โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
14 มีนาคม ค.ศ.2018(พ.ศ. 2561)
โลกต้องสูญเสียบุคคลสำคัญไปอีกผู้หนึ่ง นั่นก็คือ “สตีเฟน ฮอว์กิง”(Stephen Hawking) นักฟิสิกส์และนักจักรวาลวิทยาชื่อก้องโลก
สตีเฟน ฮอว์กิง ได้รับการยกย่องให้เป็นอัจฉริยะบุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งนอกจากจะมีสติปัญญาล้ำเลิศเหนือมนุษย์ปกติทั่วไปแล้ว เขายังเป็นนักต่อสู้ผู้ยิ่งใหญ่ที่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายที่ทำให้เขาเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ จนร่างกายต้องพิกลพิการ แต่ด้วยหัวใจที่ยิ่งใหญ่ ทำให้เขาต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆอย่างไม่ย่นย่อท้อจนเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมายบนโลกใบนี้
สตีเฟน ฮอว์กิง เกิดที่เมืองอ็อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 1942 ซึ่งตรงกับวันครบรอบวันตาย 300 ปีของ “กาลิเลโอ กาลิเลอิ”(Galileo Galilei) หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก
ในปี 1962 ตอนอายุราว 21 ปี ฮอว์กิง ป่วยเป็นโรคAmyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งหมอบอกว่าจะต้องเสียชีวิตหลังจากนี้ไม่นาน(ราว 2 ปี) แต่ฮอว์กิงก็ไม่ย่นย่อท้อต่อโชคชะตา และไม่ยอมตายง่ายๆ ใช้ชีวิตต่อสู้ฟันฝ่าจนสามารถมีอายุยืนยาวมาถึง 76 ปี ทั้งๆที่ร่างกายของเขามีแต่ทรุดลงเรื่อยๆ
กระทั่งเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2018 สตีเฟน ฮอว์กิง ก็ได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 76 ปี ซึ่งวันอำลาจากโลกของเขานั้นตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์”(Albert Einstein) นักฟิสิกส์นามอุโฆษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นอัจฉริยะผู้ล่วงลับแห่งศตวรรษที่ 20
สตีเฟน ฮอว์กิงได้ฝากผลงานหลายอย่างที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการวิทยาศาสตร์และโลกใบนี้ ที่เด่นๆก็อย่างเช่น ทฤษฎีว่าด้วยหลุมดำที่ไม่ได้ดำมืดอย่างที่เคยคิดกัน การหักล้างทฤษฎีหลุมดำเดิมของตัวเอง และการเขียนหนังสือ“A Brief History of Time”(หรือชื่อไทย “ประวัติย่อของกาลเวลา”) ที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับเรื่องราวของเอกภพ จักรวาล และอวกาศ ซึ่งเป็นหนังสือวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ขายได้หลายล้านเล่มทั่วโลก
สำหรับเรื่องราวชีวิตบางส่วนของสตีเฟน ฮอว์กิงนั้น ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง “The Theory of Everything” หรือ “ทฤษฎีรักนิรันดร”ในชื่อภาษาไทย
The Theory of Everything เป็นภาพยนตร์อัตชีวประวัติของสตีเฟน ฮอว์กิง ดัดแปลงบทจากหนังสือ“Travelling to Infinity: My Life with Stephen“ ของ “เจน ฮอว์กิง” (Jane Hawking) ภรรยาคนแรกของฮอว์กิง กำกับภาพยนตร์โดย “เจมส์ มาร์ช”(James Marsh) นำแสดงโดย “เอ็ดดี เรดเมย์น” (Eddie Redmayne) ที่มารับบทนำเป็น สตีเฟน ฮอว์กิง และ “เฟลิซิตี้ โจนส์”(Felicity Jones) ผู้มารับบทเป็นเจน ฮอว์กิง
