โดย : บอน บอระเพ็ด(skbon109@hotmail.com)
เพลงและชื่อของวง “มัมฟอร์ดแอนด์ซัน”(Mumford & Sons) อาจไม่เป็นที่คุ้นหูแฟนเพลงชาวไทย แต่นี่ถือเป็นวงดนตรีแนวโฟล์คร็อกร่วมสมัยชื่อดังและได้รับความนิยมอย่างสูงในยุทธจักรวงการเพลงโลก
“มัมฟอร์ดแอนด์ซัน”(Mumford & Sons) เป็นวงดนตรีจากอังกฤษ ที่แม้จะมีอายุการทำงาน(ออกอัลบั้ม)ไม่นาน แต่ความสำเร็จที่พวกเขาได้รับนั้นถือว่าเกินตัว ปี ค.ศ. 2008 มัมฟอร์ดแอนด์ซันส่งอีพีชุดแรกใช้ชื่อเดียวกับวงออกมา จากนั้นต่อด้วยอีพีชุด “Love Your Ground” ในปลายปีเดียวกัน
ปี 2009 มัมฟอร์ดแอนด์ซันส่งอัลบั้ม “Sigh No More” ออกมาเขย่าวงการเพลง นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะอัลบั้มนี้นอกจากจะได้รับรางวัลอัลบั้มแห่งปี Brit Awards 2011 กับอีกหลายรางวัลแล้ว Sigh No More ยังทะยานส่งให้วงมัมฟอร์ดแอนด์ซันกลายเป็นดาวเด่นเพียงชั่วข้ามคืน สามารถเจาะตลาดเพลงป็อบที่ยึดครองหัวหาด พาอัลบั้มโฟล์คแหวกแนวแต่โคตรเท่ขึ้นไปถึงอันดับ 2 ใน ชาร์ตบิลบอร์ด พร้อมครองอันดับ 1 ในชาร์ตเพลงโฟล์คของบิลบอร์ดอย่างยาวนานค้างฟ้า
ปี 2012 มัมฟอร์ดแอนด์ซันส่งอัลบั้มที่ 2 “Babel”(อัลบั้มล่าสุด)ออกมา ดูเหมือนว่าเทพีแห่งความสำเร็จยังคงเหนียวแน่นกับพวกเขา เพราะสามารถคว้ามาได้ทั้งเงินทอง กล่อง รางวัล และชื่อเสียง(เช่นเดียวกับชุดที่แล้ว)
อัลบั้ม Babel สามารถเจาะตลาดเพลงป็อบ(ได้อีกครั้ง) ขึ้นไปครองอันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ด คว้าเบอร์หนึ่งของชาร์ตเพลงโฟล์กบิลบอร์ดหลายสัปดาห์(โดยมีอัลบั้มที่แล้ว Sigh No More ติด 1 ใน 5 ชาร์ตเดียวกันเคียงคู่กันไป) สามารถทำสถิติยอดขายได้มากกว่า 6 แสนอัลบั้มในสัปดาห์แรกที่ออกวางจำหน่ายในอเมริกา ทุบสถิติเก่าที่จัสติน บีเบอร์ เคยทำไว้ อีกทั้งยังสามารถส่งเพลงฮิตไปติดชาร์ตบิลบอร์ด Billboard Hot 100 ได้ถึง 6 เพลง เทียบเท่ากับ The Beatles วงสี่เต่าทองผู้ยิ่งใหญ่ที่เคยทำไว้
ที่สำคัญคือ Babel สามารถคว้ารางวัลใหญ่ของแกรมมี่อย่าง “อัลบั้มแห่งปี” แกรมมี่อวอร์ดครั้งที่ 55 มาครองอย่างเต็มภาคภูมิ
อัลบั้มชุดนี้ สมาชิกหนุ่ม 4 พะหน่อ ของมัมฟอร์ดแอนด์ซันยังอยู่กันอย่างเหนียวแน่น ประกอบด้วย “มาร์คัส มัมฟอร์ด”(Marcus Mumford) : ร้องนำ-กีตาร์-แมนโดลิน,“เบน โลเว็ทท์”(Ben Lovett) : คีย์บอร์ด-แอ็คคอร์เดียน-กลอง-ร้อง, “วินสตัน มาร์แชล”(Winston Marshall) : แบนโจ-โดโบร-ร้อง และ “เท็ด ดเวน”(Ted Dwane) : ดับเบิ้ลเบส,กีตาร์,กลอง,ร้อง
