นอกเหนือจากความเห็นของนักวิจารณ์ และผู้สันทัดกรณีต่าง ๆ แล้ว ราคาจากบ่อนพนันแบบถูกกฎหมายก็เป็นอีกดัชนีที่สามารถชี้โอกาสและความเป็นไปได้ของผลรางวัลออสการ์ได้ ซึ่งล่าสุดราคาจากบ่อนดังของอังกฤษพอจะแสดงให้เห็นถึงผู้คว้าออสการ์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 ก.พ. นี้ได้ลาง ๆ แล้ว
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: "พลิกยาก"
1/12 - The Artist (แทง 12 ได้ 1 ไม่รวมทุน)
20/1 - The Descendents, The Help
40/1 - War Horse, Hugo
100/1 - Midnight in Paris, Moneyball, The Tree Of Life, Extremely Loud and Incredibly Close
The Artist เจ้าของรางวัลลูกโลกทองคำสาขาภาพยนตร์ตลกหรือเพลงยอดเยี่ยม และยังกวาดรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ ไปอีกเพียบ คือตัวเต็งแบบเดี่ยว ๆ ของรางวัลใหญ่ที่สุดของออสการ์ครั้งนี้ทั้งในสายตาของนักวิจารณ์ และจากราคาของ William Hill บ่อนดังจากเมืองผู้ดี
ผลงานจากผู้สร้างชาวฝรั่งเศสมีทุกอย่างสมบูรณ์แบบสำหรับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทั้ง คุณภาพงาน, เนื้อหาที่สร้างความประทับใจได้มาก และยังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตอันแสนหวานของฮอลลีวูดเองด้วย
ซึ่งหากจะไม่ใช่ The Artist แล้ว ก็คงเป็น The Descendents หรือ The Help ที่พอจะมีโอกาสคว้ารางวัลอยู่บ้าง ส่วน War Horse กับ Hugo อยู่ในกลุ่มรองลงไป และสำหรับหนังอีก 4 เรื่อง คงเรียกว่าต้องพึ่งปาฏิหาริย์เท่านั้น สำหรับการคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับยอดเยี่ยม: หน้าใหม่ vs ขาใหญ่ของวงการ
1/9 - มิเชล ฮาซานาวิเชียส (The Artist)
6/1 - มาร์ติน สกอร์เซซี (Hugo)
20/1 - อเล็กซานเดอร์ เพย์น (The Descendants)
33/1 - เทอร์เรนซ์ มาลิก (The Tree Of Life)
50/1 - วูดดี้ อัลเลน (Midnight In Paris)
ส่วนใหญ่แล้วรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยมมักจะสอดคล้องไปด้วยกัน ซึ่งในปีนี้เมื่อ The Artist มีโอกาสคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมากที่สุด มิเชล ฮาซานาวิเชียส เองก็น่าจะได้รับรางวัลผู้กำกับด้วยเช่นเดียวกัน แม้ชื่อของเขาจะถือว่าใหม่สำหรับฮอลลีวูด และวงการภาพยนตร์โลก แต่ความโดดเด่นของผลงานก็น่าจะส่งให้ผู้อยู่เบื้องหลังได้รับคำชื่นชมไปด้วย
โดยผู้ได้รับการเสนอชื่ออีก 4 รายล้วนเป็นผู้กำกับชื่อดัง และเคยได้รับการเสนอชื่อชิงออสการ์กันมามากกว่าคนละครั้งแทบทั้งนั้น โดย มาร์ติน สกอร์เซซี ที่ลองจับงานหนังเด็ก และได้รับคำชมเป็นอย่างมาก กับการหยิบใช้เทคนิคระบบภาพสามมิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับเนื้อหาของหนังได้อย่างลงตัว คือคนที่น่าจะมีลุ้นกว่าใครในกลุ่ม แต่ก็โอกาสคว้ารางวัลก็ถือว่ายากอยู่ดี
นักแสดงนำชาย: ถึงเวลาของ "คลูนีย์" รึยัง? ถาม “ดูจาร์แด็ง” ก่อน
