รายการโหนกระแส วันที่ 29 ก.ค. 64 “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 สัมภาษณ์ “นพ.พิเชฐ บัญญัติ” รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และอดีตนายกสภาการแพทย์แผนไทย หลังประชาชนเรียกร้องเรื่องสมุนไพร นอกจากกระชายขาว ฟ้าทะลายโจร อีกหนึ่งอย่างที่กำลังพูดกันคือ พลูคาว ตรีผลา คืออะไร โดยเฉพาะพลูคาวกลายเป็นพืชสมุนไพรที่มาแรงทันทีหลังรายการเผยแพร่ออกไป เพราะมีฤทธิ์สร้างภูมิต้านไวรัส
นพ.พิเชฐ : อะไรที่มันมากเกินไปก็ไม่ดี น้อยเกินไปก็ไม่ดี มันต้องพอดี ผมเองมีพรรคเพื่อนที่เป็นหมอ ดูแลคนไข้ ก็บ่นมาเหมือนกันว่าเจอคนไข้ค่าตับไม่ดี ตับมีปัญหา ถามไปว่าโอ้โห กินสารพัดสมุนไพร กินป้องกันเพราะความกลัว บางคนกินทั้งฟ้าทะลายโจร กระชายขาว ตรีผลา จันทลีลา พอป่วยไปถึงหมอ หมอจะให้ยารักษาฆ่าเชื้อไวรัส ให้ไม่ได้ ตรวจแล้วค่าตับผิดปกติ เสียเวลาต้องรอ เพราะไม่กล้าให้ เพราะยาแต่ละตัวถ้าตับไม่ดีต้องระวัง มันสะท้อนว่ามีคนไม่เข้าใจ ตอนนี้อยู่ในสถานการณ์เหมือนสงคราม ใครว่าอะไรดีคว้าไว้ก่อน แบบนี้ไม่ดี มันมีโอกาสมากเกินไป บางอย่างถ้าเราจะใช้สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ต้องกินเป็นอาหาร กินตามหลักการปรุงอาหารแบบไทยๆ จะได้มีประโยชน์ไม่มีโทษ แต่ถ้ากินแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องมีระยะเวลา ปริมาณที่เหมาะสม ถ้ากินเป็นยาต้องกินให้ครบสูตรครบขนานของยา มันถึงจะได้ผล ถ้าจะกินฟ้าทะลายโจรยับยั้งไวรัสโควิด ก็ต้องกินให้ได้ปริมาณสารที่กำหนดตามที่เขาวิจัยไว้
กินฟ้าทะลายโจรไม่ใช่ว่าจะไม่ติดโควิดนะ?
นพ. พิเชฐ : ใช่ครับ เพราะมันป้องกันการติดโควิดไม่ได้ ผลการวิจัยในหลอดทดลอง มันป้องกันไม่ได้ ชัดเจนว่าเก็บไว้กินตอนรับเชื้อ ถ้ากิน 3 วันแล้วโอเค ไม่มีอาการ ดีขึ้น ก็กินต่อให้ครบ 5 วัน พอ 5 วันเชื้อจะออกจากร่างกายไปหมด เชื้อจะค่อยๆ ขับออก ปกติถ้าเราไม่กินยา เป็นชนิดไม่มีอาการ ไม่รุนแรง 5 วันอาการจะลดลงเพราะร่างกายสู้มันได้ภูมิคุ้มกันจะกัดมัน 7-10 วันส่วนใหญ่จะหมด แต่ถ้าอาการเยอะจะกำจัดช้าหน่อย เป็นซากเชื้อ
ยาแผนปัจจุบันก็ทิ้งไม่ได้?
นพ.พิเชฐ : โดยแนวทางตอนนี้ไม่ให้กินฟ้าทะลายโจร ควบกับยาต้านไวรัสปัจจุบัน ทั้งฟาวิพิราเวียร์ หรือบางท่านได้เรมเดซิเวียร์ ก็แล้วแต่ ไม่กินคู่กัน ถ้าดีก็กินฟ้าทะลายโจรให้ครบ ถ้าไม่ดีต้องหยุดให้หมอประเมินอาการว่าเชื้อลงปอดมั้ย ต้องปรับยาอะไรมั้ย แต่กินเพื่อป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ แต่ถ้ากินเพื่อรักษาต้องกินให้ปริมาณเพีย
ตรีผลา ขิง พลูคาว กระตุ้นภูมิคุ้มร่างกายได้จริงหรือเปล่า?
นพ.พิเชฐ : จากการศึกษาวิจัยในสัตว์และหลอดทดลอง ทั้งสามตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ภูมิคุ้มกันมีหลายแบบภูมิคุ้มกันทั่วไปหรือที่เรามีติดตัว พวกนี้กระตุ้นได้โดยการกิน อาหาร การออกกำลังกาย แต่ภูมิคุ้มกันเฉพาะเชื้อ เฉพาะชนิดจะได้จากการฉีดวัคซีน ถึงจะเกิดภูมิคุ้มกันเฉพาะโควิดโดยตรง แต่การกินสมุนไพรที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ไปช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่กำจัดเชื้อโรคได้ด้วย มันก็จะเสริมกับภูมิที่ขึ้นจากการฉีดวัคซีน อันนี้มีการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลองแล้ว แต่การกินต้องกินให้ถูกต้อง หนึ่งถ้ากินอะไรติดต่อกันยาวๆ เกิน 10 วัน อย่างพารา กินเกิน 10 วัน วันละเม็ดก็มีโอกาสที่ตับมีปัญหา ต้องหยุด ต้องเว้น อาจมีผลได้ถ้ากินทุกวัน ถึงกินเม็ดเดียวก็ควรหยุด การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จากตรีผลา ในตำราแพทย์แผนไทย ประกอบไปด้วย สมอพิเภก สมอไทย มะขามป้อม สามอย่างนี้เรียกว่าตรีผลา ตรีแปลว่าสาม ผลาคือผล ผลไม้สามอย่าง ถ้าทำเป็นยาใช้แบบแห้งก็ได้ แต่ถ้าทำเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ใช้แบบสดต้มได้งพอ ถ้าไม่ปริมาณเพียงพอเราก็ไม่การันตีได้ว่ามันจะเอาอยู่
พลูคาวนี่ไม่ค่อยได้ยินถึง แต่อาจารย์จะบอกว่าเป็นสมุนไพรที่ดีเหมือนกัน?
นพ.พิเชฐ : ครับ มีวิจัยเยอะมากเลยนะ มีการจดลิขสิทธิ์การศึกษาวิจัยไว้เยอะ ทั้งประเทศไทยและในโลก พลูคาวคือผักคาวตองที่เขากินแกล้มลาบ ทางเหนือ กลิ่นใบจะคล้ายๆ ใบพลู กลิ่นคาวคล้ายคาวปลา เขาเลยเรียกพลูคาว หรือผักคาวตอง เวลาเราไปทางเหนือเขาทำเป็นลาบมาจะแกล้มตรงนี้ พืชตัวนี้มีกระจายใช้กันหลายประเทศ ชื่อแตกต่างกัน มีหลายพันธุ์ ในภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ใบเป็นรสร้อน ก็แก้กามโรค แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กามโรคเข้าข้อ เกิดโรคอื่นๆ ด้วย แต่พอดูในตำรับยาไทยหนังสือเวชศึกษา ของพระยาพิศณุประสาทเวช บอกว่ามีตั้งแต่แก้น้ำมูก แก้ซาง ยาแก้ตาล และยานึงน่าสนใจ ยามหาระงับพิษ คือพิษอะไรมาก็สู้ได้ ยาแก้ไข นี่แพทย์แผนไทย ทีนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการศึกษาวิจัย เราก็วิจัยและทำหนังสือมาเล่มนึง หนังสือผักคาวตอง ผมสรุปว่าผักคาวทองพอไปศึกษาทางเคมี มีสารเยอะมาก มีสารกลุ่มน้ำมันหอมระเหย ตั้ง 30 กว่าชนิด มีผลมีประโยชน์อย่างอื่นด้วย สารกลุ่มพวกฟลาโวนอยด์ , เคอร์ซีติน , รูติน และพวกสารอัลคาลอยด์ พบกว่า 15 ชนิด
และพวกกรดไขมันที่สำคัญสองตัว เราต้องกินเข้าไป เราสร้างเองไม่ได้ มีสารเยอะมาก และมีการทดลองในทางเภสัชวิทยามีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ด้วย ที่พูดนี่ยังไม่มีการทดลองในคนนะ แต่มีทดลองในสัตว์ทดลอง และหลอดทดลอง อย่างต้านมะเร็งเขาไปทดลองกับมะเร็งปอด มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มันต้านได้ ฤทธิ์ต้านไวรัสได้หลายตัว สารเคอร์ซิติน จะออกฤทธิ์ ยับยั้งเชื้อไวรัสหลายตัว ตัวนึงที่กล่าวถึงในงานวิจัย คือไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งในหลอดทดลองและในสัตว์ ใช้ได้ดีกว่า แต่ไม่มีใครเอามาทำวิจัยเป็นยาจริงๆ จัง ๆ และต้านอักเสบได้ด้วย ที่สำคัญกระตุ้นภูมิคุ้มกันก็มีการวิจัยหลายอัน ทั้งต่างประเทศและไทย
ผักคาวตอง หรือพลูคาว เขาบอกองค์ประกอบเคมี กับภูมิคุ้มกัน เขามีบอกหมดเลย มีข้อมูลที่มีการวิจัยมาหมดแล้ว ในจีนก็มีเอาไปวิจัย ตอนนี้อยู่ในสายกับ “ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์” คณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์เป็นคนหนึ่งที่วิจัยเรื่องพลูคาว?
ดร.เอกสิทธิ์ : ใช่ครับ ตัวผมเองและทีมงานวิจัย เราทำงานวิจัยด้านการทดสอบ สกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เราทำวิจัยตัวพลูคาวมา 10 กว่าปี เนื่องจากตัวสมุนไพรพลูคาว เป็นสมุนไพรชนิดนึงทางภาคเหนือของไทย ตัวเขาเองมีลักษณะกลิ่นรสเฉพาะ ถ้าบี้ใบดูจะเป็นเมือกลื่น ทำให้เราสนใจ จากการวิเคราะห์เบื้องต้นในห้องปฏิบัติการ พบว่ามีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญ ที่เคยทำสารที่มีเมืองลื่นเมื่อผ่านกระบวนการย่อยเฉพาะ เราพบว่าหนึ่งในฤทธิ์นั้นคือกระตุ้นภูมิคุ้มกันในห้องทดลองได้เป็นอย่างดี และจากที่สืบค้นงานวิจัยย้อนหลัง ในงานวิจัยเยอะแยะบอกถึงฤทธิ์ ศักยภาพใบพลูคาว มีงานวิจัยชิ้นนึง ที่น่าสนใจ คือการออกฤทธิ์ยับยั้งซาโควี 1 โคโรนาไวรัสเวอร์ชั่นแรก ที่ระบาดในปี 46 เป็นตัวที่ทำให้เราเห็นศักยภาพที่จะนำมาพัฒนาต่อ ทางทีมวิจัยก็วิจัยอย่างต่อเอง การทานบริโภคต่อไปต้องมีงานวิจัยที่นำมาสนับสนุนซัปพอร์ตต่อไปว่าจะนำมาใช้ได้อย่างไร
มองยังไง เดี๋ยวพูดไปราคาแพงอีก คราวที่แล้วทั้งฟ้าทะลายโจร กระชายขาวเอาไปขายโก่งราคากัน?
พิเชฐ : ไม่ว่าจะกินอะไรก็ต้องไม่ต้องมากเกินไป ในการกินสมุนไพรไม่ควรกินตัวเดียวนานๆ ต้องกินคละกันไป เพราะถ้ากินตัวเดียวมันอาจจะมีความเข้มข้นของสารสกัดบางตัว ผลงานวิจัยในหลอดทดลองยังขาดบางส่วน กินเข้าไปมันไปทำอะไรกับตัวเรายังบอกไม่ได้ เน้นการกินเป็นอาหารตามภูมิปัญญาที่เราใช้อยู่
ฟ้าทะลายโจรเป็นดาบสู้ไวรัส กระชายขาวเป็นโล่ พลูคาวก็เป็นเกราะเป็นโล่ได้ไปเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทานได้เอาพอดีๆ มากเกินไปไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี หาจุดกึ่งกลางให้พอดี