โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน“ฝรั่งหัวใจไทย”ที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี สำหรับ “ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์” หนุ่มใหญ่ชาวเยอรมัน ยอดมือกีตาร์คลาสสิกผู้เก่งทางด้านการผสานท่วงทำนองของตะวันตกเข้ากับตะวันออกให้เข้ากันได้อย่างยอดเยี่ยมลงตัว จนเขาได้รับการยกย่องให้เป็นทูตดนตรีที่เชื่อมต่อความเป็นตะวันออกกับตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้ฮัคกี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็นทูตดนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะเขาได้อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาเล่นในแบบกีตาร์คลาสสิก โดยเริ่มจากงานบทเพลงพระราชนิพนธ์กีตาร์คลาสสิก“คืนหนึ่ง” ตั้งแต่สมัยยุคเทปคลาสเซทเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ก่อนที่งานเพลงชุดนี้จะกลายเป็นผลงานขึ้นหิ้งในระดับมาสเตอร์พีช
จากนั้นฮัคกี้ได้นำบทเพลงส่วนใหญ่ในชุดคืนหนึ่งมาผลิตใหม่เป็นซีดี ใช้ชื่อชุดว่า “Candlelight Blues”(มีการเพิ่มเพลงเข้ามาและตัดเพลงบางเพลงออก) และตามมาด้วยบทเพลงพระราชนิพนธ์ชุดที่สองคือ “Sweet Words” ซึ่งโน้ตกีตาร์คลาสสิกบทเพลงพระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่ที่คนกีตาร์คลาสสิกนิยมเล่นกันในบ้านเราต่างก็มาจากตัวโน้ตใน 2 อัลบั้มนี้เป็นส่วนใหญ่
ขณะที่อัลบั้มเด่นๆยอดนิยมอื่นๆของฮัคกี้นั้นก็อย่างเช่น “Gamgah Gamgah” (2537 และ 2546 ), “With Love From Asia” (2543) และ “Magical Melodies of Thailand” (2553) เป็นต้น
มาวันนี้ฮัคกี้ส่งผลงานเพลงบรรเลงกีตาร์คลาสสิกชุดใหม่มากล่อมโลกอีกครั้งกับอัลบั้ม “Asean Guitar”(อาเซียน กีตาร์ - เสียงผสานดนตรี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ภายใต้สังกัด “AMI Record”(เอเอ็มไอ เร็คคอร์ด) ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี(AEC) ที่จะเกิดขึ้นอีกไม่นานนี้(กำหนดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการคือ 31 ธ.ค. 58 นี้) โดยฮัคกี้ได้เปิดเผยถึงอัลบั้มชุดล่าสุดของเขาว่า
...บทเพลงในอัลบั้มนี้ไม่ใช่เป็น การนำเสนอในรูปแบบการวิจัยหรือการศึกษามานุษยวิทยาดนตรี แต่เป็นการคัดสรรบทเพลงที่ผู้คนคุ้นเคย ที่มีความสนุกสนาน มีทั้งเพลงพื้นบ้าน เพลงสากล และเพลงร่วมสมัยของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยนำมาแต่งและเรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อการ บรรเลงด้วยกีตาร์ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างภาษาดนตรีและสไตล์ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
หลายเพลงในอัลบั้มชุดนี้เป็นเพลงคุ้นหูในหมู่ผู้ฟังในหลายประเทศ และหลายเพลงไม่มีใครทราบที่มาของท่วงทำนองว่ามาจากไหนอย่างแน่ชัด แต่สิ่งหนึ่งที่บทเพลงทุกเพลงในอัลบั้มนี้มีเหมือนกันคือต่างมีกลิ่นอายของดนตรีอาเซียนที่มีการใช้จังหวะซ้ำๆ อันน่าหลงใหล และ มีท่วงทำนองที่มีเสน่ห์อ่อนหวานงดงาม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ทำให้ดนตรีอาเซียนมีเอกลักษณ์เฉพาะต่างไปจากที่อื่นใดในโลก...