8/11 - ฌอง ดูจาร์แด็ง (The Artist)
EVS - จอร์จ คลูนีย์ (The Decendents)
20/1 - แบรด พิตต์ (Money Ball)
25/1 - แกรี โอลด์แมน (Tinker Tailor Soldier Spy)
50/1 - เดเมียน บาเชียร์ (A Better Life)
จอร์จ คลูนีย์ คือคนที่นักวิจารณ์สหรัฐฯ เชียร์กันมากที่สุด ในรางวัลสาขานักแสดงนำชาย ดาราซูเปอร์สตาร์ที่เลือกเล่นแต่หนังคุณภาพ นอกจากนั้นยังมีงานเบื้องหลังทั้ง สร้าง/กำกับ/เขียนบท หนังดี ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นขวัญใจคนหนึ่งของวงการหนัง ที่ยังไม่เคยสัมผัสกับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมเลย แม้จะเคยรับรางวัลนักแสดงสมทบชายจาก Syriana มาแล้ว ซึ่งการแสดงใน The Decendents ของเขาก็สมบูรณ์แบบ กับหนังที่เน้นสำรวจ ความคิด, บุคลิกภาพ และสภาวะอารมณ์ในตัวละครของเขาเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามหากจะหวังคว้ารางวัล คลูนีย์ ก็ต้องเอาชนะตัวเต็งอีกคนอย่าง ฌอง ดูจาร์แด็ง ให้ได้ก่อน นักแสดงชาวฝรั่งเศสเจ้าของรางวัลนักแสดงนำชายจากเวทีลูกโลกทองคำ (สาขาตลกหรือเพลง) และเทศกาลหนังเมืองคานส์ คว้ารางวัลมาแล้วในหลายสถาบัน นอกจากนั้น William Hill ยังยกให้เขาเป็นเต็งหนึ่งด้วย แม้ตัวละครของ ดูจาร์แด็ง จะขาดความแปลกใหม่ไปบ้าง แต่การแสดงทักษะที่แตกต่างกับการแสดงในหนังเงียบ ก็ทำให้บทของเขาพิเศษกว่าใคร ๆ
นอกเหนือจากดาราหนุ่มทั้ง 2 คนแล้ว โอกาสของผู้เข้าชิงที่เหลือเรียกว่ายังมีน้อย ทั้ง แบรด พิตต์ กับบทที่น่าสนใจ แต่ไม่ค่อยมีอะไรสะดุดตาสะดุดใจ, ส่วนหนังของ แกรี โอลด์แมน ก็ไม่ได้อยู่ในกระแสนัก แม้หลายฝ่ายจะมองว่าการแสดงอันยอดเยี่ยมใน Tinker Tailor Soldier Spy ของเขานั้นถึงระดับน่าจะได้รับรางวัลด้วยซ้ำไป
ฝ่ายมวยรองอย่าง เดเมียน บาเชียร์ จาก A Better Life นั้นถึงกับยอมรับด้วยตัวเองว่าการได้เข้าชิงออสการ์ก็ถือว่าเป็นรางวัลสำหรับเขาแล้ว
นักแสดงนำหญิง: “วิโอลา เดวิส”, “เมอริล สตรีฟ” ชิงดำ
8/13 - วิโอลา เดวิส (The Help)
6/5 - เมอริล สตรีฟ (The Iron Lady)
16/1 - มิเชล วิลเลียมส์ (My Week With Marilyn)
66/1 - รูนีย์ มารา (The Girl With The Dragon Tattoo)
66/1 - เกลนน์ โคลส์ (Albert Nobbs)
ในสาขานักแสดงนำหญิงเป็นรางวัลอีกหมวดที่ขับเคี่ยวสูสีเป็นอย่างยิ่ง กับการแข่งขันของนักแสดงหญิงยอดฝีมือ 3 คน
เมอริล สตรีฟ ได้ชื่อว่าเป็นราชินีรางวัลคนหนึ่ง กับการเข้าชิงออสการ์มาแล้วทั้งหมดถึง 17 ครั้ง แต่เอาจริง ๆ เธอก็คว้ารางวัลไปได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น และครั้งล่าสุดก็เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อนแล้ว ถ้ามองในมุมนี้ ปีนี้จึงสมควรแก่เวลาแล้วสำหรับออสการ์ตัวที่ 3 ของ สตรีฟ ซึ่งการแสดงชนิด "เด่นอยู่คนเดียว" ในหนัง The Iron Lady ก็ถือว่าส่งให้เธอคู่ควรกับรางวัลเหลือเกิน
อย่างไรก็ตามหากมองกันในมุมของราคาต่อรองแล้ว William Hill กลับให้ วิโอลา เดวิส เป็นเต็งหนึ่ง ซึ่งนอกจากฝีไม้ลายมือทางการแสดงแล้วหนังเรื่อง The Help ยังถือว่าเป็นงานขวัญใจมหาชน ทำเงินมากมาย ตัวของ เดวิส ก็คว้ารางวัลจากสถาบันต่าง ๆ มาแล้วร่วม 20 รางวัล โดยเฉพาะรางวัลใหญ่จาก Screen Actors Guild ที่ปกติแล้วมักจะสอดคล้องกับออสการ์อยู่เหมือนกัน
มิเชล วิลเลียมส์ คืออีกหนึ่งตัวเต็งของออสการ์สาขานำหญิงในปีนี้ ดาราสาววัย 32 ปี คนนี้แทบจะเรียกได้ว่าโดดเด่นที่สุดในนักแสดงหญิงรุ่นเดียวกัน เธอได้รับการเสนอชื่อชิงออสการ์มาแล้วถึง 3 ครั้ง รวมถึงจากการสวมบทบาทอดีตเซ็กซิมโบลแห่งฮอลลีวูด มาริลิน มอนโร ในปีนี้ ซึ่เธอทำหน้าที่ได้อย่างไร้ที่ติ เรียกว่าเป็นตัวเต็งลำดับต้น ๆ สำหรับออสการ์ประจำปี 2012 มาตลอด แต่ด้วยตัวหนังที่ได้รับคำวิจารณ์ไปแบบกลาง ๆ ชื่อของเธอจึงแผ่วลงมานิดหน่อยในช่วงหลัง
นักแสดงสมทบชาย: “คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์” เตรียมสร้างประวัติศาสตร์
1/33 - คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ (Beginners)
12/1 - เคนเน็ธ บรานาห์ (My Week With Marilyn)
20/1 - แม็กซ์ วอน ซีโด (Extremely Loud & Incredibly Close)
33/1 - นิค นอลตี้ (Warrior)
50/1 - โจนาห์ ฮิลล์ (Moneyball)
ด้วยราคา แทง 1 ได้ 33 และความเห็นจากเหล่าผู้สันทัดกรณีที่ชี้ไปทางเดียวกันหมด คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ แทบจะสามารถเตรียมสุนทรพจน์หลังรับรางวัลได้แบบสบายอกสบายใจไร้กังวลกันเลยทีเดียว กับการรับรางวัลที่จะเป็นทั้งประวัติศาสตร์ของตัวเขาเอง และประวัติศาสตร์ของออสการ์ด้วย
ถือเป็นประเด็นที่ใคร ๆ ก็พูดถึงตลอด กับการถูกมองข้ามของนักแสดงรุ่นใหญ่รายนี้ ที่กว่าจะได้ชิงออสการ์ครั้งแรกก็ต้องรอจนเขาอายุเหยียบ 70 ปีแล้ว แม้จะมีผลงานการแสดงอันยอดเยี่ยมมาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ซึ่งหากมองกันไปที่เนื้องาน คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ ก็โดดเด่นเหลือเกิน กับบทพ่อผู้มาเปิดเผยความเป็นเกย์ของตนเองเมื่อวัยล่วงเลยมาถึง 75 ปีแล้ว ในหนัง Beginners ซึ่งหากได้รับรางวัลจริง ๆ พลัมเมอร์ ก็จะสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักแสดงผู้มีอายุมากที่สุดที่คว้าออสการ์ได้ด้วยวัย 82 ปี ทำลายสถิติเดิมของ ทำลายสถิติเดิมของ เจสซิกา แทนดี้ ที่คว้าออสการ์ได้เมื่อมีวัย 80 ปี 252 วัน
นักแสดงสมทบหญิง: “อ็อตตาเวีย สเปนเซอร์” ไม่น่าพลาด
1/25 – อ็อตตาเวีย สเปนเซอร์ (The Help)
8/1 – เบเรนิซ เบโฌ (The Artist)
16/1 – เจสซิก้า เชสเทน (The Help)
40/1 – เมลิซซา แม็คคาธีย์ (Bridesmaids)
40/1 – เจเน็ท แม็คเธียร์ (Albert Nobbs)
