จากกรณี นางพรรณี แมคคาที หรือคุณครูพรรณี ครูสอนดำน้ำได้ลงดำน้ำบริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2563 และพบฉลามวาฬมีเชือกป่านพันบริเวณหาง คาดว่าเชือกพันมานาน แล้ว เนื่องจาก เกิดบาดแผลลึกบริเวณที่เชือกพัน ทั้งนี้ ได้พยายามตัดเชือกแต่ไม่ส้าเร็จ
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้สึกขอบคุณและชื่นชมในการกระท้าของคุณครูพรรณี ที่พยายามช่วยเหลือฉลามวาฬดังกล่าว พร้อมสั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งติดตาม และให้การช่วยเหลือโดยด่วน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ตน ทราบข่าวคุณครูพรรณี ได้ดำน้ำบริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบฉลามวาฬมีเชือกพันหาง คาดว่าจะถูก พันมานานแล้ว เนื่องจาก มีบาดแผลลึกบริเวณที่เชือกรัด ทั้งนี้ คุณครูพรรณี ได้พยายามว่ายเข้าใกล้อย่าง ระมัดระวัง และใช้อุปกรณ์ตัดเชือก แต่ยังไม่สามารถตัดเชือกออกได้ ซึ่งตนได้เห็นภาพที่คุณครูพรรณีเข้า ช่วยเหลือแล้ว ตนรู้สึกขอบคุณคุณครูพรรณีที่พยายามช่วยเหลือฉลามวาฬตัวดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่ง การให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ติดตามและส้ารวจหาฉลามวาฬตัวดังกล่าว เพื่อช่วยตัดเชือกออก จากหางและรักษาบาดแผลที่เกิดขึ้น พร้อมให้รายงานให้ตนทราบเป็นระยะ จากเหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้ เห็นถึงผลทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบ ในเชิงบวก ก็คือ ความสมบูรณ์ของธรรมชาติใต้ท้องทะเลเพิ่มมากขึ้น สัตว์ทะเลหายากพบเห็นได้บ่อยครั้งขึ้น แต่ในทางกลับกัน ก็ยังสะท้อนถึงปัญหาขยะทะเลที่ยังคงวนเวียนสร้าง ความเสียหายและความสูญเสียต่อสัตว์ทะเลในท้องมหาสมุทรทั่วโลก สิ่งนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำเราทุกคนถึงผล จากการกระทำอย่างขาดจิตสำนึก สัตว์ทะเลป้องกันตัวเองจากขยะทะเลไม่ได้ สัตว์ทะเลไม่สามารถบอกหรือ ขอร้องให้เราหยุดการกระท้าที่ท้าร้ายพวกเขาเหล่านั้น แต่เราทุกคนสามารถคิดใหม่เพื่อลดปัญหาขยะล้นทะเล และช่วยชีวิตสัตว์ทะเลให้รอดพ้นจากวิกฤติปัญหาดังกล่าวได้
นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเสริมว่า ตนได้สั่งการให้สำนักงาน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 พร้อมด้วยทีมดำน้ำนักวิชาการ และสัตวแพทย์ ลงพื้นที่สำรวจและติดตาม ฉลามวาฬดังกล่าว พร้อมทั้งให้ประสานนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสนธิกำลังใน การติดตามและให้การช่วยเหลือ นับตั้งแต่ช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นช่วงที่เราปล่อยให้ ธรรมชาติได้พักฟื้น ท้าให้มีการพบสัตว์ทะเลหายากมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝูงพะยูนกว่า 20 ตัว บริเวณใกล้เกาะลิบง จังหวัดตรัง ฝูงวาฬเพชฌฆาตด้ากว่า 30 ตัว ใกล้เกาะรอก นอกจากนี้ ยังพบฝูงฉลามวาฬ บริเวณหมู่เกาะ ลันดา และฝูงฉลามหูด้า บริเวณหมู่เกาะพีพีและเกาะห้อง จังหวัดกระบี่ สุดท้ายนี้ หากพี่น้องประชาชนพบเห็น ฉลามวาฬตัวที่มีเชือกพันดังกล่าว หรือสัตว์ทะเลอื่นที่ได้รับผลกระทบจากขยะทะเล สามารถแจ้งกรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือหน่วยงานในพื้นที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทางกรมจะเร่งจัดส่งเจ้าหน้าที่และ ทีมนักวิชาการผู้ช้านาญลงตรวจสอบและให้การช่วยเหลือ ซึ่งกรมมีความพร้อมทั้งบุคลากรและศูนย์ช่วยชีวิต สัตว์ทะเลหายากที่พร้อมให้การดูแลและรักษาเป็นอย่างดี นายโสภณ ทองดี กล่าวทิ้งท้าย