The World Before Her สารคดีจากอินเดีย ที่กำลังได้รับความสนใจจากบรรดานักดูหนังตามเทศกาลภาพยนตร์ทั่วโลก เป็นงานที่พยายามสำรวจและทำความเข้าใจต่อความเป็นไปสองด้านในสังคมอินเดีย หนึ่งคือโลกยุคใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก และอีกหนึ่งคือโลกที่ยังคงปกคลุมไปด้วยความเชื่อทางศาสนา
ผลงานภาพยนตร์สารคดีจากอินเดียเรื่องนี้มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ การนำเสนอด้านที่แตกต่างของสังคมอินเดีย ผ่านสถาบันอันทรงอิทธิพลสองแห่ง หนึ่งคือ Durga Vahini หน่วยงานฝ่ายหญิงของ Vishwa Hindu Parishad (VHP) องค์กรฮินดูที่ทรงอิทธิพลและแข็งขันกับการสร้างกระแสรัฐชาตินิยมฮินดู
กับอีกสถาบันอย่างเวทีประกวดความงาม Miss India Pageant เวทีประกวดใหญ่อีกแห่ง ของประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น “มหาอำนาจ” แห่งโลกการประกวดความงาม
ขณะที่หญิงสาวกลุ่มหนึ่งใช้เวลาไปกับการฝึกฝนการโปรยเสน่ห์, เดินด้วยท่วงท่าที่เซ็กซี และสง่างาม รวมถึงอาจจะต้องลงทุนทำศัลยกรรมหรือฉีดโบท็อกซ์ เพื่อขึ้นประกวดประขันบนเวที โดยมีจุดหมายปลายทางความสำเร็จอยู่ที่ การได้สัญญาเป็นงานแบบ หรือได้งานแสดงภาพยนตร์ หญิงสาวชาวอินเดียอีกกลุ่มกลับเลือกที่จะเข้าร่วมในแคมป์ประจำปีของ Durga Vahini เพื่อเรียนรู้ค่านิยมในแบบสตรีฮินดู และฝึกฝนร่างการเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจ
ภาพที่แตกต่างกันระหว่างสถาบันทั้งสอง คือ เนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์ ที่พยายามชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างโลกใหม่ และโลกเก่า ที่ซ้อนกันอยู่ในสังคมอินเดีย แต่ไม่ว่าจะอยู่ในโลกใบใด ก็ดูเหมือนว่าสตรีอินเดียยังคงต้องใช้ชีวิตโดยมีทางเลือกไม่มากนักต่อไป
ผลงานของผู้กำกับหญิง นิชา พาฮูจา ได้รับคำยกย่องจากเหล่านักวิจารณ์ว่านำเสนอเรื่องราวอย่างเป็นกลาง โดยไม่ได้โน้มเอียงไปทางฝ่ายใด โดยเนื้อหาของ The World Before Her เป็นการติดตามชีวิตของผู้หญิงสองคน รูฮี ซิงห์ เด็กสาวผู้เติบโตขึ้นมาในเขตชนบท และมีเป้าหมายอยู่ที่การขึ้นเวทีประกวด Miss India
ส่วน ปราจี ทรีเวดี เป็นสาวเคร่งศาสนา ที่ทำงานเป็นครูในแคมป์ของ Durga Vahini กลุ่มเคร่งศาสนาที่ถูกเรียกว่าเป็น “ตาลิบันภาคฮินดู” แน่นอนว่า เธอไม่เห็นด้วยกับการประกวดความงาม และกล่าวถึงกิจกรรมที่หญิงชาวอินเดียจำนวนมากฝันถึงว่า “เป็นเรื่องน่าอายที่ผู้หญิงต้องถูกตัดสินคุณค่าจาก บั้นท้าย, หน้าอก และขาอ่อน”
ตลอดทั้งเรื่อง ทรีเวดี และ ซิงห์ ไม่ได้มีโอกาสพบหน้ากันแม้แต่ครั้งเดียว พวกเธอเพียงดำเนินชีวิตของตนเองไปเรื่อยๆ ตามวิถีชีวิตที่ได้เลือกแล้ว โดยหนังพยายามสำรวจ และนำเสนอแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับโลกของพวกเธอ ผ่านทั้งบทสัมภาษณ์, ภาพข่าว และการเข้าไปเก็บภาพถึงในแคมป์ของ Durga Vahini ที่ไม่เคยมีผู้สร้างหนังสารคดีเรื่องใดได้มีโอกาสเข้าไปเก็บภาพเหล่านี้มาก่อน
นักวิจารณ์จาก Variety ให้ความเห็นว่า The World Before Her แสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการให้น้ำหนักของเรื่องราวทั้งสองด้านอย่างเท่าเทียมกัน ชีวิตใน Durga Vahini นั้นเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด, ดำเนินไปในรูปแบบของกองทหาร และน่าสะพรึงกลัวสำหรับคนภายนอก แต่โลกแห่งความงามก็ไม่ได้สดใสอย่างที่เปลือกนอกเป็น เพราะการประกวด Miss India ถูกนำเสนอในรูปแบบกิจกรรมที่ไม่ได้ดูน่าหลงใหลนัก ตรงกันข้ามกลับเป็นเรื่องของการหาประโยชน์ และลดทอนคุณค่าของผู้หญิง
ตัวละครเอกของสารคดีก็มีภาพชีวิตที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซิงห์ เป็นเด็กสาวน่าตาน่ารัก และหวังว่าซักวันจะได้แต่งงานมีสามีที่ดี แตกต่างจาก ทรีเวดี ผู้ยอมรับว่าตัวเอง ไม่ค่อยเหมือนเด็กผู้หญิงทั่วๆ ไป และดูเหมือนว่าเธอจะมีความเชื่อต่อศาสนาฮินดูอย่างแรงกล้า อย่างที่ครอบครัวของเธอไม่เคยมองเห็น พ่อของ ทรีเวดี บอกแต่เพียงว่า “การแต่งงานคือหน้าที่ของเธอ” และมักจะทุบตีลูกสาวคนนี้อยู่เป็นเสมอ
แม้จะมีชีวิตคนละเส้นทาง ผู้กำกับพยายามชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้กับระบบของเด็กสาวทั้งสองคน สาวงามอย่างซิงห์อาจจะไม่รู้ตัวถึงข้อนี้ แต่ ทรีเวดี เข้าใจดี หนึ่งในฉากที่เศร้าที่สุดในหนังก็คือ ตอนที่เธอกล่าวว่ากำลังพยายามต่อสู้กับระบบที่กดขี่เธอ แต่ก็ตัดพ้อว่าจะทำอย่างไรได้ เพราะเธอเองก็เป็นเพียงผู้หญิงคนหนึ่งเท่านั้น
ผลงานภาพยนตร์สารคดีจากอินเดียเรื่องนี้มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ การนำเสนอด้านที่แตกต่างของสังคมอินเดีย ผ่านสถาบันอันทรงอิทธิพลสองแห่ง หนึ่งคือ Durga Vahini หน่วยงานฝ่ายหญิงของ Vishwa Hindu Parishad (VHP) องค์กรฮินดูที่ทรงอิทธิพลและแข็งขันกับการสร้างกระแสรัฐชาตินิยมฮินดู
กับอีกสถาบันอย่างเวทีประกวดความงาม Miss India Pageant เวทีประกวดใหญ่อีกแห่ง ของประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น “มหาอำนาจ” แห่งโลกการประกวดความงาม
ขณะที่หญิงสาวกลุ่มหนึ่งใช้เวลาไปกับการฝึกฝนการโปรยเสน่ห์, เดินด้วยท่วงท่าที่เซ็กซี และสง่างาม รวมถึงอาจจะต้องลงทุนทำศัลยกรรมหรือฉีดโบท็อกซ์ เพื่อขึ้นประกวดประขันบนเวที โดยมีจุดหมายปลายทางความสำเร็จอยู่ที่ การได้สัญญาเป็นงานแบบ หรือได้งานแสดงภาพยนตร์ หญิงสาวชาวอินเดียอีกกลุ่มกลับเลือกที่จะเข้าร่วมในแคมป์ประจำปีของ Durga Vahini เพื่อเรียนรู้ค่านิยมในแบบสตรีฮินดู และฝึกฝนร่างการเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจ
ภาพที่แตกต่างกันระหว่างสถาบันทั้งสอง คือ เนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์ ที่พยายามชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างโลกใหม่ และโลกเก่า ที่ซ้อนกันอยู่ในสังคมอินเดีย แต่ไม่ว่าจะอยู่ในโลกใบใด ก็ดูเหมือนว่าสตรีอินเดียยังคงต้องใช้ชีวิตโดยมีทางเลือกไม่มากนักต่อไป
ผลงานของผู้กำกับหญิง นิชา พาฮูจา ได้รับคำยกย่องจากเหล่านักวิจารณ์ว่านำเสนอเรื่องราวอย่างเป็นกลาง โดยไม่ได้โน้มเอียงไปทางฝ่ายใด โดยเนื้อหาของ The World Before Her เป็นการติดตามชีวิตของผู้หญิงสองคน รูฮี ซิงห์ เด็กสาวผู้เติบโตขึ้นมาในเขตชนบท และมีเป้าหมายอยู่ที่การขึ้นเวทีประกวด Miss India
ส่วน ปราจี ทรีเวดี เป็นสาวเคร่งศาสนา ที่ทำงานเป็นครูในแคมป์ของ Durga Vahini กลุ่มเคร่งศาสนาที่ถูกเรียกว่าเป็น “ตาลิบันภาคฮินดู” แน่นอนว่า เธอไม่เห็นด้วยกับการประกวดความงาม และกล่าวถึงกิจกรรมที่หญิงชาวอินเดียจำนวนมากฝันถึงว่า “เป็นเรื่องน่าอายที่ผู้หญิงต้องถูกตัดสินคุณค่าจาก บั้นท้าย, หน้าอก และขาอ่อน”
ตลอดทั้งเรื่อง ทรีเวดี และ ซิงห์ ไม่ได้มีโอกาสพบหน้ากันแม้แต่ครั้งเดียว พวกเธอเพียงดำเนินชีวิตของตนเองไปเรื่อยๆ ตามวิถีชีวิตที่ได้เลือกแล้ว โดยหนังพยายามสำรวจ และนำเสนอแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับโลกของพวกเธอ ผ่านทั้งบทสัมภาษณ์, ภาพข่าว และการเข้าไปเก็บภาพถึงในแคมป์ของ Durga Vahini ที่ไม่เคยมีผู้สร้างหนังสารคดีเรื่องใดได้มีโอกาสเข้าไปเก็บภาพเหล่านี้มาก่อน
นักวิจารณ์จาก Variety ให้ความเห็นว่า The World Before Her แสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการให้น้ำหนักของเรื่องราวทั้งสองด้านอย่างเท่าเทียมกัน ชีวิตใน Durga Vahini นั้นเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด, ดำเนินไปในรูปแบบของกองทหาร และน่าสะพรึงกลัวสำหรับคนภายนอก แต่โลกแห่งความงามก็ไม่ได้สดใสอย่างที่เปลือกนอกเป็น เพราะการประกวด Miss India ถูกนำเสนอในรูปแบบกิจกรรมที่ไม่ได้ดูน่าหลงใหลนัก ตรงกันข้ามกลับเป็นเรื่องของการหาประโยชน์ และลดทอนคุณค่าของผู้หญิง
ตัวละครเอกของสารคดีก็มีภาพชีวิตที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซิงห์ เป็นเด็กสาวน่าตาน่ารัก และหวังว่าซักวันจะได้แต่งงานมีสามีที่ดี แตกต่างจาก ทรีเวดี ผู้ยอมรับว่าตัวเอง ไม่ค่อยเหมือนเด็กผู้หญิงทั่วๆ ไป และดูเหมือนว่าเธอจะมีความเชื่อต่อศาสนาฮินดูอย่างแรงกล้า อย่างที่ครอบครัวของเธอไม่เคยมองเห็น พ่อของ ทรีเวดี บอกแต่เพียงว่า “การแต่งงานคือหน้าที่ของเธอ” และมักจะทุบตีลูกสาวคนนี้อยู่เป็นเสมอ
แม้จะมีชีวิตคนละเส้นทาง ผู้กำกับพยายามชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้กับระบบของเด็กสาวทั้งสองคน สาวงามอย่างซิงห์อาจจะไม่รู้ตัวถึงข้อนี้ แต่ ทรีเวดี เข้าใจดี หนึ่งในฉากที่เศร้าที่สุดในหนังก็คือ ตอนที่เธอกล่าวว่ากำลังพยายามต่อสู้กับระบบที่กดขี่เธอ แต่ก็ตัดพ้อว่าจะทำอย่างไรได้ เพราะเธอเองก็เป็นเพียงผู้หญิงคนหนึ่งเท่านั้น
เกาะติดข่าวบันเทิงและร่วมวงเมาท์ดารากับ “ซ้อ 7” ก่อนใคร ผ่าน SMS โทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย ระบบ dtac - เข้าเมนู write Message พิมพ์ R แล้วส่งไปที่หมายเลข 1951540 ระบบ AIS - กด *468200311 แล้วโทร.ออก ระบบ True Move และ Hutch - เข้าเมนู write Message พิมพ์ ENT แล้วส่งไปที่หมายเลข 4682000 *ค่าบริการเพียง 29 บาท ต่อเดือน ทดลองใช้ฟรี 15 วัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก |