่บ้านเลยเซฟกันหมด
ตอนนี้แยกตัวออกมาในห้องเลย?
อาเล็ก : ใช่ครับ แต่แยกมาหลายวันแล้วเพราะเรารู้สึกว่าเราเจอคนเยอะ เราไม่ค่อยได้คลุกคลีกับพ่อแม่มาสักพักแล้วเหมือนกัน
อาเล็กฉีดวัคซีนมากี่เข็ม?
อาเล็ก : 3 ครับ ก่อนหน้านี้ซิโนแวค 2 แอสตร้า 1 เพิ่งได้โมเดอร์น่าไปเมื่อวันจันทร์ครับ แต่ไม่ทัน (หัวเราะ)
เกรทล่ะ ?
เกรท : ผมฉีดแล้ว 3 ครับ กำลังมีแพลนไปเข็ม 4 ปลายเดือนนี้ครับ แต่เดี๋ยวต้องเลื่อนไปก่อนครับ เข็มสามเป็นแอสตร้าครับ
เป็นเพราะออกกำลังกายด้วยมั้ยทั้งสองคน?
เกรท : ผมไม่รู้เหมือนกันครับ อาจจะใช่ก็ได้ เพราะสังเกตตัวเองตลอด ตอนมีไข้รู้สึกว่ามีแค่วันเดียว แต่เจ็บคอค่อยๆ ดีขึ้น แต่อาการวันนี้ยังระคายเคืองคออยู่ ยังไม่ดีขึ้นครับ
อาเล็กอาการทุกอย่างเหมือนไม่มีอะไรเลย?
อาเล็ก : ใช่ครับ แค่มีอาการคันคอ มีเสมหะแค่นั้น ไม่เจ็บคอไม่เป็นอะไรเลยครับ
เหมือนกับปกติเลย?
อาเล็ก : ใช่ แล้วตัวเล็กแพ้อากาศอยู่แล้วด้วย ก่อนหน้านี้ฝนตก ก็คิดว่าเอ๊ะ หรือว่าเล็กแพ้อากาศ อะไรแบบนี้ อยากให้ทุกคนเช็กดีๆ
ยารพ.ส่งมาให้มั้ย?
อาเล็ก : มีติดต่อไปแล้วเหมือนกัน แต่เพิ่งเมื่อวาน เลยยังส่งมาไม่ถึงครับ
เกรท : ของผมคุยกับคุณหมอแล้ว เอกซเรย์ปอดแล้ว ไม่ลงปอด และค่าตับดีอยู่ คุณหมอเลยให้ทานฟ้าทะลายโจร เช็กอาการอยู่ที่บ้าน คอยวัดออกซิเจนปลายนิ้ว วัดไข้ส่งให้คุณหมอดู
เจมส์จิเป็นยังไงบ้าง วันนั้นไปด้วยกันใช่มั้ย?
เกรท : ใช่ครับ ผมไปกับเจมส์ ตอนนี้เจมส์เท่าที่คุยล่าสุดเมื่อวานตอนกลางคืนก็ดีแล้ว เสียงปกติ แต่เจมส์เคยมีไข้สูงอยู่ช่วงวันนึงก่อนหน้านี้ มีช่วงวันอังคารเจมส์ไข้สูง แต่วันนี้หายแล้ว
คุณเองก็แยกตัวกับที่บ้าน?
เกรท : ปกติผมอยู่คนเดียวอยู่แล้ว พ่อแม่จะมาเสาร์อาทิตย์ครับ ล่าสุดคุณพ่อคุณแม่ได้เจอเหมือนกัน แต่ตอนนี้ไปตรวจ PCRแล้วก็ปลอดภัยหายห่วง
อาเล็กล่ะทางน้องโบว์?
อาเล็ก : โบว์ผล PCR เพิ่งออกว่าไม่มีเชื้อครับ ตอนนี้เขาอยู่บ้าน แต่โชคดีผมกับโบว์ไม่ได้เจอกันมาสักพักแล้ว เลยสบายใจตรงนี้ น้องเองไม่ได้ติดก็แฮปปี้
อยากให้ฝากอะไรคนไทยที่ดูอยู่ ที่เขากังวลใจว่าติดเยอะมาก?
เกรท : ผมคิดว่าหลักๆ คือการดูแลตัวเอง ปัจจัยอะไรที่เราสามารถควบคุมได้ ควรทำให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะใส่มาสก์ ล้างมือ พอเราทำดีที่สุดแล้วถ้ามันจะเกิดขึ้นก็ต้องรักษาไปตามขั้นตอน ไม่ให้จิตตกครับ สู้กับมันก็น่าจะดีขึ้น แล้วที่สำคัญถ้าเราทำตามปัจจัยที่เราควบคุมได้ดีที่สุด โอกาสเสี่ยงติดโรคก็น้อยลงครับ
อาเล็ก : เล็กเชื่อว่าทุกคนตอนนี้คงรู้วิธีป้องกันตัวเองอยู่แล้ว แต่หลายครั้งที่มีโอกาสไปข้างนอก ต้องเจอพบปะผู้คนก็อยากให้มีสติ พยายามทำมันให้ได้ตลอดเวลา ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วย ส่วนใครที่รอเตียงอยู่ก็ขอให้ได้เร็วๆ ครับ
สองท่านเหมือนไม่มีอาการอะไรเลย?
ดร.วสันต์ : อย่างที่บอกโอมิครอน ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการ น้องสองคนพูดค่อนข้างเดาได้ส่วนหนึ่งว่าเป็นโอมิครอน เพราะอาการนำคือเจ็บคอ แต่ถ้าสูญเสียไม่รู้รสไม่รู้กลิ่น อาการนำเหล่านี้จะเป็นของเดลต้า มันแยกกัน
ทำไมเขาถึงพูดกันว่าสายพันธุ์โอมิครอนมันกินเดลต้า มันทดแทนยังไง เพราะอะไร?
ดร.วสันต์ : มันเป็นวัฎจักรอยู่แล้ว ตั้งแต่อัลฟ้า เบต้า เดลต้า ปกติเมื่อรับเชื้อเข้ามา รับเชื้อทีละตัว รับเชื้อคล้ายๆ ไวรัส จะมีระบบกันไม่ให้ไวรัสอื่นเข้ามาด้วย สมมติเราติดโอมิครอนแล้ว โรคอื่นจะไม่เข้ามา
สมมติวันนี้เป็นโอมิครอน ผมไปเจอคนเป็นอัลฟ่า มันจะไม่เข้ามาหาผม เพราะผมเป็นโอมิครอนอยู่ ณ เวลานั้นๆ นะ ไม่ใช่ว่าหายแล้วไม่รับเชื้อ ไม่ใช่นะ ถ้าเราเป็นอยู่แล้วไปเจอ มันจะไม่รับเข้ามาอีก พอกระจายไปเร็วๆ มันก็กินๆ เข้าไป เจ้าเดลต้าก็กลับมาไม่ได้ อันนี้โอมิครอนก็เข้ามาทดแทน?
ดร.วสันต์ : เวลาอาการเหล่านี้มูฟไปข้างหน้า ประชากรทั่วโลกก็จะเป็น คือเอาเอลฟ่ามาให้คุณหนุ่มสูดเข้าไปก็จะไม่ติดนะ หรือติดได้น้อย เนื่องจากเรามีภูมิคุ้มกัน อย่างน้องสองคนนี้ถือว่าโชคดีมาก เข็มสี่แทบไม่ต้องฉีดแล้ว เพราะเขาได้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติไปเรียบร้อย ผสมกับวัคซีนนี่สูงปรี๊ดเลยครับ
ควรเป็นยังไงเวลาไปกินอาหาร?
ดร.วสันต์ : คือถ้าถามน้องสองคน ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าต้องป้องกันตัวยังไง แต่น้องสองคนยังป้องกันไม่เข้มพอ เราเคยสัมภาษณ์ผู้ติดเชื้อหรือเป็นโรค HIV หรือคนต้องล้างไต กลุ่มคนเหล่านี้จะพยายามไม่ไปรพ. ทีนี้เขาจะดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ปรากฏว่าไม่พบว่ากลุ่มคนสองกลุ่มนี้จะติดเชื้อมากมาย
อาหารประเภทไหนที่กินร่วมกัน อะไรต้องระวังให้มากที่สุด?
ดร.วสันต์ : อะไรที่มีการฟุ้งกระจาย สมมติของทอด ของปิ้ง ของย่าง แต่ถ้าการฟุ้งกระจายนั้งอยู่ในที่กว้างๆ ลมโกรกนี่โอเค แต่ถ้ามีระบบปิด มีแอร์จะยุ่ง ไม่ว่าอยากอยู่หรือไม่แต่เราก็ต้องอยู่กับมันให้ได้
หลังโอมิครอนจะมีตัวอื่นมาแน่นอน มันจะรุนแรงมั้ย?
ดร.วสันต์ : WHO ยืนยันอีกว่าไม่ทราบ ต้องรอดูเอง