คอลัมน์เพลงวาน โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
รถด่วนขบวนนรกเป็นเช่นไร? ต่างจากรถเมล์สาย 8 แค่ไหน? มีแต่ผู้เคยสัมผัสเท่านั้นจึงจะรับรู้ได้
ส่วนถ้าเป็นความเร็วของลูกนิ้วนรกบนเส้นลวด 6 สาย ผู้พิสมัยในดนตรีร็อก,เฮฟวี่ เมทัล, สปีด แทรช คงคุ้นชิน คุ้นหูกันเป็นอย่างดี กับวงดนตรี นักดนตรีในดวงใจ
และแน่นอนว่าหากพูดถึงมือกีตาร์ผู้มีลูกนิ้วไวหูดับตับไหม้ หนึ่งในนั้นที่คอเพลงร็อก โดยเฉพาะแฟนพันธุ์แท้กีตาร์ฮีโร่ รู้จักกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือ “อิงวี่ เจ มาล์มสทีน” (Yngwie J. Malmsteen : Yngwie Johan Malmsteen) มือกีตาร์ชาวสวีดิชชื่อก้องโลก
อิงวี่ มีชื่อจริงคือ “ลาร์ส โยฮาน อิงเว แลนเนอร์บาก” (Lars Johan Yngve Lannerbäck) เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1963 ที่กรุงสตอกโฮล์ม สวีเดน
อิงวี่มีพรสวรรค์ทางดนตรีตั้งแต่เด็ก สามารถเล่นทรัมเป็ต เปียโน และฟลุ๊ตได้เป็นอย่างดี แต่จุดผกผันที่ทำให้เขาหันมาสนใจกีตาร์อย่างจริงจังนั่นก็คือ หลังมีโอกาสได้เห็น "จิมมี่ เฮนดริกซ์"(Jimi Hendrix)แสดงทางทีวี อิงวี่ที่ตอนนั้นมีอายุแค่เพียง 7 ขวบ ได้เกิดแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้า หันมาทุ่มเทฝึกฝนกีตาร์อย่างจริงจัง เพื่อหวังเป็นเทพแห่งมือกีตาร์ในอนาคต
ด้วยความที่ครอบครัวมีแผ่นเสียงเพลงคลาสสิคอยู่เป็นจำนวนมาก อิงวี่จึงได้ซึมซับดนตรีอมตะของคีตกวีเอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานของ “บาค”(J.S. Bach) และยอดนักไวโอลิน “พากานีนี่”(Niccolo Paganini) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีดนตรีของเขา
เท่านั้นยังไม่พอ อิงวี่ยังได้รับอิทธิพลอย่างยิ่งยวดจากดนตรีเฮฟวี่ เมทัล ที่ยึดครองโลกในช่วงที่เขายังเยาว์วัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแนวทางการเล่นกีตาร์ของ “ริชชี่ แบล็คมอร์”(Ritchie Blackmore) แห่งวง “ดีพ เพอร์เพิ้ล”(Deep Purple)
แล้วดนตรีที่คนในยุคนั้นคิดว่าเป็นเคมีที่ต่างขั้วระหว่าง “คลาสสิก”(Classical Music) กับ เฮฟวี่ เมทัล ก็ถูกอิงวี่นำมาผสมผสานกันทั้งจิมมี่ เฮนดริกซ์, ริชชี่ แบล็คมอร์, บาค และพากานีนี่ เขานำลูกนิ้วไวโอลินอันเร็วบรื๋อของพากานีนี่มาประยุกต์เล่นกับกีตาร์ไฟฟ้าได้อย่างแคล่วคล่องเมื่อมีอายุได้เพียง 10 กว่าขวบเท่านั้น
แต่ยุคสมัยนั้นมันไม่ใช่ยุคสมัยนี้ที่มีรายการทีวี ยูทูบ ให้โชว์ฝีมือ ดังนั้นแม้จะมีฝีมือยอดเยี่ยมเพียงไร แต่ถ้าไม่เดินเข้าไปหาโอกาส หากแต่รอให้โอกาสมาพุ่งชน ชาตินี้โลกคงไม่ได้รู้จักชื่อ อิงวี่ เจ มาล์มสทีน ดังนั้นอิงวี่จึงเดินไปไขว่คว้าหาโอกาสด้วยการส่งผลงานไปให้ “ไมค์ วานี่ย์”(Mike Varney) เจ้าพ่อแห่งวงการกีตาร์ผู้เจียระไนเพชรในตรมให้เจิดจรัสเฉิดฉายเป็นกีตาร์ฮีโร่ชื่อเสียงโด่งดังมามากมาย
