คอลัมน์เพลงวาน โดย : บอน บอระเพ็ด(skbon109@hotmail.com)
เผด็จการ!!!
ใครอยากรู้นิยามความหมายของคำๆนี้อย่างลึกซึ้งถึงแก่น คงต้องถามจากรัฐบาลชุดนี้
เพราะรัฐบาลชุดนี้พร่ำพูดอยู่เสมอว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้นย่อมต้องรอบรู้ต่อระบอบที่เป็นขั้วตรงข้ามเป็นอย่างดี
สำหรับความเป็นเผด็จการนั้นที่ผ่านมาในอดีตมักจะมาในรูปของเผด็จการทหาร แต่มาวันนี้สถานการณ์โลกพัฒนาไป เผด็จการในบางประเทศก็พัฒนาไปในหลายรูปแบบ
ยกตัวอย่างประเทศสารขัณฑ์ที่ส่วนใหญ่มีนักการเมืองสารเลว ในอดีตประเทศนี้เคยเป็นเผด็จการทหาร เผด็จการ(รัฐ)ตำรวจ วันนี้เมื่อโลกเปลี่ยนไป เผด็จการในประเทศนี้ก็มีปรับเปลี่ยนไปในหลายรูปแบบ อาทิ เผด็จการนักการเมือง เผด็จการทุนนิยม เผด็จการนักโทษชาย เผด็จการโสเภณี เผด็จการไพร่ เผด็จการควายสถุล เผด็จการขี้ข้า และล่าสุดกับเผด็จการออนไลน์ที่แม้แต่ฮิตเลอร์ยังทำไม่ได้ (เพราะฮิตเลอร์เกิดไม่ทัน)
หันมาที่บ้านเรากันบ้าง ในยุคเผด็จการเรืองอำนาจก่อน 14 ต.ค. 2516 นั้น ขบวนการนักศึกษาปัญญาชนถือเป็นหัวหอกสำคัญในการต่อต้านเผด็จการ ในการต่อสู้พวกเขามีบทเพลงเพื่อชีวิตเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนสำคัญ นำโดยวงคาราวาน และอีกหลายวง อาทิ กรรมาชน ต้นกล้า กงล้อ คุรชน โคมฉาย เป็นต้น
พูดได้ว่าคาราวานเป็นต้นทางของผู้สร้างตำนานวงการเพลงเพื่อชีวิตต่อเผด็จการในบ้านเราก็ไม่ผิดนัก
อย่างไรก็ดีถ้าหากย้อนเก่าเข้าไปอีกก็จะพบกับผู้แผ้วถางเส้นทางแห่งบทเพลงเพื่อชีวิตคนสำคัญ คือ “คำรณ สัมบุญณานนท์”
คำรณ ผู้บุกเบิก
ครูคำรณ เป็นนักร้องที่โด่งดังอยู่ในยุคที่เมืองไทยมีนายกรัฐมนตรีคือ “จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม” เขาเป็นผู้ร้องเพลงเสียดสีต่อต้านการเมืองขึ้นเป็นคนแรกๆ เพราะอึดอัดทนไม่ได้ต่อสภาพการเมือง บ้านเมืองในยุคนั้น ที่ประชาชนถูกกดขี่ ปิดกั้นเสรีภาพ ทำให้ครูคำรณได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวเพลงเพื่อชีวิตขึ้น ก่อนที่ยุคหลังจะตามมาด้วย ขุนพลเพลงเพื่อชีวิตชื่อดัง อย่าง คาราวาน คาราบาว พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เป็นต้น
ครูคำรณ มีชื่อเดิมว่า ทองคำ สัมบุณณานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2463 เป็นชาววัดเกาะสัมพันธวงศ์ กทม. แต่ด้วยสำเนียงการร้องเพลงที่ติดเหน่อทำให้ใครหลายคนเคิดว่าเขาน่าจะเป็นคนสุพรรณ
