โดย : บอน บอระเพ็ด (pinn109@hotmail.com)
ไม่ใช่“ลูกเทพ”!!!
แต่พวกเขาได้รับการยกย่องให้เป็น“เทพ”แห่งวงการเพลงร็อก สำหรับวงโรงละครแห่งความฝัน “ดรีม เธียเตอร์”(Dream Theater) ซึ่งนับตั้งแต่มีดนตรีแนวโพรเกรสซีฟ เมทัล(Progressive Metal) หรือ พร็อก เมทัล(Prog. Metal)จุติขึ้นมา ดรีม เธียเตอร์ถูกยกให้เป็นวงพร็อก เมทัลที่ดีที่สุดในโลกที่วันนี้ยังไม่มีใครโค่นพวกเขาลงได้
วงดรีม เธียเตอร์ ยุคปัจจุบัน ประกอบด้วย 5 หนุ่ม 5 เทพ ได้แก่ “เจมส์ ลาบรี”(James LaBrie)-แหกปากร้องนำ,“จอห์น เพทรุคชี่”(John Petrucci)-ขยี้สายกีตาร์, “จอร์แดน รูเดสส์”(Jordan Rudess)-พรมคีย์บอร์ด, “จอห์น เมียง”(John Myung)-ตะปบเบส และ “ไมค์ แมนกินี”(Mike Mangini)สมาชิกคนสุดท้อง-กระหน่ำกลอง
มาวันนี้วงดรีม เธียเตอร์กลับมาอีกครั้งกับอัลบั้มชุดใหม่“The Astonishing”(2016) ภายใต้สังกัด Warner Music ที่เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 13 ของพวกเขา
อัลบั้มชุดนี้วงดรีม เธียเตอร์มาพร้อมกับสีสันใหม่ด้วยการนำวงออร์เคสตร้าเข้ามาผสมผสาน พร้อมกับมี “เดวิด แคมป์เบลล์” (David Campbell) นักประพันธ์เพลงและวาทยกรฝีมือเยี่ยมมาร่วมสร้างสรรค์ผลงาน โดยทำการบันทึกเสียงกันที่ Cove City Sound Studios ในนิวยอร์ค มี จอห์น เพทรุคชี่ มือกีตาร์ทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ กำหนดทิศทางวางคอนเซ็ปต์ของอัลบั้ม
The Astonishing เป็นงานคอนเซ็ปต์อัลบั้มว่าด้วยมหากาพย์การผจญภัยในโลกสมมุติแห่งจินตนาการ ซึ่งจอห์นได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์เรื่อง Game of Thrones, Star Wars รวมถึงหนังและนิยายไซไฟแฟนตาซีอีกหลายเรื่อง ก่อนจะนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานอันยิ่งใหญ่อลังการ กับงานมหากาพย์คอนเซ็ปต์อัลบั้มชุดนี้ว่าด้วย การต่อสู่เพื่อให้ถึงเป้าหมายเพื่อคนที่เรารัก เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
โดยวงดรีม เธียเตอร์ พาเราออกโลดแล่นไปในโลกแห่งจินตนาการสู่ปี ค.ศ. 2285 ณ นคร The Great Northern Empire ที่บ้านเมืองปกครองโดย Emperor Nafaryus, Empress Arabelle และ Daryus 3 ผู้นำทรราชที่กดขี่ข่มเหงประชาชน จนทำให้เกิดการต่อต้านขึ้น โดยมี Arhys เป็นผู้นำฝ่ายต่อต้าน เพื่อให้มีชีวิตที่ดีกว่าและเพื่อแก้แค้นให้กับภรรยาของเขาที่ตายไปคือ Evangeline และเพื่ออนาคตของลูกชายเขา คือ Xander
สำหรับการต่อสู้กับทรราช Emperor Nafaryus มี Gabriel ซึ่งผมถือว่าเป็นดังพระเอกของเรื่อง เขาเป็นบุคคลสำคัญที่ถูกเลือกให้มานำการต่อสู้ โดยการใช้ดนตรีเข้าต่อสู่กับฝ่ายทรราช แต่ว่าเรื่องก็มีดราม่าเกิดขึ้น เมื่อ Gabriel ไปพบกับเจ้าหญิง Faythe ลูกสาวของ Emperor Nafaryus ซึ่งสุดท้ายแล้วทั้งคู่ตกหลุมรักกัน และฉากจบของเรื่องก็ลงเอยแบบแฮปปี้เอนดิ้ง สันติสุขกลับคืนสู่ชาวเมืองอีกครั้ง
นั่นเป็นเรื่องราวคร่าวของผลงานคอนเซ็ปต์อัลบั้มชุดนี้ ซึ่งมีตัวละครหลักๆ 8 คน ปรากฏรายชื่อส่วนหนึ่งตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งในปก(ใน)ของอัลบั้ม มีหน้าตาของตัวละครหลักทั้ง 8 ในแบบแอนนิเมชั่นให้ยลโฉมกัน ขณะที่ใครอยากอ่านเรื่องราวเนื้อหาของอัลบั้มชุดนี้แบบจัดเต็ม แยกเป็นแทรคๆ ก็มีผู้เขียนรีวิวไว้โดยละเอียดในเว็บไซต์พันธ์ทิพย์ ผู้สนใจสามารถตามอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้ ในบทความ “ว่ากันด้วยเนื้อเรื่องของ Dream Theater The Astonishing”
The Astonishing เป็นผลงานที่ทางวงจัดเต็มมาพร้อมกับบทเพลงที่มีมากถึง 34 แทรค ใน 2 ซีดี แบ่งเป็น Act 1 (แผ่นแรก) 20 แทรค Act 2 (แผ่นสอง) 14 แทรค
สำหรับบทเพลงในชุดนี้ก็เป็นการดำเนินเรื่องราวไล่เรียงกันไปเป็นดังตอนย่อยๆที่มีเรื่องราวในตัวเอง เช่น การเปิดตัวของตัวละครแต่ละคน บางมุมบางด้านของตัวละคร การต่อสู้ ความรัก ฯ โดยมีเสียงร้องของเจมส์ ลาบรี และดนตรีอันยอดเยี่ยมของวง ถ่ายทอดเรื่องราวและอารมณ์
ความที่ The Astonishing มีบทเพลงเป็นจำนวนมากถึง 34 แทรค และเป็นเพลงที่มีความต่อเนื่องเป็นคอนเซ็ปต์อัลบั้ม ซึ่งผมจะขอคัดเฉพาะบทเพลงเด่นๆบางเพลงมานำเสนอ เริ่มจาก Act 1 แผ่นหนึ่ง
“Dystopian Overture”(แทรค 2) เพลงบรรเลงที่เป็นดังโหมโรงเปิดอัลบั้ม กับซาวนด์ออร์เคสตร้าอลังการ มีการเปลี่ยนหลายพาร์ทสลับอารมณ์ เปิดพื้นที่ให้สมาชิกแต่ละคนโชว์ฝีมือกันพอหอมปากหอมคอ แต่ว่ายังไงก็ไม่ทิ้งลายเทพ
“The Gift of Music”(แทรค 3) ซิ้งเกิ้ลแรกที่ทางวงปล่อยออกมา ขึ้นต้นด้วยเสียงอะคูสติกปิ๊กกิ้งใสๆ ก่อนโขยกขย่มขับเคลื่อนกันไปอย่างสนุก มัน มีท่อนโซโลทั้งกีตาร์ คีย์บอร์ด รวดเร็วรื่นไหล
“The Answer”(แทรค 4) เพลงที่ดังเป็นการเปิดตัวของพระเอก Gabriel ดนตรีเป็นบัลลาดร็อก หวาน ไพเราะ ท่วงทำนองมีความเป็นป็อบอยู่สูง มีซาวนด์เครื่องสายจากออร์เคสตร้าอันสวยงามเล่นสอดคลอ แต่น่าเสียดายตรงที่ว่า เพลงนี้สั้นไปหน่อยแค่ 1.53 นาที เอง กำลังฟังเพลินๆ จบซะแล้ว
“A Savior In The Square”(แทรค 7) ทางโซโลกีตาร์ในช่วงต้นจากฝีมือการพรมนิ้วของจอห์นนั้นยอดเยี่ยมมาก ฟังไพเราะ หวานละมุน
“Brother, Can You Hear Me?” (แทรค 12) เป็นเพลงที่มีซาวนด์หลากหลายและอลังการ โดยเฉพาะเสียงเพลงมาร์ชในช่วงอินโทรนี่เป็นเป็นซาวนดที่ฟังแปลกแตกต่างไปจากดรีม เธียเตอร์ชุดที่ผ่านๆมา ก่อนจะส่งเข้าสู่โหมดเนิบช้าอันไพเราะเพราะพริ้ง
“Chosen”(แทรค 15) อีกหนึ่งบทเพลงช้าอันไพเราะ เป็นเพาเวอร์บัลลาด ช่วงต้นมาในแบบอะคูสติก เสียงเปียโนนำมา ก่อนค่อยๆเพิ่มดีกรีความเข้มข้นขึ้น ตามแบบฉบับเมทัลป็อบ ซึ่งในท่อนหลังฟังเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง เพลงนี้พี่จอห์นโซโลได้หวานไพเราะรื่นไหลบาดใจดีแท้
“A New Beginning” (แทรค 19) เป็นเพลงที่พนักที่สุดในอัลบั้ม มีการผสมซาวนด์เครื่องสายจากออร์เคสตร้าฟังโดดเด่น เพลงนี้ยาวถึงกว่า 7 นาทีมีการเปลี่ยนพาร์ทกันในหลายท่อนด้วยกัน บางท่อนดึงอารมณ์ให้หน่วงเนิบช้า บางท่อนจัดเต็มใส่ไม่ยั้ง ถือเป็นเพลงปล่อยของของชุดนี้ที่สมาชิกแต่ละคนโชว์ฝีมือใส่กันอย่างเต็มที่ เป็นเพลงที่ฟังแล้วให้อารมณ์ความเป็นดรีม เธียเตอร์ได้เป็นอย่างดี
มาถึง Act 2 แผ่นสองกันบ้าง กับเพลงเปิดแผ่น “2285 Entr'acte”(แทรค 21) โหมโรงเปิดในภาคจบกับดนตรีอันหลากหลาย ทั้ง ร็อก เมทัล แทรช คลาสสิก มาร์ช แถมมีแจ๊ซเจือผสมเข้ามาด้วย เอากับพวกเขาสิ
“Moment of Betrayal”(แทรค 22) เป็นเฮฟวี่ทรงพลัง ดนตรีหนัก มัน ไลน์กลองนี่กระหน่ำกันสุด Teen ฟังสุดยอดไปเลย
“Begin Again”(แทรค 24) อีกหนึ่งเพลงอันโดดเด่นของอัลบั้ม เป็นบัลลาดหวานซึ้งไพเราะ มีซาวนด์เครื่องสายหนาๆจากออร์เคสตร้าเล่นเป็นแนวรับแถวสองที่แน่นปึ้ก ขณะที่ท่วงทำนองของเพลงนั้นถือเป็นธีมหลักของงานเพลงใน Act 2
“The Walking Shadow”(แทรค 27) ขึ้นต้นมาด้วยท่อนริฟฟ์อันหนักแน่น เป็นอีกหนึ่งงานหนักกะโหลกอันซับซ้อน เต็มไปด้วยจังหวะยก จังหวะขัด ซึ่งแต่ละคนต้องเล่นกันอย่างแม่นเป๊ะ แต่นี่แหละคือวงดรีม เธียเตอร์
“Losing Faythe” (แทรค 29) อีกหนึ่งเพลงบัลลาดร็อกอันเต็มไปเปี่ยมไปด้วยพลัง ที่มาพร้อมกับซาวนด์ออร์เคสตร้าอันอลังการ
“Hymn Of A Thousand Voices” (แทรค 31) บทเพลงช้าไพเราะ ความเด่นอยู่ที่เสียงไวโอลินที่สีเคลียคลอได้อย่างบาดอารมณ์
“Our New World” (แทรค 32) กีตาร์กระชากริฟฟ์ขึ้นนำมากับซาวนด์ดนตรีเฮฟวี่กลิ่นอายยุค 90 ฟังฉีกแนวดรีม เธียเตอร์ไป พอสมควร เพราะเพลงนี้เล่นกันง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และเจิอไว้ด้วยท่วงทำนองความเป็นป็อบที่ฟังติดหูได้ไม่ยากเย็น
“Astonishing” (แทรค 34) เพลงปิดท้ายอัลบั้ม กับดนตรีอันหลากหลายที่ผสมผสานเข้ามาได้อย่างลงตัว มีท่วงทำนองสวยงาม ทรงพลัง ซาวนด์ยิ่งใหญ่อลังการ ปิดตำนานมหากาพย์ The Astonishing กันอย่างยอดเยี่ยม แฮปปี้เอนดิ้ง
และนั่นก็คือบทเพลงเด่นๆบางส่วนของ The Astonishing ซึ่งในชุดนี้ทางวงดรีม เธียเตอร์ดูเหมือนจะลดการปล่อยของลง ลดการเล่นเพลงที่หนักดุดัน ลดการโชว์ฝีมือ หากแต่ยังคงไว้ซึ่งความหลากหลายและความซับซ้อนในตัวงานเพลงอยู่ตามแบบฉบับของดรีม เธียเตอร์
พร้อมกันนี้พวกเขายังหันมาเน้นทำเพลงบัลลาดร็อกช้าๆที่มีความไพเราะ เมโลดี้สวยงาม ซึ่งชุดนี้มีให้ฟังกันหลายบทเพลงด้วยกัน อีกทั้งยังมุ่งนำเสนอบทเพลงที่มีความชัดเจนในเนื้อหา เรื่องราว สมาชิกแต่ละคนมุ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนฝีมือของตนไปตามโน้ต ตามสกอร์ ที่ตระเตรียมกันมา
โดยเสียงเบสจากฝีมือของเมียง เสียงกลองจากการวาดลวดลายของไมค์ ถือเป็นสันหลังหลักควบคุมภาคริทึ่ม ที่มีการสอดแทรกใส่ลูกเล่นเข้าไปพอประมาณ แต่ว่าฟังไม่ธรรมดา ด้านคีย์บอร์ด-ซินธ์จากการพรมนิ้วของจอร์แดน นั้นเน้นเล่นในเสียงเปียโนเป็นหลัก เพราะซาวนด์เครื่องสายที่เคยเล่นประกอบในชุดที่ผ่านๆมา มีวงออร์เคสตร้าเล่นแบ๊คอัพให้เป็นหลัก
เสียงกีตาร์จากฝีมือของจอห์นนั้น ก็ลดการโซโลแบบน้ำไหลไฟดับโชว์เทคนิค มาเน้นการโซโลแบบมีเรื่องราว เข้าถึงอารมณ์ ซึ่งจอห์นนั้นเข้าใจในอารมณ์เพลงต่างๆเป็นอย่างดี เพราะเขาเป็นตัวหลักในการแต่งเพลงและกำหนดคอนเซ็ปต์ของอัลบั้ม ส่วนเสียงร้องของเจมส์นั้นยังคงยอดเยี่ยม ทรงพลังไม่สร่างซาอยู่เหมือนเดิม ที่สำคัญคือเขาสามารถร้องถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครแต่ละตัวออกมาได้เป็นอย่างดี
ขณะที่สิ่งที่ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ทางวงได้นำเข้ามานั่นก็คือซาวนด์จากวงออร์เคสตร้าแท้ๆ ซึ่งแม้ที่ผ่านมาทางจะมีการนำซาวนด์ออร์เคสตร้าเข้ามาผสมผสานในบทเพลงอยู่นานแล้ แต่ส่วนใหญ่เป็นการเล่นผ่านซินธิไซเซอร์ ที่ฟังแล้วเสียงที่เล่นผ่านวงออร์เคสตร้าแท้ๆมันฟังได้อารมณ์และยิ่งใหญ่อลังการกว่าไม่น้อยเลย
นับได้ว่าอัลบั้มชุด The Astonishing เป็นอีกหนึ่งผลงานสร้างสรรค์ของวงโรงละครแห่งความฝัน ดรีม เธียเตอร์ กับบทเพลงที่อัดแน่นมากถึง 34 แทรค ซึ่งล้วนต่างเป็นบทเพลงที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ มีความหลากหลาย ซับซ้อน แต่ก็แฝงไว้ด้วยเมโลดี้สวยงามฟังติดหูของความเป็นป็อบในหลายๆบทเพลง เป็นอีกหนึ่งอัลบั้มอันสุดยอดของวงดรีมเธียเตอร์ ที่ในอัลบั้มชุดนี้ผลงานการสร้างสรรค์ของพวกเขาได้ยกระดับจากเทพสู่“โคตรเทพ”
สำหรับผู้ที่เป็นแฟนวงดรีม เธียเตอร์ หรือผู้ที่นิยมในดนตรีแนวโพรเกรสซีฟ เมทัล ฟังแล้วต้องถือว่าคุ้มเกินคุ้ม
ไม่ใช่“ลูกเทพ”!!!
แต่พวกเขาได้รับการยกย่องให้เป็น“เทพ”แห่งวงการเพลงร็อก สำหรับวงโรงละครแห่งความฝัน “ดรีม เธียเตอร์”(Dream Theater) ซึ่งนับตั้งแต่มีดนตรีแนวโพรเกรสซีฟ เมทัล(Progressive Metal) หรือ พร็อก เมทัล(Prog. Metal)จุติขึ้นมา ดรีม เธียเตอร์ถูกยกให้เป็นวงพร็อก เมทัลที่ดีที่สุดในโลกที่วันนี้ยังไม่มีใครโค่นพวกเขาลงได้
วงดรีม เธียเตอร์ ยุคปัจจุบัน ประกอบด้วย 5 หนุ่ม 5 เทพ ได้แก่ “เจมส์ ลาบรี”(James LaBrie)-แหกปากร้องนำ,“จอห์น เพทรุคชี่”(John Petrucci)-ขยี้สายกีตาร์, “จอร์แดน รูเดสส์”(Jordan Rudess)-พรมคีย์บอร์ด, “จอห์น เมียง”(John Myung)-ตะปบเบส และ “ไมค์ แมนกินี”(Mike Mangini)สมาชิกคนสุดท้อง-กระหน่ำกลอง
มาวันนี้วงดรีม เธียเตอร์กลับมาอีกครั้งกับอัลบั้มชุดใหม่“The Astonishing”(2016) ภายใต้สังกัด Warner Music ที่เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 13 ของพวกเขา
อัลบั้มชุดนี้วงดรีม เธียเตอร์มาพร้อมกับสีสันใหม่ด้วยการนำวงออร์เคสตร้าเข้ามาผสมผสาน พร้อมกับมี “เดวิด แคมป์เบลล์” (David Campbell) นักประพันธ์เพลงและวาทยกรฝีมือเยี่ยมมาร่วมสร้างสรรค์ผลงาน โดยทำการบันทึกเสียงกันที่ Cove City Sound Studios ในนิวยอร์ค มี จอห์น เพทรุคชี่ มือกีตาร์ทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ กำหนดทิศทางวางคอนเซ็ปต์ของอัลบั้ม
The Astonishing เป็นงานคอนเซ็ปต์อัลบั้มว่าด้วยมหากาพย์การผจญภัยในโลกสมมุติแห่งจินตนาการ ซึ่งจอห์นได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์เรื่อง Game of Thrones, Star Wars รวมถึงหนังและนิยายไซไฟแฟนตาซีอีกหลายเรื่อง ก่อนจะนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานอันยิ่งใหญ่อลังการ กับงานมหากาพย์คอนเซ็ปต์อัลบั้มชุดนี้ว่าด้วย การต่อสู่เพื่อให้ถึงเป้าหมายเพื่อคนที่เรารัก เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
โดยวงดรีม เธียเตอร์ พาเราออกโลดแล่นไปในโลกแห่งจินตนาการสู่ปี ค.ศ. 2285 ณ นคร The Great Northern Empire ที่บ้านเมืองปกครองโดย Emperor Nafaryus, Empress Arabelle และ Daryus 3 ผู้นำทรราชที่กดขี่ข่มเหงประชาชน จนทำให้เกิดการต่อต้านขึ้น โดยมี Arhys เป็นผู้นำฝ่ายต่อต้าน เพื่อให้มีชีวิตที่ดีกว่าและเพื่อแก้แค้นให้กับภรรยาของเขาที่ตายไปคือ Evangeline และเพื่ออนาคตของลูกชายเขา คือ Xander
สำหรับการต่อสู้กับทรราช Emperor Nafaryus มี Gabriel ซึ่งผมถือว่าเป็นดังพระเอกของเรื่อง เขาเป็นบุคคลสำคัญที่ถูกเลือกให้มานำการต่อสู้ โดยการใช้ดนตรีเข้าต่อสู่กับฝ่ายทรราช แต่ว่าเรื่องก็มีดราม่าเกิดขึ้น เมื่อ Gabriel ไปพบกับเจ้าหญิง Faythe ลูกสาวของ Emperor Nafaryus ซึ่งสุดท้ายแล้วทั้งคู่ตกหลุมรักกัน และฉากจบของเรื่องก็ลงเอยแบบแฮปปี้เอนดิ้ง สันติสุขกลับคืนสู่ชาวเมืองอีกครั้ง
นั่นเป็นเรื่องราวคร่าวของผลงานคอนเซ็ปต์อัลบั้มชุดนี้ ซึ่งมีตัวละครหลักๆ 8 คน ปรากฏรายชื่อส่วนหนึ่งตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งในปก(ใน)ของอัลบั้ม มีหน้าตาของตัวละครหลักทั้ง 8 ในแบบแอนนิเมชั่นให้ยลโฉมกัน ขณะที่ใครอยากอ่านเรื่องราวเนื้อหาของอัลบั้มชุดนี้แบบจัดเต็ม แยกเป็นแทรคๆ ก็มีผู้เขียนรีวิวไว้โดยละเอียดในเว็บไซต์พันธ์ทิพย์ ผู้สนใจสามารถตามอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้ ในบทความ “ว่ากันด้วยเนื้อเรื่องของ Dream Theater The Astonishing”
The Astonishing เป็นผลงานที่ทางวงจัดเต็มมาพร้อมกับบทเพลงที่มีมากถึง 34 แทรค ใน 2 ซีดี แบ่งเป็น Act 1 (แผ่นแรก) 20 แทรค Act 2 (แผ่นสอง) 14 แทรค
สำหรับบทเพลงในชุดนี้ก็เป็นการดำเนินเรื่องราวไล่เรียงกันไปเป็นดังตอนย่อยๆที่มีเรื่องราวในตัวเอง เช่น การเปิดตัวของตัวละครแต่ละคน บางมุมบางด้านของตัวละคร การต่อสู้ ความรัก ฯ โดยมีเสียงร้องของเจมส์ ลาบรี และดนตรีอันยอดเยี่ยมของวง ถ่ายทอดเรื่องราวและอารมณ์
ความที่ The Astonishing มีบทเพลงเป็นจำนวนมากถึง 34 แทรค และเป็นเพลงที่มีความต่อเนื่องเป็นคอนเซ็ปต์อัลบั้ม ซึ่งผมจะขอคัดเฉพาะบทเพลงเด่นๆบางเพลงมานำเสนอ เริ่มจาก Act 1 แผ่นหนึ่ง
“Dystopian Overture”(แทรค 2) เพลงบรรเลงที่เป็นดังโหมโรงเปิดอัลบั้ม กับซาวนด์ออร์เคสตร้าอลังการ มีการเปลี่ยนหลายพาร์ทสลับอารมณ์ เปิดพื้นที่ให้สมาชิกแต่ละคนโชว์ฝีมือกันพอหอมปากหอมคอ แต่ว่ายังไงก็ไม่ทิ้งลายเทพ
“The Gift of Music”(แทรค 3) ซิ้งเกิ้ลแรกที่ทางวงปล่อยออกมา ขึ้นต้นด้วยเสียงอะคูสติกปิ๊กกิ้งใสๆ ก่อนโขยกขย่มขับเคลื่อนกันไปอย่างสนุก มัน มีท่อนโซโลทั้งกีตาร์ คีย์บอร์ด รวดเร็วรื่นไหล
“The Answer”(แทรค 4) เพลงที่ดังเป็นการเปิดตัวของพระเอก Gabriel ดนตรีเป็นบัลลาดร็อก หวาน ไพเราะ ท่วงทำนองมีความเป็นป็อบอยู่สูง มีซาวนด์เครื่องสายจากออร์เคสตร้าอันสวยงามเล่นสอดคลอ แต่น่าเสียดายตรงที่ว่า เพลงนี้สั้นไปหน่อยแค่ 1.53 นาที เอง กำลังฟังเพลินๆ จบซะแล้ว
“A Savior In The Square”(แทรค 7) ทางโซโลกีตาร์ในช่วงต้นจากฝีมือการพรมนิ้วของจอห์นนั้นยอดเยี่ยมมาก ฟังไพเราะ หวานละมุน
“Brother, Can You Hear Me?” (แทรค 12) เป็นเพลงที่มีซาวนด์หลากหลายและอลังการ โดยเฉพาะเสียงเพลงมาร์ชในช่วงอินโทรนี่เป็นเป็นซาวนดที่ฟังแปลกแตกต่างไปจากดรีม เธียเตอร์ชุดที่ผ่านๆมา ก่อนจะส่งเข้าสู่โหมดเนิบช้าอันไพเราะเพราะพริ้ง
“Chosen”(แทรค 15) อีกหนึ่งบทเพลงช้าอันไพเราะ เป็นเพาเวอร์บัลลาด ช่วงต้นมาในแบบอะคูสติก เสียงเปียโนนำมา ก่อนค่อยๆเพิ่มดีกรีความเข้มข้นขึ้น ตามแบบฉบับเมทัลป็อบ ซึ่งในท่อนหลังฟังเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง เพลงนี้พี่จอห์นโซโลได้หวานไพเราะรื่นไหลบาดใจดีแท้
“A New Beginning” (แทรค 19) เป็นเพลงที่พนักที่สุดในอัลบั้ม มีการผสมซาวนด์เครื่องสายจากออร์เคสตร้าฟังโดดเด่น เพลงนี้ยาวถึงกว่า 7 นาทีมีการเปลี่ยนพาร์ทกันในหลายท่อนด้วยกัน บางท่อนดึงอารมณ์ให้หน่วงเนิบช้า บางท่อนจัดเต็มใส่ไม่ยั้ง ถือเป็นเพลงปล่อยของของชุดนี้ที่สมาชิกแต่ละคนโชว์ฝีมือใส่กันอย่างเต็มที่ เป็นเพลงที่ฟังแล้วให้อารมณ์ความเป็นดรีม เธียเตอร์ได้เป็นอย่างดี
มาถึง Act 2 แผ่นสองกันบ้าง กับเพลงเปิดแผ่น “2285 Entr'acte”(แทรค 21) โหมโรงเปิดในภาคจบกับดนตรีอันหลากหลาย ทั้ง ร็อก เมทัล แทรช คลาสสิก มาร์ช แถมมีแจ๊ซเจือผสมเข้ามาด้วย เอากับพวกเขาสิ
“Moment of Betrayal”(แทรค 22) เป็นเฮฟวี่ทรงพลัง ดนตรีหนัก มัน ไลน์กลองนี่กระหน่ำกันสุด Teen ฟังสุดยอดไปเลย
“Begin Again”(แทรค 24) อีกหนึ่งเพลงอันโดดเด่นของอัลบั้ม เป็นบัลลาดหวานซึ้งไพเราะ มีซาวนด์เครื่องสายหนาๆจากออร์เคสตร้าเล่นเป็นแนวรับแถวสองที่แน่นปึ้ก ขณะที่ท่วงทำนองของเพลงนั้นถือเป็นธีมหลักของงานเพลงใน Act 2
“The Walking Shadow”(แทรค 27) ขึ้นต้นมาด้วยท่อนริฟฟ์อันหนักแน่น เป็นอีกหนึ่งงานหนักกะโหลกอันซับซ้อน เต็มไปด้วยจังหวะยก จังหวะขัด ซึ่งแต่ละคนต้องเล่นกันอย่างแม่นเป๊ะ แต่นี่แหละคือวงดรีม เธียเตอร์
“Losing Faythe” (แทรค 29) อีกหนึ่งเพลงบัลลาดร็อกอันเต็มไปเปี่ยมไปด้วยพลัง ที่มาพร้อมกับซาวนด์ออร์เคสตร้าอันอลังการ
“Hymn Of A Thousand Voices” (แทรค 31) บทเพลงช้าไพเราะ ความเด่นอยู่ที่เสียงไวโอลินที่สีเคลียคลอได้อย่างบาดอารมณ์
“Our New World” (แทรค 32) กีตาร์กระชากริฟฟ์ขึ้นนำมากับซาวนด์ดนตรีเฮฟวี่กลิ่นอายยุค 90 ฟังฉีกแนวดรีม เธียเตอร์ไป พอสมควร เพราะเพลงนี้เล่นกันง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และเจิอไว้ด้วยท่วงทำนองความเป็นป็อบที่ฟังติดหูได้ไม่ยากเย็น
“Astonishing” (แทรค 34) เพลงปิดท้ายอัลบั้ม กับดนตรีอันหลากหลายที่ผสมผสานเข้ามาได้อย่างลงตัว มีท่วงทำนองสวยงาม ทรงพลัง ซาวนด์ยิ่งใหญ่อลังการ ปิดตำนานมหากาพย์ The Astonishing กันอย่างยอดเยี่ยม แฮปปี้เอนดิ้ง
และนั่นก็คือบทเพลงเด่นๆบางส่วนของ The Astonishing ซึ่งในชุดนี้ทางวงดรีม เธียเตอร์ดูเหมือนจะลดการปล่อยของลง ลดการเล่นเพลงที่หนักดุดัน ลดการโชว์ฝีมือ หากแต่ยังคงไว้ซึ่งความหลากหลายและความซับซ้อนในตัวงานเพลงอยู่ตามแบบฉบับของดรีม เธียเตอร์
พร้อมกันนี้พวกเขายังหันมาเน้นทำเพลงบัลลาดร็อกช้าๆที่มีความไพเราะ เมโลดี้สวยงาม ซึ่งชุดนี้มีให้ฟังกันหลายบทเพลงด้วยกัน อีกทั้งยังมุ่งนำเสนอบทเพลงที่มีความชัดเจนในเนื้อหา เรื่องราว สมาชิกแต่ละคนมุ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนฝีมือของตนไปตามโน้ต ตามสกอร์ ที่ตระเตรียมกันมา
โดยเสียงเบสจากฝีมือของเมียง เสียงกลองจากการวาดลวดลายของไมค์ ถือเป็นสันหลังหลักควบคุมภาคริทึ่ม ที่มีการสอดแทรกใส่ลูกเล่นเข้าไปพอประมาณ แต่ว่าฟังไม่ธรรมดา ด้านคีย์บอร์ด-ซินธ์จากการพรมนิ้วของจอร์แดน นั้นเน้นเล่นในเสียงเปียโนเป็นหลัก เพราะซาวนด์เครื่องสายที่เคยเล่นประกอบในชุดที่ผ่านๆมา มีวงออร์เคสตร้าเล่นแบ๊คอัพให้เป็นหลัก
เสียงกีตาร์จากฝีมือของจอห์นนั้น ก็ลดการโซโลแบบน้ำไหลไฟดับโชว์เทคนิค มาเน้นการโซโลแบบมีเรื่องราว เข้าถึงอารมณ์ ซึ่งจอห์นนั้นเข้าใจในอารมณ์เพลงต่างๆเป็นอย่างดี เพราะเขาเป็นตัวหลักในการแต่งเพลงและกำหนดคอนเซ็ปต์ของอัลบั้ม ส่วนเสียงร้องของเจมส์นั้นยังคงยอดเยี่ยม ทรงพลังไม่สร่างซาอยู่เหมือนเดิม ที่สำคัญคือเขาสามารถร้องถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครแต่ละตัวออกมาได้เป็นอย่างดี
ขณะที่สิ่งที่ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ทางวงได้นำเข้ามานั่นก็คือซาวนด์จากวงออร์เคสตร้าแท้ๆ ซึ่งแม้ที่ผ่านมาทางจะมีการนำซาวนด์ออร์เคสตร้าเข้ามาผสมผสานในบทเพลงอยู่นานแล้ แต่ส่วนใหญ่เป็นการเล่นผ่านซินธิไซเซอร์ ที่ฟังแล้วเสียงที่เล่นผ่านวงออร์เคสตร้าแท้ๆมันฟังได้อารมณ์และยิ่งใหญ่อลังการกว่าไม่น้อยเลย
นับได้ว่าอัลบั้มชุด The Astonishing เป็นอีกหนึ่งผลงานสร้างสรรค์ของวงโรงละครแห่งความฝัน ดรีม เธียเตอร์ กับบทเพลงที่อัดแน่นมากถึง 34 แทรค ซึ่งล้วนต่างเป็นบทเพลงที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ มีความหลากหลาย ซับซ้อน แต่ก็แฝงไว้ด้วยเมโลดี้สวยงามฟังติดหูของความเป็นป็อบในหลายๆบทเพลง เป็นอีกหนึ่งอัลบั้มอันสุดยอดของวงดรีมเธียเตอร์ ที่ในอัลบั้มชุดนี้ผลงานการสร้างสรรค์ของพวกเขาได้ยกระดับจากเทพสู่“โคตรเทพ”
สำหรับผู้ที่เป็นแฟนวงดรีม เธียเตอร์ หรือผู้ที่นิยมในดนตรีแนวโพรเกรสซีฟ เมทัล ฟังแล้วต้องถือว่าคุ้มเกินคุ้ม