ทั้งนี้ฮัคกี้ได้คัดสรรบทเพลงจาก 10 ประเทศอาเซียนมาชาติละ 1-2 เพลง รวมแล้ว 16 บทเพลง เปิดประเดิมกันด้วย
อินโดนีเซีย
”Burung Kakak Tua” หรือที่แปลว่า“นกกระตั้ว”(เพลงเด็กของอินโดนีเซีย-เรียบเรียงโดย จูปิง คริสเตียนโต (Jubing Kristianto) - ปรับปรุงและแก้ไขโดยฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) เพลงนี้เป็นที่นิยมทั้งในอินโดฯและมาเลย์ ส่วนในเมืองไทยก็เป็นที่นิยมกันไม่น้อยเพราะมีการนำมาทำเป็นบทเพลงไทยชื่อเพลง “สกุณา”(หลายๆคนคงร้องอ๋อ!?!) ที่ใครและใครหลายคนคุ้นหู และใครและใครหลายคนยังคงจำเนื้อร้องเพลงสกุณาได้เป็นอย่างดี
เพลงนกกระตั้วขึ้นต้นมาด้วยลูกเล่นฮาร์โมนิกล่องลอย ก่อนจะส่งเข้าเพลงอย่างสนุก กับทางกีตาร์มีลีลาออกสวิงมีไลน์ walk bass เดินย้ำริทึ่ม ถือเป็นบทเพลงแนวฟิงเกอร์สไตล์เปิดตัวที่ฟังเริงร่ามีชีวิตชีวา
“Menghitung Hari” หรือ “นับวัน” (เมลลี โกสโลว์ (Melly Goeslaw) แต่ง, ดัจจา จันทรา (Djaja Chandra)- เรียบเรียง) บทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อผู้หญิง ฮัคกี้เล่นกีตาร์ถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้อย่างเศร้าสร้อย เข้าถึงอารมณ์ เรียกว่าเป็นคนละโหมดกับเพลงแรกเลย
ไทย
“เทคโนเต้ย”(โดย : ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) เพลงนี้เป็นการผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตกเข้าไว้ด้วยกันตามสไตล์ถนัดของฮัคกี้ โดยเขาได้เผยถึงที่มาของเพลงนี้ว่า ในวันคริสมาสต์ระหว่างที่เขานั่งสมาธิอยู่ที่ชายหาดบางเสร่ ฟากหนึ่งมีเสียงเพลงไทยดังแว่วมาจากวัดใกล้เคียง จากนั้นจู่ๆอีกฟากหนึ่งก็มีรถเธคเคลื่อนที่เปิดเสียงเพลงดังสนั่น ซึ่งฮัคกี้ถือว่านี่คือการปะทะและสังสรรค์ทางวัฒนธรรม ดังนั้นเขาจึงนำความคิดนี้ไปแต่งเป็นเพลงเทคโนเต้ยขึ้นมา โดยนำทำนองเพลงพื้นบ้าน“เต้ยโขง” มายืนพื้นเป็นท่วงทำนองหลัก พร้อมสอดแทรกท่วงทำนองเพลงตะวันตกสุดคุ้นหูอย่าง “จิงเกิลเบลส์” เข้าไปผสมผสาน
เทคโนเต้ยฮัคกี้เล่นด้วยเทคนิคหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การตีคอร์ดหนักหน่วงทรงพลังพร้อมโซโลในท่วงทำนองเต้ยเขาไปพร้อมๆกัน ลูกเล่นเคาะกีตาร์เป็นเพอร์คัสชั่น หรือเล่นด้วยสำเนียงพิณอีสาน ส่วนที่ผมติดใจเป็นพิเศษก็คือลูกเล่นผสมข้ามซีกโลก อย่างการเล่นท่วงรำเต้ยก่อนสลับกับท่วงทำนองจิงเกิลเบลส์ เป็นดีง“เต้ยจิงเกิลเบลส์” ที่มันและมีสีสันมาก
“เดือนเพ็ญ”(โดยนายผี : อัศนี พลจันทร์) เพลงนี้เดิมชื่อเพลง “คิดถึงบ้าน” ที่นายผีร้อยรจนาไว้ด้วยความคร่ำครวญคิดถึงบ้าน(เมืองไทย)และภรรยา แต่ว่า“วงคาราบาว” นำมาขับร้องโด่งดังในชื่อเพลงเดือนเพ็ญ ซึ่งก็ได้กลายเป็นหนึ่งในบทเพลงเพื่อชีวิตอมตะของบ้านเรา
เพลงนี้ฮัคกี้เล่นกีตาร์พลิ้วไหวถ่ายถอดอารมณ์ออกมาได้อย่าง เหงา เศร้า คร่ำครวญ โดยเฉพาะลูกเล่นฮาร์โมนิกอันโหยไห้ที่โซโลเป็นท่วงทำนองนี่เจ๋งมาก
เวียดนาม
“Da Co Hoai Lang” (โดย : เฉา วัน เลา Cao Van Lau (1982-1976) - เรียบเรียงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) บทเพลงช้า หวานเศร้า ที่มาพร้อมกับซุ่มเสียงสำเนียงจีน และเทคนิคทรีโมโลอันหวานพลิ้ว (ทรีโมโล - Tremolo เป็นเทคนิคการใช้ 3 นิ้ว ชี้ กลาง นาง ดีดรัวในสายเดียว ส่วนนิ้วโป้งเล่นเบส)