หลังจากคว้ารางวัลลูกโลกทองคำมาแล้ว ราศีของ อ็อตตาเวีย สเปนเซอร์ ก็ดูเจิดจรัสมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งหลังจากเมื่อเธอสามารถเก็บรางวัลในสถาบันต่าง ๆ ต่อเนื่องทั้ง SAG, Critics Choice จนมาถึง BAFTA เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ยิ่งทำให้โอกาสคว้าออสการ์ของดาราสาวผิวสีรายนี้เด่นชัดขึ้นทุกที
ส่วนที่ตามมาห่าง ๆ ก็คือ ดาราสาวชาวอาร์เจนตินา เบเรนิซ เบโฌ แห่ง The Artist ที่คว้ารางวัลมาแล้วในหลายสถาบัน แต่หากเธอได้ออสการ์ขึ้นมาจริง ๆ ก็คงจะเป็นเรื่องเซอร์ไพร์ซของงานในปีนี้อยู่พอสมควรเลยทีเดียว
บทภาพยนตร์
บทภาพยนตร์ดัดแปลง: The Descendants - 1/40, Moneyball - 5/1, Hugo - 10/1, Tinker Tailor Soldier Spy - 16/1, The Ides Of March - 40/1
บทภาพยนตร์ดั้งเดิม: Midnight In Paris - 1/4, The Artist - 11/4, Bridesmaids - 20/1, A Seperation - 33/1, Margin Call - 40/1
ตลอดปี 2011 มีหนังที่สร้างจากบทเยี่ยม ๆ อยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะบทดั้งเดิมจากฝีมือของคนทำหนังชั้นยอด ทั้ง A Separation หนังอิหร่านที่เอาชนะกำแพงภาษาเข้าชิงด้านบทได้อย่างเหลือเชื่อ, The Artist กับการโชว์ฝีมือการเขียนบทหนังเงียบ ให้งานประเภทที่ดูเหมือนจะกึ่งสูญพันธ์ไปจากวงการภาพยนตร์ไปแล้ว ได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง รวมถึงหนังตลกสัปดนที่เล่าเรื่องทะลึ่งตึงตังของสาว ๆ อย่าง Bridesmaids ที่เป็นขวัญใจทั้งนักวิจารณ์และคนดู ... แต่สุดท้ายแล้วด้วยชื่อของ วูดดี้ อัลเลน กับบทภาพยนตร์ตลกฉลาดหลักแหลมแบบปัญญาชน น่าจะทำให้ Midnight In Paris คว้ารางวัลนี้ไปในที่สุด
สำหรับสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงนั้นดูจะตื่นเต้นน้อยกว่าซักนิดหน่อย เพราะงานเขียนบทของ อเล็กซานเดอร์ เพย์น กับ The Descendants แทบจะเป็นเต็งจ๋าที่มีโอกาสพลิกล็อกได้น้อยมากเต็มทน
หนังภาษาต่างประเทศ: ตัวแทนอิหร่านน่าลุ้น แต่โอกาสพลิกยังมี
1/12 - A Seperation
8/1 - In Darkness
14/1 - Footnote
16/1 - Monsieur Lazhar
33/1 – Bullhead
หนังภาษาต่างประเทศเป็นรางวัลอีกสาขาที่มีตัวเต็งที่โดดเด่นชนิดเหนือกว่าเรื่องอื่นอย่างชัดเจน
A Seperation หนังจากอิหร่าน ไม่เพียงได้รับการยกย่องในหมู่หนังภาษาต่างประเทศด้วยกันเท่านั้น แต่มีเสียงชมว่านี้แทบจะเป็นหนังที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของปี 2011 ด้วยซ้ำ หลักฐานกับการได้ชิงรางวัลด้านบทภาพยนตร์ด้วย ก็ถือเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างดี นอกจากนั้นประเด็นความตึงเครียดทางการเมือง ก็น่าจะทำให้หนังอิหร่านได้รับความสนใจยิ่งขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาที่ผ่านมารางวัลในสาขาภาษาต่างประเทศของออสการ์ก็มีการพลิกล็อกให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ตั้งแต่ในยุคที่ Farewell My Concubine ต้องพลาดออสการ์อย่างน่าเสียดายไปให้กับหนังสเปน Belle Epoque, หนังญี่ปุ่น Depatures ชนะ The Class จากฝรั่งเศส, No Man's Land คว้ารางวัลได้แทนที่จะเป็น Ameile หรือเมื่อไม่กี่ปีก่อน หนังอาร์เจนตินา The Secret in Their Eyes เอาชนะ A Prophet หนังดังจากฝรั่งเศสไปได้ .... เพราะฉะนั้นเรียกว่าไม่มีอะไรแน่นอน สำหรับออสการ์สาขาหนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม
ภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยม: ปีที่ไม่มี Pixar
1/16 - Rango
10/1 - Chico And Rita
12/1 - A Cat In Paris
20/1 - Puss In Boots
40/1 - Kung Fu Panda 2
ในปีที่ Pixar เจ้าของ 6 ออสการ์สาขาภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยม ฟอร์มตกจน Car 2 ผลงานประจำปี 2011 มาไม่ถึงงานแจกรางวัลออสการ์ จึงดูเหมือนว่าโอกาสได้เปิดกว้างสำหรับผู้สร้างอนิเมชั่นเจ้าอื่น ๆ บ้างแล้ว
แต่ถึงแบบนั้นก็ยังมี Rango ของ Industrial Light and Magic มาเป็นตัวเต็งแทน โดยการ์ตูนที่มีพระเอกดัง จอห์นนี่ เดปป์ ให้เสียงพากย์เรื่องนี้ได้รับคำชมทั้งงานภาพที่โดดเด่น และเนื้อหาที่จริงจังแตกต่างจากการ์ตูนทั่ว ๆ ไป
ซึ่งถ้าไม่ใช่ Rango แล้วออสการ์ก็อาจจะตัดสินใจมอบรางวัลในสาขานี้ให้กับงานประเภททางเลือกอย่าง Chico And Rita หรือ A Cat In Paris ก็เป็นได้ แต่โอกาสก็เรียกว่ายังน้อยอยู่ดี ส่วน DreamWorks Animation เจ้าของออสการ์สาขาภาพยนตร์อนิเมชั่นตัวแรกจาก Shrek เมื่อ 11 ปีก่อน ก็คงต้องรอรางวัลตัวที่ 2 ของบริษัทต่อไปแม้ปีนี้จะมีผลงานเข้าชิงถึงสองเรื่องคือ Puss In Boots และ Kung Fu Panda 2 แต่ความโดดเด่นที่จะทำให้คว้ารางวัลออสการ์นั้นดูเหมือนจะมีอยู่ไม่ค่อยสูงนัก
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: "พลิกยาก"
1/12 - The Artist (แทง 12 ได้ 1 ไม่รวมทุน)
20/1 - The Descendents, The Help
40/1 - War Horse, Hugo
100/1 - Midnight in Paris, Moneyball, The Tree Of Life, Extremely Loud and Incredibly Close
The Artist เจ้าของรางวัลลูกโลกทองคำสาขาภาพยนตร์ตลกหรือเพลงยอดเยี่ยม และยังกวาดรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ ไปอีกเพียบ คือตัวเต็งแบบเดี่ยว ๆ ของรางวัลใหญ่ที่สุดของออสการ์ครั้งนี้ทั้งในสายตาของนักวิจารณ์ และจากราคาของ William Hill บ่อนดังจากเมืองผู้ดี
ผลงานจากผู้สร้างชาวฝรั่งเศสมีทุกอย่างสมบูรณ์แบบสำหรับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทั้ง คุณภาพงาน, เนื้อหาที่สร้างความประทับใจได้มาก และยังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตอันแสนหวานของฮอลลีวูดเองด้วย
ซึ่งหากจะไม่ใช่ The Artist แล้ว ก็คงเป็น The Descendents หรือ The Help ที่พอจะมีโอกาสคว้ารางวัลอยู่บ้าง ส่วน War Horse กับ Hugo อยู่ในกลุ่มรองลงไป และสำหรับหนังอีก 4 เรื่อง คงเรียกว่าต้องพึ่งปาฏิหาริย์เท่านั้น สำหรับการคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ผู้กำกับยอดเยี่ยม: หน้าใหม่ vs ขาใหญ่ของวงการ