ในวัยเด็กครูคำรณเคยฝึกเป่าขลุ่ยมาก่อน ก่อนจะหันไปฝึกร้องเพลง จนโด่งดังในเวลาต่อมา แต่น่าเสียดายที่ครูคำรณมีอายุสั้นไปหน่อย เพียงแค่ 49 ปี โดยท่านจากโลกนี้ไปในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2512 ด้วยโรคปอด ทิ้งชื่อ คำรณ สัมบุญณานนท์ไว้เป็นตำนานมาจนทุกวันนี้
นอกจากจะเป็นผู้เยี่ยมยุทธ์ด้านการร้องเพลงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอย่างเด่นชัดแล้ว เขายังเคยเล่นเป็นพระเอกภาพยนตร์หลายเรื่อง อาทิ “รอยไถ”, “ชายสามโบสถ์”, “เลือดทรยศ”, “หญิงสามผัว”, “เกวียนหัก” อีกทั้งยังเคยเล่นละครวิทยุเรื่อง "เจ้าสาวชาวไร่" ของครูเหม เวชกร ซึ่งครูคำรณได้เป็นคนขับร้องเพลงนำในละครเรื่องนี้คือเพลง “เจ้าสาวชาวไร่”
เพลงนี้แต่งโดย “เหม เวชชกร” มีเนื้อหาเกี่ยวกับท้องไร่ท้องนา ใช้ร้องประกอบละครวิทยุเรื่อง “สาวชาวไร่” ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ.2481 ทางสถานีวิทยุของ “กรมโฆษณาการ”
เพลงเจ้าสาวชาวไร่มีความสำคัญต่อวงการลูกทุ่งไทยมาก เพราะได้ชื่อว่าเป็นเพลง “ลูกทุ่ง”เพลงแรกของไทย(จากการสืบค้นอันเนื่องมาจากการจัดงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง” ครั้งที่ 1 ปี 2532)
นั่นจึงทำให้ครูคำรณนอกจากจะบุกเบิกเพลงเพื่อชีวิตแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกเพลง“ลูกทุ่ง”ไทยอีกด้วย
คำรณ คนอันตราย
ครูคำรณเป็นคนที่มีความเป็นศิลปินสูง ไวต่อสถานการณ์ สามารถหยิบเหตุการณ์บ้านเมืองที่ส่งผลกระทบต่อสังคม จิตใจผู้คนมาแต่งเป็นเพลงได้อย่างเฉียบคม ซึ่งด้วยลีลาการร้องเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ด้วยลูกคอแบบบ้านๆ ติดเสียงเหน่อ ฟังจริงใจ ทำให้มีคนชื่นชอบเขาเป็นจำนวนมาก
ด้วยความเป็นคนที่ใช้ชีวิตอย่างโลดโผน ทำให้ครูคำรณเคยติดคุก ติดตาราง เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ แต่ด้วยความเป็นใจถึง กล้าได้กล้าเสีย ทำให้เขากล้าที่จะแต่งเพลงเสียดสี ต่อต้านอำนาจรัฐ อำนาจเผด็จการของผู้ปกครอง จนได้ชื่อว่าเป็น “นักร้องอันตราย”ของทางการ
สำหรับแนวเพลงที่ขับร้องโดยครูคำรณนั้นมีอยู่มากหลาย ทั้งเพลงรัก เพลงรำวง เพลงชีวิตโจรคนคุก เพลงยาเสพติด และเพลงที่พูดถึงวิถีชนบท เพลงที่พูดถึงชีวิตคน ชนชั้นล่าง ชนชั้นกรรมมาชีพ อาทิ “กรรมกรรถราง”, “น้ำตาชาวนา”, “ชาวนากำสรวล”, “คนพเนจร”, “ชีวิตช่างตัดผม”, “ชีวิตครู”, “หาเช้ากินค่ำ” เป็นต้น บทเพลงเหล่านี้นับเป็นต้นแบบของเพลงเพื่อชีวิตในยุคคาราวาน คาราบาว และศิลปินเพื่อชีวิตอื่นๆในยุคต่อมา