และด้วยฝีมือกับการสร้างสรรค์ที่แตกต่าง ผลงานของอิงวี่เข้าตาพี่ไมค์อย่างแรง เขาจึงให้โอกาสอิงวี่เข้าร่วมเล่นกับวง “Steeler” ในปี 1983 ให้ไอ้หนุ่มสวีดิชคนนี้ได้พอเป็นที่รู้จักอยู่บ้าง โดยเฉพาะกับเพลง “Hot On Your Heels” ก่อนที่อิงวี่จะติดปีกไปร่วมงานกับวง “Alcatrazz” ทำอัลบั้มออกมาในปีเดียวกัน ที่สามารถสร้างชื่อให้กับเขาได้ไม่น้อย
แต่นั่นดูเหมือนจะยังไม่พอต่อความใฝ่ฝันของไอ้หนุ่มมือกีตาร์คนนี้ ในปี 1984 อิงวี่โลดแล่นไปสร้างผลงานเดี่ยวของตัวเองกับวง “Rising Force” ที่ถือเป็นความแปลกใหม่ของวงการเพลงร็อก เพราะนำดนตรีเมทัลกับดนตรีคลาสสิกมาผสมสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมพลัง จนทำให้โลกได้บัญญัติศัพท์ “นีโอ คลาสสิก”(Neo Classic) ขึ้นมา เป็นดนตรีแขนงใหม่ที่แตกหน่อออกมาจากดนตรีร็อก เมทัล
อันที่จริงบทเพลงร็อกในแนวนีโอ คลาสสิก หรือ นีโอคลาสสิกคอล เมทัล(Neo Classic Metal) เคยมีมือกีตาร์รุ่นพี่ๆก่อนอิงวี่ เช่น ริชชี่ แบล็คมอร์,อูริช รอธ(Urich Roth แห่ง Scorpions), ไมเคิล เชงเกอร์(Michael Schenker แห่ง Scorpions, UFO และ MSG) รวมไปถึงคนอื่นๆ ได้มีการนำดนตรีคลาสสิกมาผสมสูตรในบทเพลงเฮฟวี่ เมทัล บ้างแล้ว แต่ไม่ได้ทำอย่างเด่นชัด จริงจัง เป็นแนวทางชัดเจนเท่ากับอิงวี่ ซึ่งนั่นก็ทำให้มือกีตาร์ฮีโร่ชาวสวีดิชผู้มีอีโก้ล้นรูกากคนนี้ ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อแห่งดนตรี นีโอ คลาสสิก ที่มีมือกีตาร์รุ่นต่อๆมาได้ก้าวเดินตามลงบนเส้นทางของเขาเป็นจำนวนมาก
สำหรับ Rising Force ที่เป็นทั้งชื่อวงและชื่ออัลบั้มแรกของอิงวี่ ที่สามารถแจ้งเกิดให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังก้องโลกเป็นที่รู้จักมาจนถึงทุกวันนี้นั้น นับเป็นหนึ่งในผลงานเพลงคลาสสิกของวงการเพลงร็อก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้นิยมกีตาร์ฮีโร่ ซึ่งผมจะขอหยิบผลงานชุดนี้มาบอกเล่าสู่กันฟังกับผลงานชั้นเลิศของมือกีตาร์จอมอีโก้ผู้นี้
อัลบั้ม Rising Force ประกอบไปด้วยทีมนักดนตรี นำโดย อิงวี่ ที่นอกจากจะขยี้เส้นลวด 6 สายและยังทำหน้าที่ตะปบเบส แต่งเพลง อะเร้นจ์ รวมไปถึงเป็นโปรดิวเซอร์เอง ขณะที่เพื่อนร่วมงานก็มี “เจฟฟ์ สก็อต โซโต”(Jeff Scott Soto) ร้องนำ, “เจนส์ โยฮันสัน”(Jens Johansson) คีย์บอร์ด,ฮาร์พ และ “บาร์เรียมอร์ บาร์โลว์”(Barriemore Barlow) หวดกลอง