เรียกว่าไม่มีใครดังแล้วแยกวงคอนเวิร์สไปแสวงหาเส้นทางของตัวเอง
Babel มีทั้งหมด 12 เพลง มีเพลงเด่นๆ ได้แก่
“Babel” (แทรก 1) อะคูสติกกีตาร์กระหน่ำตีคอร์ดนำมา แล้วตามด้วยแบนโจ เบส กลอง เป็นโฟล์กหนักแน่นในสไตล์ลายเซ็นของวง
“Whispers In The Dark” (แทรก 2) มีซาวนด์คันทรีผสม เป็นเพลงในประเภทหวานซ่อนดุ ไลน์แบบโจที่เล่นควบในเพลงนี้มันมาก
“I Will Wait” (แทรก 3) อารมณ์เพลงยังมาในโทนต่อเนื่องกัน กีตาร์ แบนโจ มีทั้งภาคจัดหนักและภาคเบรกอารมณ์ สลับกันไป ท่อนฮุกฟังติดหูด้วยทางโฟล์กป็อบที่ไม่โหลในสไตล์มัมฟอร์ดแอนด์ซัน
ผ่อนอารมณ์ลงมาฟังเพลงช้าๆกับ “Holland Road”(แทรก 4) แม้เพลงจะออกไปทางหวาน แต่เสียงร้องของมาร์คัสยังแหกปากติดลูกดุ ตามสไตล์
ต่ออารมณ์เนิบช้ากันอีกเพลงกับ “Ghosts That We Knew”(แทรก 5) อะคูสติกกีตาร์เล่นปิ๊กกิ้งได้อย่างน่าฟัง สอดรับกับเสียงแบนโจที่เล่นคลอไปบาง ช่วงท้ายๆดนตรีค่อยๆหยอดสีสัน ใส่รายละเอียดต่างๆเติมเข้าไป น่าฟังทีเดียว
“Lovers' Eyes” (แทรก 7) เพลงช้าในทางแทรดดิชั่น ช่วยท้ายมีเสียงเครื่องเป่ามาช่วยสร้างสีสัน
นี่เป็นเพลงเด่น 6 เพลงที่ขึ้นไปติดชาร์ตบิลบอร์ด 100 ในคราวเดียวตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ขณะที่อีก 6 เพลงที่เหลือก็มีรายละเอียดและความน่าฟังแตกต่างกันออกไป
สำหรับบทเพลงทั้งหมดในอัลบั้ม Babel มีความเป็นโฟล์คร่วมสมัยรสเข้มที่มีความแตกต่าง มีเอกลักษณ์เป็นสไตล์ชัดเจนของวง ทั้งโฟล์คหนักๆ ไปจนถึงโฟล์คร็อก อินดี้โฟล์ก ผสมผสานกับความเป็นคันทรี บลูแกรส แทรดดิชั่น และความเป็นป็อบที่มีแทรกอยู่ในหลายเพลง ผสานกับเสียงร้องแบบดุดันจริงใจของมาร์คัส
อย่างไรก็ดีกับบทเพลงทั้งหมดในอั้ลบั้ม ถ้าฟังผ่านๆโทนโดยรวมจะไปในทางเดียวกัน เหมือนวงๆนี้จะเล่นกันหลวมๆ หยาบๆ ดิบๆ แต่หากฟังอย่างพินิจพิเคราะห์จะพบว่าแต่ละเพลงมีรายละเอียดมีลูกเล่น สีสัน สอดใส่ๆ สอดแทรกอยู่ไม่น้อย
และด้วยความแตกต่างแต่มีเอกลักษณ์ทางดนตรี เสียงร้อง และเนื้อหาที่น่าสนใจ ทำให้อัลบั้ม Babel และวงมัมฟอร์มแอนด์ซัน ประสบความสำเร็จอย่างสูง
หากนับอัลบั้มแรก Sigh No More เป็นการแจ้งเกิดอย่างสวยงาม อัลบั้ม Babel นี้ก็ถือเป็นการเติบโตอย่างทรงพลังของวงมัมฟอร์มแอนด์ซันที่ก้าวไปได้ไกลกว่าเดิม ซึ่งน่าติดตามเป็นอย่างยิ่งว่า ในอัลบั้มต่อไปพวกเขาจะเดินไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน
เพลงและชื่อของวง “มัมฟอร์ดแอนด์ซัน”(Mumford & Sons) อาจไม่เป็นที่คุ้นหูแฟนเพลงชาวไทย แต่นี่ถือเป็นวงดนตรีแนวโฟล์คร็อกร่วมสมัยชื่อดังและได้รับความนิยมอย่างสูงในยุทธจักรวงการเพลงโลก
“มัมฟอร์ดแอนด์ซัน”(Mumford & Sons) เป็นวงดนตรีจากอังกฤษ ที่แม้จะมีอายุการทำงาน(ออกอัลบั้ม)ไม่นาน แต่ความสำเร็จที่พวกเขาได้รับนั้นถือว่าเกินตัว ปี ค.ศ. 2008 มัมฟอร์ดแอนด์ซันส่งอีพีชุดแรกใช้ชื่อเดียวกับวงออกมา จากนั้นต่อด้วยอีพีชุด “Love Your Ground” ในปลายปีเดียวกัน
ปี 2009 มัมฟอร์ดแอนด์ซันส่งอัลบั้ม “Sigh No More” ออกมาเขย่าวงการเพลง นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะอัลบั้มนี้นอกจากจะได้รับรางวัลอัลบั้มแห่งปี Brit Awards 2011 กับอีกหลายรางวัลแล้ว Sigh No More ยังทะยานส่งให้วงมัมฟอร์ดแอนด์ซันกลายเป็นดาวเด่นเพียงชั่วข้ามคืน สามารถเจาะตลาดเพลงป็อบที่ยึดครองหัวหาด พาอัลบั้มโฟล์คแหวกแนวแต่โคตรเท่ขึ้นไปถึงอันดับ 2 ใน ชาร์ตบิลบอร์ด พร้อมครองอันดับ 1 ในชาร์ตเพลงโฟล์คของบิลบอร์ดอย่างยาวนานค้างฟ้า
ปี 2012 มัมฟอร์ดแอนด์ซันส่งอัลบั้มที่ 2 “Babel”(อัลบั้มล่าสุด)ออกมา ดูเหมือนว่าเทพีแห่งความสำเร็จยังคงเหนียวแน่นกับพวกเขา เพราะสามารถคว้ามาได้ทั้งเงินทอง กล่อง รางวัล และชื่อเสียง(เช่นเดียวกับชุดที่แล้ว)
อัลบั้ม Babel สามารถเจาะตลาดเพลงป็อบ(ได้อีกครั้ง) ขึ้นไปครองอันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ด คว้าเบอร์หนึ่งของชาร์ตเพลงโฟล์กบิลบอร์ดหลายสัปดาห์(โดยมีอัลบั้มที่แล้ว Sigh No More ติด 1 ใน 5 ชาร์ตเดียวกันเคียงคู่กันไป) สามารถทำสถิติยอดขายได้มากกว่า 6 แสนอัลบั้มในสัปดาห์แรกที่ออกวางจำหน่ายในอเมริกา ทุบสถิติเก่าที่จัสติน บีเบอร์ เคยทำไว้ อีกทั้งยังสามารถส่งเพลงฮิตไปติดชาร์ตบิลบอร์ด Billboard Hot 100 ได้ถึง 6 เพลง เทียบเท่ากับ The Beatles วงสี่เต่าทองผู้ยิ่งใหญ่ที่เคยทำไว้
ที่สำคัญคือ Babel สามารถคว้ารางวัลใหญ่ของแกรมมี่อย่าง “อัลบั้มแห่งปี” แกรมมี่อวอร์ดครั้งที่ 55 มาครองอย่างเต็มภาคภูมิ
อัลบั้มชุดนี้ สมาชิกหนุ่ม 4 พะหน่อ ของมัมฟอร์ดแอนด์ซันยังอยู่กันอย่างเหนียวแน่น ประกอบด้วย “มาร์คัส มัมฟอร์ด”(Marcus Mumford) : ร้องนำ-กีตาร์-แมนโดลิน,“เบน โลเว็ทท์”(Ben Lovett) : คีย์บอร์ด-แอ็คคอร์เดียน-กลอง-ร้อง, “วินสตัน มาร์แชล”(Winston Marshall) : แบนโจ-โดโบร-ร้อง และ “เท็ด ดเวน”(Ted Dwane) : ดับเบิ้ลเบส,กีตาร์,กลอง,ร้อง
เรียกว่าไม่มีใครดังแล้วแยกวงคอนเวิร์สไปแสวงหาเส้นทางของตัวเอง
Babel มีทั้งหมด 12 เพลง มีเพลงเด่นๆ ได้แก่
“Babel” (แทรก 1) อะคูสติกกีตาร์กระหน่ำตีคอร์ดนำมา แล้วตามด้วยแบนโจ เบส กลอง เป็นโฟล์กหนักแน่นในสไตล์ลายเซ็นของวง
“Whispers In The Dark” (แทรก 2) มีซาวนด์คันทรีผสม เป็นเพลงในประเภทหวานซ่อนดุ ไลน์แบบโจที่เล่นควบในเพลงนี้มันมาก
“I Will Wait” (แทรก 3) อารมณ์เพลงยังมาในโทนต่อเนื่องกัน กีตาร์ แบนโจ มีทั้งภาคจัดหนักและภาคเบรกอารมณ์ สลับกันไป ท่อนฮุกฟังติดหูด้วยทางโฟล์กป็อบที่ไม่โหลในสไตล์มัมฟอร์ดแอนด์ซัน
ผ่อนอารมณ์ลงมาฟังเพลงช้าๆกับ “Holland Road”(แทรก 4) แม้เพลงจะออกไปทางหวาน แต่เสียงร้องของมาร์คัสยังแหกปากติดลูกดุ ตามสไตล์
ต่ออารมณ์เนิบช้ากันอีกเพลงกับ “Ghosts That We Knew”(แทรก 5) อะคูสติกกีตาร์เล่นปิ๊กกิ้งได้อย่างน่าฟัง สอดรับกับเสียงแบนโจที่เล่นคลอไปบาง ช่วงท้ายๆดนตรีค่อยๆหยอดสีสัน ใส่รายละเอียดต่างๆเติมเข้าไป น่าฟังทีเดียว
“Lovers' Eyes” (แทรก 7) เพลงช้าในทางแทรดดิชั่น ช่วยท้ายมีเสียงเครื่องเป่ามาช่วยสร้างสีสัน
นี่เป็นเพลงเด่น 6 เพลงที่ขึ้นไปติดชาร์ตบิลบอร์ด 100 ในคราวเดียวตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ขณะที่อีก 6 เพลงที่เหลือก็มีรายละเอียดและความน่าฟังแตกต่างกันออกไป
สำหรับบทเพลงทั้งหมดในอัลบั้ม Babel มีความเป็นโฟล์คร่วมสมัยรสเข้มที่มีความแตกต่าง มีเอกลักษณ์เป็นสไตล์ชัดเจนของวง ทั้งโฟล์คหนักๆ ไปจนถึงโฟล์คร็อก อินดี้โฟล์ก ผสมผสานกับความเป็นคันทรี บลูแกรส แทรดดิชั่น และความเป็นป็อบที่มีแทรกอยู่ในหลายเพลง ผสานกับเสียงร้องแบบดุดันจริงใจของมาร์คัส
อย่างไรก็ดีกับบทเพลงทั้งหมดในอั้ลบั้ม ถ้าฟังผ่านๆโทนโดยรวมจะไปในทางเดียวกัน เหมือนวงๆนี้จะเล่นกันหลวมๆ หยาบๆ ดิบๆ แต่หากฟังอย่างพินิจพิเคราะห์จะพบว่าแต่ละเพลงมีรายละเอียดมีลูกเล่น สีสัน สอดใส่ๆ สอดแทรกอยู่ไม่น้อย
และด้วยความแตกต่างแต่มีเอกลักษณ์ทางดนตรี เสียงร้อง และเนื้อหาที่น่าสนใจ ทำให้อัลบั้ม Babel และวงมัมฟอร์มแอนด์ซัน ประสบความสำเร็จอย่างสูง
หากนับอัลบั้มแรก Sigh No More เป็นการแจ้งเกิดอย่างสวยงาม อัลบั้ม Babel นี้ก็ถือเป็นการเติบโตอย่างทรงพลังของวงมัมฟอร์มแอนด์ซันที่ก้าวไปได้ไกลกว่าเดิม ซึ่งน่าติดตามเป็นอย่างยิ่งว่า ในอัลบั้มต่อไปพวกเขาจะเดินไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน