xs
xsm
sm
md
lg

พัลซ ไซเอนซ์ รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวั นวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พัลซ ไซเอนซ์ รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวั นวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563 ด้านเศรษฐกิจจากโครงการนวัตกรรม ตู้ปฏิบัติการระบบปิดควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับการผสมเทียม ใต้กล้องจุลทรรศ์ รุ่น IncuWork ic

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ถือเป็นรางวัล ทรงเกียรติสูงสุดในแวดวงนวัตกรรมของประเทศไทย ที่ริเริ่มจัดประกวดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติ แก่คนไทยที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นนวัตกรรม ที่มีความโดดเด่น และเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติ ในหลากหลายด้านซึ่งจะสร้างให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรม ขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมไทย สร้างให้เกิดความภาคภูมิใจ ในศักยภาพนวัตกรรมจากฝีมือคนไทย และสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ สู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารให้เกิด การรับรู้ผลงานนวัตกรรมของประเทศไทยในวงกว้าง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ


บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด เป็นบริษัทของคนไทยที่พัฒนา ผลิต และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางวิทยศาสตร์ เครื่องมือทางการแพทย์ และก่อสร้างออกแบบห้องคลีนรูม สำหรับห้องผ่าตัด ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับรักษาผู้มีบุตรยาก จึงได้ออกแบบคิดค้น และผลิตตู้ปฏิบัติการระบบปิดควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับการผสมเทียมใต้กล้องจุลทรรศน์ ขึ้นมาเพื่อทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ และสามารถส่งออกเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศได้

ในปีพ.ศ. 2563 นี้ บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด จึงส่งผลงานตู้ปฏิบัติการระบบปิดควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับการผสมเทียมใต้กล้องจุลทรรศน์ รุ่น IncuWork ic เข้าประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563 ด้านเศรษฐกิจ ประเภทวิสาหกิจขนาดกลาง ผลการประกวด ทาง บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ด้านเศรษฐกิจ ประเภท ภาคการผลิต ประจำปี 2563 จากผลงานตู้ปฏิบัติการระบบปิดควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับการผสมเทียมใต้กล้องจุลทรรศน์ รุ่น IncuWork ic

สำหรับผลงานชิ้นนี้เกิดขึ้นจากบริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด ได้เล็งเห็นปัญหาเรื่องอัตราการพัฒนาเป็นตัวอ่อนและคุณภาพที่ต่ำไม่สม่ำเสมอซึ่งเกิดจากการผสมเทียมภายนอกร่างกายในสภาพแวดล้อมแบบเปิดในห้องปฏิบัติการ จึงได้ทำการพัฒนาและผลิตตู้ปฏิบัติการระบบปิดควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับการผสมเทียมใต้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อีกทั้งตลาดของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในส่วนของตู้ปฏิบัติการนี้ยังไม่มีผู้ผลิตภายในประเทศทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้มีราคาและค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นเพื่อลดการนำเข้าสินค้าประเภทนี้และลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ ทางบริษัทจึงได้ทำการออกแบบ และพัฒนาตู้ปฏิบัติการนี้ขึ้นมาจากความต้องการของผู้ใช้งานจริง และทดสอบจากการใช้งานจริง ซึ่งเริ่มพัฒนาในปี 2558 และจำหน่ายรุ่นแรกในปี 2560

ตัวตู้ปฏิบัติการระบบปิดควบคุมสภาพแวดล้อมนี้ทำงานในลักษณะที่คล้ายกับตู้เพาะเลี้ยงเซลล์สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สามารถติดตั้งกล้องจุลทรรศน์หัวกลับพร้อมชุดจุลหัตถการ (Micromanipulator) เพื่อทำการผสมเทียมนอกร่างกายไว้ภายในตู้ได้ สามารถจำลองสภาวะแวดล้อมเลียนแบบมดลูกได้ทั้งอุณหภูมิ ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน รูปแบบของตู้ออกแบบโดยคำนึงถึงสรีรวิทยาการใช้งานของร่างกายขณะทำงานจริง จึงทำงานทุกขั้นตอนได้สะดวก ปฏิบัติงานได้นาน มีระบบลดการสั่นสะเทือนขณะปฏิบัติงาน มีช่องส่งของเข้า-ออกชนิด interlock ป้องกันผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างกันขณะส่งตัวอย่างเข้า-ออก

ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้สามารถสร้างประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ให้กับ supply chain ที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วน แรงงานผู้ประกอบคนไทย ลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าการส่งออก รวมทั้งทางบริษัทฯ สามรถต่อยอดทางผลิตภัณฑ์ โดยการนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ ไปใช้ออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ เช่น ตู้อบเด็ก ตู้เพาะเลี้ยงเซลล์สิ่งมีชีวิตในห้องทดลอง isolator และ gas mixer เป็นต้น

รางวัลครั้งได้สร้างความภูมิใจให้ บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด  ในฐานะบริษัทคนไทย ผู้ผลิตและสร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศที่จะเป็นผู้นำทางด้าน medical hub ของโลก ให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างทั้งในประเทศ และต่างประเทศอีกด้วย




กำลังโหลดความคิดเห็น