อัลบั้ม Rising Force มีเพลงไม่มากไม่มาย แค่ 8 เพลง เป็นเพลงบรรเลงถึง 6 เพลง เปิดตัวกันด้วย “Black Star” ขึ้นนำมาด้วยอินโทรอะคูสติกกีตาร์ทางเพลงคลาสสิกเสียงใสปิ๊ง ก่อนเดินเข้าสู่ความเป็นร็อกจังหวะหน่วงๆ เบส กลองเล่นคุมจังหวะ คลอด้วยเสียงคีย์บอร์ดแน่นหนา เปิดพื้นที่ให้กีตาร์เล่าเรื่อง ที่ค่อยทวีความเข้มข้นขึ้น และความเร็วของลูกนิ้วที่จัดใส่มา
ต่อกันด้วย “Far beyond the Sun” เพลงนี้ป๋าอิงวี่โชว์ความเร็วสุดติ่งให้เห็น แต่เป็นเร็วแบบมีวรรคตอน มีจังหวะจะโคน ฟังรื่นไหลไปกับลูกนิ้วดุจจักรผัน และฮาร์โมนิคสเกลที่มีกระจายเกลื่อน โดยมีกีตาร์อีกไลน์เล่นคอร์ดมันๆรองรับ ส่วนเบสก็ควบขยับความมันคู่กันไป โดยมีคีย์บอร์ดอัดซาวนด์ในยุคบาโร้คประสานแน่นๆผนวกเข้าไป นับเป็นอีกหนึ่งเพลงสุดเจ๋งของอิงวี่ โดยเฉพาะในการแสดงคอนเสิร์ตเพลงนี้โคตรมันเลย
ส่วน “Now Your Ships Are Burned” เป็นเพลงร้องมันๆ ขึ้นต้นมากับริฟฟ์ดุเร็ว กีตาร์เล่นซ้อนไลน์กัน ก่อนผนวกเสียงเบสเข้ามากับลูกไล่โน้ตอันแม่นยำ แสดงให้เห็นถึงฝีมืออันช่ำชอง
“Evil Eye” นัยน์ตาปีศาจเพลงนี้ เป็นการนำเพลงคลาสสิก “Bourree” ของ “Johann Krieger” มาเล่นเป็นอินโทรเปิดนำกับอะคูสติกกีตาร์เสียงใสๆแสดงให้เห็นถึงฝีมือทางกีตาร์คลาสสิกอันยอดเยี่ยมของอิงวี่ ก่อนจะตบเข้าสู่โหมดอารมณ์ร็อกเร็วแรง มันถึงใจ โดยมีการเปลี่ยนพาร์ทในช่วงกลางเป็นลูกโซโลอะคูสติกหวานๆเบรกอารมณ์ช่วงสั้นๆ จากนั้นกระชากริฟฟ์ดุๆดึงเข้าสู่จังหวะเร็วๆกระแทกกระทั้นอีกครั้ง พร้อมเปิดพื้นที่อิมโพร์ไวซ์ระหว่างกีตาร์กับคีย์บอร์ด แล้วส่งเข้าไปสู่ท่วงทำนองหลักของเพลงอีกครั้ง
“Icarus' Dream Suite Op.4” นี่ก็เป็นอีกหนึ่งที่เป็นการนำบทเพลง “Adagio in G minor” ของ “Remo Giazotto” ที่คอเพลงคลาสสิกคุ้นหูมาเล่นกับกีตาร์ไฟฟ้า ก่อนที่เพลงจะถูกเชื่อมด้วยลูกอะคูสติกปิกกิ้ง นำส่งเข้าสู่เพลงที่เล่นโอเวอร์ซ้อนไลน์กีตาร์ไฟฟ้าลงไป
เพลงนี้มีการสลับอารมณ์กลับไปกลับมาระหว่างทางคลาสสิกกับทางเมทัลที่อิงวี่สามารถประสานเชื่อมรอยต่อได้เป็นอย่างดี นับเป็นซุ่มเสียงบทเพลงนีโอ คลาสสิกในแบบอิงวี่ที่กลายเป็นลายเซ็นประจำตัวเขานับแต่นั้นมา
“As Above, So Below” คีย์บอร์ดเล่นเสียงออร์แกนในซาวนด์ยุคบาโร้คขึ้นนำมา แสดงถึงอิทธิพลของบาคอย่างเด่นชัด ก่อนตบเข้าสู่โหมดเพลงร้องให้ เจฟฟ์ สก็อต โซโต โชว์พลังน้ำเสียงสูงลิ่ว แถมโหดไม่เบา ถือเป็นนักร้องเสียงดีเยี่ยมคนหนึ่งของ Rising Force แต่น่าเสียดายที่เขาอยู่กับอิงวี่ไม่นาน
