ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมดูแลวิกฤติโรคระบาด COVID-19 ครั้งนี้ คือทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะทีมที่ช่วยตรวจหาเชื้อในผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีการสัมผัสโรค อย่างไรก็ตามการตรวจนั้นก็มีความเสี่ยงที่ผู้ตรวจอาจจะได้รับและติดเชื้อได้หากไม่มีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ จากผู้เชี่ยวชาญที่รู้ลึกซึ้งในเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้
บริษัท Atgenes จำกัด ภายใต้การบริหารของ ศ.ดร.นพ. วิปร วิประกษิต คือผู้อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยที่สามารถเคลื่อนที่ไปในชุมชนต่างๆ ทำให้การตรวจเชิงรุกที่เรียกว่า Active case finding เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย อยู่เบื้องหลังการตรวจหาเชื้อในจังหวัดระยอง และจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดการระบาดระลอกใหม่
ศ.ดร.นพ. วิปร วิประกษิต คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการและการวิจัยมากว่า 20 ปีเคยได้รับทุนงานวิจัยจากองค์กรทางการแพทย์ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น Medical Research Council (MRC), National Institutes of Health (NIH) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาขององค์กรอนามัยโลก และอีกหลายองค์กรชั้นนำ ล่าสุด ท่านได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี พศ. 2564 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ความเชี่ยวชาญของ Atgenes คือเทคโนโลยีการวินิจฉัยโรค ในระดับ DNA Technology ซึ่ง ศ.ดร.นพ. วิปร เป็นผู้บุกเบิกให้สามารถตรวจในประเทศไทยได้ ตัวอย่างสำคัญคือบริษัทแอทยีนส์เป็นผู้นำในการตรวจดีเอ็นเอในตัวอ่อนที่ได้จากเทคโนโลยีที่เรียกว่า IVF เพื่อการคัดเลือกตัวอ่อน (Embryo selection) เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะมีสติปัญญาและร่างกายสมบูรณ์ที่สุด
“เทคโนโลยีแบบนี้ในต่างประเทศก็มี แต่ในประเทศไทยยังมีคนทำน้อย ค่าใช้จ่ายสูง สมัยตอนผมกลับมาจากต่างประเทศ ก็มีบริษัทที่เขาทำบริการแบบนี้ แต่เขาเก็บตัวอย่างจากคนไทยแล้วส่งไปที่ต่างประเทศ ทำเสร็จก็ขนกลับมาขาย เราก็มีความรู้สึกว่าทำไมต้องทำแบบนั้น เราก็มีความรู้มี Know how เองที่จะทำได้” อาจารย์เล่าจุดเริ่มต้นของบริษัท
โลกธุรกิจปัจจุบันมีเทรนด์ใหม่ที่เน้นเรื่อง Data science และ Biotech ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นงานหลักของ Atgenes อาจารย์เล่าเพิ่มว่าเขาและทีมงานเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการวินิจฉัยเคสในระดับ DNA จำนวนนับหมื่นๆรายในประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นผู้จุดประกายทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมการตัวอย่างเชื้อ COVID-19 โดยปรับปรุงรูปแบบให้เป็นรถเคลื่อนที่ สามารถใช้เก็บตัวอย่างเชิงรุก เพื่อสร้างปลอดภัยกับผู้รับการตรวจ และทีมแพทย์เจ้าหน้าที่อีกด้วย
“พอมีข่าวออกไปว่า มีทหารอียิปต์ออกไปเที่ยวห้างที่ระยอง วันรุ่งขึ้นเราก็ไปทำ Active case finding โดยรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รถคันนี้ออกสื่อ คือพอรถจอดปุ๊บ เปิดตู้หลังรถ แล้วก็เก็บ มันเป็นจุดเปลี่ยนของกระบวนการทำการตรวจในพื้นที่หน้างาน พอเราทำ active case finding เราไม่ได้ยึดติดกับวิธีคิดแบบเดิม วันนั้นผมไปลงหน้างานที่ระยอง ใครก็ตามที่มาเซ็นทรัลในช่วงเวลานั้นมาตรวจเลย เราสามารถจัดเว้นระยะห่างได้ ทำให้การตรวจรวดเร็วมาก”
ในอนาคต Atgenes ยังจะมุ่งมั่น พัฒนาเทคโนโลยีในการวินิจฉัยโรคด้วย Biotech ที่เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถให้บริการที่เป็นประโยชน์ ตอบโจทย์คนไข้ และรับใช้สังคมไทยได้อย่างรวดเร็วและมีมาตรฐานสูงสุด
หากสนใจบริการของ Atgenes ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ www.atgenes.com