โดย : บอน บอระเพ็ด (pinn109@hotmail.com)
“ธงไชย แมคอินไตย์” หรือที่รู้จักกันดีในนาม “พี่เบิร์ด”
ชื่อนี้คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณกันมาก เพราะนี่คือสุดยอดของซุปเปอร์สตาร์เมืองไทย ที่เป็นศิลปินดาวค้างฟ้าครองความเป็นอันดับหนึ่งมายาวนานหลายสิบปี
พี่เบิร์ด มีความสามารถหลากหลาย ทั้ง นายแบบ พิธีกร นักพากย์ เล่นหนัง-ละคร ก็ตีบทแตกกระจุย โดยเฉพาะบทพระเอก “โกโบริ” ในละครเรื่อง “คู่กรรม” ที่ออกอากาศทางช่อง 7 เมื่อปี พ.ศ. 2533 ถือเป็นละครประวัติศาสตร์ด้วยเรตติ้ง 40 ถือเป็นการสร้างเรตติ้งสูงสุดตลอดกาลแห่งวงการละครบ้านเรา
ส่วนผลงานหลักด้านการร้องเพลงนั้น กว่า 33 ปี ที่พี่เบิร์ดโลดแล่นอยู่ในวงการ ศิลปินเบอร์หนึ่งคนนี้มีผลงานเพลงดังคุ้นหูคนไทยรวม ๆ แล้วมากกว่า 100 เพลง แถมหลายต่อหลายเพลงคนไทยจำนวนมากยังร้องกันได้ขึ้นใจ
ขณะที่ผลงานสตูดิโออัลบั้มนั้น พี่เบิร์ดมีทั้งหมด 16 ชุดด้วยกัน ซึ่งสร้างชื่อตั้งแต่ชุดแรกคือ “หาดทราย สายลม สองเรา” (2529) ที่มีผลงานเพลงดัง ๆ อย่างเช่น ฝากฟ้าทะเลฝัน, บันทึกหน้าสุดท้าย, ของของนาย และ “ด้วยรักและผูกพัน” อีกหนึ่งบทเพลงสุดคลาสสิกของพี่เบิร์ด
นอกจากนี้ผลงานเพลงของพี่เบิร์ดยังมีอีกหนึ่งความโดดเด่นเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้ในยุทธจักรวงการเพลงบ้านเราก็คือ พี่เบิร์ดเป็นศิลปินคนแรกและคนเดียวในเมืองไทยที่มีผลงานสตูดิโออัลบั้มทำยอดขายได้เกิน 1 ล้านชุดมากที่สุดในเมืองไทย ถึง 7 อัลบั้มด้วยกัน โดยหนึ่งในนั้นฟันอัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาลที่ถือเป็นอัลบั้มประวัติศาสตร์มาจนทุกวันนี้
และนี่ก็คือ 7 อัลบั้มทำยอดขายเกิน 1 ล้านชุด ของพี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ไล่เรียงตามลำดับไทม์ไลน์กันไป
1.บูมเมอแรง : พ.ศ. 2533 อัลบั้มลำดับที่ 5
ผลงานเพลงชุดนี้ออกมาในช่วงกระแสละคร “คู่กรรม” ฟีเวอร์ ซึ่งพี่เบิร์ดรับบทเป็นพระเอก “โกโบริ” คู่กับ “อังศุมาลิน” ที่รับบทโดย “กวาง-กมลชนก โกมลฐิติ”
ทั้งความดังส่วนตัวของพี่เบิร์ดกับกระแสคู่กรรมฟีเวอร์ ส่งผลให้อัลบั้มบูมเมอแรง ทำยอดขาย (เทป) ถล่มทลายทะลุเกิน 2 ล้านตลับ
บูมเมอแรงได้รับการยกย่องให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งปี (2533) และเป็นผลงานเพลงที่ดีที่สุดเป็นลำดับที่ 3 แห่งทศวรรษ (10 ปี) อีกทั้งยังทำให้พี่เบิร์ดเป็นศิลปินคนแรกของแกรมมี่ที่ทำยอดขายเกิน 2 ล้านตลับ รวมถึงรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย
อัลบั้มบูมเมอแรงที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่ามีเพลงฮิตมากมาย อาทิ บูมเมอแรง, เงียบๆ คนเดียว, คืนนี้ไม่เหมือนคืนนั้น, พักตรงนี้, หมอกหรือควัน, ภารตี, ต่อเวลา และ “คู่กัด” บทเพลงที่เปิดโลกให้เห็นว่า เพลงป็อบแบบไทย ๆ สไตล์พี่เบิร์ดก็สามารถนำมาทำเป็นสามช่า ให้ร้องเล่นเต้นกันได้อย่างสนุกสนาน
นอกจากนี้เพลงคู่กัดยังได้รับเกียรติประวัติสูงสุด โดยวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ในคอนเสิร์ตสายใจไทย ครั้งที่ 5 “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทรงเป่าทรัมเป็ตในบทเพลง “คู่กัด” โดยมีนายธงไชย แมคอินไตย์ เป็นผู้ร่วมขับร้อง
2.พริกขี้หนู : พ.ศ.2534 อัลบั้มลำดับที่ 6
พริกขี้หนูเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มสุดปังของพี่เบิร์ด เป็นการสานต่อความดังจากชุดที่แล้ว พร้อมยกระดับขึ้นสู่ยอดขายเกิน 3 ล้านตลับ ถือเป็นสถิติยอดขายสูงสุดแห่งยุค 90's อีกทั้งยังถูกจัดให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปี (อัลบั้มแห่งทศวรรษ)
นอกจากนั้นในปีเดียวกันนี้ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ (ครั้งที่ 5) ตอน “ความสุข ความทรงจำ ไม่มีที่สิ้นสุด” ยังสร้างสถิติด้วยจำนวน 29 รอบ จำนวนผู้ชม 58,000 คน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
อัลบั้มพริกขี้หนูที่ฟันยอดขายไปกว่า 3 ล้านชุด มีผลงานเพลงเด่น ๆ อาทิ พริกขี้หนู, ขออุ้มหน่อย, ไม่อาจหยั่งรู้, ฝากไว้ และ “อย่าต่อรองหัวใจ” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งสีสันใหม่ในผลงานเพลงของพี่เบิร์ด เพราะเป็นบทเพลงช้า ๆ ในตัวเพลงมีการพูดประกอบดนตรีเป็นหลัก ก่อนปิดท้ายด้วยท่อนร้องในท่วงทำนองเพราะ ๆ ตามสไตล์พี่เบิร์ด
3. ธ.ธง : พ.ศ.2537 อัลบั้มลำดับที่ 7
ปลายปี 2536 พี่เบิร์ดประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการแสดงอีกครั้งในบทละครเรื่อง “วันนี้ที่รอคอย” ที่พี่เบิร์ดรับบทเป็น “เจ้าซัน” และ “เจ้าชายศิขรนโรดม” คู่กับนางเอกสุดฮอตแห่งยุคคือ “สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์” ละครเรื่องนี้ทำให้พี่เบิร์ดได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ (ครั้งที่ 8) สาขาดารานำชายดีเด่น
จากนั้นในปี 2537 พี่เบิร์ดส่งอัลบั้ม “ธ.ธง” ออกมาหลังว่างเว้นจากการออกสตูดิโออัลบั้มไปร่วม 3 ปี ชื่อเสียงของพี่เบิร์ดยังแรงดีไม่มีตก ทำให้อัลบั้ม ธ.ธง ทำยอดขายทะลุเกิน 1 ล้านตลับ เป็นอัลบั้มลำดับที่ 3 ของพี่เบิร์ดที่ทำยอดขายเกิน 1 ล้านชุด
อัลบั้ม ธ.ธง มีผลงานเพลงเด่น ๆ อาทิ เสียดาย ,เธอผู้ไม่แพ้ ,ห่วงใย และ “เหนื่อยไหม” ที่สามารถคว้ารางวัลพระพิฆเนศทองคำไปครองในสาขาบทเพลง “ประพันธ์คำร้องยอดเยี่ยม”
4.ธงไชยเซอร์วิส : พ.ศ.2541 อัลบั้มลำดับที่ 9
หลังประสบความสำเร็จทำยอดขายทะลุ 1 ล้านตลับอีกครั้งกับ อัลบั้ม ธ.ธง ในปี พ.ศ. 2538 พี่เบิร์ด กลับมารับบท พระเอก “โกโบริ” ในคู่กรรมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มาในรูปแบบของภาพยนต์ แสดงคู่กับ “อุ๋ม-อาภาศิริ นิติพน” ที่รับบทเป็น “อังศุมาลิน”
คู่กรรมที่พี่เบิร์ดเล่นในเวอร์ชั่นภาพยนตร์นี้ สร้างสถิติภาพยนตร์ที่มีผู้เข้าชมสูงสุดใน 3 วันแรกของการเปิดตัวในยุคนั้น ส่วนพี่เบิร์ดนั้นสามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากงานประกาศผลรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ประจำปี พ.ศ. 2538
ในปีเดียวกันนี้พี่เบิร์ดส่งอัลบั้มใหม่ (ลำดับที่ 9) ออกมาคือ “ธงไชยเซอร์วิส” ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเหมือนเดิม ทำยอดขายเกิน 1 ล้านตลับอีกครั้ง
อัลบั้มธงไชยเซอร์วิส มีเพลงเด่น ๆ ได้แก่ ซ่อมได้, บอกว่าอย่าน่ารัก, ก็เลิกกันแล้ว, เหนื่อยใจเหลือเกิน และ “ถ่านไฟเก่า” บทเพลงรักเศร้าซึ้งซึ่งโด่งดังค้างฟ้ามาจนทุกวันนี้
ธงไชย เซอร์วิส ยังมีความพิเศษอีกตรงที่ ผลพวงความสำเร็จของอัลบั้มชุดนี้ ทำให้เกิดอัลบั้มพิเศษตามมา คือ “ธงไชย เซอร์วิส พิเศษ” มีการเพิ่มเพลงใหม่เข้ามา 5 เพลง นำโดยเพลง “ก้อนหินกับนาฬิกา” อันโด่งดังที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้
อัลบั้ม ธงไชย เซอร์วิส พิเศษ แม้จะเป็นอัลบั้มเฉพาะกิจ แต่ก็ทำยอดขายได้สูงถึง 9 แสนตลับเลยทีเดียว
5.ตู้เพลงสามัญประจำบ้าน : พ.ศ.2542 อัลบั้มลำดับที่ 10
ตู้เพลงสามัญประจำบ้าน ผลงานเพลงชุดนี้ออกในปีถัดไปตามต่อจากอัลบั้ม ธงไชย เซอร์วิส แน่นอนว่าสามารถทำยอดขายได้ทะลุเกิน 1 ล้านชุดลีกครั้ง อีกทั้งยังถูกยกให้เป็นอัลบั้มแห่งปีด้วย
อัลบั้มตู้เพลงสามัญประจำบ้าน มีทั้งหมด 11 เพลง มีเพลงเด่น ๆ คือ ลองซิจ๊ะ, กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง,ผิดตรงไหน, ฉันมาทำอะไร และ “ทำไมต้องเธอ” ที่ ตอนหลัง 2 ศิลปินสาว “นิว-จิ๋ว” นำมาคัฟเวอร์ โด่งดังไม่แพ้กันจนกลายเป็นบทเพลงประจำของสองสาวคู่หูดูโอคู่นี้ไป
6. Smile Club : พ.ศ.2544 อัลบั้มลำดับที่ 11
ผลงานเปื้อนยิ้มของพี่เบิร์ดชุดนี้ หน้าปกเป็นรูปพี่เบิร์ดนั่งยิ้มกว้าง รายล้อมด้วยเด็ก ๆ ยิ้มแย้มน่ารัก ถือกล้วยเป็นรูปรอยยิ้มเข้ากับคอนเซ็ปต์อัลบั้ม
Smile Club เป็นอัลบั้มที่ทำยอดขายได้เกิน 1 ล้านตลับ (อีกแล้ว) และเป็นอัลบั้มของศิลปินชายที่เป็นที่สุดแห่งปี 2544 อีกด้วย
อัลบั้ม Smile Club ชุดนี้มีทั้งหมด 11 เพลง มีเพลงเด่น ๆ คือ กอดกัน, คนไม่มีแฟน,คู่แท้ และ “เล่าสู่กันฟัง” บทเพลงสุดดังของพี่เบิร์ดในยุคนั้นมาจนถึงยุคนี้ที่คนร้องท่อน “ฝนที่ตกทางโน้น หนาวถึงคนทางนี้” กันได้ทั่วบ้านทั่วเมือง
นอกจากนี้เพลงเล่าสู่กันฟัง ยังได้รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2544 ในสาขา “บทเพลงยอดเยี่ยม” และรางวัล "มิวสิกวิดีโอศิลปินชายยอดนิยม” จากงานประกาศผลรางวัลแชนแนลวีไทยแลนด์มิวสิกวิดีโออวอร์ดส CHANNEL[V] MUSIC VIDEO AWARD ครั้งที่ 1 ปี 2545 การันตีในความยอดเยี่ยมและความโด่งดังของบทเพลงนี้
7.ชุดรับแขก : พ.ศ.2545 อัลบั้มลำดับที่ 12
แม้เป็นยุคที่วงการเพลงไทยซบเซาเพราะได้รับผลกระทบจากเทปผีซีดีเถื่อน แต่หลังจากพี่เบิร์ดส่งอัลบั้มชุดรับแขกออกมาในปลายปี 2545 มันได้สร้างปรากฏการณ์สุดยอดให้กับวงการเพลงไทย เมื่อผลงานเพลงชุดรับแขก ฝ่ากระแสเทปผีซีดีเถื่อนทำยอดขายได้ถล่มทลาย โดยเทป+ซีดี นั้นสามารถขายได้มากว่า 5 ล้านชุด ถือเป็น “อัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล” ของประเทศไทย
ขณะที่ “วีซีดีบันทึกการแสดงคอนเสิร์ต” นั้นก็ฟันยอดขายไปกว่า 3 ล้านแผ่น รวมแล้วอัลบั้มชุดรับแขกทั้ง เทป ซีดี วีซีดี ทำยอดขายถล่มทลายไปมากกว่า 8 ล้านชุด นอกจากนี้อัลบั้มชุดนี้ยังสร้างสถิติเป็นอัลบั้มที่ทำยอดขายเกิน 1 ล้านตลับเร็วที่สุดของแกรมมี่ภายใน 2 สัปดาห์ ล้านตลับสูงที่สุดของแกรมมี่ ถือเป็นอัลบั้มที่ประวัติศาสตร์ของยุทธจักรวงการเพลงบ้านเราโดยแท้
อัลบั้มชุดรับแขกมีทั้งหมด 11 เพลง งานเพลงชุดนี้พี่เบิร์ดมาในแนวป็อบแดนซ์ตามสมัยนิยม แต่ก็ไม่พลาดบทเพลงเพราะ ๆ ซึ้งๆ อย่าง บ้านของเรา (คนละเพลงกับบ้านของเราในชุดบูมเมอแรง) และ ต้องโทษดาว
ขณะที่บทเพลงสุดฮอตของชุดรับแขกนั้นก็นำโดย “แฟนจ๋า” และ “มาทำไม” ที่เป็นเพลงคู่ฉีกแนวด้วยการร้องกับ “จินตหรา พูนลาภ” เป็นการพบกันระหว่างป็อบกับลูกทุ่ง (หมอลำ) ที่มีการนำดนตรีพื้นบ้านมาผสมผสานในบทเพลงอย่างลงตัว โด่งดังฮอตฮิตถล่มทลายไปทั่วบ้านทั่วเมือง
ผลความสำเร็จจากอัลบั้มชุดรับแขก ทำให้มีอัลบั้มพิเศษ “แฟนจ๋า...สนิทกันแล้วจ๊ะ” ออกมา ทำยอดขายได้เกินกว่า 8 แสนตลับ
นอกจากผลงานเดี่ยว ทั้ง 7 ของพี่เบิร์ดแล้ว ยังมีอัลบั้มพิเศษ “เบิร์ด-เสก” (พ.ศ. 2547) ที่เป็นการเดินทางมาพบกันของ 2 ศิลปินดัง ต่างแนวทางของแกรมมี่ คือป็อบ-พี่เบิร์ด และร็อก-พี่เสก โลโซ (เสกสรรค์ ศุขพิมาย) เนื่องในวาระเฉลิมฉลอง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ครบรอบ 20 ปี ที่มีการผสมผสานทั้งบทเพลงเก่าผลงานของทั้งคู่ที่นำมาทำดนตรีใหม่สลับกันร้อง และบทเพลงใหม่ คือ “คุณรู้ไหม” และ “อมพระมาพูด”
อัลบั้มเบิร์ด-เสกสามารถทำยอดจำหน่ายได้มากกว่า 2 ล้านชุด ถือเป็นผลงานทิ้งท้ายทะลุ 1 ล้านชุดของพี่เบิร์ด
และนี่ก็คือไทม์ไลน์ของ 7+1 อัลบั้มสุดฮิตของพี่เบิร์ดที่ทำยอดขายทะลุเกิน 1 ล้านตลับ ซึ่งนับจากอดีตถึงปัจจุบัน พี่เบิร์ดเป็นศิลปินคนแรกและคนเดียวในเมืองไทยที่มีผลงานสตูดิโออัลบั้มทำยอดขายได้เกิน 1 ล้านชุดมากที่สุดในเมืองไทย ถึง 7 อัลบั้มด้วยกัน และทำยอดขายอัลบั้มชุดรับแขกได้มากสุดเป็นประวัติการณ์คือกว่า 5 ล้านชุด รวมถึงเป็นศิลปินเจ้าของสถิติทำยอดขายรวมทุกอัลบั้มสูงที่สุดตลอดกาลของวงการเพลงบ้านเรา
สำหรับ“พี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์” ชื่อนี้คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณกันมาก เพราะนี่คือสุดยอดซุปเปอร์สตาร์อันดับหนึ่งของเมืองไทย ชนิดที่ยากจะมีใครมาแทนที่ได้
**************************************************
16 สตูดิโออัลบั้ม ของพี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์
1.พ.ศ.2529 หาดทราย สายลม สองเรา
2.พ.ศ.2530 สบาย สบาย
3.พ.ศ.2530 รับขวัญวันใหม่
4.พ.ศ.2531 ส.ค.ส.
5.พ.ศ.2533 บูมเมอแรง* เกิน 2 ล้านชุด
6.พ.ศ.2534 พริกขี้หนู* เกิน 3 ล้านชุด
7.พ.ศ.2537 ธ.ธง* เกิน 1 ล้านชุด
8.พ.ศ.2539 Dream
9.พ.ศ.2541 ธงไชยเซอร์วิส* เกิน 1 ล้านชุด
10.พ.ศ.2542 ตู้เพลงสามัญประจำบ้าน* เกิน 1 ล้านชุด
11.พ.ศ.2544 Smile Club* เกิน 1 ล้านชุด
12.พ.ศ.2545 ชุดรับแขก* เกิน 5 ล้านชุด
13.พ.ศ.2548 Volume 1
14.พ.ศ.2549 ธงไชยวิลเลจ
15.พ.ศ.2550 Simply Bird
16.พ.ศ.2553 อาสาสนุก
“ธงไชย แมคอินไตย์” หรือที่รู้จักกันดีในนาม “พี่เบิร์ด”
ชื่อนี้คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณกันมาก เพราะนี่คือสุดยอดของซุปเปอร์สตาร์เมืองไทย ที่เป็นศิลปินดาวค้างฟ้าครองความเป็นอันดับหนึ่งมายาวนานหลายสิบปี
พี่เบิร์ด มีความสามารถหลากหลาย ทั้ง นายแบบ พิธีกร นักพากย์ เล่นหนัง-ละคร ก็ตีบทแตกกระจุย โดยเฉพาะบทพระเอก “โกโบริ” ในละครเรื่อง “คู่กรรม” ที่ออกอากาศทางช่อง 7 เมื่อปี พ.ศ. 2533 ถือเป็นละครประวัติศาสตร์ด้วยเรตติ้ง 40 ถือเป็นการสร้างเรตติ้งสูงสุดตลอดกาลแห่งวงการละครบ้านเรา
ส่วนผลงานหลักด้านการร้องเพลงนั้น กว่า 33 ปี ที่พี่เบิร์ดโลดแล่นอยู่ในวงการ ศิลปินเบอร์หนึ่งคนนี้มีผลงานเพลงดังคุ้นหูคนไทยรวม ๆ แล้วมากกว่า 100 เพลง แถมหลายต่อหลายเพลงคนไทยจำนวนมากยังร้องกันได้ขึ้นใจ
ขณะที่ผลงานสตูดิโออัลบั้มนั้น พี่เบิร์ดมีทั้งหมด 16 ชุดด้วยกัน ซึ่งสร้างชื่อตั้งแต่ชุดแรกคือ “หาดทราย สายลม สองเรา” (2529) ที่มีผลงานเพลงดัง ๆ อย่างเช่น ฝากฟ้าทะเลฝัน, บันทึกหน้าสุดท้าย, ของของนาย และ “ด้วยรักและผูกพัน” อีกหนึ่งบทเพลงสุดคลาสสิกของพี่เบิร์ด
นอกจากนี้ผลงานเพลงของพี่เบิร์ดยังมีอีกหนึ่งความโดดเด่นเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้ในยุทธจักรวงการเพลงบ้านเราก็คือ พี่เบิร์ดเป็นศิลปินคนแรกและคนเดียวในเมืองไทยที่มีผลงานสตูดิโออัลบั้มทำยอดขายได้เกิน 1 ล้านชุดมากที่สุดในเมืองไทย ถึง 7 อัลบั้มด้วยกัน โดยหนึ่งในนั้นฟันอัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาลที่ถือเป็นอัลบั้มประวัติศาสตร์มาจนทุกวันนี้
และนี่ก็คือ 7 อัลบั้มทำยอดขายเกิน 1 ล้านชุด ของพี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ไล่เรียงตามลำดับไทม์ไลน์กันไป
1.บูมเมอแรง : พ.ศ. 2533 อัลบั้มลำดับที่ 5
ผลงานเพลงชุดนี้ออกมาในช่วงกระแสละคร “คู่กรรม” ฟีเวอร์ ซึ่งพี่เบิร์ดรับบทเป็นพระเอก “โกโบริ” คู่กับ “อังศุมาลิน” ที่รับบทโดย “กวาง-กมลชนก โกมลฐิติ”
ทั้งความดังส่วนตัวของพี่เบิร์ดกับกระแสคู่กรรมฟีเวอร์ ส่งผลให้อัลบั้มบูมเมอแรง ทำยอดขาย (เทป) ถล่มทลายทะลุเกิน 2 ล้านตลับ
บูมเมอแรงได้รับการยกย่องให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งปี (2533) และเป็นผลงานเพลงที่ดีที่สุดเป็นลำดับที่ 3 แห่งทศวรรษ (10 ปี) อีกทั้งยังทำให้พี่เบิร์ดเป็นศิลปินคนแรกของแกรมมี่ที่ทำยอดขายเกิน 2 ล้านตลับ รวมถึงรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย
อัลบั้มบูมเมอแรงที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่ามีเพลงฮิตมากมาย อาทิ บูมเมอแรง, เงียบๆ คนเดียว, คืนนี้ไม่เหมือนคืนนั้น, พักตรงนี้, หมอกหรือควัน, ภารตี, ต่อเวลา และ “คู่กัด” บทเพลงที่เปิดโลกให้เห็นว่า เพลงป็อบแบบไทย ๆ สไตล์พี่เบิร์ดก็สามารถนำมาทำเป็นสามช่า ให้ร้องเล่นเต้นกันได้อย่างสนุกสนาน
นอกจากนี้เพลงคู่กัดยังได้รับเกียรติประวัติสูงสุด โดยวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ในคอนเสิร์ตสายใจไทย ครั้งที่ 5 “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทรงเป่าทรัมเป็ตในบทเพลง “คู่กัด” โดยมีนายธงไชย แมคอินไตย์ เป็นผู้ร่วมขับร้อง
2.พริกขี้หนู : พ.ศ.2534 อัลบั้มลำดับที่ 6
พริกขี้หนูเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มสุดปังของพี่เบิร์ด เป็นการสานต่อความดังจากชุดที่แล้ว พร้อมยกระดับขึ้นสู่ยอดขายเกิน 3 ล้านตลับ ถือเป็นสถิติยอดขายสูงสุดแห่งยุค 90's อีกทั้งยังถูกจัดให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปี (อัลบั้มแห่งทศวรรษ)
นอกจากนั้นในปีเดียวกันนี้ คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ (ครั้งที่ 5) ตอน “ความสุข ความทรงจำ ไม่มีที่สิ้นสุด” ยังสร้างสถิติด้วยจำนวน 29 รอบ จำนวนผู้ชม 58,000 คน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
อัลบั้มพริกขี้หนูที่ฟันยอดขายไปกว่า 3 ล้านชุด มีผลงานเพลงเด่น ๆ อาทิ พริกขี้หนู, ขออุ้มหน่อย, ไม่อาจหยั่งรู้, ฝากไว้ และ “อย่าต่อรองหัวใจ” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งสีสันใหม่ในผลงานเพลงของพี่เบิร์ด เพราะเป็นบทเพลงช้า ๆ ในตัวเพลงมีการพูดประกอบดนตรีเป็นหลัก ก่อนปิดท้ายด้วยท่อนร้องในท่วงทำนองเพราะ ๆ ตามสไตล์พี่เบิร์ด
3. ธ.ธง : พ.ศ.2537 อัลบั้มลำดับที่ 7
ปลายปี 2536 พี่เบิร์ดประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการแสดงอีกครั้งในบทละครเรื่อง “วันนี้ที่รอคอย” ที่พี่เบิร์ดรับบทเป็น “เจ้าซัน” และ “เจ้าชายศิขรนโรดม” คู่กับนางเอกสุดฮอตแห่งยุคคือ “สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์” ละครเรื่องนี้ทำให้พี่เบิร์ดได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ (ครั้งที่ 8) สาขาดารานำชายดีเด่น
จากนั้นในปี 2537 พี่เบิร์ดส่งอัลบั้ม “ธ.ธง” ออกมาหลังว่างเว้นจากการออกสตูดิโออัลบั้มไปร่วม 3 ปี ชื่อเสียงของพี่เบิร์ดยังแรงดีไม่มีตก ทำให้อัลบั้ม ธ.ธง ทำยอดขายทะลุเกิน 1 ล้านตลับ เป็นอัลบั้มลำดับที่ 3 ของพี่เบิร์ดที่ทำยอดขายเกิน 1 ล้านชุด
อัลบั้ม ธ.ธง มีผลงานเพลงเด่น ๆ อาทิ เสียดาย ,เธอผู้ไม่แพ้ ,ห่วงใย และ “เหนื่อยไหม” ที่สามารถคว้ารางวัลพระพิฆเนศทองคำไปครองในสาขาบทเพลง “ประพันธ์คำร้องยอดเยี่ยม”
4.ธงไชยเซอร์วิส : พ.ศ.2541 อัลบั้มลำดับที่ 9
หลังประสบความสำเร็จทำยอดขายทะลุ 1 ล้านตลับอีกครั้งกับ อัลบั้ม ธ.ธง ในปี พ.ศ. 2538 พี่เบิร์ด กลับมารับบท พระเอก “โกโบริ” ในคู่กรรมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มาในรูปแบบของภาพยนต์ แสดงคู่กับ “อุ๋ม-อาภาศิริ นิติพน” ที่รับบทเป็น “อังศุมาลิน”
คู่กรรมที่พี่เบิร์ดเล่นในเวอร์ชั่นภาพยนตร์นี้ สร้างสถิติภาพยนตร์ที่มีผู้เข้าชมสูงสุดใน 3 วันแรกของการเปิดตัวในยุคนั้น ส่วนพี่เบิร์ดนั้นสามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากงานประกาศผลรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ประจำปี พ.ศ. 2538
ในปีเดียวกันนี้พี่เบิร์ดส่งอัลบั้มใหม่ (ลำดับที่ 9) ออกมาคือ “ธงไชยเซอร์วิส” ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเหมือนเดิม ทำยอดขายเกิน 1 ล้านตลับอีกครั้ง
อัลบั้มธงไชยเซอร์วิส มีเพลงเด่น ๆ ได้แก่ ซ่อมได้, บอกว่าอย่าน่ารัก, ก็เลิกกันแล้ว, เหนื่อยใจเหลือเกิน และ “ถ่านไฟเก่า” บทเพลงรักเศร้าซึ้งซึ่งโด่งดังค้างฟ้ามาจนทุกวันนี้
ธงไชย เซอร์วิส ยังมีความพิเศษอีกตรงที่ ผลพวงความสำเร็จของอัลบั้มชุดนี้ ทำให้เกิดอัลบั้มพิเศษตามมา คือ “ธงไชย เซอร์วิส พิเศษ” มีการเพิ่มเพลงใหม่เข้ามา 5 เพลง นำโดยเพลง “ก้อนหินกับนาฬิกา” อันโด่งดังที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนทุกวันนี้
อัลบั้ม ธงไชย เซอร์วิส พิเศษ แม้จะเป็นอัลบั้มเฉพาะกิจ แต่ก็ทำยอดขายได้สูงถึง 9 แสนตลับเลยทีเดียว
5.ตู้เพลงสามัญประจำบ้าน : พ.ศ.2542 อัลบั้มลำดับที่ 10
ตู้เพลงสามัญประจำบ้าน ผลงานเพลงชุดนี้ออกในปีถัดไปตามต่อจากอัลบั้ม ธงไชย เซอร์วิส แน่นอนว่าสามารถทำยอดขายได้ทะลุเกิน 1 ล้านชุดลีกครั้ง อีกทั้งยังถูกยกให้เป็นอัลบั้มแห่งปีด้วย
อัลบั้มตู้เพลงสามัญประจำบ้าน มีทั้งหมด 11 เพลง มีเพลงเด่น ๆ คือ ลองซิจ๊ะ, กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง,ผิดตรงไหน, ฉันมาทำอะไร และ “ทำไมต้องเธอ” ที่ ตอนหลัง 2 ศิลปินสาว “นิว-จิ๋ว” นำมาคัฟเวอร์ โด่งดังไม่แพ้กันจนกลายเป็นบทเพลงประจำของสองสาวคู่หูดูโอคู่นี้ไป
6. Smile Club : พ.ศ.2544 อัลบั้มลำดับที่ 11
ผลงานเปื้อนยิ้มของพี่เบิร์ดชุดนี้ หน้าปกเป็นรูปพี่เบิร์ดนั่งยิ้มกว้าง รายล้อมด้วยเด็ก ๆ ยิ้มแย้มน่ารัก ถือกล้วยเป็นรูปรอยยิ้มเข้ากับคอนเซ็ปต์อัลบั้ม
Smile Club เป็นอัลบั้มที่ทำยอดขายได้เกิน 1 ล้านตลับ (อีกแล้ว) และเป็นอัลบั้มของศิลปินชายที่เป็นที่สุดแห่งปี 2544 อีกด้วย
อัลบั้ม Smile Club ชุดนี้มีทั้งหมด 11 เพลง มีเพลงเด่น ๆ คือ กอดกัน, คนไม่มีแฟน,คู่แท้ และ “เล่าสู่กันฟัง” บทเพลงสุดดังของพี่เบิร์ดในยุคนั้นมาจนถึงยุคนี้ที่คนร้องท่อน “ฝนที่ตกทางโน้น หนาวถึงคนทางนี้” กันได้ทั่วบ้านทั่วเมือง
นอกจากนี้เพลงเล่าสู่กันฟัง ยังได้รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2544 ในสาขา “บทเพลงยอดเยี่ยม” และรางวัล "มิวสิกวิดีโอศิลปินชายยอดนิยม” จากงานประกาศผลรางวัลแชนแนลวีไทยแลนด์มิวสิกวิดีโออวอร์ดส CHANNEL[V] MUSIC VIDEO AWARD ครั้งที่ 1 ปี 2545 การันตีในความยอดเยี่ยมและความโด่งดังของบทเพลงนี้
7.ชุดรับแขก : พ.ศ.2545 อัลบั้มลำดับที่ 12
แม้เป็นยุคที่วงการเพลงไทยซบเซาเพราะได้รับผลกระทบจากเทปผีซีดีเถื่อน แต่หลังจากพี่เบิร์ดส่งอัลบั้มชุดรับแขกออกมาในปลายปี 2545 มันได้สร้างปรากฏการณ์สุดยอดให้กับวงการเพลงไทย เมื่อผลงานเพลงชุดรับแขก ฝ่ากระแสเทปผีซีดีเถื่อนทำยอดขายได้ถล่มทลาย โดยเทป+ซีดี นั้นสามารถขายได้มากว่า 5 ล้านชุด ถือเป็น “อัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล” ของประเทศไทย