ตามต่อด้วย “Little Savage” มาในทางเฮฟวี่ มีกีตาร์เล่นเซโลเดินเรื่อง โดยมีกีตาร์อีกไลน์และเบสเล่นริฟฟ์คุมไป พร้อมกับเปลี่ยนพาร์ทเป็นหน่วงช้า ให้อิงวี่โซโลในอารมณ์หวานซึ้งสลับบ้าง แต่ถึงจะหวานยังไง หมอก็ยังไม่ทิ้งความเร็วอยู่ดี
“Farewell” บทเพลงปิดท้ายกับอะคูสติกกีตาร์ในทางคลาสสิกเพราะๆ สั้นๆ เพียงไม่ถึงหนึ่งนาทีส่งท้ายอัลบั้มในอารมณ์เหงาๆ
ผ่านไปกับบทเพลงทั้งหมดจากอัลบั้ม Rising Force ที่สร้างปรากฏการณ์ด้วยทางดนตรีแปลกใหม่(ในยุคนั้น)ผสมกับไอเดียสร้างสรรค์ จนเกิดเป็นแนวดนตรีนีโอ คลาสสิกขึ้น
งานเพลงชุดนี้อิงวี่ ได้นำทางดนตรีคลาสสิก โดยเฉพาะสเกลฮาร์โมนิค ไมเนอร์(Harmonic Minor) มาใช้ควบคู่ไปกับลูกเล่นอาเปจิโอ(Arpeggios) และลูกเล่นอื่นๆ ขับเคลื่อนไปบนเฟรตกีตาร์อย่างรื่นไหลไปกับเสียงกีตาร์อันทรงพลัง ดุดัน แต่บทที่จะอ่อนหวานนั้นก็ทำได้กิจใจดีทีเดียว
นอกจากนี้อัลบั้ม Rising Force ยังแสดงให้เห็นถึงฝีมือการเรียบเรียงที่ช่ำชองในดนตรีคลาสสิกของอิงวี่ ที่เขาโลดโผนโจนทะยานไปกับจุดเด่นอันเป็นเอกอุนั่นคือความเร็วของลูกนิ้วลมกรดดุ ซึ่งแม้มันจะเร็วปานนรก แต่ก็เป็นความเร็วที่มีเมโลดี้สวยงาม เร็วแบบมีการวางโครงสร้าง มีจังหวะจะโคน ซึ่งนี่ถือเป็นลายเซ็นติดตัวเขามาจนทุกวันนี้
สำหรับอัลบั้ม Rising Force นับเป็นงานระดับมาสเตอร์พีชหนึ่งในอัลบั้มที่ดีที่สุดของอิงวี่ เป็นหนึ่งในอัลบั้มสุดคลาสสิกที่มือกีตาร์ต้องฟัง และเป็นหนึ่งในผลงานอัลบั้มกีตาร์ยอดเยี่ยมแถวหน้าของโลก ซึ่งหลังจากอัลบั้มนี้อิงวี่ได้ทยอยออกสตูดิโออัลบั้มมาอีกเรื่อยๆ จนถึงวันนี้รวมแล้วกว่า 20 อัลบั้ม มีทั้งดีและห่วย ผสมปนเปกันไป
แต่ถึงอย่างไรโลกนี้ก็มีอิงวี่เพียงคนเดียว กับความเป็นไอ้หนุ่มจอมอีโก้ เจ้าพ่อนีโอ-คลาสสิกชื่อก้องโลก และมือกีตาร์มากฝีมือผู้มีลูกนิ้วเร็วนรกในอันดับต้นๆของโลกตลอดกาล
*****************************************
นอกจากอัลบั้ม Rising Force แล้ว หลังจากนี้อิงวี่ยังค้นพบแนวทางในการสร้างสรรค์งานเพลงบัลลาดร็อกที่มีสไตล์เป็นลายเซ็นเฉพาะตัวอันยอดเยี่ยม โดดเด่นไปด้วยทางดนตรีคลาสสิก ไลน์กีตาร์แม้จะรวดเร็วแต่ก็มีท่วงทำนองสวยงาม ควบคู่ไปกับไลน์ประสานออร์เคสตร้าอันยอดเยี่ยม ซึ่งสามารถหาฟังได้จากเพลงบัลลาดร็อกเจ๋งๆของเขา อย่างเช่น “Dreaming Tell Me”, “Queen In Love”, “Like an Angel”, “Save Our Love” และ “Angels of Love” เป็นต้น
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
ส่วนใครที่อยากฟังอิงวี่เล่นเพลงบรรเลงกีตาร์ไฟฟ้าในแนวทางนีโอ คลาสสิกอันเข้มข้น อัลบั้ม “Concerto Suite for Electric Guitar and Orchestra”(1998) ถือเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มสำหรับคอกีตาร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
คลิกฟังเพลง Icarus dream suite op 4
รถด่วนขบวนนรกเป็นเช่นไร? ต่างจากรถเมล์สาย 8 แค่ไหน? มีแต่ผู้เคยสัมผัสเท่านั้นจึงจะรับรู้ได้
ส่วนถ้าเป็นความเร็วของลูกนิ้วนรกบนเส้นลวด 6 สาย ผู้พิสมัยในดนตรีร็อก,เฮฟวี่ เมทัล, สปีด แทรช คงคุ้นชิน คุ้นหูกันเป็นอย่างดี กับวงดนตรี นักดนตรีในดวงใจ
และแน่นอนว่าหากพูดถึงมือกีตาร์ผู้มีลูกนิ้วไวหูดับตับไหม้ หนึ่งในนั้นที่คอเพลงร็อก โดยเฉพาะแฟนพันธุ์แท้กีตาร์ฮีโร่ รู้จักกันเป็นอย่างดี นั่นก็คือ “อิงวี่ เจ มาล์มสทีน” (Yngwie J. Malmsteen : Yngwie Johan Malmsteen) มือกีตาร์ชาวสวีดิชชื่อก้องโลก
อิงวี่ มีชื่อจริงคือ “ลาร์ส โยฮาน อิงเว แลนเนอร์บาก” (Lars Johan Yngve Lannerbäck) เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1963 ที่กรุงสตอกโฮล์ม สวีเดน
อิงวี่มีพรสวรรค์ทางดนตรีตั้งแต่เด็ก สามารถเล่นทรัมเป็ต เปียโน และฟลุ๊ตได้เป็นอย่างดี แต่จุดผกผันที่ทำให้เขาหันมาสนใจกีตาร์อย่างจริงจังนั่นก็คือ หลังมีโอกาสได้เห็น "จิมมี่ เฮนดริกซ์"(Jimi Hendrix)แสดงทางทีวี อิงวี่ที่ตอนนั้นมีอายุแค่เพียง 7 ขวบ ได้เกิดแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้า หันมาทุ่มเทฝึกฝนกีตาร์อย่างจริงจัง เพื่อหวังเป็นเทพแห่งมือกีตาร์ในอนาคต
ด้วยความที่ครอบครัวมีแผ่นเสียงเพลงคลาสสิคอยู่เป็นจำนวนมาก อิงวี่จึงได้ซึมซับดนตรีอมตะของคีตกวีเอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานของ “บาค”(J.S. Bach) และยอดนักไวโอลิน “พากานีนี่”(Niccolo Paganini) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีดนตรีของเขา
เท่านั้นยังไม่พอ อิงวี่ยังได้รับอิทธิพลอย่างยิ่งยวดจากดนตรีเฮฟวี่ เมทัล ที่ยึดครองโลกในช่วงที่เขายังเยาว์วัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแนวทางการเล่นกีตาร์ของ “ริชชี่ แบล็คมอร์”(Ritchie Blackmore) แห่งวง “ดีพ เพอร์เพิ้ล”(Deep Purple)
แล้วดนตรีที่คนในยุคนั้นคิดว่าเป็นเคมีที่ต่างขั้วระหว่าง “คลาสสิก”(Classical Music) กับ เฮฟวี่ เมทัล ก็ถูกอิงวี่นำมาผสมผสานกันทั้งจิมมี่ เฮนดริกซ์, ริชชี่ แบล็คมอร์, บาค และพากานีนี่ เขานำลูกนิ้วไวโอลินอันเร็วบรื๋อของพากานีนี่มาประยุกต์เล่นกับกีตาร์ไฟฟ้าได้อย่างแคล่วคล่องเมื่อมีอายุได้เพียง 10 กว่าขวบเท่านั้น
แต่ยุคสมัยนั้นมันไม่ใช่ยุคสมัยนี้ที่มีรายการทีวี ยูทูบ ให้โชว์ฝีมือ ดังนั้นแม้จะมีฝีมือยอดเยี่ยมเพียงไร แต่ถ้าไม่เดินเข้าไปหาโอกาส หากแต่รอให้โอกาสมาพุ่งชน ชาตินี้โลกคงไม่ได้รู้จักชื่อ อิงวี่ เจ มาล์มสทีน ดังนั้นอิงวี่จึงเดินไปไขว่คว้าหาโอกาสด้วยการส่งผลงานไปให้ “ไมค์ วานี่ย์”(Mike Varney) เจ้าพ่อแห่งวงการกีตาร์ผู้เจียระไนเพชรในตรมให้เจิดจรัสเฉิดฉายเป็นกีตาร์ฮีโร่ชื่อเสียงโด่งดังมามากมาย
และด้วยฝีมือกับการสร้างสรรค์ที่แตกต่าง ผลงานของอิงวี่เข้าตาพี่ไมค์อย่างแรง เขาจึงให้โอกาสอิงวี่เข้าร่วมเล่นกับวง “Steeler” ในปี 1983 ให้ไอ้หนุ่มสวีดิชคนนี้ได้พอเป็นที่รู้จักอยู่บ้าง โดยเฉพาะกับเพลง “Hot On Your Heels” ก่อนที่อิงวี่จะติดปีกไปร่วมงานกับวง “Alcatrazz” ทำอัลบั้มออกมาในปีเดียวกัน ที่สามารถสร้างชื่อให้กับเขาได้ไม่น้อย
แต่นั่นดูเหมือนจะยังไม่พอต่อความใฝ่ฝันของไอ้หนุ่มมือกีตาร์คนนี้ ในปี 1984 อิงวี่โลดแล่นไปสร้างผลงานเดี่ยวของตัวเองกับวง “Rising Force” ที่ถือเป็นความแปลกใหม่ของวงการเพลงร็อก เพราะนำดนตรีเมทัลกับดนตรีคลาสสิกมาผสมสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมพลัง จนทำให้โลกได้บัญญัติศัพท์ “นีโอ คลาสสิก”(Neo Classic) ขึ้นมา เป็นดนตรีแขนงใหม่ที่แตกหน่อออกมาจากดนตรีร็อก เมทัล
อันที่จริงบทเพลงร็อกในแนวนีโอ คลาสสิก หรือ นีโอคลาสสิกคอล เมทัล(Neo Classic Metal) เคยมีมือกีตาร์รุ่นพี่ๆก่อนอิงวี่ เช่น ริชชี่ แบล็คมอร์,อูริช รอธ(Urich Roth แห่ง Scorpions), ไมเคิล เชงเกอร์(Michael Schenker แห่ง Scorpions, UFO และ MSG) รวมไปถึงคนอื่นๆ ได้มีการนำดนตรีคลาสสิกมาผสมสูตรในบทเพลงเฮฟวี่ เมทัล บ้างแล้ว แต่ไม่ได้ทำอย่างเด่นชัด จริงจัง เป็นแนวทางชัดเจนเท่ากับอิงวี่ ซึ่งนั่นก็ทำให้มือกีตาร์ฮีโร่ชาวสวีดิชผู้มีอีโก้ล้นรูกากคนนี้ ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อแห่งดนตรี นีโอ คลาสสิก ที่มีมือกีตาร์รุ่นต่อๆมาได้ก้าวเดินตามลงบนเส้นทางของเขาเป็นจำนวนมาก
สำหรับ Rising Force ที่เป็นทั้งชื่อวงและชื่ออัลบั้มแรกของอิงวี่ ที่สามารถแจ้งเกิดให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังก้องโลกเป็นที่รู้จักมาจนถึงทุกวันนี้นั้น นับเป็นหนึ่งในผลงานเพลงคลาสสิกของวงการเพลงร็อก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้นิยมกีตาร์ฮีโร่ ซึ่งผมจะขอหยิบผลงานชุดนี้มาบอกเล่าสู่กันฟังกับผลงานชั้นเลิศของมือกีตาร์จอมอีโก้ผู้นี้
อัลบั้ม Rising Force ประกอบไปด้วยทีมนักดนตรี นำโดย อิงวี่ ที่นอกจากจะขยี้เส้นลวด 6 สายและยังทำหน้าที่ตะปบเบส แต่งเพลง อะเร้นจ์ รวมไปถึงเป็นโปรดิวเซอร์เอง ขณะที่เพื่อนร่วมงานก็มี “เจฟฟ์ สก็อต โซโต”(Jeff Scott Soto) ร้องนำ, “เจนส์ โยฮันสัน”(Jens Johansson) คีย์บอร์ด,ฮาร์พ และ “บาร์เรียมอร์ บาร์โลว์”(Barriemore Barlow) หวดกลอง
อัลบั้ม Rising Force มีเพลงไม่มากไม่มาย แค่ 8 เพลง เป็นเพลงบรรเลงถึง 6 เพลง เปิดตัวกันด้วย “Black Star” ขึ้นนำมาด้วยอินโทรอะคูสติกกีตาร์ทางเพลงคลาสสิกเสียงใสปิ๊ง ก่อนเดินเข้าสู่ความเป็นร็อกจังหวะหน่วงๆ เบส กลองเล่นคุมจังหวะ คลอด้วยเสียงคีย์บอร์ดแน่นหนา เปิดพื้นที่ให้กีตาร์เล่าเรื่อง ที่ค่อยทวีความเข้มข้นขึ้น และความเร็วของลูกนิ้วที่จัดใส่มา
ต่อกันด้วย “Far beyond the Sun” เพลงนี้ป๋าอิงวี่โชว์ความเร็วสุดติ่งให้เห็น แต่เป็นเร็วแบบมีวรรคตอน มีจังหวะจะโคน ฟังรื่นไหลไปกับลูกนิ้วดุจจักรผัน และฮาร์โมนิคสเกลที่มีกระจายเกลื่อน โดยมีกีตาร์อีกไลน์เล่นคอร์ดมันๆรองรับ ส่วนเบสก็ควบขยับความมันคู่กันไป โดยมีคีย์บอร์ดอัดซาวนด์ในยุคบาโร้คประสานแน่นๆผนวกเข้าไป นับเป็นอีกหนึ่งเพลงสุดเจ๋งของอิงวี่ โดยเฉพาะในการแสดงคอนเสิร์ตเพลงนี้โคตรมันเลย
ส่วน “Now Your Ships Are Burned” เป็นเพลงร้องมันๆ ขึ้นต้นมากับริฟฟ์ดุเร็ว กีตาร์เล่นซ้อนไลน์กัน ก่อนผนวกเสียงเบสเข้ามากับลูกไล่โน้ตอันแม่นยำ แสดงให้เห็นถึงฝีมืออันช่ำชอง
“Evil Eye” นัยน์ตาปีศาจเพลงนี้ เป็นการนำเพลงคลาสสิก “Bourree” ของ “Johann Krieger” มาเล่นเป็นอินโทรเปิดนำกับอะคูสติกกีตาร์เสียงใสๆแสดงให้เห็นถึงฝีมือทางกีตาร์คลาสสิกอันยอดเยี่ยมของอิงวี่ ก่อนจะตบเข้าสู่โหมดอารมณ์ร็อกเร็วแรง มันถึงใจ โดยมีการเปลี่ยนพาร์ทในช่วงกลางเป็นลูกโซโลอะคูสติกหวานๆเบรกอารมณ์ช่วงสั้นๆ จากนั้นกระชากริฟฟ์ดุๆดึงเข้าสู่จังหวะเร็วๆกระแทกกระทั้นอีกครั้ง พร้อมเปิดพื้นที่อิมโพร์ไวซ์ระหว่างกีตาร์กับคีย์บอร์ด แล้วส่งเข้าไปสู่ท่วงทำนองหลักของเพลงอีกครั้ง
“Icarus' Dream Suite Op.4” นี่ก็เป็นอีกหนึ่งที่เป็นการนำบทเพลง “Adagio in G minor” ของ “Remo Giazotto” ที่คอเพลงคลาสสิกคุ้นหูมาเล่นกับกีตาร์ไฟฟ้า ก่อนที่เพลงจะถูกเชื่อมด้วยลูกอะคูสติกปิกกิ้ง นำส่งเข้าสู่เพลงที่เล่นโอเวอร์ซ้อนไลน์กีตาร์ไฟฟ้าลงไป
เพลงนี้มีการสลับอารมณ์กลับไปกลับมาระหว่างทางคลาสสิกกับทางเมทัลที่อิงวี่สามารถประสานเชื่อมรอยต่อได้เป็นอย่างดี นับเป็นซุ่มเสียงบทเพลงนีโอ คลาสสิกในแบบอิงวี่ที่กลายเป็นลายเซ็นประจำตัวเขานับแต่นั้นมา
“As Above, So Below” คีย์บอร์ดเล่นเสียงออร์แกนในซาวนด์ยุคบาโร้คขึ้นนำมา แสดงถึงอิทธิพลของบาคอย่างเด่นชัด ก่อนตบเข้าสู่โหมดเพลงร้องให้ เจฟฟ์ สก็อต โซโต โชว์พลังน้ำเสียงสูงลิ่ว แถมโหดไม่เบา ถือเป็นนักร้องเสียงดีเยี่ยมคนหนึ่งของ Rising Force แต่น่าเสียดายที่เขาอยู่กับอิงวี่ไม่นาน
ตามต่อด้วย “Little Savage” มาในทางเฮฟวี่ มีกีตาร์เล่นเซโลเดินเรื่อง โดยมีกีตาร์อีกไลน์และเบสเล่นริฟฟ์คุมไป พร้อมกับเปลี่ยนพาร์ทเป็นหน่วงช้า ให้อิงวี่โซโลในอารมณ์หวานซึ้งสลับบ้าง แต่ถึงจะหวานยังไง หมอก็ยังไม่ทิ้งความเร็วอยู่ดี
“Farewell” บทเพลงปิดท้ายกับอะคูสติกกีตาร์ในทางคลาสสิกเพราะๆ สั้นๆ เพียงไม่ถึงหนึ่งนาทีส่งท้ายอัลบั้มในอารมณ์เหงาๆ
ผ่านไปกับบทเพลงทั้งหมดจากอัลบั้ม Rising Force ที่สร้างปรากฏการณ์ด้วยทางดนตรีแปลกใหม่(ในยุคนั้น)ผสมกับไอเดียสร้างสรรค์ จนเกิดเป็นแนวดนตรีนีโอ คลาสสิกขึ้น
งานเพลงชุดนี้อิงวี่ ได้นำทางดนตรีคลาสสิก โดยเฉพาะสเกลฮาร์โมนิค ไมเนอร์(Harmonic Minor) มาใช้ควบคู่ไปกับลูกเล่นอาเปจิโอ(Arpeggios) และลูกเล่นอื่นๆ ขับเคลื่อนไปบนเฟรตกีตาร์อย่างรื่นไหลไปกับเสียงกีตาร์อันทรงพลัง ดุดัน แต่บทที่จะอ่อนหวานนั้นก็ทำได้กิจใจดีทีเดียว
นอกจากนี้อัลบั้ม Rising Force ยังแสดงให้เห็นถึงฝีมือการเรียบเรียงที่ช่ำชองในดนตรีคลาสสิกของอิงวี่ ที่เขาโลดโผนโจนทะยานไปกับจุดเด่นอันเป็นเอกอุนั่นคือความเร็วของลูกนิ้วลมกรดดุ ซึ่งแม้มันจะเร็วปานนรก แต่ก็เป็นความเร็วที่มีเมโลดี้สวยงาม เร็วแบบมีการวางโครงสร้าง มีจังหวะจะโคน ซึ่งนี่ถือเป็นลายเซ็นติดตัวเขามาจนทุกวันนี้
สำหรับอัลบั้ม Rising Force นับเป็นงานระดับมาสเตอร์พีชหนึ่งในอัลบั้มที่ดีที่สุดของอิงวี่ เป็นหนึ่งในอัลบั้มสุดคลาสสิกที่มือกีตาร์ต้องฟัง และเป็นหนึ่งในผลงานอัลบั้มกีตาร์ยอดเยี่ยมแถวหน้าของโลก ซึ่งหลังจากอัลบั้มนี้อิงวี่ได้ทยอยออกสตูดิโออัลบั้มมาอีกเรื่อยๆ จนถึงวันนี้รวมแล้วกว่า 20 อัลบั้ม มีทั้งดีและห่วย ผสมปนเปกันไป
แต่ถึงอย่างไรโลกนี้ก็มีอิงวี่เพียงคนเดียว กับความเป็นไอ้หนุ่มจอมอีโก้ เจ้าพ่อนีโอ-คลาสสิกชื่อก้องโลก และมือกีตาร์มากฝีมือผู้มีลูกนิ้วเร็วนรกในอันดับต้นๆของโลกตลอดกาล
*****************************************
นอกจากอัลบั้ม Rising Force แล้ว หลังจากนี้อิงวี่ยังค้นพบแนวทางในการสร้างสรรค์งานเพลงบัลลาดร็อกที่มีสไตล์เป็นลายเซ็นเฉพาะตัวอันยอดเยี่ยม โดดเด่นไปด้วยทางดนตรีคลาสสิก ไลน์กีตาร์แม้จะรวดเร็วแต่ก็มีท่วงทำนองสวยงาม ควบคู่ไปกับไลน์ประสานออร์เคสตร้าอันยอดเยี่ยม ซึ่งสามารถหาฟังได้จากเพลงบัลลาดร็อกเจ๋งๆของเขา อย่างเช่น “Dreaming Tell Me”, “Queen In Love”, “Like an Angel”, “Save Our Love” และ “Angels of Love” เป็นต้น
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
ส่วนใครที่อยากฟังอิงวี่เล่นเพลงบรรเลงกีตาร์ไฟฟ้าในแนวทางนีโอ คลาสสิกอันเข้มข้น อัลบั้ม “Concerto Suite for Electric Guitar and Orchestra”(1998) ถือเป็นอีกหนึ่งอัลบั้มสำหรับคอกีตาร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
คลิกฟังเพลง Icarus dream suite op 4