ภาพยนตร์เรื่องนี้ย้อนไปในช่วงต้นยุค 60’s เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของฮอว์กิงในวัยหนุ่มที่กำลังศึกษาอยู่ในรั้วเคมบริดจ์ ที่ได้พบรักกับ“เจน ไวลด์” ที่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาวรรณกรรม
ฮอว์กิงในช่วงนั้นได้ฉายแววอัจฉริยะออกมาแล้ว แต่เขาต้องเผชิญกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง(ALS) ซึ่งหมอบอกว่าหลังจากนี้เขาจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2 ปี แต่ด้วยจิตใจอันเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวไม่ย่นย่อท้อ รวมถึงกำลังใจและการดูแลอย่างดีของ เจน ไวลด์ ที่ได้กลายมาเป็น เจน ฮอว์กิง ภรรยา ของสตีเฟน ฮอว์กิง ในเวลาต่อมา ก็ทำให้เขาสามารถมีอายุยืนยาวขึ้นมาได้อีกหลายสิบปี(ทั้งๆที่อาการป่วยและร่างกายของ ฮอว์กิงมีแต่ทรุดลงเรื่อยๆ)
The Theory of Everything เป็นหนังที่นำเรื่องราวอันน่าเศร้ารันทดของการป่วยเป็นโรคร้าย(ถึงตาย)ของฮอว์กิง และเรื่องราวความรักระหว่าง สตีเฟน กับ เจน ฮอว์กิง มาบอกเล่าได้อย่างลึกซึ้งกินใจ ไม่ฟูมฟาย คร่ำครวญ (แต่ไม่ถึงกับโลดโผนและก็ไม่น่าเบื่อ แม้จะมีเนิบหน่วงบ้างในบางช่วง) ผ่านการดำเนินเรื่องที่ค่อนข้างกระชับ มีมุมมองต่อเรื่องราว สวยงามอิ่มเอม ไม่ว่าจะเป็น เรื่องราวความอบอุ่นระหว่างเพื่อนฝูง อาจารย์กับศิษย์ ครอบครัว พ่อ-แม่
และที่สำคัญคือความรักที่เจนมีให้ต่อสตีเฟน ซึ่งมันได้กลายเป็นพลังให้ทั้งสองต่อสู้ฟันฝ่ากับอุปสรรคความโหดร้ายต่างๆให้ผ่านไปได้ และสตีเฟนก็ไม่ต้องตายลงภายใน 2 ปี อย่างที่หมอบอก(แม้จะช่วงท้ายจะมีเรื่องราวความรักที่หักมุม แต่มันก็มีความคลุมเครือในแง่มุมของความงาม ความปรารถนาดีให้ขบคิด)
ส่วนแง่มุมในเรื่องของวิทยาศาสตร์ที่เป็นจุดเด่นเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้จัก สตีเฟน ฮอว์กิ้งไปทั่วทั้งโลกนั้น หนังเรื่องนี้ได้นำมาย่อยให้เข้าใจง่าย และนำเสนอมันให้เป็นเพียงสีสันองค์ประกอบเสริม เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อในด้านศาสนาของฮอว์กิ้ง
ขณะที่องค์ประกอบอื่นๆที่ทำให้หนังเรื่องนี้ดูดีมีเสน่ห์น่าติดตาม ก็คือ ภาพอันสวยงาม ดนตรีประกอบไพเราะ ที่สำคัญคือดารานักแสดงนำชาย-หญิง ต่างแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะ เอ็ดดี้ เรดเมย์น ที่รับบทเป็น สตีเฟน ฮอว์กิง นั้น ตีบทแตกกระจุย เล่นได้ยอดเยี่ยมมาก
นั่นจึงทำให้ภาพยนตร์เรื่อง The Theory of Everything ได้กระแสตอบรับที่ดี ได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกจากทั่วโลก ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมากมาย และสามารถคว้ารางวัลมาได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในรางวัลใหญ่อย่างลูกโลกทองคำ เข้าชิง 4 สาขา คว้ามาได้ 2 สาขา คือ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ในภาพยนตร์ประเภทดราม่า และดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ส่วนอีกหนึ่งรางวัลใหญ่ระดับบิ๊กเนมที่คนรู้จักกันทั่วทั้งโลกอย่างรางวัล“ออสการ์”นั้น The Theory of Everything เข้าชิง 5 สาขา สามารถคว้ามาได้ 1 สาขาจาก เอ็ดดี้ เรดเมย์น ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม(Best Actor)
นอกจากเรื่องราวชีวิต ความรักโรแมนติก ดราม่า ที่มีให้ชมกันเป็นแกนหลัก และทำให้ใครหลายๆคนต้องเสียน้ำตาใน The Theory of Everything แล้ว หนังเรื่องนี้ แง่มุมดีๆที่ไม่ควรมองผ่าน อย่างเช่น เรื่องราวของความรักที่มันมีพลังขับเคลื่อนให้เรายอมทำทุกอย่างเพื่อคนที่เรารักได้ แต่ความรักมันก็ไม่มีทฤษฏีตายตัว เพราะบางทีอะไรที่ว่าแน่ๆเป็นของตาย รักอาจสลายในบั้นปลายก็เป็นได้
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ได้มุ่งนำเสนอก็คือ เรื่องราวของมนุษย์ผู้หนึ่งที่ไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา รวมถึงเรื่องราวของ“ความหวัง” ซึ่งในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ฮอว์กิงได้กล่าวถ้อยคำที่มีพลังอย่างยิ่งว่า
“ตราบใดที่เรายังเป็นมนุษย์ เราก็ยังคงมีความหวัง”
และด้วยความหวัง จิตใจเข้มแข็ง ไม่ย่นย่อท้อต่ออุปสรรคขวากหนาม ทำให้สตีเฟ่น ฮอว์กิง ก้าวผ่านความตายมาได้(จากที่หมอบอกว่าจะต้องตายภายใน 2 ปี หลังป่วยเป็นโรค ALS) ทำให้หลังจากนี้ฮอว์กิงสามารถค้นพบสิ่งสำคัญและทฤษฎีใหม่หลายอย่างในวงการวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะในด้านจักรวาลวิทยา จนทำให้เขากลายเป็นนักฟิสิกส์และนักจักรวาลวิทยาชื่อก้องโลก
ขอคารวะ แด่ “สตีเฟน ฮอว์กิ้ง” อัจฉริยะบุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 ผู้ที่แม้จะจากไป แต่เรื่องราว ชื่อเสียง และทฤษฎีของเขายังคงอยู่
14 มีนาคม ค.ศ.2018(พ.ศ. 2561)
โลกต้องสูญเสียบุคคลสำคัญไปอีกผู้หนึ่ง นั่นก็คือ “สตีเฟน ฮอว์กิง”(Stephen Hawking) นักฟิสิกส์และนักจักรวาลวิทยาชื่อก้องโลก
สตีเฟน ฮอว์กิง ได้รับการยกย่องให้เป็นอัจฉริยะบุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งนอกจากจะมีสติปัญญาล้ำเลิศเหนือมนุษย์ปกติทั่วไปแล้ว เขายังเป็นนักต่อสู้ผู้ยิ่งใหญ่ที่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายที่ทำให้เขาเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ จนร่างกายต้องพิกลพิการ แต่ด้วยหัวใจที่ยิ่งใหญ่ ทำให้เขาต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆอย่างไม่ย่นย่อท้อจนเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมายบนโลกใบนี้
สตีเฟน ฮอว์กิง เกิดที่เมืองอ็อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 1942 ซึ่งตรงกับวันครบรอบวันตาย 300 ปีของ “กาลิเลโอ กาลิเลอิ”(Galileo Galilei) หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก
ในปี 1962 ตอนอายุราว 21 ปี ฮอว์กิง ป่วยเป็นโรคAmyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งหมอบอกว่าจะต้องเสียชีวิตหลังจากนี้ไม่นาน(ราว 2 ปี) แต่ฮอว์กิงก็ไม่ย่นย่อท้อต่อโชคชะตา และไม่ยอมตายง่ายๆ ใช้ชีวิตต่อสู้ฟันฝ่าจนสามารถมีอายุยืนยาวมาถึง 76 ปี ทั้งๆที่ร่างกายของเขามีแต่ทรุดลงเรื่อยๆ
กระทั่งเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2018 สตีเฟน ฮอว์กิง ก็ได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 76 ปี ซึ่งวันอำลาจากโลกของเขานั้นตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์”(Albert Einstein) นักฟิสิกส์นามอุโฆษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นอัจฉริยะผู้ล่วงลับแห่งศตวรรษที่ 20
สตีเฟน ฮอว์กิงได้ฝากผลงานหลายอย่างที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการวิทยาศาสตร์และโลกใบนี้ ที่เด่นๆก็อย่างเช่น ทฤษฎีว่าด้วยหลุมดำที่ไม่ได้ดำมืดอย่างที่เคยคิดกัน การหักล้างทฤษฎีหลุมดำเดิมของตัวเอง และการเขียนหนังสือ“A Brief History of Time”(หรือชื่อไทย “ประวัติย่อของกาลเวลา”) ที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับเรื่องราวของเอกภพ จักรวาล และอวกาศ ซึ่งเป็นหนังสือวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ขายได้หลายล้านเล่มทั่วโลก
สำหรับเรื่องราวชีวิตบางส่วนของสตีเฟน ฮอว์กิงนั้น ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง “The Theory of Everything” หรือ “ทฤษฎีรักนิรันดร”ในชื่อภาษาไทย
The Theory of Everything เป็นภาพยนตร์อัตชีวประวัติของสตีเฟน ฮอว์กิง ดัดแปลงบทจากหนังสือ“Travelling to Infinity: My Life with Stephen“ ของ “เจน ฮอว์กิง” (Jane Hawking) ภรรยาคนแรกของฮอว์กิง กำกับภาพยนตร์โดย “เจมส์ มาร์ช”(James Marsh) นำแสดงโดย “เอ็ดดี เรดเมย์น” (Eddie Redmayne) ที่มารับบทนำเป็น สตีเฟน ฮอว์กิง และ “เฟลิซิตี้ โจนส์”(Felicity Jones) ผู้มารับบทเป็นเจน ฮอว์กิง
ภาพยนตร์เรื่องนี้ย้อนไปในช่วงต้นยุค 60’s เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของฮอว์กิงในวัยหนุ่มที่กำลังศึกษาอยู่ในรั้วเคมบริดจ์ ที่ได้พบรักกับ“เจน ไวลด์” ที่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาวรรณกรรม
ฮอว์กิงในช่วงนั้นได้ฉายแววอัจฉริยะออกมาแล้ว แต่เขาต้องเผชิญกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง(ALS) ซึ่งหมอบอกว่าหลังจากนี้เขาจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2 ปี แต่ด้วยจิตใจอันเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวไม่ย่นย่อท้อ รวมถึงกำลังใจและการดูแลอย่างดีของ เจน ไวลด์ ที่ได้กลายมาเป็น เจน ฮอว์กิง ภรรยา ของสตีเฟน ฮอว์กิง ในเวลาต่อมา ก็ทำให้เขาสามารถมีอายุยืนยาวขึ้นมาได้อีกหลายสิบปี(ทั้งๆที่อาการป่วยและร่างกายของ ฮอว์กิงมีแต่ทรุดลงเรื่อยๆ)
The Theory of Everything เป็นหนังที่นำเรื่องราวอันน่าเศร้ารันทดของการป่วยเป็นโรคร้าย(ถึงตาย)ของฮอว์กิง และเรื่องราวความรักระหว่าง สตีเฟน กับ เจน ฮอว์กิง มาบอกเล่าได้อย่างลึกซึ้งกินใจ ไม่ฟูมฟาย คร่ำครวญ (แต่ไม่ถึงกับโลดโผนและก็ไม่น่าเบื่อ แม้จะมีเนิบหน่วงบ้างในบางช่วง) ผ่านการดำเนินเรื่องที่ค่อนข้างกระชับ มีมุมมองต่อเรื่องราว สวยงามอิ่มเอม ไม่ว่าจะเป็น เรื่องราวความอบอุ่นระหว่างเพื่อนฝูง อาจารย์กับศิษย์ ครอบครัว พ่อ-แม่
และที่สำคัญคือความรักที่เจนมีให้ต่อสตีเฟน ซึ่งมันได้กลายเป็นพลังให้ทั้งสองต่อสู้ฟันฝ่ากับอุปสรรคความโหดร้ายต่างๆให้ผ่านไปได้ และสตีเฟนก็ไม่ต้องตายลงภายใน 2 ปี อย่างที่หมอบอก(แม้จะช่วงท้ายจะมีเรื่องราวความรักที่หักมุม แต่มันก็มีความคลุมเครือในแง่มุมของความงาม ความปรารถนาดีให้ขบคิด)
ส่วนแง่มุมในเรื่องของวิทยาศาสตร์ที่เป็นจุดเด่นเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้จัก สตีเฟน ฮอว์กิ้งไปทั่วทั้งโลกนั้น หนังเรื่องนี้ได้นำมาย่อยให้เข้าใจง่าย และนำเสนอมันให้เป็นเพียงสีสันองค์ประกอบเสริม เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อในด้านศาสนาของฮอว์กิ้ง
ขณะที่องค์ประกอบอื่นๆที่ทำให้หนังเรื่องนี้ดูดีมีเสน่ห์น่าติดตาม ก็คือ ภาพอันสวยงาม ดนตรีประกอบไพเราะ ที่สำคัญคือดารานักแสดงนำชาย-หญิง ต่างแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะ เอ็ดดี้ เรดเมย์น ที่รับบทเป็น สตีเฟน ฮอว์กิง นั้น ตีบทแตกกระจุย เล่นได้ยอดเยี่ยมมาก
นั่นจึงทำให้ภาพยนตร์เรื่อง The Theory of Everything ได้กระแสตอบรับที่ดี ได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกจากทั่วโลก ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมากมาย และสามารถคว้ารางวัลมาได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในรางวัลใหญ่อย่างลูกโลกทองคำ เข้าชิง 4 สาขา คว้ามาได้ 2 สาขา คือ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ในภาพยนตร์ประเภทดราม่า และดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ส่วนอีกหนึ่งรางวัลใหญ่ระดับบิ๊กเนมที่คนรู้จักกันทั่วทั้งโลกอย่างรางวัล“ออสการ์”นั้น The Theory of Everything เข้าชิง 5 สาขา สามารถคว้ามาได้ 1 สาขาจาก เอ็ดดี้ เรดเมย์น ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม(Best Actor)
นอกจากเรื่องราวชีวิต ความรักโรแมนติก ดราม่า ที่มีให้ชมกันเป็นแกนหลัก และทำให้ใครหลายๆคนต้องเสียน้ำตาใน The Theory of Everything แล้ว หนังเรื่องนี้ แง่มุมดีๆที่ไม่ควรมองผ่าน อย่างเช่น เรื่องราวของความรักที่มันมีพลังขับเคลื่อนให้เรายอมทำทุกอย่างเพื่อคนที่เรารักได้ แต่ความรักมันก็ไม่มีทฤษฏีตายตัว เพราะบางทีอะไรที่ว่าแน่ๆเป็นของตาย รักอาจสลายในบั้นปลายก็เป็นได้
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ได้มุ่งนำเสนอก็คือ เรื่องราวของมนุษย์ผู้หนึ่งที่ไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา รวมถึงเรื่องราวของ“ความหวัง” ซึ่งในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ฮอว์กิงได้กล่าวถ้อยคำที่มีพลังอย่างยิ่งว่า
“ตราบใดที่เรายังเป็นมนุษย์ เราก็ยังคงมีความหวัง”
และด้วยความหวัง จิตใจเข้มแข็ง ไม่ย่นย่อท้อต่ออุปสรรคขวากหนาม ทำให้สตีเฟ่น ฮอว์กิง ก้าวผ่านความตายมาได้(จากที่หมอบอกว่าจะต้องตายภายใน 2 ปี หลังป่วยเป็นโรค ALS) ทำให้หลังจากนี้ฮอว์กิงสามารถค้นพบสิ่งสำคัญและทฤษฎีใหม่หลายอย่างในวงการวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะในด้านจักรวาลวิทยา จนทำให้เขากลายเป็นนักฟิสิกส์และนักจักรวาลวิทยาชื่อก้องโลก
ขอคารวะ แด่ “สตีเฟน ฮอว์กิ้ง” อัจฉริยะบุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 ผู้ที่แม้จะจากไป แต่เรื่องราว ชื่อเสียง และทฤษฎีของเขายังคงอยู่