นอกจากนี้ครูคำรณยังโดดเด่นในเรื่องของบทเพลงการเมือง ซึ่งผมขอนำเสนอ 5 บทเพลงโดนๆเข้ายุคเข้าสมัย พร้อมเนื้อเพลงมาประกอบพอสังเขปดังนี้
เพลงแรก “มนต์การเมือง” (คำร้อง/ทำนอง : สุเทพ โชคสกุล) ที่มักจะถูกเปิดบ่อยๆในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งแอ๊ด คาราบาว(ยืนยง โอภากุล) ได้นำกลับมาร้องใหม่เป็นที่นิยมอีกครั้งในชุด“ก้นบึ้ง” และ “รอยคำรณ”
เพลงมนต์การเมือง เนื้อเพลงชำแหละพฤติกรรมของนักการเมืองไทยได้อย่างถึงกึ๋น ถือเป็นเพลงดังอมตะที่ไม่เคยล้าสมัย เพราะนับจากอดีตถึงปัจจุบัน สันดานของนักการเมืองส่วนใหญ่ในบ้านเราไม่เคยเปลี่ยน
“...ปากบอกรักชาติผมฟังอนาถใจจริง
เห็นแต่เขาจะช่วงจะชิงตำแหน่งใหญ่ยิ่งกันในสภา
วิ่งเต้นหาเสียงกินเลี้ยงกันใหญ่ตามเหลาตามบาร์
บางคราวยกพวกเข้าเข่นฆ่ามันมันเหลือระอาผู้แทนเมืองไทย...”
เพลงต่อมา “เทวดาขี้โกง”(คำร้อง/ทำนอง :ไพบูลย์ บุตรขัน) เพลงนี้แสบสันต์ด่าพวกนักการเมืองจอมโกงสมัยนั้นที่โกงกินน้ำตาลกันแบบไม่กลัวเป็นเบาหวาน
“...คนโกงกินแกลบกินรำ คนโกงกินน้ำตาลทราย
เอ้อระเหยลอยชายเหมือนกฎหมายไม่มี
คนจนคนชาวพารา ลองโกงลองกินดูซี
เข้าตะรางทุกที คนมีเป็นพวกเทวดา
...เทวดาขี้โกง เทวดาขี้โกง...”
ครับ สำหรับยุคนี้ พ.ศ.นี้ โกงกินน้ำตาลมันไม่สะใจเท่าโกงกินข้าว โกงง่าย รวยเร็ว สื่อกระแสหลักไม่ตรวจสอบเพราะโดนเงินอุดปาก
ต่อกันในเพลงที่ 3 กับ “ศาลเตี้ย”(ไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์) เพลงนี้อัดไอ้พวกบ้าอำนาจอยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งบ้านเมืองเราทุกวันนี้มองไปเห็นเงาทะมึนของศาลเตี้ยสีแดง สีกากี อยู่ทั่วไปหมด
“...ร้อยเล่ห์แสนกล เหลือทนชอกช้ำ
ใช้อำนาจอยุติธรรมบีบคั้นก่อกรรมให้เขากลัวเกรง
คล้ายว่าเป็นเจ้าแผ่นดินถือโทษตัดสินเอาเอง
ไร้น้ำใจของชายนักเลง คนจึงเกรงศาลเตี้ยเมืองไทย...”
มาถึงเพลงที่ 4 ที่ฟังเข้ายุคสมัยดีแท้กับเพลง “อสูรกินเมือง” (คำร้อง : ณรงค์ ชมสมบูรณ์/ทำนอง : คำรณ สัมบุญณานนท์) เพลงนี้แต่งด่ารัฐตำรวจในยุค อัศวิน“เผ่า ศรียานนท์” เนื้อเพลงมีระบุชื่อตรงๆหลายคน ซึ่งนอกจากอัศวินเผ่า แล้วก็มีนายพร มะลิทอง นายเตียง ศิริขันธ์ เป็นต้น
“...ผมจะขอกล่าวสมัยนายเผ่าเป็นผู้กว้างขวาง
มีอิทธิพลทุกอย่างพันศักดิ์ก็ยังเป็นอัศวิน
ผู้แทนสมัยนั้นถูกฆ่าฟันตายด่าวดิ้น
เพราะขัดหนทางโกงกินของพวกกังฉินในพรรคกินเมือง...”
ฟังเพลงนี้แล้ว ลองเปรียบเทียบรัฐตำรวจยุคนายเผ่ากับยุคขี้ข้ามีวันนี้เพราะนักโทษให้ มีสิ่งที่คล้ายกันอยู่ไม่น้อยเลย
ปิดท้ายกันด้วย “ใครค้านท่านฆ่า” เพลงที่ครูคำรณร่วมแต่งกับพี่ชายคือ อรุณ สัมบุญณานนท์ เพลงนี้ร้องตอบโต้ผู้บ้าอำนาจ
“...ใครรู้ความจริงควรจะนิ่งไว้ในใจ
ถ้าขืนค้านออกไปก็จะกลายเป็นบ้า
ค้านดีไม่ดีอาจจะมีภัยตามมา
พอม้วยสิ้นมรณาหาคดีไม่มี...”
หลายๆคนที่ฟังเพลงนี้แล้ว คงอดนึกถึงคุณ “เอกยุทธ อัญชัญบุตร” ไม่ได้
และนั่นก็คือ 5 บทเพลงการเมืองโดนๆ ที่ไม่น่าเชื่อว่าแม้เวลาจะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่บทเพลงการเมืองส่วนใหญ่ของครูคำรณยังคงมีเนื้อหาไม่ล้าสมัย ฟังแล้วสามารถประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ร่วมสมัยได้ดีทีเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นเผด็จการในยุคโทรเลขหรือเผด็จการในยุคดิจิตอล ไลน์ ไลค์ แชร์ พวกเขายังคงมีสันดานบ้าอำนาจ รับไม่ได้กับคนเห็นค้าน คนคิดต่างเพียงแต่ว่ารูปแบบการเคลียร์หน้าเสื่ออาจแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย
ยังไงๆ เผด็จการก็คือเผด็จการ!!!
เผด็จการ!!!
ใครอยากรู้นิยามความหมายของคำๆนี้อย่างลึกซึ้งถึงแก่น คงต้องถามจากรัฐบาลชุดนี้
เพราะรัฐบาลชุดนี้พร่ำพูดอยู่เสมอว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้นย่อมต้องรอบรู้ต่อระบอบที่เป็นขั้วตรงข้ามเป็นอย่างดี
สำหรับความเป็นเผด็จการนั้นที่ผ่านมาในอดีตมักจะมาในรูปของเผด็จการทหาร แต่มาวันนี้สถานการณ์โลกพัฒนาไป เผด็จการในบางประเทศก็พัฒนาไปในหลายรูปแบบ
ยกตัวอย่างประเทศสารขัณฑ์ที่ส่วนใหญ่มีนักการเมืองสารเลว ในอดีตประเทศนี้เคยเป็นเผด็จการทหาร เผด็จการ(รัฐ)ตำรวจ วันนี้เมื่อโลกเปลี่ยนไป เผด็จการในประเทศนี้ก็มีปรับเปลี่ยนไปในหลายรูปแบบ อาทิ เผด็จการนักการเมือง เผด็จการทุนนิยม เผด็จการนักโทษชาย เผด็จการโสเภณี เผด็จการไพร่ เผด็จการควายสถุล เผด็จการขี้ข้า และล่าสุดกับเผด็จการออนไลน์ที่แม้แต่ฮิตเลอร์ยังทำไม่ได้ (เพราะฮิตเลอร์เกิดไม่ทัน)
หันมาที่บ้านเรากันบ้าง ในยุคเผด็จการเรืองอำนาจก่อน 14 ต.ค. 2516 นั้น ขบวนการนักศึกษาปัญญาชนถือเป็นหัวหอกสำคัญในการต่อต้านเผด็จการ ในการต่อสู้พวกเขามีบทเพลงเพื่อชีวิตเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนสำคัญ นำโดยวงคาราวาน และอีกหลายวง อาทิ กรรมาชน ต้นกล้า กงล้อ คุรชน โคมฉาย เป็นต้น
พูดได้ว่าคาราวานเป็นต้นทางของผู้สร้างตำนานวงการเพลงเพื่อชีวิตต่อเผด็จการในบ้านเราก็ไม่ผิดนัก
อย่างไรก็ดีถ้าหากย้อนเก่าเข้าไปอีกก็จะพบกับผู้แผ้วถางเส้นทางแห่งบทเพลงเพื่อชีวิตคนสำคัญ คือ “คำรณ สัมบุญณานนท์”
คำรณ ผู้บุกเบิก
ครูคำรณ เป็นนักร้องที่โด่งดังอยู่ในยุคที่เมืองไทยมีนายกรัฐมนตรีคือ “จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม” เขาเป็นผู้ร้องเพลงเสียดสีต่อต้านการเมืองขึ้นเป็นคนแรกๆ เพราะอึดอัดทนไม่ได้ต่อสภาพการเมือง บ้านเมืองในยุคนั้น ที่ประชาชนถูกกดขี่ ปิดกั้นเสรีภาพ ทำให้ครูคำรณได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกแนวเพลงเพื่อชีวิตขึ้น ก่อนที่ยุคหลังจะตามมาด้วย ขุนพลเพลงเพื่อชีวิตชื่อดัง อย่าง คาราวาน คาราบาว พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เป็นต้น
ครูคำรณ มีชื่อเดิมว่า ทองคำ สัมบุณณานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2463 เป็นชาววัดเกาะสัมพันธวงศ์ กทม. แต่ด้วยสำเนียงการร้องเพลงที่ติดเหน่อทำให้ใครหลายคนเคิดว่าเขาน่าจะเป็นคนสุพรรณ
ในวัยเด็กครูคำรณเคยฝึกเป่าขลุ่ยมาก่อน ก่อนจะหันไปฝึกร้องเพลง จนโด่งดังในเวลาต่อมา แต่น่าเสียดายที่ครูคำรณมีอายุสั้นไปหน่อย เพียงแค่ 49 ปี โดยท่านจากโลกนี้ไปในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2512 ด้วยโรคปอด ทิ้งชื่อ คำรณ สัมบุญณานนท์ไว้เป็นตำนานมาจนทุกวันนี้
นอกจากจะเป็นผู้เยี่ยมยุทธ์ด้านการร้องเพลงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอย่างเด่นชัดแล้ว เขายังเคยเล่นเป็นพระเอกภาพยนตร์หลายเรื่อง อาทิ “รอยไถ”, “ชายสามโบสถ์”, “เลือดทรยศ”, “หญิงสามผัว”, “เกวียนหัก” อีกทั้งยังเคยเล่นละครวิทยุเรื่อง "เจ้าสาวชาวไร่" ของครูเหม เวชกร ซึ่งครูคำรณได้เป็นคนขับร้องเพลงนำในละครเรื่องนี้คือเพลง “เจ้าสาวชาวไร่”
เพลงนี้แต่งโดย “เหม เวชชกร” มีเนื้อหาเกี่ยวกับท้องไร่ท้องนา ใช้ร้องประกอบละครวิทยุเรื่อง “สาวชาวไร่” ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ.2481 ทางสถานีวิทยุของ “กรมโฆษณาการ”
เพลงเจ้าสาวชาวไร่มีความสำคัญต่อวงการลูกทุ่งไทยมาก เพราะได้ชื่อว่าเป็นเพลง “ลูกทุ่ง”เพลงแรกของไทย(จากการสืบค้นอันเนื่องมาจากการจัดงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง” ครั้งที่ 1 ปี 2532)
นั่นจึงทำให้ครูคำรณนอกจากจะบุกเบิกเพลงเพื่อชีวิตแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกเพลง“ลูกทุ่ง”ไทยอีกด้วย
คำรณ คนอันตราย
ครูคำรณเป็นคนที่มีความเป็นศิลปินสูง ไวต่อสถานการณ์ สามารถหยิบเหตุการณ์บ้านเมืองที่ส่งผลกระทบต่อสังคม จิตใจผู้คนมาแต่งเป็นเพลงได้อย่างเฉียบคม ซึ่งด้วยลีลาการร้องเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ด้วยลูกคอแบบบ้านๆ ติดเสียงเหน่อ ฟังจริงใจ ทำให้มีคนชื่นชอบเขาเป็นจำนวนมาก
ด้วยความเป็นคนที่ใช้ชีวิตอย่างโลดโผน ทำให้ครูคำรณเคยติดคุก ติดตาราง เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ แต่ด้วยความเป็นใจถึง กล้าได้กล้าเสีย ทำให้เขากล้าที่จะแต่งเพลงเสียดสี ต่อต้านอำนาจรัฐ อำนาจเผด็จการของผู้ปกครอง จนได้ชื่อว่าเป็น “นักร้องอันตราย”ของทางการ
สำหรับแนวเพลงที่ขับร้องโดยครูคำรณนั้นมีอยู่มากหลาย ทั้งเพลงรัก เพลงรำวง เพลงชีวิตโจรคนคุก เพลงยาเสพติด และเพลงที่พูดถึงวิถีชนบท เพลงที่พูดถึงชีวิตคน ชนชั้นล่าง ชนชั้นกรรมมาชีพ อาทิ “กรรมกรรถราง”, “น้ำตาชาวนา”, “ชาวนากำสรวล”, “คนพเนจร”, “ชีวิตช่างตัดผม”, “ชีวิตครู”, “หาเช้ากินค่ำ” เป็นต้น บทเพลงเหล่านี้นับเป็นต้นแบบของเพลงเพื่อชีวิตในยุคคาราวาน คาราบาว และศิลปินเพื่อชีวิตอื่นๆในยุคต่อมา
นอกจากนี้ครูคำรณยังโดดเด่นในเรื่องของบทเพลงการเมือง ซึ่งผมขอนำเสนอ 5 บทเพลงโดนๆเข้ายุคเข้าสมัย พร้อมเนื้อเพลงมาประกอบพอสังเขปดังนี้
เพลงแรก “มนต์การเมือง” (คำร้อง/ทำนอง : สุเทพ โชคสกุล) ที่มักจะถูกเปิดบ่อยๆในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งแอ๊ด คาราบาว(ยืนยง โอภากุล) ได้นำกลับมาร้องใหม่เป็นที่นิยมอีกครั้งในชุด“ก้นบึ้ง” และ “รอยคำรณ”
เพลงมนต์การเมือง เนื้อเพลงชำแหละพฤติกรรมของนักการเมืองไทยได้อย่างถึงกึ๋น ถือเป็นเพลงดังอมตะที่ไม่เคยล้าสมัย เพราะนับจากอดีตถึงปัจจุบัน สันดานของนักการเมืองส่วนใหญ่ในบ้านเราไม่เคยเปลี่ยน
“...ปากบอกรักชาติผมฟังอนาถใจจริง
เห็นแต่เขาจะช่วงจะชิงตำแหน่งใหญ่ยิ่งกันในสภา
วิ่งเต้นหาเสียงกินเลี้ยงกันใหญ่ตามเหลาตามบาร์
บางคราวยกพวกเข้าเข่นฆ่ามันมันเหลือระอาผู้แทนเมืองไทย...”
เพลงต่อมา “เทวดาขี้โกง”(คำร้อง/ทำนอง :ไพบูลย์ บุตรขัน) เพลงนี้แสบสันต์ด่าพวกนักการเมืองจอมโกงสมัยนั้นที่โกงกินน้ำตาลกันแบบไม่กลัวเป็นเบาหวาน
“...คนโกงกินแกลบกินรำ คนโกงกินน้ำตาลทราย
เอ้อระเหยลอยชายเหมือนกฎหมายไม่มี
คนจนคนชาวพารา ลองโกงลองกินดูซี
เข้าตะรางทุกที คนมีเป็นพวกเทวดา
...เทวดาขี้โกง เทวดาขี้โกง...”
ครับ สำหรับยุคนี้ พ.ศ.นี้ โกงกินน้ำตาลมันไม่สะใจเท่าโกงกินข้าว โกงง่าย รวยเร็ว สื่อกระแสหลักไม่ตรวจสอบเพราะโดนเงินอุดปาก
ต่อกันในเพลงที่ 3 กับ “ศาลเตี้ย”(ไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์) เพลงนี้อัดไอ้พวกบ้าอำนาจอยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งบ้านเมืองเราทุกวันนี้มองไปเห็นเงาทะมึนของศาลเตี้ยสีแดง สีกากี อยู่ทั่วไปหมด
“...ร้อยเล่ห์แสนกล เหลือทนชอกช้ำ
ใช้อำนาจอยุติธรรมบีบคั้นก่อกรรมให้เขากลัวเกรง
คล้ายว่าเป็นเจ้าแผ่นดินถือโทษตัดสินเอาเอง
ไร้น้ำใจของชายนักเลง คนจึงเกรงศาลเตี้ยเมืองไทย...”
มาถึงเพลงที่ 4 ที่ฟังเข้ายุคสมัยดีแท้กับเพลง “อสูรกินเมือง” (คำร้อง : ณรงค์ ชมสมบูรณ์/ทำนอง : คำรณ สัมบุญณานนท์) เพลงนี้แต่งด่ารัฐตำรวจในยุค อัศวิน“เผ่า ศรียานนท์” เนื้อเพลงมีระบุชื่อตรงๆหลายคน ซึ่งนอกจากอัศวินเผ่า แล้วก็มีนายพร มะลิทอง นายเตียง ศิริขันธ์ เป็นต้น
“...ผมจะขอกล่าวสมัยนายเผ่าเป็นผู้กว้างขวาง
มีอิทธิพลทุกอย่างพันศักดิ์ก็ยังเป็นอัศวิน
ผู้แทนสมัยนั้นถูกฆ่าฟันตายด่าวดิ้น
เพราะขัดหนทางโกงกินของพวกกังฉินในพรรคกินเมือง...”
ฟังเพลงนี้แล้ว ลองเปรียบเทียบรัฐตำรวจยุคนายเผ่ากับยุคขี้ข้ามีวันนี้เพราะนักโทษให้ มีสิ่งที่คล้ายกันอยู่ไม่น้อยเลย
ปิดท้ายกันด้วย “ใครค้านท่านฆ่า” เพลงที่ครูคำรณร่วมแต่งกับพี่ชายคือ อรุณ สัมบุญณานนท์ เพลงนี้ร้องตอบโต้ผู้บ้าอำนาจ
“...ใครรู้ความจริงควรจะนิ่งไว้ในใจ
ถ้าขืนค้านออกไปก็จะกลายเป็นบ้า
ค้านดีไม่ดีอาจจะมีภัยตามมา
พอม้วยสิ้นมรณาหาคดีไม่มี...”
หลายๆคนที่ฟังเพลงนี้แล้ว คงอดนึกถึงคุณ “เอกยุทธ อัญชัญบุตร” ไม่ได้
และนั่นก็คือ 5 บทเพลงการเมืองโดนๆ ที่ไม่น่าเชื่อว่าแม้เวลาจะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่บทเพลงการเมืองส่วนใหญ่ของครูคำรณยังคงมีเนื้อหาไม่ล้าสมัย ฟังแล้วสามารถประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ร่วมสมัยได้ดีทีเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นเผด็จการในยุคโทรเลขหรือเผด็จการในยุคดิจิตอล ไลน์ ไลค์ แชร์ พวกเขายังคงมีสันดานบ้าอำนาจ รับไม่ได้กับคนเห็นค้าน คนคิดต่างเพียงแต่ว่ารูปแบบการเคลียร์หน้าเสื่ออาจแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย
ยังไงๆ เผด็จการก็คือเผด็จการ!!!