“Trong Com” (เพลงเต้นรำเวียดนามแบบดั้งเดิม - เรียบเรียงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) เพลงนี้ฮัคกี้เคาะกีตาร์เป็นเพอร์คัสชั่นนำมา ก่อนจะส่งเข้าเพลงในบรรยากาศเต้นรำ มีชีวิตชีวา ร่าเริง ทางกีตาร์ใช้ลูกเล่นทรีโมโล ที่เล่นแบบหยอดทีละนิดทีละหน่อย เล่นกระจายไปทั่วทั้งเพลง ฟังสนุกเพลินเลยทีเดียว
สปป.ลาว
“จำปาเมืองลาว” (โดยอุตมะ จุลมณี - เรียบเรียงโดย โสภณ จันทรมิตรี) หรือเพลง“ดวงจำปา” ที่เราคุ้นหู ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งบทเพลงเอกของอัลบั้ม ฮัคกี้เล่นถ่ายทอดออกมาในอารมณ์ไม่ต่างจากเพลงเดือนเพ็ญ คือ หวาน ซึ้ง และ เศร้าอยู่ในที
“ลำสาละวัน”(เพลงเต้นรำของลาวแบบดั้งเดิม - เรียบเรียงโดย โสภณ จันทรมิตรี) อีกหนึ่งท่วงทำนองที่เราคุ้นหู เพราะท่วงทำนองออกแนวอีสานบ้านเรา เป็นบทเพลงรำวงสนุกๆ มีลูกตบกีตาร์เสริมเป็นสีสันไปตลอดเพลง
พม่า
“Mya Man Giri” (โดย Prince of Pyinsi,ริค ไฮนซ์แมน (Rick Heizman) เรียบเรียง) เป็นเพลงที่พูดถึงเนินเขาในเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งมาในแบบเนิบๆเรียบง่ายพร้อมกับท่วงทำนองคุ้นหูของเพลงไทยเดิม
ฟิลิปปินส์
“Anak” (โดย : เฟร็ดดี้ อากีล่า (Freddy Aquilar) - เรียบเรียงโดยฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) Anak เป็นภาษาตากาล็อก แปลว่าเด็ก เป็นบทเพลงที่แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1980 ซึ่งหลังจากนั้นได้กลายเป็นเพลงโด่งดังไปทั่วโลก ก่อนที่จะกลายมาเป็นเพลงประจำชาติฟิลิปปินส์ดังในปัจจุบัน โดยมีคนนำไปขับร้องมากมายในภาษาตัวเอง สำหรับเมืองไทยเรานั้น “ยืนยง โอภากุล” หรือ “แอ๊ด คาราบาว” ศิลปินแห่งชาตินำมาขับร้อง ใส่เนื้อแปลงภาคภาษาไทยในชื่อว่า “ลุงขี้เมา” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งบทเพลงเพื่อชีวิตอมตะของวงหัวควาย
เพลง Anak ในเวอร์ชั่นนี้ ฮัคกี้เล่นแบบฟิงเกอร์ สไตล์ อย่างรื่นไหล เล่นเกากีตาร์ควบคู่กับการโซโลท่วงทำนองไปในตัว โดยที่เขายังคงไว้ซึ่งโครงสร้างเดิมของเพลง แบบฟังแล้วได้อารมณ์ Anak แบบฟิลิปปินส์ เพียงแต่ว่าไม่มีเสียงร้องของเฟรดดี้เท่านั้น
“Kapilas Na Gitting” (โดย : บายานี เมนโดซา เดอ ลีออน(Bayani Mendoza de Leon) : 1942-2013) หรือ“เพลงของความกล้าหาญ” เพลงนี้เล่นด้วยความหนักหน่วงดุดัน เน้นโน้ตเสียงต่ำ(เบส) เพื่อให้สื่อถึงความห้าวหาญตามเจตนารมณ์ของต้นฉบับ
บรูไน
“Adai Adai - Naindong” (ทำนองเพลงดั้งเดิมของบรูไน - เรียบเรียงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) มาในกลิ่นอายดนตรีอาหรับ ฟังแปลกแตกต่างจากบทเพลงที่ผ่านๆมา
มาเลเซีย
“Rojak” (เพลงดั้งเดิมมาเลเซีย - เรียบเรียงโดย Choke Yuan Teng - แก้ไขและปรับปรุงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) บทเพลงชื่ออาหารของมาเลย์ เป็นบทเพลงยาว ตัวเพลงมีการแบ่งเป็นหลาย อารมณ์สลับกันไป คือทั้ง หวานซึ้ง สนุกสนาน และดุดัน
สิงคโปร์
“Count on me, Singapore” (แต่งขึ้นในปี 1986 โดย ฮิวจ์ แฮริสัน (Hugh Harrison) - เรียบเรียงโดย เอล็กซ์ อบิเชกานาเดิน (Alex Abisheganaden) -แก้ไขและปรับปรุงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) บทเพลงรักชาติสิงคโปร์ในท่วงทำนองหวานไพเราะ เนิบๆ แต่ฟังเพลิน
