xs
xsm
sm
md
lg

‘ภาษาอังกฤษสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์’ อาวุธจำเป็นเพื่อโลกไมซ์ในอนาคต

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



‘ภาษา’ คือหน้าต่างสู่โลกใหม่ คำกล่าวนี้ไม่ได้เกินจริงเลย เพราะภาษาช่วยให้เราได้ข้อมูล ความรู้ใหม่ๆ ที่มาจากผู้ใช้ภาษานั้น เป็นการเปิดโลกทัศน์ ช่วยให้เรามีมุมมองกว้างขึ้น สามารถมาเห็นหนทางต่าง ๆ ได้มากกว่าเดิม แน่นอนว่าภาษาที่ใช้ในอุตสาหกรรมไมซ์ ส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่ผู้ที่จะเข้ามาในแวดวงส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่จริง ๆ แล้ว ‘ลักษณะเฉพาะ’ หรือ ‘ศัพท์เทคนิค’ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมไมซ์เองก็มีความหลากหลายมาก แตกต่างไปตามบริบทของงานที่ทำซึ่งก็มีครอบคลุมทั้งการจัดงานประชุม นิทรรศการ งานแสดงสินค้า สัมมนาและอีเวนต์ต่าง ๆ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรต้องรู้ถึงความแตกต่างเพื่อการทำงานที่ราบรื่น

คุณทาลูน เทง CEM, CIS นายกสมาคมการแสดงสินค้าไทย ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมของ AFECA (Asian Federation of Exhibition and Convention Associations) และกรรมการผู้จัดการ รอยัล พารากอน ฮอลล์ กล่าวถึงการใช้คำศัพท์เทคนิคที่แตกต่างกันไปในแต่ละงานว่า มีทั้งที่เกี่ยวกับงานบริการอย่างโรงแรม ที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว เกี่ยวกับงานจัดประชุมหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างศูนย์ประชุม สถานที่จัดแสดงสินค้า บางอย่างเป็นคำเดียวกันแต่คนละความหมาย ซึ่งจะเข้าใจได้ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งสิ้น ไม่มีมหาวิทยาลัยใดสอน

“แค่เรื่อง ‘อาหาร’ เพียงอย่างเดียวการจัดการในแต่ละแห่งก็ไม่เหมือนกันแล้ว หากทำงานโรงแรมมาก็จะรู้ว่ามีคำเรียกแบ่งประเภทหลายแบบมาก คนที่ทำแต่งานออแกไนซ์มาอย่างเดียวก็อาจจะไม่เข้าใจ ในขณะเดียวกันคนที่ทำแต่งานโรงแรมมา เมื่อต่อการต่อยอดงานในแวดวงไมซ์ ก็จำเป็นต้องเติมความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอุปกรณ์ห้องประชุม หรือแสงสีเสียงเพิ่ม ซึ่งในหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ นี้ ได้รวมมาไว้ให้หมดแล้ว หลักสูตรนี้จึงเป็นทั้ง Hospitality และ MICE รวมศัพท์ที่ใช้ในงานบริการและงานไมซ์ไว้หมดในที่เดียว ทำให้เข้าใจถึงความหลากหลายของธุรกิจไมซ์ และช่วยให้เราดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้เร็วยิ่งขึ้น”
คุณทาลูน เท็ง ผู้มากประสบการณ์ในแวดวงไมซ์ เชี่ยวชาญทั้งงานบริการ งานโรงแรม ทั้งยังเปี่ยมไปด้วยทักษะการจัดการ ซึ่งได้จากการทำงานในสถานที่จัดงานขนาดใหญ่อย่างศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รวมทั้งยังเป็นผู้บริหารพัฒนาสถานที่จัดแสดงระดับประเทศอย่างรอยัล พารากอน ฮอลล์ ด้วย เรียกได้ว่าผ่านมาหลากหลายศึกครบองค์ในวงไมซ์จริง ๆ

สำหรับหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ เป็นหนึ่งในหลักสูตร MICE E- learning หลักสูตรเรียนออนไลน์ด้านไมซ์แบบฟรี ๆ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) กับสมาคมด้านไมซ์ทั้งสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) และสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน หากใครสนใจอยากฟังประสบการณ์จริงจากพี่ ๆ ผู้เชี่ยวชาญในแวดวง MICE เพิ่มเติม รอติดตามหลักสูตร MICE E- learning ได้ต้นปี 2564 ทางเพจ www.MICECapabilities.com ค่ะ








กำลังโหลดความคิดเห็น