xs
xsm
sm
md
lg

MPAA เผยจัดระบบเรตติ้ง พ่อแม่พอใจแต่ค่ายหนังยี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผลวิจัยชี้หนังเรต PG-13 มีฉากรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมากกว่าเมื่อ 20 ปีก่อนหลายเท่านั้น แม้บางเรื่องจะไม่ได้มีฉากให้เห็นเลือด แต่ก็มีการยิงกันด้วยปืนมากมาย
"สมาคมภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา" ได้แสดงความเห็นเพื่อยืนยันว่าระบบ "เรตติ้ง" ที่มีเป้าหมายในการควบคุมเนื้อหาภาพยนตร์ยังเป็นสิ่งจำเป็น และยังใช้การได้ นอกจากนั้นผู้ปกครองทั่วไปก็เห็นด้วยกับมาตฐานเรตติ้งดังกล่าวมาตลอด แม้ระยะหลังการให้เรตติ้งหนังเร่องต่าง ๆ จะโดนวิจารณ์อยู่บ่อยครั้งก็ตาม

การศึกษาของ ศูนย์นโยบายสาธารณะแอนเนนเบิร์ก และมหาวิทยาลัยโอไฮโอ ที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ Pediatrics ได้เปิดเผยว่านับจากปี 1985 เป็นต้นมาหนังที่มีเรตติ้ง PG-13 (เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครอง) มีฉากที่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงในการใช้ปืนมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนั้นการศึกษายังชี้ว่าตอนนี้หนัง PG-13 มีฉากเกี่ยวกับความรุนแรงมากกว่าหนังเรต R เสียอีก

ข้อมูลดังกล่าวกลายเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าตอนนี้คณะกรรมการให้เรตติ้งขององค์กร สมาคมภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (MPAA) ดูจะใส่ใจกับการควบคุมเนื้อหาเกี่ยวกับเพศ และคำหยาบคายในหนังอย่างเข้มงวด แต่กลับละเลยปล่อยผ่านให้มีเนื้อหาด้านความรุนแรงในหนังสำหรับผู้ชมอายุน้อยออกมามากขึ้น

ล่าสุดตัวแทนจาก MPAA ได้ออกมาให้ความเห็นถึงเรื่องนี้แล้ว โดย โจแอน เกรฟส์ ประธานคณะกรรมการจัดเรตติ้งได้กล่าวกับเอพีเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ว่าตลอดมาการให้เรตติ้งของ MPAA คือสิ่งที่ผ่านการทำงานภายใต้มาตรฐานของผู้ปกครองเด็กเป็นสำคัญ "เราพยายามจะทำให้ถูกที่สุด คำวิจารณ์เรื่องเรตติ้งไม่ได้มาจากคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ ซึ่งเป็นคนที่เราทำงานเพื่อพวกเขา"

ณ ปัจจุบันเรตติ้งของ MPAA แบ่งออกเป็น 5 ประเภทตั้งแต่เรต G คือหนังที่เหมาะสมสำหรับผู้ชมทุกวัย จนไปถึงเรต NC-17 ที่อนุญาตสำหรับผู้ชมที่อายุ 17 ปีขึ้นไปเท่านั้น โดยเรตติ้งที่มักจะนำมาซึ่งข้อถกเถียงมากมายก็คือเรต PG-13 ซึ่งจะมอบสำหรับหนังที่มีเนื้อหา "บางส่วนซึ่งไม่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี" และเรต R ที่ผู้มีอายุต่ำว่า 17 ปี ต้องมาชมหนังกับผู้ปกครอง

ในระยะหลังเริ่มมีคำถามดังขึ้นเรื่อย ๆ ว่าเนื้อหาประเภทใด และในระดับใดที่ถือว่าไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่เนื้อหา ที่มีความรุนแรง, ภาษาหยาบคาย และเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งนักวิจารณ์จำนวนมากมีความเห็นว่า MPAA มักจะเข้มงวดเป็นพิเศษกับเรื่องเพศ และภาษาหยาบคาย แต่กลับปล่อยให้มีความรุนแรงใหหนังเรต PG-13 มากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างที่ แดน โรเมอร์ แห่ง ศูนย์นโยบายสาธารณะแอนเนนเบิร์ก ได้แสดงความเห็นเอาไว้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดทบทวนดูใหม่ว่าหนังที่มีความรุนแรงมาก ๆ ก็ควรได้รับเรต R ขึ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน

แต่ตัวแทนของ MPAA อย่าง เกรฟส์ ก็ยืนยันว่าเรต PG-13 ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย แต่เป็นการเตือนแรง ๆ ไปถึงพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กเท่านั้น

MPAA ยังพูดมาตลอดว่าพวกเขาไม่ได้เป็น "ตำรวจหนัง" แต่มีหน้าที่ให้คำเตือนพ่อแม่ในการเลือกหนังให้ลูก และระบบเรตติ้งก็ไม่ใช่ข้อบังคับ แต่เป็นสิ่งที่โรงภาพยนตร์สมัครใจที่จะนำมาบังคับใช้เอง นับจากปี 1960 เมื่อมีการตั้งสถาบันภาพยนตร์อเมริกาขึ้นมา เพื่อแทนที่กฎหมายเดิมที่เข้มงวดกว่าแทน

แต่ระยะหลังระบบเรตติ้งกลับถูกวิจารณ์เสียเองว่ามักจะเข้มงวดกับหนังเล็ก ๆ แต่ผ่อนปรบให้หนังของสตูดิโอใหญ่ ๆ อยู่เสมอ อย่างหนังชุด Dark Knight ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน ที่มีเนื้อหารุนแรงมากมาย แต่กลับได้เรต PG-13 เท่านั้น

ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน ขาใหญ่แห่งวงการหนังอินดี้ก็เป็นอีกคนที่มีข้อบาดหมางกับ MPAA เรื่องเรตติ้งอยู่ตลอดเวลา ล่าสุดหนังเรื่อง Philomena ของเขาได้เรต R เพียงเพราะมีการพูดคำหยาบ F--k เพียง 2 ครั้งเท่านั้น ขณะที่ตามกฎแล้วหากพูดครั้งเดียวก็จะได้เรต PG-13 ซึ่งทางผู้สร้างคิดว่าเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย โดยทาง Weinstein Co. ได้ยื่นอุทธรณ์เพื่อขอให้มีการจัดเรตหนังเรื่องนี้ใหม่แล้ว

โจแอน เกรฟส์ ได้อธิบายว่าทาง MPAA เพียงทำตามความต้องการของผู้ปกครอง ที่รู้สึกว่าเรื่องเพศ และภาษาหยาบคายในหนังเป็นสิ่งที่พวกเขารู้สึกว่าไม่อยากให้ลูกหลานได้ซึมซับเข้าไป แต่สำหรับความรุนแรงผู้ปกครองส่วนใหญ่ต่างมองว่าสามารถอธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจได้มากกว่า ซึ่งตัวแทนขององค์กรจัดเรตติ้งได้กล่าวว่าพวกเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายในเรื่องนี้ "หากได้รับฟังคำแนะนำจากผู้ปกครองว่าเรากำลังทำผิด แต่เราคิดว่ามันคงไม่ได้เป็นแบบนั้น"

อย่างไรก็ตามในระยะหลังความรุนแรงในหนัง และวิดีโอเกมส์ ได้กลายเป็นประเด็นใหญ่โตในสังคม เมื่อเกิดเหตุการณ์กราดยิงในโรงเรียนขึ้นบ่อยครั้ง จนเกิดการถกเถียงขึ้นว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้น เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสื่อที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งในเดือน ม.ค. ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้สั่งให้มีการศึกษาความเชื่อมโยงของเหตุการณ์รุนแรง และสื่อว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่

ทาง MPAA ได้ย้ำว่าพวกเขาทราบดีถึงความกังวลเกี่ยวกับความรุนแรงในหนัง และผลกระทบต่อสังคม ซึ่ง โจแอน เกรฟส์ ตัวแทนของ องค์กรได้กล่าวว่าทาง MPAA ก็กำลังพิจารณาในเรื่องนี้ และระบบเรตติ้งก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

Blue Valentine ตัวเต็งออสการ์จ่อโดนเรต NC-17: เรตหนังปัญหาโลกแตกที่ใคร ๆ ก็ปวดหัว
Blue Valentine เฮ! ได้ลดเรตจาก NC-17 เป็น R: กรณีศึกษาฉาก 'ออรัลเซ็กส์' ในหนัง
Fox Searchlight ยินดี Shame ของ “ไมเคิล ฟาสเบนเดอร์” ได้เรต NC-17
Bully สารคดีเด็กโดน “รังแก” ความจริงโหดร้ายที่สังคมมะกัน “ต้องรู้”
หนังเด็กรังแกกัน Bully ยอมตัด “F--K” ทิ้ง 3 คำ เพื่อเรต PG-13
Bully ฉายแบบไม่มีเรต: ผู้สร้างยัน "คำหยาบ" คือความจริงของสังคม
โหดทะลุขีด “Evil Dead” ได้เรต NC-17: ผกก.ขอตัดใหม่ให้เหลือ R



ข่าวบันเทิง, ถูกต้อง, รวดเร็วฉับไว ทั้งไทย และเทศ http://www.superent.co.th

ติดตามความเคลื่อนไหวอินสตาแกรมดาราทั้งไทยและเทศตลอด 24 ชั่วโมงได้ที่ ซูเปอร์สตาแกรม

เกาะติดข่าวบันเทิงและร่วมวงเมาท์ดารากับ ""ซ้อ 7"ก่อนใคร ผ่าน SMS โทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย
ระบบ dtac - เข้าเมนู write Message พิมพ์ R แล้วส่งไปที่หมายเลข 1951540
ระบบ AIS - กด *468200311 แล้วโทร.ออก
ระบบ True Move และ Hutch - เข้าเมนู write Message พิมพ์ ENT แล้วส่งไปที่หมายเลข 4682000
*ค่าบริการเพียง 29 บาท ต่อเดือน ทดลองใช้ฟรี 15 วัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก

 หนังค่ายใหญ่มักได้รับสิทธิพิเศษ? หนังชุด Batman ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน ได้รับเรต PG-13 ทั้ง 3 ภาค แม้จะมีความรุนแรงมากมาย
หนังสารคดี Bully ว่าด้วยการรังแกกันในโรงเรียน ได้รับเรต R เพราะภาษาหยาบคาย ก่อนจะมีการตัดคำหยาบออกไปบ้าง จนได้รับเรต PG-13
Blue Valentine ได้รับเรต NC-17 จากฉากเซ็กส์ ก่อนจะประท้วงจนถูกลดลงเหลือเรต R ในเวลาต่อมา
Hot Tub Time Machine หนังที่พ้นคำหยาบเป็นว่าเล่นจนได้รับเรต R
Philomena ได้เรต R เพราะมีคำว่า F--K แค่ 2 ครั้ง โดยทาง MPAA อธิบายว่าพวกเขาแค่ทำตามสิ่งที่พ่อแม่เด็กต้องการ คือการควบคุมเนื้อหาเรื่องเพศ และคำหยาบคาย แต่สำหรับความรุนแรง พ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่าสามารถอธิบายให้ลูกเข้าใจได้ง่ายกว่า
กำลังโหลดความคิดเห็น