กัมพูชา
“Brise de Novembre” (แต่งโดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ - เรียบเรียงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) บทเพลงรักหวานซึ้ง เสียงกีตาร์หวานละมุน
“จำปาพระตะบอง” (Champa Battambang) (เพลงเขมรดั้งเดิม - เรียบเรียงโดย แกรม เทย์เลอร์ (Graeme Taylor) เป็นหนึ่งในเพลงรักที่มีชื่อเสียงที่สุดของกัมพูชา ซึ่งฮัคกี้เล่นถ่ายทอดอารมณ์แห่งความรักต่อเนื่องมาจากเพลงที่แล้ว ปิดท้ายอัลบั้มกันด้วยบทเพลงรักฟังเพลินที่ท่วงทำนองฟังคุ้นหูเราไม่น้อยเลย
และนั่นก็คือความเต็มอิ่มจาก 16 บทเพลง จาก 10 ชาติอาเซียน ที่ถูกฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ นำมาทำใหม่ในแบบฉบับของตัวเอง ด้วยการบรรเลงกีตาร์คลาสสิกเพียวๆ ซึ่งก็สามารถทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม เสียงกีตาร์มีความสด มีชีวิตชีวา น่าฟัง อีกทังยั้งมีความหลากหลายในอารมณ์เพลง ฟังเพลิน ไม่น่าเบื่อ
อย่างไรก็ดีนี่ไม่ใช่ว่าใครจะทำกันได้ง่ายๆ เพราะมันต้องใช้ไอเดียในการเรียบเรียง และที่สำคัญคือฝีมือในการเล่นกีตาร์ต้องอยู่ในขั้นเซียน เสียงต้องเคลียร์ แม่นโน้ต มีการต้องฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี
รวมถึงยังต้องศึกษาทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงอารมณ์เพลงต้นฉบับดั้งเดิม ก่อนที่จะลงมือพรมนิ้วลงบนสายไนล่อนถ่ายทอดมันออกมา
ส่วนอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดถึงก็คือระบบบันทึกเสียงอันยอดเยี่ยมที่ให้เสียงกีตาร์ ออกมาอย่าง ใส เคลียร์ โดยเฉพาะเสียงฮาร์โมนิกที่ชัดเจนมาก ซึ่งอัลบั้มชุดอาเซียน กีตาร์นี้ บันทึกเสียงอย่างพิถีพิถันด้วยระบบออดิโอไฟล์
นับได้ว่าอาเซียน กีตาร์แล้ว เป็นอีกหนึ่งผลงานคุณภาพชวนฟัง สวนกระแสการผลิตซีดีอัลบั้มเต็มที่บรรดาค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ต่างขยาด
นี่จึงถือเป็นโอกาสดีให้ค่ายเพลง“ทางเลือก” ได้นำเสนอบทเพลง“ทางเลือก” มาให้เราได้มี“ทางเลือก”ในการเสพดนตรีคุณภาพที่มีความแตกต่างจากบทเพลงพิมพ์นิยมที่มีอยู่ดาษดื่นในบ้านเรา
***********************************************************
หมายเหตุ : ในปกในอัลบั้มจะมีข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้นของบทเพลงอาเซียนทั้ง 16 เพลงบอกไว้
คลิกฟังเพลง เทคโนเต้ย
แกะกล่อง
ศิลปิน : มิ้นท์-ภาสกร โมระศิลปิน
อัลบั้ม : The Diary II
“มิ้นท์” มือแซกโซโฟนรุ่นใหม่ไฟแรงฝีมือจัดจ้าน ผู้สามารถคว้ารางวัลคมชัดลึกอวอร์ดส ปี 56 ในสาขาอัลบั้มเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมมาครองจากอัลบั้มแรกของเขาคือ “My Diary” ซึ่งในอัลบั้มนี้ได้สร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีคอนเซ็ปต์ต่อเนื่องมาจากชุดที่แล้วในสังกัด“ใบชาซอง” หนึ่งในค่ายเพลงคุณภาพของบ้านเรา โดยอัลบั้มนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่ออุทิศและเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องสามจังหวัดชายแดนใต้ผ่านงานดนตรีแบบเวิลด์ มิวสิค ที่มีการผสมผสานดนตรีไทยทั้งท่วงทำนอง เครื่องดนตรี และเสียงร้องเข้ากับดนตรีแจ๊ซผ่านเสียงแซกโซโฟนอันเร่าร้อนและอ่อนหวานจากฝีปากของมิ้นท์ที่ยังคงเจนจัด ยอดเยี่ยม เป่าได้ถึงอารมณ์ นับเป็นงานเพลงคุณภาพอัลบั้มนอกกระแสที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน“ฝรั่งหัวใจไทย”ที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี สำหรับ “ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์” หนุ่มใหญ่ชาวเยอรมัน ยอดมือกีตาร์คลาสสิกผู้เก่งทางด้านการผสานท่วงทำนองของตะวันตกเข้ากับตะวันออกให้เข้ากันได้อย่างยอดเยี่ยมลงตัว จนเขาได้รับการยกย่องให้เป็นทูตดนตรีที่เชื่อมต่อความเป็นตะวันออกกับตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้ฮัคกี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็นทูตดนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะเขาได้อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาเล่นในแบบกีตาร์คลาสสิก โดยเริ่มจากงานบทเพลงพระราชนิพนธ์กีตาร์คลาสสิก“คืนหนึ่ง” ตั้งแต่สมัยยุคเทปคลาสเซทเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ก่อนที่งานเพลงชุดนี้จะกลายเป็นผลงานขึ้นหิ้งในระดับมาสเตอร์พีช
จากนั้นฮัคกี้ได้นำบทเพลงส่วนใหญ่ในชุดคืนหนึ่งมาผลิตใหม่เป็นซีดี ใช้ชื่อชุดว่า “Candlelight Blues”(มีการเพิ่มเพลงเข้ามาและตัดเพลงบางเพลงออก) และตามมาด้วยบทเพลงพระราชนิพนธ์ชุดที่สองคือ “Sweet Words” ซึ่งโน้ตกีตาร์คลาสสิกบทเพลงพระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่ที่คนกีตาร์คลาสสิกนิยมเล่นกันในบ้านเราต่างก็มาจากตัวโน้ตใน 2 อัลบั้มนี้เป็นส่วนใหญ่
ขณะที่อัลบั้มเด่นๆยอดนิยมอื่นๆของฮัคกี้นั้นก็อย่างเช่น “Gamgah Gamgah” (2537 และ 2546 ), “With Love From Asia” (2543) และ “Magical Melodies of Thailand” (2553) เป็นต้น
มาวันนี้ฮัคกี้ส่งผลงานเพลงบรรเลงกีตาร์คลาสสิกชุดใหม่มากล่อมโลกอีกครั้งกับอัลบั้ม “Asean Guitar”(อาเซียน กีตาร์ - เสียงผสานดนตรี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ภายใต้สังกัด “AMI Record”(เอเอ็มไอ เร็คคอร์ด) ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี(AEC) ที่จะเกิดขึ้นอีกไม่นานนี้(กำหนดการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการคือ 31 ธ.ค. 58 นี้) โดยฮัคกี้ได้เปิดเผยถึงอัลบั้มชุดล่าสุดของเขาว่า
...บทเพลงในอัลบั้มนี้ไม่ใช่เป็น การนำเสนอในรูปแบบการวิจัยหรือการศึกษามานุษยวิทยาดนตรี แต่เป็นการคัดสรรบทเพลงที่ผู้คนคุ้นเคย ที่มีความสนุกสนาน มีทั้งเพลงพื้นบ้าน เพลงสากล และเพลงร่วมสมัยของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยนำมาแต่งและเรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อการ บรรเลงด้วยกีตาร์ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างภาษาดนตรีและสไตล์ได้อย่างเหมาะสมที่สุด
หลายเพลงในอัลบั้มชุดนี้เป็นเพลงคุ้นหูในหมู่ผู้ฟังในหลายประเทศ และหลายเพลงไม่มีใครทราบที่มาของท่วงทำนองว่ามาจากไหนอย่างแน่ชัด แต่สิ่งหนึ่งที่บทเพลงทุกเพลงในอัลบั้มนี้มีเหมือนกันคือต่างมีกลิ่นอายของดนตรีอาเซียนที่มีการใช้จังหวะซ้ำๆ อันน่าหลงใหล และ มีท่วงทำนองที่มีเสน่ห์อ่อนหวานงดงาม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ทำให้ดนตรีอาเซียนมีเอกลักษณ์เฉพาะต่างไปจากที่อื่นใดในโลก...
ทั้งนี้ฮัคกี้ได้คัดสรรบทเพลงจาก 10 ประเทศอาเซียนมาชาติละ 1-2 เพลง รวมแล้ว 16 บทเพลง เปิดประเดิมกันด้วย
อินโดนีเซีย
”Burung Kakak Tua” หรือที่แปลว่า“นกกระตั้ว”(เพลงเด็กของอินโดนีเซีย-เรียบเรียงโดย จูปิง คริสเตียนโต (Jubing Kristianto) - ปรับปรุงและแก้ไขโดยฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) เพลงนี้เป็นที่นิยมทั้งในอินโดฯและมาเลย์ ส่วนในเมืองไทยก็เป็นที่นิยมกันไม่น้อยเพราะมีการนำมาทำเป็นบทเพลงไทยชื่อเพลง “สกุณา”(หลายๆคนคงร้องอ๋อ!?!) ที่ใครและใครหลายคนคุ้นหู และใครและใครหลายคนยังคงจำเนื้อร้องเพลงสกุณาได้เป็นอย่างดี
เพลงนกกระตั้วขึ้นต้นมาด้วยลูกเล่นฮาร์โมนิกล่องลอย ก่อนจะส่งเข้าเพลงอย่างสนุก กับทางกีตาร์มีลีลาออกสวิงมีไลน์ walk bass เดินย้ำริทึ่ม ถือเป็นบทเพลงแนวฟิงเกอร์สไตล์เปิดตัวที่ฟังเริงร่ามีชีวิตชีวา
“Menghitung Hari” หรือ “นับวัน” (เมลลี โกสโลว์ (Melly Goeslaw) แต่ง, ดัจจา จันทรา (Djaja Chandra)- เรียบเรียง) บทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อผู้หญิง ฮัคกี้เล่นกีตาร์ถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้อย่างเศร้าสร้อย เข้าถึงอารมณ์ เรียกว่าเป็นคนละโหมดกับเพลงแรกเลย
ไทย
“เทคโนเต้ย”(โดย : ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) เพลงนี้เป็นการผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตกเข้าไว้ด้วยกันตามสไตล์ถนัดของฮัคกี้ โดยเขาได้เผยถึงที่มาของเพลงนี้ว่า ในวันคริสมาสต์ระหว่างที่เขานั่งสมาธิอยู่ที่ชายหาดบางเสร่ ฟากหนึ่งมีเสียงเพลงไทยดังแว่วมาจากวัดใกล้เคียง จากนั้นจู่ๆอีกฟากหนึ่งก็มีรถเธคเคลื่อนที่เปิดเสียงเพลงดังสนั่น ซึ่งฮัคกี้ถือว่านี่คือการปะทะและสังสรรค์ทางวัฒนธรรม ดังนั้นเขาจึงนำความคิดนี้ไปแต่งเป็นเพลงเทคโนเต้ยขึ้นมา โดยนำทำนองเพลงพื้นบ้าน“เต้ยโขง” มายืนพื้นเป็นท่วงทำนองหลัก พร้อมสอดแทรกท่วงทำนองเพลงตะวันตกสุดคุ้นหูอย่าง “จิงเกิลเบลส์” เข้าไปผสมผสาน
เทคโนเต้ยฮัคกี้เล่นด้วยเทคนิคหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การตีคอร์ดหนักหน่วงทรงพลังพร้อมโซโลในท่วงทำนองเต้ยเขาไปพร้อมๆกัน ลูกเล่นเคาะกีตาร์เป็นเพอร์คัสชั่น หรือเล่นด้วยสำเนียงพิณอีสาน ส่วนที่ผมติดใจเป็นพิเศษก็คือลูกเล่นผสมข้ามซีกโลก อย่างการเล่นท่วงรำเต้ยก่อนสลับกับท่วงทำนองจิงเกิลเบลส์ เป็นดีง“เต้ยจิงเกิลเบลส์” ที่มันและมีสีสันมาก
“เดือนเพ็ญ”(โดยนายผี : อัศนี พลจันทร์) เพลงนี้เดิมชื่อเพลง “คิดถึงบ้าน” ที่นายผีร้อยรจนาไว้ด้วยความคร่ำครวญคิดถึงบ้าน(เมืองไทย)และภรรยา แต่ว่า“วงคาราบาว” นำมาขับร้องโด่งดังในชื่อเพลงเดือนเพ็ญ ซึ่งก็ได้กลายเป็นหนึ่งในบทเพลงเพื่อชีวิตอมตะของบ้านเรา
เพลงนี้ฮัคกี้เล่นกีตาร์พลิ้วไหวถ่ายถอดอารมณ์ออกมาได้อย่าง เหงา เศร้า คร่ำครวญ โดยเฉพาะลูกเล่นฮาร์โมนิกอันโหยไห้ที่โซโลเป็นท่วงทำนองนี่เจ๋งมาก
เวียดนาม
“Da Co Hoai Lang” (โดย : เฉา วัน เลา Cao Van Lau (1982-1976) - เรียบเรียงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) บทเพลงช้า หวานเศร้า ที่มาพร้อมกับซุ่มเสียงสำเนียงจีน และเทคนิคทรีโมโลอันหวานพลิ้ว (ทรีโมโล - Tremolo เป็นเทคนิคการใช้ 3 นิ้ว ชี้ กลาง นาง ดีดรัวในสายเดียว ส่วนนิ้วโป้งเล่นเบส)
“Trong Com” (เพลงเต้นรำเวียดนามแบบดั้งเดิม - เรียบเรียงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) เพลงนี้ฮัคกี้เคาะกีตาร์เป็นเพอร์คัสชั่นนำมา ก่อนจะส่งเข้าเพลงในบรรยากาศเต้นรำ มีชีวิตชีวา ร่าเริง ทางกีตาร์ใช้ลูกเล่นทรีโมโล ที่เล่นแบบหยอดทีละนิดทีละหน่อย เล่นกระจายไปทั่วทั้งเพลง ฟังสนุกเพลินเลยทีเดียว
สปป.ลาว
“จำปาเมืองลาว” (โดยอุตมะ จุลมณี - เรียบเรียงโดย โสภณ จันทรมิตรี) หรือเพลง“ดวงจำปา” ที่เราคุ้นหู ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งบทเพลงเอกของอัลบั้ม ฮัคกี้เล่นถ่ายทอดออกมาในอารมณ์ไม่ต่างจากเพลงเดือนเพ็ญ คือ หวาน ซึ้ง และ เศร้าอยู่ในที
“ลำสาละวัน”(เพลงเต้นรำของลาวแบบดั้งเดิม - เรียบเรียงโดย โสภณ จันทรมิตรี) อีกหนึ่งท่วงทำนองที่เราคุ้นหู เพราะท่วงทำนองออกแนวอีสานบ้านเรา เป็นบทเพลงรำวงสนุกๆ มีลูกตบกีตาร์เสริมเป็นสีสันไปตลอดเพลง
พม่า
“Mya Man Giri” (โดย Prince of Pyinsi,ริค ไฮนซ์แมน (Rick Heizman) เรียบเรียง) เป็นเพลงที่พูดถึงเนินเขาในเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งมาในแบบเนิบๆเรียบง่ายพร้อมกับท่วงทำนองคุ้นหูของเพลงไทยเดิม
ฟิลิปปินส์
“Anak” (โดย : เฟร็ดดี้ อากีล่า (Freddy Aquilar) - เรียบเรียงโดยฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) Anak เป็นภาษาตากาล็อก แปลว่าเด็ก เป็นบทเพลงที่แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1980 ซึ่งหลังจากนั้นได้กลายเป็นเพลงโด่งดังไปทั่วโลก ก่อนที่จะกลายมาเป็นเพลงประจำชาติฟิลิปปินส์ดังในปัจจุบัน โดยมีคนนำไปขับร้องมากมายในภาษาตัวเอง สำหรับเมืองไทยเรานั้น “ยืนยง โอภากุล” หรือ “แอ๊ด คาราบาว” ศิลปินแห่งชาตินำมาขับร้อง ใส่เนื้อแปลงภาคภาษาไทยในชื่อว่า “ลุงขี้เมา” ที่ถือเป็นอีกหนึ่งบทเพลงเพื่อชีวิตอมตะของวงหัวควาย
เพลง Anak ในเวอร์ชั่นนี้ ฮัคกี้เล่นแบบฟิงเกอร์ สไตล์ อย่างรื่นไหล เล่นเกากีตาร์ควบคู่กับการโซโลท่วงทำนองไปในตัว โดยที่เขายังคงไว้ซึ่งโครงสร้างเดิมของเพลง แบบฟังแล้วได้อารมณ์ Anak แบบฟิลิปปินส์ เพียงแต่ว่าไม่มีเสียงร้องของเฟรดดี้เท่านั้น
“Kapilas Na Gitting” (โดย : บายานี เมนโดซา เดอ ลีออน(Bayani Mendoza de Leon) : 1942-2013) หรือ“เพลงของความกล้าหาญ” เพลงนี้เล่นด้วยความหนักหน่วงดุดัน เน้นโน้ตเสียงต่ำ(เบส) เพื่อให้สื่อถึงความห้าวหาญตามเจตนารมณ์ของต้นฉบับ
บรูไน
“Adai Adai - Naindong” (ทำนองเพลงดั้งเดิมของบรูไน - เรียบเรียงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) มาในกลิ่นอายดนตรีอาหรับ ฟังแปลกแตกต่างจากบทเพลงที่ผ่านๆมา
มาเลเซีย
“Rojak” (เพลงดั้งเดิมมาเลเซีย - เรียบเรียงโดย Choke Yuan Teng - แก้ไขและปรับปรุงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) บทเพลงชื่ออาหารของมาเลย์ เป็นบทเพลงยาว ตัวเพลงมีการแบ่งเป็นหลาย อารมณ์สลับกันไป คือทั้ง หวานซึ้ง สนุกสนาน และดุดัน
สิงคโปร์
“Count on me, Singapore” (แต่งขึ้นในปี 1986 โดย ฮิวจ์ แฮริสัน (Hugh Harrison) - เรียบเรียงโดย เอล็กซ์ อบิเชกานาเดิน (Alex Abisheganaden) -แก้ไขและปรับปรุงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) บทเพลงรักชาติสิงคโปร์ในท่วงทำนองหวานไพเราะ เนิบๆ แต่ฟังเพลิน
กัมพูชา
“Brise de Novembre” (แต่งโดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ - เรียบเรียงโดย ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์) บทเพลงรักหวานซึ้ง เสียงกีตาร์หวานละมุน
“จำปาพระตะบอง” (Champa Battambang) (เพลงเขมรดั้งเดิม - เรียบเรียงโดย แกรม เทย์เลอร์ (Graeme Taylor) เป็นหนึ่งในเพลงรักที่มีชื่อเสียงที่สุดของกัมพูชา ซึ่งฮัคกี้เล่นถ่ายทอดอารมณ์แห่งความรักต่อเนื่องมาจากเพลงที่แล้ว ปิดท้ายอัลบั้มกันด้วยบทเพลงรักฟังเพลินที่ท่วงทำนองฟังคุ้นหูเราไม่น้อยเลย
และนั่นก็คือความเต็มอิ่มจาก 16 บทเพลง จาก 10 ชาติอาเซียน ที่ถูกฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ นำมาทำใหม่ในแบบฉบับของตัวเอง ด้วยการบรรเลงกีตาร์คลาสสิกเพียวๆ ซึ่งก็สามารถทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม เสียงกีตาร์มีความสด มีชีวิตชีวา น่าฟัง อีกทังยั้งมีความหลากหลายในอารมณ์เพลง ฟังเพลิน ไม่น่าเบื่อ
อย่างไรก็ดีนี่ไม่ใช่ว่าใครจะทำกันได้ง่ายๆ เพราะมันต้องใช้ไอเดียในการเรียบเรียง และที่สำคัญคือฝีมือในการเล่นกีตาร์ต้องอยู่ในขั้นเซียน เสียงต้องเคลียร์ แม่นโน้ต มีการต้องฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี
รวมถึงยังต้องศึกษาทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงอารมณ์เพลงต้นฉบับดั้งเดิม ก่อนที่จะลงมือพรมนิ้วลงบนสายไนล่อนถ่ายทอดมันออกมา
ส่วนอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดถึงก็คือระบบบันทึกเสียงอันยอดเยี่ยมที่ให้เสียงกีตาร์ ออกมาอย่าง ใส เคลียร์ โดยเฉพาะเสียงฮาร์โมนิกที่ชัดเจนมาก ซึ่งอัลบั้มชุดอาเซียน กีตาร์นี้ บันทึกเสียงอย่างพิถีพิถันด้วยระบบออดิโอไฟล์
นับได้ว่าอาเซียน กีตาร์แล้ว เป็นอีกหนึ่งผลงานคุณภาพชวนฟัง สวนกระแสการผลิตซีดีอัลบั้มเต็มที่บรรดาค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ต่างขยาด
นี่จึงถือเป็นโอกาสดีให้ค่ายเพลง“ทางเลือก” ได้นำเสนอบทเพลง“ทางเลือก” มาให้เราได้มี“ทางเลือก”ในการเสพดนตรีคุณภาพที่มีความแตกต่างจากบทเพลงพิมพ์นิยมที่มีอยู่ดาษดื่นในบ้านเรา
***********************************************************
หมายเหตุ : ในปกในอัลบั้มจะมีข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้นของบทเพลงอาเซียนทั้ง 16 เพลงบอกไว้
คลิกฟังเพลง เทคโนเต้ย
แกะกล่อง
ศิลปิน : มิ้นท์-ภาสกร โมระศิลปิน
อัลบั้ม : The Diary II
“มิ้นท์” มือแซกโซโฟนรุ่นใหม่ไฟแรงฝีมือจัดจ้าน ผู้สามารถคว้ารางวัลคมชัดลึกอวอร์ดส ปี 56 ในสาขาอัลบั้มเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมมาครองจากอัลบั้มแรกของเขาคือ “My Diary” ซึ่งในอัลบั้มนี้ได้สร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีคอนเซ็ปต์ต่อเนื่องมาจากชุดที่แล้วในสังกัด“ใบชาซอง” หนึ่งในค่ายเพลงคุณภาพของบ้านเรา โดยอัลบั้มนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่ออุทิศและเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องสามจังหวัดชายแดนใต้ผ่านงานดนตรีแบบเวิลด์ มิวสิค ที่มีการผสมผสานดนตรีไทยทั้งท่วงทำนอง เครื่องดนตรี และเสียงร้องเข้ากับดนตรีแจ๊ซผ่านเสียงแซกโซโฟนอันเร่าร้อนและอ่อนหวานจากฝีปากของมิ้นท์ที่ยังคงเจนจัด ยอดเยี่ยม เป่าได้ถึงอารมณ์ นับเป็นงานเพลงคุณภาพอัลบั้มนอกกระแสที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง