โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)

ถือเป็นอีกหนึ่งความสูญเสียครั้งสำคัญของเมืองไทย และข่าวเศร้าของชาวไทยต่อการจากไปของ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐบุรุษ และประธานองคมนตรีในพระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์ ซึ่งท่านถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบในเช้าที่ 26 พ.ค. 62 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในวัย 99 ปี
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือที่คนนิยมเรียกท่านว่า “ป๋าเปรม” เป็นบุคคลที่สร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติมากมาย นอกจากนี้ท่านยังเป็นต้นแบบของความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละทำงานเพื่อแผ่นดิน เพื่อส่วนรวม และประเทศชาติ ดังนั้นการที่ท่านจากไปผู้คนต่างก็แสดงความเสียใจอาลัยรัก (ยกเว้นพวกสัตว์ชั้นต่ำจำนวนหนึ่งที่มีปมไม่สามารถแสดงออกด้วยความรู้สึกของมนุษย์ได้)
สำหรับหนึ่งในภารกิจสำคัญในการต่อสู้เพื่อชาติบ้านเมืองก็คือ การนำชาติไทยให้พ้นภัยจากไฟคอมมิวนิสต์ที่กำลังลามทุ่งจากประเทศเพื่อนบ้านมาเผาไหม้เมือง แต่ด้วยนโยบาย “การเมืองนำการทหาร” นำผู้หลงเดินผิดทางออกจากป่ามาร่วมกันพัฒนาชาติไทยบนแนวทางแห่งสันติภาพ ก็ทำให้บ้านเมืองในช่วงหลังจากนั้นกลับคืนสู่ความสงบสุข (หลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. 19) ก่อนที่ป๋าเปรมจะได้รับความไว้วางใจจากเหล่าผู้นำให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัย นำพาชาติไทยเดินหน้าสู่ความรุ่งเรือง (ในยุคสมัยที่ท่านปกครองบ้านเมือง)
แม้คนส่วนใหญ่ต่างรู้กันดีว่า ป๋าเปรมท่านเป็นทหารกล้าขุนศึกคู่บัลลังก์ที่เสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง แต่ในด้านการดำเนินชีวิตส่วนตัวนั้น ท่านเป็นคนที่มีความสุนทรีไม่น้อย ชอบชมการแข่งขันกีฬาโดยเฉพาะมวยและฟุตบอล อีกทั้งยังชื่นชอบในดนตรี และชอบร้องเพลง
นอกจากนี้ป๋าเปรมยังนิยมชมชอบในการประพันธ์เพลง ซึ่งที่ผ่านมาท่านได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมากกว่า 150 เพลง โดยมีผลงาน 157 เพลง ถูกนำมารวบรวมไว้ในหนังสือ “บทประพันธ์เพลง รัฐบุรุษศิลปิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์”รวมถึงท่านยังเคยร้องเพลงออกอัลบั้มมาแล้วด้วย
ป๋าเปรมได้เคยเปิดเผยผ่านสื่อว่า หลายบทเพลงแต่งขึ้นตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่ม ๆ เมื่อครั้งเป็นนายทหารยศร้อยโทอยู่เชียงตุง ซึ่งย้อนรำลึกความหลังไปเมื่อราว 70 ปีก่อน โดยป๋าเปรมเริ่มจากการแต่งกลอนแปด โคลงสี่สุภาพ แล้วใช้ปากกาเขียนลงบนแผนกระดาษ ครั้นเมื่อพอมีทักษะทางดนตรี ท่านจึงนำเนื้อเพลงที่แต่งไว้มาใส่ทำนอง
ป๋าเปรมเล่าว่าบทเพลงที่แต่งขึ้น มีทั้งสนุกและเศร้าคละเคล้ากันไป แต่ส่วนใหญ่จะสะท้อนมาจากชีวิตที่ได้เข้ารับใช้การเมืองในแต่ละช่วง แต่ก็มีเพลงจำนวนหนึ่งที่แต่งขึ้นมาจากจินตนาการของท่านเอง
ทั้งนี้บทเพลงที่ป๋าเปรมประพันธ์ขึ้นมานั้น จะมีการใช้ภาษาไทยได้อย่างไหลรื่น สละสลวยสวยงาม มีสัมผัสคล้องจอง สอดรับกับท่วงทำนองที่น่าฟัง ซึ่งท่านจะระมัดระวังมากในเรื่องของการใช้ภาษา เนื้อหาต้องใช้ภาษาไทยให้ดีและถูกต้อง
สำหรับบทเพลงแรกของป๋าเปรมก็คือ “ใต้แสงจันทร์” ที่แต่งไว้ในปี 2545 ส่วนบทเพลงน่าสนใจอื่น ๆ นั้นก็ได้แก่ ขอสัญญา, กลิ่นนาง, แค่ฝัน, หมายปอง, ไม้ขีดกับดอกทานตะวัน, รักหาย, ฉายเดี่ยว, ตาห่างใจไม่ห่าง, As if an angel, Love at large และ “ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” ที่ถือเป็นคติประจำตัวของป๋าเปรม
นอกจากความสามารถด้านการประพันธ์เพลงแล้วป๋าเปรมยังสามารถเล่นเปียโนได้ โดยท่านได้ฝึกหัดเล่นเปียโนกับ “ณัฐ ยนตรรักษ์” จนสามารถเล่นเดี่ยวเปียโน (กับวงออร์เคสตร้า) ขึ้นในคอนเสิร์ตได้อย่างไหลลื่น
และนี่ก็คือความสามารถทางด้านดนตรีของป๋าเปรม เป็นด้านแห่งความสุนทรีจากรัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ต้นแบบของคนทำดี เสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง ซึ่งป๋าเปรมได้เคยพูดถึงความสุขที่ได้รับจากดนตรีว่า
“ดนตรีทำให้ผมมีความสุข แต่ผมจะสุขที่สุด ถ้าดนตรีสามารถส่งผลดีต่อแผ่นดิน”
ถือเป็นอีกหนึ่งความสูญเสียครั้งสำคัญของเมืองไทย และข่าวเศร้าของชาวไทยต่อการจากไปของ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐบุรุษ และประธานองคมนตรีในพระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์ ซึ่งท่านถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบในเช้าที่ 26 พ.ค. 62 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในวัย 99 ปี
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือที่คนนิยมเรียกท่านว่า “ป๋าเปรม” เป็นบุคคลที่สร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติมากมาย นอกจากนี้ท่านยังเป็นต้นแบบของความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละทำงานเพื่อแผ่นดิน เพื่อส่วนรวม และประเทศชาติ ดังนั้นการที่ท่านจากไปผู้คนต่างก็แสดงความเสียใจอาลัยรัก (ยกเว้นพวกสัตว์ชั้นต่ำจำนวนหนึ่งที่มีปมไม่สามารถแสดงออกด้วยความรู้สึกของมนุษย์ได้)
สำหรับหนึ่งในภารกิจสำคัญในการต่อสู้เพื่อชาติบ้านเมืองก็คือ การนำชาติไทยให้พ้นภัยจากไฟคอมมิวนิสต์ที่กำลังลามทุ่งจากประเทศเพื่อนบ้านมาเผาไหม้เมือง แต่ด้วยนโยบาย “การเมืองนำการทหาร” นำผู้หลงเดินผิดทางออกจากป่ามาร่วมกันพัฒนาชาติไทยบนแนวทางแห่งสันติภาพ ก็ทำให้บ้านเมืองในช่วงหลังจากนั้นกลับคืนสู่ความสงบสุข (หลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. 19) ก่อนที่ป๋าเปรมจะได้รับความไว้วางใจจากเหล่าผู้นำให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัย นำพาชาติไทยเดินหน้าสู่ความรุ่งเรือง (ในยุคสมัยที่ท่านปกครองบ้านเมือง)
แม้คนส่วนใหญ่ต่างรู้กันดีว่า ป๋าเปรมท่านเป็นทหารกล้าขุนศึกคู่บัลลังก์ที่เสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง แต่ในด้านการดำเนินชีวิตส่วนตัวนั้น ท่านเป็นคนที่มีความสุนทรีไม่น้อย ชอบชมการแข่งขันกีฬาโดยเฉพาะมวยและฟุตบอล อีกทั้งยังชื่นชอบในดนตรี และชอบร้องเพลง
นอกจากนี้ป๋าเปรมยังนิยมชมชอบในการประพันธ์เพลง ซึ่งที่ผ่านมาท่านได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมากกว่า 150 เพลง โดยมีผลงาน 157 เพลง ถูกนำมารวบรวมไว้ในหนังสือ “บทประพันธ์เพลง รัฐบุรุษศิลปิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์”รวมถึงท่านยังเคยร้องเพลงออกอัลบั้มมาแล้วด้วย
ป๋าเปรมได้เคยเปิดเผยผ่านสื่อว่า หลายบทเพลงแต่งขึ้นตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่ม ๆ เมื่อครั้งเป็นนายทหารยศร้อยโทอยู่เชียงตุง ซึ่งย้อนรำลึกความหลังไปเมื่อราว 70 ปีก่อน โดยป๋าเปรมเริ่มจากการแต่งกลอนแปด โคลงสี่สุภาพ แล้วใช้ปากกาเขียนลงบนแผนกระดาษ ครั้นเมื่อพอมีทักษะทางดนตรี ท่านจึงนำเนื้อเพลงที่แต่งไว้มาใส่ทำนอง
ป๋าเปรมเล่าว่าบทเพลงที่แต่งขึ้น มีทั้งสนุกและเศร้าคละเคล้ากันไป แต่ส่วนใหญ่จะสะท้อนมาจากชีวิตที่ได้เข้ารับใช้การเมืองในแต่ละช่วง แต่ก็มีเพลงจำนวนหนึ่งที่แต่งขึ้นมาจากจินตนาการของท่านเอง
ทั้งนี้บทเพลงที่ป๋าเปรมประพันธ์ขึ้นมานั้น จะมีการใช้ภาษาไทยได้อย่างไหลรื่น สละสลวยสวยงาม มีสัมผัสคล้องจอง สอดรับกับท่วงทำนองที่น่าฟัง ซึ่งท่านจะระมัดระวังมากในเรื่องของการใช้ภาษา เนื้อหาต้องใช้ภาษาไทยให้ดีและถูกต้อง
สำหรับบทเพลงแรกของป๋าเปรมก็คือ “ใต้แสงจันทร์” ที่แต่งไว้ในปี 2545 ส่วนบทเพลงน่าสนใจอื่น ๆ นั้นก็ได้แก่ ขอสัญญา, กลิ่นนาง, แค่ฝัน, หมายปอง, ไม้ขีดกับดอกทานตะวัน, รักหาย, ฉายเดี่ยว, ตาห่างใจไม่ห่าง, As if an angel, Love at large และ “ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” ที่ถือเป็นคติประจำตัวของป๋าเปรม
นอกจากความสามารถด้านการประพันธ์เพลงแล้วป๋าเปรมยังสามารถเล่นเปียโนได้ โดยท่านได้ฝึกหัดเล่นเปียโนกับ “ณัฐ ยนตรรักษ์” จนสามารถเล่นเดี่ยวเปียโน (กับวงออร์เคสตร้า) ขึ้นในคอนเสิร์ตได้อย่างไหลลื่น
และนี่ก็คือความสามารถทางด้านดนตรีของป๋าเปรม เป็นด้านแห่งความสุนทรีจากรัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ต้นแบบของคนทำดี เสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง ซึ่งป๋าเปรมได้เคยพูดถึงความสุขที่ได้รับจากดนตรีว่า
“ดนตรีทำให้ผมมีความสุข แต่ผมจะสุขที่สุด ถ้าดนตรีสามารถส่งผลดีต่อแผ่นดิน”