ขณะที่ “วีซีดีบันทึกการแสดงคอนเสิร์ต” นั้นก็ฟันยอดขายไปกว่า 3 ล้านแผ่น รวมแล้วอัลบั้มชุดรับแขกทั้ง เทป ซีดี วีซีดี ทำยอดขายถล่มทลายไปมากกว่า 8 ล้านชุด นอกจากนี้อัลบั้มชุดนี้ยังสร้างสถิติเป็นอัลบั้มที่ทำยอดขายเกิน 1 ล้านตลับเร็วที่สุดของแกรมมี่ภายใน 2 สัปดาห์ ล้านตลับสูงที่สุดของแกรมมี่ ถือเป็นอัลบั้มที่ประวัติศาสตร์ของยุทธจักรวงการเพลงบ้านเราโดยแท้
อัลบั้มชุดรับแขกมีทั้งหมด 11 เพลง งานเพลงชุดนี้พี่เบิร์ดมาในแนวป็อบแดนซ์ตามสมัยนิยม แต่ก็ไม่พลาดบทเพลงเพราะ ๆ ซึ้งๆ อย่าง บ้านของเรา (คนละเพลงกับบ้านของเราในชุดบูมเมอแรง) และ ต้องโทษดาว
ขณะที่บทเพลงสุดฮอตของชุดรับแขกนั้นก็นำโดย “แฟนจ๋า” และ “มาทำไม” ที่เป็นเพลงคู่ฉีกแนวด้วยการร้องกับ “จินตหรา พูนลาภ” เป็นการพบกันระหว่างป็อบกับลูกทุ่ง (หมอลำ) ที่มีการนำดนตรีพื้นบ้านมาผสมผสานในบทเพลงอย่างลงตัว โด่งดังฮอตฮิตถล่มทลายไปทั่วบ้านทั่วเมือง
ผลความสำเร็จจากอัลบั้มชุดรับแขก ทำให้มีอัลบั้มพิเศษ “แฟนจ๋า...สนิทกันแล้วจ๊ะ” ออกมา ทำยอดขายได้เกินกว่า 8 แสนตลับ
นอกจากผลงานเดี่ยว ทั้ง 7 ของพี่เบิร์ดแล้ว ยังมีอัลบั้มพิเศษ “เบิร์ด-เสก” (พ.ศ. 2547) ที่เป็นการเดินทางมาพบกันของ 2 ศิลปินดัง ต่างแนวทางของแกรมมี่ คือป็อบ-พี่เบิร์ด และร็อก-พี่เสก โลโซ (เสกสรรค์ ศุขพิมาย) เนื่องในวาระเฉลิมฉลอง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ครบรอบ 20 ปี ที่มีการผสมผสานทั้งบทเพลงเก่าผลงานของทั้งคู่ที่นำมาทำดนตรีใหม่สลับกันร้อง และบทเพลงใหม่ คือ “คุณรู้ไหม” และ “อมพระมาพูด”
อัลบั้มเบิร์ด-เสกสามารถทำยอดจำหน่ายได้มากกว่า 2 ล้านชุด ถือเป็นผลงานทิ้งท้ายทะลุ 1 ล้านชุดของพี่เบิร์ด
และนี่ก็คือไทม์ไลน์ของ 7+1 อัลบั้มสุดฮิตของพี่เบิร์ดที่ทำยอดขายทะลุเกิน 1 ล้านตลับ ซึ่งนับจากอดีตถึงปัจจุบัน พี่เบิร์ดเป็นศิลปินคนแรกและคนเดียวในเมืองไทยที่มีผลงานสตูดิโออัลบั้มทำยอดขายได้เกิน 1 ล้านชุดมากที่สุดในเมืองไทย ถึง 7 อัลบั้มด้วยกัน และทำยอดขายอัลบั้มชุดรับแขกได้มากสุดเป็นประวัติการณ์คือกว่า 5 ล้านชุด รวมถึงเป็นศิลปินเจ้าของสถิติทำยอดขายรวมทุกอัลบั้มสูงที่สุดตลอดกาลของวงการเพลงบ้านเรา
สำหรับ“พี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์” ชื่อนี้คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณกันมาก เพราะนี่คือสุดยอดซุปเปอร์สตาร์อันดับหนึ่งของเมืองไทย ชนิดที่ยากจะมีใครมาแทนที่ได้
**************************************************
16 สตูดิโออัลบั้ม ของพี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์
1.พ.ศ.2529 หาดทราย สายลม สองเรา
2.พ.ศ.2530 สบาย สบาย
3.พ.ศ.2530 รับขวัญวันใหม่
4.พ.ศ.2531 ส.ค.ส.
5.พ.ศ.2533 บูมเมอแรง* เกิน 2 ล้านชุด
6.พ.ศ.2534 พริกขี้หนู* เกิน 3 ล้านชุด
7.พ.ศ.2537 ธ.ธง* เกิน 1 ล้านชุด
8.พ.ศ.2539 Dream
9.พ.ศ.2541 ธงไชยเซอร์วิส* เกิน 1 ล้านชุด
10.พ.ศ.2542 ตู้เพลงสามัญประจำบ้าน* เกิน 1 ล้านชุด
11.พ.ศ.2544 Smile Club* เกิน 1 ล้านชุด
12.พ.ศ.2545 ชุดรับแขก* เกิน 5 ล้านชุด
13.พ.ศ.2548 Volume 1
14.พ.ศ.2549 ธงไชยวิลเลจ
15.พ.ศ.2550 Simply Bird
16.พ.ศ.2553 อาสาสนุก