ในโลกวิทยายุทธของนิยายจีนกำลังภายในนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ามีเสาหลักอยู่สองเสา เสาแรกก็คือสำนักเส้าหลิน ส่วนอีกเสาก็คือ สำนักบู๊ตึ๊งหรือ อู่ตัง( Wutang ) เรื่องราวของบู๊ตึ๊งนั้นเป็นที่นิยมมากในช่วงเวลาที่มวยไท๊เก๊กหรือไท๊ชีวนเป็นที่นิยมของคนจำนวนมากในฐานะมวยที่เชื่องช้า เรียบง่าย แต่งดงาม แถมยังฝึกได้ทั้งคนแก่ เด็กและอีกมากมาย ซึ่งผ่านข้อจำกัดเรื่องร่างกายไปได้อย่างสวยหรู ซึ่งต่างจากมวยแขนงอื่นที่เมื่อแก่ลงแล้วก็ยากที่จะเล่นได้เหมือนเดิม
วันนี้ก็เลยขอพูดถึงเรื่องราวของผู้ที่สร้างสรรค์มวยหรือการออกกำลังกายชนิดนั้นขึ้นในโลกกันซักนิดครับ
ประวัติอย่างเป็นที่ยอมรับกันนั้นบอกว่า จางซานฟง หรือนักพรตกะเรียนไฟ (
) มีชื่อเดิมว่า จางเฉวียนอี หรือ จางจวินเป่า เขาเป็นนักพรตเต๋าแห่งเขาบู้ตึ๊ง ตั้งแต่ปลายสมัยซ่งเหนือ ส่วน ‘ซานฟง’ เป็นฉายาที่ใช้เมื่อออกบวช เขาเกิดในปี ค.ศ.1247 ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่มณฑลเหลียวหนิง เริ่มเป็นที่รู้จักในสังคม จากฝีมือการช่วยเหลือคนเจ็บไข้ ด้วยหลักการรักษาโดยใช้กำลังภายในและการสอนให้รู้จักหลักสมดุลของร่างกาย ส่วนในเรื่องวิทยายุทธนั้น จางซานฟงได้มาจากการสังเกตุการเคลื่อนไหวของการต่อสู้ระหว่างนกกะเรียนและงูที่งูสามารถป้องกันการโจมตีได้ด้วยการเคลื่อนที่เป็นวงกลม ที่สำคัญก็คือ การที่สามารถคิดค้นท่ามวยต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถเดินพลังภายในอันเป็นเคล็ดลับของการมีอายุยืนยาว
แม้ว่าจางซานฟงจะทำให้บู๊ตึ๊งโด่งดัง แต่เอาเข้าจริงบนภูเขาบู๊ตึ๊งนั้นตั้งแต่อดีตมาแล้วก็เป็นสถานที่ฝึกวิทยายุทธของนักพรตสายเต๋าอยู่แล้วนะครับ เขาบู๊ตึ๊ง หรือ (อู่ตังซาน ในภาษาจีนกลาง) เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญของลัทธิเต๋า ที่เล่าสืบมาว่า ปรมาจารย์เจินอู่ หรือเทพเจ้าเสวียนอู่ (
) ที่ศาสนาเต๋าเคารพนับถือ ได้บำเพ็ญตบะบนยอดเขาแห่งนี้ที่เสมือนเป็นแดนสุขาวดี นักพรตเสวียนอู่ในสมัยที่ยังอยู่บนโลกนั้น ได้ใช้วิชาทั้งบุ๋นและบู๊การประลองยุทธกับภิกษุหลายรูปของฝ่ายพุทธ จนได้รับชัยชนะ สามารถยึดเขาแห่งนี้เป็นที่บำเพ็ญเพียรมาเรื่อยๆ
จุดนี้เองที่ทำให้พรตสายอื่นมองว่า จริงๆ จางซานฟงอาจจะไม่ใช่คนแรกที่คิดค้นมวยไทเก๊กขึ้นมาก็ได้ เพราะ จริงๆ มวยหรือวิทยายุทธของพรตเต๋านั้นมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังซึ่งก็มีมาก่อนหน้าจางซานฟงเกิดตั้ง 200 ปีนะครับ เหตุผลที่ต้องมีมวยหรือวิทยายุทธสายนี้ก็เพราะว่าส่วนหนึ่งต้องสู้รบกับผู้รุกรานซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ สงครามแย่งชิงที่ฝึกหรือชิงวัดกัน อีกส่วนหนึ่งก็คือเพื่อฝึกปรือให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง อีกส่วนก็คือ การตามหาพลังภายในโดยที่แก่งของการฝึกวิทยายุทธของสายนี้คือ ฝึกการควบคุมกำลังภายใน (Internal styles
) ใช้ความนุ่มนวลสยบความแข็งแกร่ง ใช้การกลมกลืนกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมพิชิตชัยที่สำคัญสิ่งที่เขาเน้นไปพร้อมๆ กับการฝึกพลังก็คือการแสวงหาและรับทานยาเพิ่มพลังเพื่อทำให้เกิดความเป็นอมตะขึ้นมา
เหตุนี้เองในบางสายของเต๋าเขาก็เลยมีตำนานว่า แท้ที่จริงมวยไทเก๊กและการต่อสู้โดยยึดหลักเต๋าเป็นแนวคิดนั้น จางซานฟงไม่ได้คิดเอง แต่เป็นนักพรตซูซ่วนผิง( Xu Xuanping
)ซึ่งเป็นนักพรตสายเต๋าชื่อดังมากในสมัยถังและมีความเป็นอมตะจนกลายเป็นเทพเจ้าอีกองค์ ซึ่งในยุคที่จางซานฟงโตท่านเทพนักพรตซูได้มาสอนวิชาต่างๆ ให้แก่จางซานฟงกันทีเดียว

ต้องออกตัวว่าเรื่องเทพที่เป็นอาจารย์ลงมาโปรดลูกศิษย์นั้นเป็นเรื่องปรกติของสายนี้นะครับ เพราะ อย่างกรณีนักพรตช่วนจินก็เหมือนกัน เพราะหวังจงหยวนหรือเฮ้งเต็งเอี๊ยงนั้นตามประวัติในสายของเขาก็ได้โป๊ยเซียนมาเป็นอาจารย์แถมเมื่อสำเร็จแล้วก็มีอภินิหารอยู่บนสวรรค์ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตามสิ่งที่จางซันเฟิงหรือเตียซำฮงสร้างสรรค์ขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้และให้คนเข้าถึงได้อย่างง่ายๆ เพราะ มวยบู๊ตึ๊งนั้นได้มาจากทฤษฎีพื้นฐานของศาสตร์หยินและหยาง ศาสตร์เรื่องธาตุทั้งห้า และหลักการของแผนภูมิทั้งแปด หรือ ปากัว (
) โดยท่านสามารถสังเคราะห์แก่นแท้ของศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกัน และหลอมรวมมาเป็นทฤษฎีของหมัดมวยบู๊ตึ๊งที่รรู้จักกันดีและออกจะเป็นที่นิยมกว่าเสียด้วย
ส่วนหนึ่งของความนิยมนอกเหนือจากมันสามารถฝึกได้กับทุกเพศวัยแล้ว อายุของจางซานฟงก็เป็นตัวที่พิสูจน์ถึงความอัศจรรย์ในมวยสายนี้ว่าสามารถยืดอายุและทำให้สุขภาพของผู้ฝึกยืดยาวไปได้อย่างเหลือเชื่อโดยที่ไม่ต้องอาศัยหยูกยาในการกระตุ้นนะครับ ตัวของจางซานฟงนั้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี เพราะเขาเกิดตั้งแต่ปลายสมัยซ่ง และเริ่มก่อตั้งสำนักบู๊ตึ๊งในสมัยหยวนหรือราชวงศ์มองโกล จนกระทั่งไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์หมิง จางซานฟงก็ยังมีชีวิตอยู่ พลังภายในล้วนๆ ตามสไตล์ของบู๊ตึ๊งจึงเป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้คนมั่นใจว่าอาจจะทำให้เขากลายเป็นอมตะขึ้นมา
บางตำราบอกด้วยว่าเพราะความอายุยืนของเขาทำให้มีฮ่องเต้อย่างน้อย 2 องค์จากสองราชวงศ์ได้ส่งหนังสือไปทั่วดินแดนเพื่อให้นำตัวจางซานฟงมาเป็นที่ปรึกษาในเรื่องสุขภาพ แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยันว่า จางซานฟังยอมไปเป็นที่ปรึกษาหรือเปล่านะครับ ตำรานี้บอกด้วยว่างซานฟงมีอายุอยู่ถึงศักราช “เทียนซุ่นฮ่องเต้แห่งราชวง์หมิง” นันคือ คศ. 1456-1464 ซึ่งถ้านับอย่างนั้นจางซานฟงก็จะมีอายุเกือบ 200 ปีเลยละครับ
แต่เรื่องราวของจางซานฟงนั้น ก็ไม่ได้มีอยู่แค่ตำราเดียวครับ อย่างปีเกิดของจางซานฟงก็ยังมีหลายตำรา ที่ว่าเกิดในปี คศ 960 ก็มีเพื่อจะได้รับกับการถ่ายทอดยอดวิชาจากพรตเต๋าสายอื่นๆ หรือมีว่าไปเกิดเมื่อปี 1279 ก็มี รูปร่างละลักษณะที่บ่งบอกถึงตัวจางซานฟงก็ออกแนวอภินิหารหน่อย ก็จะว่าเขาสูงเหมือนยักษ์คือสุงตั้ง 7 ฟุตมีรูปร่างผอมเพรียวเหมือนนกกะเรียน มีเคราแหลมเหมือนใบหอก ไปไหนมาไหนจะมีงูและนกกะเรียนไปด้วย สามารถเดินทางได้ไกลถึงวันละ 1000 ลี้หรือราวๆ 580 กิโลเมตร สามารถที่จะแปลงร่างได้ ปรกติจางซานฟงจะสมหมวกทรงสูงที่สามารถได้ยินความทุกข์ของคนเพื่อที่จะเดินทางไปโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย
แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้สนใจเรื่องหมัดมวยก็รับทราบเรื่องของจางซานฟงจากนวนิยายเรื่องดาบมังกรหยกทั้งสิ้น โดยกิมย้งนำเรื่องราวปรัมปราของจางซานฟงมาเชื่อมต่อกับเรื่องแต่งของเขาอย่างไร้ที่ติ
ในดาบมังกรหยกกิมย้งบอกเอาไว้ว่า แนวคิดในการสร้างสรรค์มวยชนิดนี้ของจางซานฟง มีจุดกำเหนิดอยู่ที่คัมภีร์เก้าเอี๊ยงของวัดเส้าหลินที่อาจารย์ของเขานั่นคือ หลวงจีนกั๊กเอี๊ยง ได้พรรณาไว้ก่อนที่จะมรณะภาพ โดยที่เนื้อหาและการใช้งานของหนึ่งในสุดยอดกำลังภายในนี้ได้ถูกแบ่งเป็นสามส่วนตามที่แต่ละฝ่ายจดจำได้ นั่นคือตัวของจางซานฟงเอง ตัวของก๊วยเซียงซึ่งภายหลังได้เป็นผู้ก่อตั้งสำนักง้อไบ๊(หรือถ้าเป็นจีนกลางจะเรียกสำนักอี้เหมย) และอีกส่วนก็กลับไปยังเส้าหลิน
แต่กิมย้งก็ยังให้เครดิตจางซานฟงเองด้วย เพราะ เนื้อหาในคัมภีร์ที่ไต้ซือกั๊กเอี๊ยงพูดออกมาก่อนจากไปนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะกลายเป็นยอดวิชาได้ทันที มันต้องผ่านการตีความลองฝึกตต่างๆนาๆ จนกระทั่งสุดท้ายกลายเป็นรูปแบบของมวยไท๊เก็กหรือไทชีฉวนในที่สุดมวยบู้ตึ๊ง ซึ่งประกอบด้วยมวยหลัก 3 สายวิชา ได้แก่ มวยไทเก็ก มวยสิงอี้ (ท่าทางการต่อสู้เลียนแบบการเคลื่อนไหวของสัตว์) และฝ่ามือแปดทิศ ยังไม่นับกระบี่ไทเก๊กซึ่งเขาก็คิดค้นขึ้นเช่นกัน แถมในดาบมังกรหยกก็ยังมีอีกหลายฉากที่เขาพูดถึงเพลงหมัดมวยใหม่ๆที่จางซานฟงคิดขึ้นเองด้วย
แต่ไม่ใช่เพียงแค่กิมย้งเท่านั้นที่ยึดและเชื่อว่าต้นกำเหนิดของบู๊ตึ๊งมาจากเส้าหลิน อย่างน้อยงานบันเทิงอีกสองเรื่องก็บอกเหมือนกันว่า จางซานฟงนั้นมีต้นทางมาจากเส้าหลินเช่นกัน งานแรกก็คือ ภาพยนตร์เรื่องไอ้มังกรไท๊เก๊ก(The Tai Chi Master) ที่มีหลี่เหลียนเจี๋ยแสดงนำ หนังบอกว่า แต่เดิมจางซานฟงเป็นหนึ่งในศิษย์ที่โดดเด่นมากของเส้าหลิน แต่เพราะความรักเพื่อนก็เลยต้องซวยและถูกขับออกมาจากสำนัก แล้วก็เพราะไอ้เพื่อนเลวที่ตัดสินใจไปรับใช้ทางการนี่เหมือนกันที่ทำให้เขาเป็นบ้า ในระหว่างที่เลอะเลือนนี่เองเขาก็ได้ค้นพบหลักการที่ว่า ลูกกลมไร้เหลี่ยมมุมสามารถให้พลังมากกว่าหมัดตรงแบบของเส้าหลิน หลักการนี้ถูกพัฒนาต่อจนเป็นมวยไทเก๊กและไปจัดการฆ่าเพื่อนรัก ได้ในตอนท้ายเรื่องเพื่อช่วย มิเชล โหยว ซึ่งเป็นนางเอกของเรื่อง
แต่สำหรับคอซีรี่ส์จากยุค 80 หลายคนคงจำเรื่อง “ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม (The Tai Chi Master)” ได้ดี เพราะว่าด้วยเรื่องราวของจางจินเป่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นจางซานฟง (แสดงโดย อเล็กซ์ ม่าน หรือว่านจื่อเหลียง) เรื่องนี้ก็คล้ายๆ กับที่กิมย้งเขียนนั่นคือ เขาได้ต้นทางวิทยายุทธมาจากวัดเส้าหลินเพียงแต่ศัตรูที่มากลับเป็นยอดฝีมือมองโกลมิใช่ 3 วิเศษคุนลุ้น อย่างที่กิมย้งเขียนไว้ จางจินเป่า เมื่อต้องสึกจากวัดเส้าหลินก็มาเป็นพี่เป็นน้องกับ ฉางอี้ชุน ซึ่งเวลาต่อมาก็ได้เป็นยอดนายพลแห่งราชวงศ์หมิงและจูหยวนจาง
แต่การฝึกและคิดค้นมวยไทเก๊กน้นค่อนข้างที่จะแปลกไปกว่าทุกเรื่อง เพราะ เขาทราบหลักการอ่อนหยุ่นรับแข็งกร้าวจากการรับเต้าหู้สดโดยไม่ให้เต้าหู้แตกคามือ และการฝึกตีนุ่นจนมองเห็นว่า นุ่นที่ทั้งเบาและนุ่มนั้นเอาเข้าจริงก็ไม่มีหมัดไหนชกมันได้เจ็บ ก็เลยพัฒนามวยจนกระทั่งล้างแค้นที่ยอดฝีมือที่ข่มขืนแฟนสาวที่นำแสดงโดยหมีเซี๊ยะได้สำเร็จครับ
วันนี้ก็เลยขอพูดถึงเรื่องราวของผู้ที่สร้างสรรค์มวยหรือการออกกำลังกายชนิดนั้นขึ้นในโลกกันซักนิดครับ
ประวัติอย่างเป็นที่ยอมรับกันนั้นบอกว่า จางซานฟง หรือนักพรตกะเรียนไฟ (
แม้ว่าจางซานฟงจะทำให้บู๊ตึ๊งโด่งดัง แต่เอาเข้าจริงบนภูเขาบู๊ตึ๊งนั้นตั้งแต่อดีตมาแล้วก็เป็นสถานที่ฝึกวิทยายุทธของนักพรตสายเต๋าอยู่แล้วนะครับ เขาบู๊ตึ๊ง หรือ (อู่ตังซาน ในภาษาจีนกลาง) เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญของลัทธิเต๋า ที่เล่าสืบมาว่า ปรมาจารย์เจินอู่ หรือเทพเจ้าเสวียนอู่ (
จุดนี้เองที่ทำให้พรตสายอื่นมองว่า จริงๆ จางซานฟงอาจจะไม่ใช่คนแรกที่คิดค้นมวยไทเก๊กขึ้นมาก็ได้ เพราะ จริงๆ มวยหรือวิทยายุทธของพรตเต๋านั้นมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังซึ่งก็มีมาก่อนหน้าจางซานฟงเกิดตั้ง 200 ปีนะครับ เหตุผลที่ต้องมีมวยหรือวิทยายุทธสายนี้ก็เพราะว่าส่วนหนึ่งต้องสู้รบกับผู้รุกรานซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ สงครามแย่งชิงที่ฝึกหรือชิงวัดกัน อีกส่วนหนึ่งก็คือเพื่อฝึกปรือให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง อีกส่วนก็คือ การตามหาพลังภายในโดยที่แก่งของการฝึกวิทยายุทธของสายนี้คือ ฝึกการควบคุมกำลังภายใน (Internal styles
เหตุนี้เองในบางสายของเต๋าเขาก็เลยมีตำนานว่า แท้ที่จริงมวยไทเก๊กและการต่อสู้โดยยึดหลักเต๋าเป็นแนวคิดนั้น จางซานฟงไม่ได้คิดเอง แต่เป็นนักพรตซูซ่วนผิง( Xu Xuanping
ต้องออกตัวว่าเรื่องเทพที่เป็นอาจารย์ลงมาโปรดลูกศิษย์นั้นเป็นเรื่องปรกติของสายนี้นะครับ เพราะ อย่างกรณีนักพรตช่วนจินก็เหมือนกัน เพราะหวังจงหยวนหรือเฮ้งเต็งเอี๊ยงนั้นตามประวัติในสายของเขาก็ได้โป๊ยเซียนมาเป็นอาจารย์แถมเมื่อสำเร็จแล้วก็มีอภินิหารอยู่บนสวรรค์ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตามสิ่งที่จางซันเฟิงหรือเตียซำฮงสร้างสรรค์ขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้และให้คนเข้าถึงได้อย่างง่ายๆ เพราะ มวยบู๊ตึ๊งนั้นได้มาจากทฤษฎีพื้นฐานของศาสตร์หยินและหยาง ศาสตร์เรื่องธาตุทั้งห้า และหลักการของแผนภูมิทั้งแปด หรือ ปากัว (
ส่วนหนึ่งของความนิยมนอกเหนือจากมันสามารถฝึกได้กับทุกเพศวัยแล้ว อายุของจางซานฟงก็เป็นตัวที่พิสูจน์ถึงความอัศจรรย์ในมวยสายนี้ว่าสามารถยืดอายุและทำให้สุขภาพของผู้ฝึกยืดยาวไปได้อย่างเหลือเชื่อโดยที่ไม่ต้องอาศัยหยูกยาในการกระตุ้นนะครับ ตัวของจางซานฟงนั้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี เพราะเขาเกิดตั้งแต่ปลายสมัยซ่ง และเริ่มก่อตั้งสำนักบู๊ตึ๊งในสมัยหยวนหรือราชวงศ์มองโกล จนกระทั่งไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์หมิง จางซานฟงก็ยังมีชีวิตอยู่ พลังภายในล้วนๆ ตามสไตล์ของบู๊ตึ๊งจึงเป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้คนมั่นใจว่าอาจจะทำให้เขากลายเป็นอมตะขึ้นมา
บางตำราบอกด้วยว่าเพราะความอายุยืนของเขาทำให้มีฮ่องเต้อย่างน้อย 2 องค์จากสองราชวงศ์ได้ส่งหนังสือไปทั่วดินแดนเพื่อให้นำตัวจางซานฟงมาเป็นที่ปรึกษาในเรื่องสุขภาพ แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยันว่า จางซานฟังยอมไปเป็นที่ปรึกษาหรือเปล่านะครับ ตำรานี้บอกด้วยว่างซานฟงมีอายุอยู่ถึงศักราช “เทียนซุ่นฮ่องเต้แห่งราชวง์หมิง” นันคือ คศ. 1456-1464 ซึ่งถ้านับอย่างนั้นจางซานฟงก็จะมีอายุเกือบ 200 ปีเลยละครับ
แต่เรื่องราวของจางซานฟงนั้น ก็ไม่ได้มีอยู่แค่ตำราเดียวครับ อย่างปีเกิดของจางซานฟงก็ยังมีหลายตำรา ที่ว่าเกิดในปี คศ 960 ก็มีเพื่อจะได้รับกับการถ่ายทอดยอดวิชาจากพรตเต๋าสายอื่นๆ หรือมีว่าไปเกิดเมื่อปี 1279 ก็มี รูปร่างละลักษณะที่บ่งบอกถึงตัวจางซานฟงก็ออกแนวอภินิหารหน่อย ก็จะว่าเขาสูงเหมือนยักษ์คือสุงตั้ง 7 ฟุตมีรูปร่างผอมเพรียวเหมือนนกกะเรียน มีเคราแหลมเหมือนใบหอก ไปไหนมาไหนจะมีงูและนกกะเรียนไปด้วย สามารถเดินทางได้ไกลถึงวันละ 1000 ลี้หรือราวๆ 580 กิโลเมตร สามารถที่จะแปลงร่างได้ ปรกติจางซานฟงจะสมหมวกทรงสูงที่สามารถได้ยินความทุกข์ของคนเพื่อที่จะเดินทางไปโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย
แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้สนใจเรื่องหมัดมวยก็รับทราบเรื่องของจางซานฟงจากนวนิยายเรื่องดาบมังกรหยกทั้งสิ้น โดยกิมย้งนำเรื่องราวปรัมปราของจางซานฟงมาเชื่อมต่อกับเรื่องแต่งของเขาอย่างไร้ที่ติ
ในดาบมังกรหยกกิมย้งบอกเอาไว้ว่า แนวคิดในการสร้างสรรค์มวยชนิดนี้ของจางซานฟง มีจุดกำเหนิดอยู่ที่คัมภีร์เก้าเอี๊ยงของวัดเส้าหลินที่อาจารย์ของเขานั่นคือ หลวงจีนกั๊กเอี๊ยง ได้พรรณาไว้ก่อนที่จะมรณะภาพ โดยที่เนื้อหาและการใช้งานของหนึ่งในสุดยอดกำลังภายในนี้ได้ถูกแบ่งเป็นสามส่วนตามที่แต่ละฝ่ายจดจำได้ นั่นคือตัวของจางซานฟงเอง ตัวของก๊วยเซียงซึ่งภายหลังได้เป็นผู้ก่อตั้งสำนักง้อไบ๊(หรือถ้าเป็นจีนกลางจะเรียกสำนักอี้เหมย) และอีกส่วนก็กลับไปยังเส้าหลิน
แต่กิมย้งก็ยังให้เครดิตจางซานฟงเองด้วย เพราะ เนื้อหาในคัมภีร์ที่ไต้ซือกั๊กเอี๊ยงพูดออกมาก่อนจากไปนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะกลายเป็นยอดวิชาได้ทันที มันต้องผ่านการตีความลองฝึกตต่างๆนาๆ จนกระทั่งสุดท้ายกลายเป็นรูปแบบของมวยไท๊เก็กหรือไทชีฉวนในที่สุดมวยบู้ตึ๊ง ซึ่งประกอบด้วยมวยหลัก 3 สายวิชา ได้แก่ มวยไทเก็ก มวยสิงอี้ (ท่าทางการต่อสู้เลียนแบบการเคลื่อนไหวของสัตว์) และฝ่ามือแปดทิศ ยังไม่นับกระบี่ไทเก๊กซึ่งเขาก็คิดค้นขึ้นเช่นกัน แถมในดาบมังกรหยกก็ยังมีอีกหลายฉากที่เขาพูดถึงเพลงหมัดมวยใหม่ๆที่จางซานฟงคิดขึ้นเองด้วย
แต่ไม่ใช่เพียงแค่กิมย้งเท่านั้นที่ยึดและเชื่อว่าต้นกำเหนิดของบู๊ตึ๊งมาจากเส้าหลิน อย่างน้อยงานบันเทิงอีกสองเรื่องก็บอกเหมือนกันว่า จางซานฟงนั้นมีต้นทางมาจากเส้าหลินเช่นกัน งานแรกก็คือ ภาพยนตร์เรื่องไอ้มังกรไท๊เก๊ก(The Tai Chi Master) ที่มีหลี่เหลียนเจี๋ยแสดงนำ หนังบอกว่า แต่เดิมจางซานฟงเป็นหนึ่งในศิษย์ที่โดดเด่นมากของเส้าหลิน แต่เพราะความรักเพื่อนก็เลยต้องซวยและถูกขับออกมาจากสำนัก แล้วก็เพราะไอ้เพื่อนเลวที่ตัดสินใจไปรับใช้ทางการนี่เหมือนกันที่ทำให้เขาเป็นบ้า ในระหว่างที่เลอะเลือนนี่เองเขาก็ได้ค้นพบหลักการที่ว่า ลูกกลมไร้เหลี่ยมมุมสามารถให้พลังมากกว่าหมัดตรงแบบของเส้าหลิน หลักการนี้ถูกพัฒนาต่อจนเป็นมวยไทเก๊กและไปจัดการฆ่าเพื่อนรัก ได้ในตอนท้ายเรื่องเพื่อช่วย มิเชล โหยว ซึ่งเป็นนางเอกของเรื่อง
แต่สำหรับคอซีรี่ส์จากยุค 80 หลายคนคงจำเรื่อง “ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม (The Tai Chi Master)” ได้ดี เพราะว่าด้วยเรื่องราวของจางจินเป่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นจางซานฟง (แสดงโดย อเล็กซ์ ม่าน หรือว่านจื่อเหลียง) เรื่องนี้ก็คล้ายๆ กับที่กิมย้งเขียนนั่นคือ เขาได้ต้นทางวิทยายุทธมาจากวัดเส้าหลินเพียงแต่ศัตรูที่มากลับเป็นยอดฝีมือมองโกลมิใช่ 3 วิเศษคุนลุ้น อย่างที่กิมย้งเขียนไว้ จางจินเป่า เมื่อต้องสึกจากวัดเส้าหลินก็มาเป็นพี่เป็นน้องกับ ฉางอี้ชุน ซึ่งเวลาต่อมาก็ได้เป็นยอดนายพลแห่งราชวงศ์หมิงและจูหยวนจาง
แต่การฝึกและคิดค้นมวยไทเก๊กน้นค่อนข้างที่จะแปลกไปกว่าทุกเรื่อง เพราะ เขาทราบหลักการอ่อนหยุ่นรับแข็งกร้าวจากการรับเต้าหู้สดโดยไม่ให้เต้าหู้แตกคามือ และการฝึกตีนุ่นจนมองเห็นว่า นุ่นที่ทั้งเบาและนุ่มนั้นเอาเข้าจริงก็ไม่มีหมัดไหนชกมันได้เจ็บ ก็เลยพัฒนามวยจนกระทั่งล้างแค้นที่ยอดฝีมือที่ข่มขืนแฟนสาวที่นำแสดงโดยหมีเซี๊ยะได้สำเร็จครับ