xs
xsm
sm
md
lg

ทีเส็บ ผลักดัน “ขอนแก่นไมซ์ซิตี้” ค้นหาอัตลักษณ์เมือง (City DNA) ต่อยอดการขายเมืองไมซ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. โดย สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสานไมซ์) ได้จัดการประชุม (ออนไลน์) เชิงปฏิบัติการโครงการ “ขอนแก่นไมซ์ซิตี้” ค้นหาอัตลักษณ์เมืองจาก (City DNA) โดยมีภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด พาณิชย์จังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมจังหวัดที่ 5 วัฒนธรรมจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (สำนักงานขอนแก่น) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สำนักงานขอนแก่น) ภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ตัวแทนจากโรงแรมอวานี่ โรงแรมพูลแมน และ KICE ตลอดจน ตัวแทนจากชุมชนต่างๆ ร่วมเป็นตัวแทนจากภาคเอกชน เพื่อทำความเข้าใจและสามารถดำเนินโครงการไปในทิศทางเดียวกัน

นางสาวสุรัชสานุ์ ทองมี ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กล่าวถึงการดำเนินโครงการ “การทำการตลาดเชิงพื้นที่ (DESTINATION MARKETING) โดยใช้ยุทธศาสตร์กำหนดจุดขายเมืองจาก CITY DNA จังหวัดขอนแก่นว่า "ขอนแก่นไมซ์ซิตี้ได้เปิดบ้านเพื่อเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนไมซ์ของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการทำการตลาดเชิงพื้นที่ที่ต่อยอดมาจากการนำอัตลักษณ์เมืองเข้ามาผสมผสาน ทำให้ขอนแก่นไมซ์ซิตี้แสดงจุดขายที่โดนใจนักเดินทางธุรกิจกลุ่มไมซ์ที่ต้องการสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ประทับใจ โดยจังหวัดขอนแก่นถือว่าเป็นศูนย์กลางการจัดการประชุมในประเทศและสามารถเชื่อมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ GMS (Greater Mekong Subregion) สู่ความสำเร็จในการใช้ไมซ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองอย่างเต็มศักยภาพซึ่งทีเส็บ โดยสำนักฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเร่งผลักดันการจัดทำการตลาดเชิงพื้นที่อย่างเต็มกำลัง

การสนับสนุนไมซ์ซิตี้ในการทำการตลาดเมือง (Destination Marketing) โดยใช้กลยุทธ์กำหนดจุดยุทธศาสตร์การขายเมืองจาก City DNA จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของเมือง (City DNA) พัฒนาให้เป็นจุดขายและเป็นที่จดจำทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ การค้นหา DNA และตัวตนของจังหวัด การมีคุณลักษณะเฉพาะถิ่นที่ไม่เหมือนใคร ถือเป็นอัตลักษณ์ที่มีความโดดเด่น และสามารถสร้างการรับรู้ได้ และพัฒนาต่อยอดไปเป็น City Branding ต่อไปได้ เพราะจังหวัดขอนแก่น เป็นเมืองที่มีความเป็นนักพัฒนา นักคิดค้น มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน รวมถึงมีการต่อยอด และสามารถขับเคลื่อนพัฒนาต่อไปในอนาคตได้และด้วยเป็นจังหวัดที่มีองค์ประกอบพร้อมในการรองรับธุรกิจและอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) อย่างมีประสิทธิภาพในหลายๆ ด้าน จึงนำมาซึ่งนิยามความเป็นขอนแก่นไมซ์ซิตี้เพื่อใช้เป็นการประชาสัมพันธ์และบ่งบอกถึงศักยภาพของเมืองว่า “Possible Khon Kaen : ทุกอย่างเป็นจริง ทุกสิ่งเป็นได้ที่ขอนแก่น” เป็นการพัฒนาเพื่อก่อให้เกิด Key Message หรือ Tag Line ที่มาจากรากและแก่นที่เป็น DNA ของจังหวัดของแก่นเอง ถือเป็นการส่งสารโดยตรงให้กับทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและระดับนานาประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการรองรับอุตสาหกรรมไมซ์ซิตี้ของจังหวัดขอนแก่นต่อไป

นางสาวสุรัชสานุ์ กล่าวต่อว่า “กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะทำต่อไปในอนาคต คือ ทีเส็บ สำนักฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะก้าวไปเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยงเครือข่าย MICE และขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยสู่อนาคต ดังนั้น ภารกิจหลักๆ คือ การเตรียมสินค้าและผลิตภัณฑ์ไมซ์ใหม่ในพื้นที่ โดยเน้นการส่งเสริมพร้อมยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรม MICE ในพื้นที่ด้วยการบูรณาการความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาในภาคอีสาน ในเบื้องต้นมุ่งเน้นส่งเสริมศักยภาพ 3 จังหวัด MICE City และเมืองที่มีศักยภาพ ทำการตลาดเชิงพื้นที่โดยใช้คำว่า ISAN MICE เป็น Regional Campaign ต่อยอด มุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์ MICE ในพื้นที่และทำการประชาสัมพันธ์สู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่จะทำให้คำว่า ISAN MICE เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักเดินทางธุรกิจไมซ์ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เป็นแบบอีสานบ้านเฮาอย่างสร้างสรรค์ แตกต่างหรือมีความ Uniqueness ต่อยอดและทำให้มีนักเดินทางธุรกิจกลุ่มไมซ์ในประเทศหลั่งไหลเข้าพื้นที่มากขึ้น มีการทำกิจกกรรม MICE เพิ่มขึ้น และเป็นการยกระดับกิจกรรมที่มีอยู่เดิมให้เทียบเท่ามาตรฐานในระดับ International โดยแบ่งเป็น 3 เฟสด้วยกัน คือ

เฟสที่ 1.ลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของ MICE รวมถึงสร้างการรับรู้บทบาทของ “ทีเส็บ” พ่วงกับการพัฒนาเครือข่ายไปด้วยพร้อมๆ กัน

เฟสที่ 2. คือการพัฒนาสินค้าและการบริการของเมือง MICE City ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสร้างฐานด้านการตลาด มีการลงพื้นที่เก็บฐานข้อมูล ให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาพัฒนาและต่อยอดให้ได้ตรงจุด

และตอนนี้เข้าสู่เฟสที่ 3. คือ เมื่อมีการสร้างการรับรู้ มีเครือข่าย มีสินค้าและบริการไมซ์ สร้างฐานการตลาดในประเทศแล้ว ก็ต้อง เข้าสู่กระบวนการพัฒนากิจกรรมทางการตลาด เพื่อทำให้เมือง MICE City ในภาคอีสาน ออกสู่ในระดับประเทศและนานาชาติต่อไป ซึ่งในเฟส 1 และเฟส 2 ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นางสาวสุรัชสานุ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากการทำกิจกรรมทางการตลาดในพื้นที่ โดยตั้งต้นที่ City DNA City Branding และ Destination Marketing แล้วทาง สสปน.ยังเล็งเห็นว่ามีงานในพื้นที่ที่ต้องยกระดับและมุ่งหากิจกรรมไมซ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศดึงงานไมซ์เข้าสู่พื้นที่ โดยคัดเลือกงานที่ตรงตามอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เพื่อตอบโจทย์แผนพัฒนาระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค ซึ่งถือเป็นการใช้กลยุทธ์ในรูปแบบการตลาดเชิงรุก ซึ่งในเฟด 3 จะใช้เวลาในการดำเนินการ 3 ปีด้วยกันคือ ปี’65 ปี’66 และ ปี’67 ซึ่งจริงๆ แล้วต้องเริ่มเฟส 3 ตั้งแต่ปีนี้ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้การดำเนินการในเฟส 3 ต้องรอช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป” นางสาวสุรัชสานุ์ กล่าว















กำลังโหลดความคิดเห็น