ต้องยอมปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัดธรรมกายมีคนหลงเชื่อกระทั่งสมัครใจเข้าไปเป็นสาวกและยอมบริจาคเงินมากมายก็คือการยกเอาเรื่องของ "บุญ" มาอ้าง
และเป็นการอ้างบนเงื่อนไขที่ว่าทำมากได้มาก ทำมากได้นั่งหน้า ทำมากได้ขึ้นสวรรค์ชั้นสูง ฯ
ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวจิตใจของวัดธรรมกายที่ขึ้นชื่อกันอย่างมากนอกจากการออกมาโฆษณาชวนเชื่อโดยใช้คำพูดหวานๆ เพื่อชวนทำกิจกรรมต่างๆ แล้ว ก็เห็นจะเป็นเรื่องของการนำเอาเพลงดังๆ ทั้งหลายมาคัฟเวอร์จำนวนมากมายหลายร้อยเพลงนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งชื่อเพลง รวมถึงเนื้อหาของเพลงที่ทางวัดจัดทำขึ้นแล้วอ้างว่าเป็นเพลงเผยแพร่ธรรมะนั้น แท้จริงแล้วเกือบทั้งหมดจะเน้นไปที่การเชิดชูความดีงามของบุคคลในวัดและการชักชวนให้คนเสียเงินควักเงินทำบุญให้กับทางวัดเสียมากกว่าโดยมีเงื่อนไขเดิม คือ ทำมากได้มาก ทำมากได้นั่งหน้า ทำมากได้ขึ้นสวรรค์ชั้นสูง ฯ
ไม่ว่าจะเป็นเเพลงอย่าง มาเป็นเจ้าภาพกฐินกัน, ร่วมงานบุญพิมพ์พระ, พิมพ์พระบุญใหญ่, ผู้มีบุญเชิญมาพิมพ์พระ, พิมพ์พระบุญแรง, เพลงเก็บบุญล้าน ฯ
ส่วนทำนองเพลงนั้นส่วนใหญ่ก็จะมาจากเพลงดังหลากหลายแนวที่หลายคนคุ้นหูกันดี ไม่ว่าจะเป็น ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน ของ "ก้องหล้า ยอดจำปา", เงินน่ะมีไหม "พุ่มพวง ดวงจันทร์", ยาม ลาบานูน, โนบรา โนราห์ ของ "บิวกัลยาณี", น้ำตาสาววาริน ของ "จินตหรา พูนลาภ", จักรยานสีแดง ของ "โลโซ" ฯลฯ
นอกจากจะอาศัยความคุ้นหูจากทำนองที่คุ้นเคยเพื่อทำให้คนฟังจดจำเนื้อเพลงได้ไม่ยากแล้ว ในการจัดทำมิวสิควิดีโอของแต่ละเพลงก็จะใช้อนิเมชันเป็นหลัก โดยจะทำภาพออกมาให้ดูเป็นตัวการ์ตูนน่ารัก สวยหล่อ หรือไม่ก็เป็นตัวการ์ตูนที่เป็นสัตว์ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะทำให้รู้สึกถึงความ ใสสะอาดบริสุทธิ์ น่ารัก แลดูน่าศรัทธาแล้ว ภาพและเสียงตรงนี้ยังสามารถเจาะเข้าไปในกลุ่มของเยาวชนและเด็กๆ ให้เกิดความชอบกระทุ่งถูกชักจูงได้ง่ายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
สำหรับผู้ที่แต่งและร้องเพลงให้กับทางวัดนั้น หลักๆ จะเป็นทีมผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ของทางวัดเอง แต่คนที่แปลเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษนั้นจะมีคนเดียวคือผู้ใช้ชื่อว่า "ดร.อนัญญา เมธมนัส"
อย่างไรก็ตาม แม้จะขึ้นเครดิตให้ในตอนท้ายว่ามีการนำเอาทำนองมาจากเพลงใด แต่ถ้าว่ากันตามกฏหมายแล้วอย่างไรการกระทำในลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน
ไม่นับไปถึงจุดมุ่งหมายของการจัดทำซึ่งไม่ใช่เรื่องของการเผยแพร่ธรรมะอย่างแน่นอน
ไม่รู้เหมือนกันว่าที่ผ่านมาทางวัดเองได้มีการขออนุญาตไปยังเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่อย่างไร? รวมถึงทางค่ายเพลงเองเคยเข้ามาดูแลจัดการตรงนี้หรือไม่อย่างไร?
ตัวอย่างบทเพลงที่จัดทำโดยวัดธรรมกาย
และเป็นการอ้างบนเงื่อนไขที่ว่าทำมากได้มาก ทำมากได้นั่งหน้า ทำมากได้ขึ้นสวรรค์ชั้นสูง ฯ
ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวจิตใจของวัดธรรมกายที่ขึ้นชื่อกันอย่างมากนอกจากการออกมาโฆษณาชวนเชื่อโดยใช้คำพูดหวานๆ เพื่อชวนทำกิจกรรมต่างๆ แล้ว ก็เห็นจะเป็นเรื่องของการนำเอาเพลงดังๆ ทั้งหลายมาคัฟเวอร์จำนวนมากมายหลายร้อยเพลงนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งชื่อเพลง รวมถึงเนื้อหาของเพลงที่ทางวัดจัดทำขึ้นแล้วอ้างว่าเป็นเพลงเผยแพร่ธรรมะนั้น แท้จริงแล้วเกือบทั้งหมดจะเน้นไปที่การเชิดชูความดีงามของบุคคลในวัดและการชักชวนให้คนเสียเงินควักเงินทำบุญให้กับทางวัดเสียมากกว่าโดยมีเงื่อนไขเดิม คือ ทำมากได้มาก ทำมากได้นั่งหน้า ทำมากได้ขึ้นสวรรค์ชั้นสูง ฯ
ไม่ว่าจะเป็นเเพลงอย่าง มาเป็นเจ้าภาพกฐินกัน, ร่วมงานบุญพิมพ์พระ, พิมพ์พระบุญใหญ่, ผู้มีบุญเชิญมาพิมพ์พระ, พิมพ์พระบุญแรง, เพลงเก็บบุญล้าน ฯ
ส่วนทำนองเพลงนั้นส่วนใหญ่ก็จะมาจากเพลงดังหลากหลายแนวที่หลายคนคุ้นหูกันดี ไม่ว่าจะเป็น ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน ของ "ก้องหล้า ยอดจำปา", เงินน่ะมีไหม "พุ่มพวง ดวงจันทร์", ยาม ลาบานูน, โนบรา โนราห์ ของ "บิวกัลยาณี", น้ำตาสาววาริน ของ "จินตหรา พูนลาภ", จักรยานสีแดง ของ "โลโซ" ฯลฯ
นอกจากจะอาศัยความคุ้นหูจากทำนองที่คุ้นเคยเพื่อทำให้คนฟังจดจำเนื้อเพลงได้ไม่ยากแล้ว ในการจัดทำมิวสิควิดีโอของแต่ละเพลงก็จะใช้อนิเมชันเป็นหลัก โดยจะทำภาพออกมาให้ดูเป็นตัวการ์ตูนน่ารัก สวยหล่อ หรือไม่ก็เป็นตัวการ์ตูนที่เป็นสัตว์ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะทำให้รู้สึกถึงความ ใสสะอาดบริสุทธิ์ น่ารัก แลดูน่าศรัทธาแล้ว ภาพและเสียงตรงนี้ยังสามารถเจาะเข้าไปในกลุ่มของเยาวชนและเด็กๆ ให้เกิดความชอบกระทุ่งถูกชักจูงได้ง่ายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
สำหรับผู้ที่แต่งและร้องเพลงให้กับทางวัดนั้น หลักๆ จะเป็นทีมผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ของทางวัดเอง แต่คนที่แปลเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษนั้นจะมีคนเดียวคือผู้ใช้ชื่อว่า "ดร.อนัญญา เมธมนัส"
อย่างไรก็ตาม แม้จะขึ้นเครดิตให้ในตอนท้ายว่ามีการนำเอาทำนองมาจากเพลงใด แต่ถ้าว่ากันตามกฏหมายแล้วอย่างไรการกระทำในลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างชัดเจน
ไม่นับไปถึงจุดมุ่งหมายของการจัดทำซึ่งไม่ใช่เรื่องของการเผยแพร่ธรรมะอย่างแน่นอน
ไม่รู้เหมือนกันว่าที่ผ่านมาทางวัดเองได้มีการขออนุญาตไปยังเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่อย่างไร? รวมถึงทางค่ายเพลงเองเคยเข้ามาดูแลจัดการตรงนี้หรือไม่อย่างไร?
ตัวอย่างบทเพลงที่จัดทำโดยวัดธรรมกาย