1/9 - มิเชล ฮาซานาวิเชียส (The Artist)
6/1 - มาร์ติน สกอร์เซซี (Hugo)
20/1 - อเล็กซานเดอร์ เพย์น (The Descendants)
33/1 - เทอร์เรนซ์ มาลิก (The Tree Of Life)
50/1 - วูดดี้ อัลเลน (Midnight In Paris)
ส่วนใหญ่แล้วรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยมมักจะสอดคล้องไปด้วยกัน ซึ่งในปีนี้เมื่อ The Artist มีโอกาสคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมากที่สุด มิเชล ฮาซานาวิเชียส เองก็น่าจะได้รับรางวัลผู้กำกับด้วยเช่นเดียวกัน แม้ชื่อของเขาจะถือว่าใหม่สำหรับฮอลลีวูด และวงการภาพยนตร์โลก แต่ความโดดเด่นของผลงานก็น่าจะส่งให้ผู้อยู่เบื้องหลังได้รับคำชื่นชมไปด้วย
โดยผู้ได้รับการเสนอชื่ออีก 4 รายล้วนเป็นผู้กำกับชื่อดัง และเคยได้รับการเสนอชื่อชิงออสการ์กันมามากกว่าคนละครั้งแทบทั้งนั้น โดย มาร์ติน สกอร์เซซี ที่ลองจับงานหนังเด็ก และได้รับคำชมเป็นอย่างมาก กับการหยิบใช้เทคนิคระบบภาพสามมิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับเนื้อหาของหนังได้อย่างลงตัว คือคนที่น่าจะมีลุ้นกว่าใครในกลุ่ม แต่ก็โอกาสคว้ารางวัลก็ถือว่ายากอยู่ดี
นักแสดงนำชาย: ถึงเวลาของ "คลูนีย์" รึยัง? ถาม “ดูจาร์แด็ง” ก่อน
8/11 - ฌอง ดูจาร์แด็ง (The Artist)
EVS - จอร์จ คลูนีย์ (The Decendents)
20/1 - แบรด พิตต์ (Money Ball)
25/1 - แกรี โอลด์แมน (Tinker Tailor Soldier Spy)
50/1 - เดเมียน บาเชียร์ (A Better Life)
จอร์จ คลูนีย์ คือคนที่นักวิจารณ์สหรัฐฯ เชียร์กันมากที่สุด ในรางวัลสาขานักแสดงนำชาย ดาราซูเปอร์สตาร์ที่เลือกเล่นแต่หนังคุณภาพ นอกจากนั้นยังมีงานเบื้องหลังทั้ง สร้าง/กำกับ/เขียนบท หนังดี ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นขวัญใจคนหนึ่งของวงการหนัง ที่ยังไม่เคยสัมผัสกับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมเลย แม้จะเคยรับรางวัลนักแสดงสมทบชายจาก Syriana มาแล้ว ซึ่งการแสดงใน The Decendents ของเขาก็สมบูรณ์แบบ กับหนังที่เน้นสำรวจ ความคิด, บุคลิกภาพ และสภาวะอารมณ์ในตัวละครของเขาเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามหากจะหวังคว้ารางวัล คลูนีย์ ก็ต้องเอาชนะตัวเต็งอีกคนอย่าง ฌอง ดูจาร์แด็ง ให้ได้ก่อน นักแสดงชาวฝรั่งเศสเจ้าของรางวัลนักแสดงนำชายจากเวทีลูกโลกทองคำ (สาขาตลกหรือเพลง) และเทศกาลหนังเมืองคานส์ คว้ารางวัลมาแล้วในหลายสถาบัน นอกจากนั้น William Hill ยังยกให้เขาเป็นเต็งหนึ่งด้วย แม้ตัวละครของ ดูจาร์แด็ง จะขาดความแปลกใหม่ไปบ้าง แต่การแสดงทักษะที่แตกต่างกับการแสดงในหนังเงียบ ก็ทำให้บทของเขาพิเศษกว่าใคร ๆ
นอกเหนือจากดาราหนุ่มทั้ง 2 คนแล้ว โอกาสของผู้เข้าชิงที่เหลือเรียกว่ายังมีน้อย ทั้ง แบรด พิตต์ กับบทที่น่าสนใจ แต่ไม่ค่อยมีอะไรสะดุดตาสะดุดใจ, ส่วนหนังของ แกรี โอลด์แมน ก็ไม่ได้อยู่ในกระแสนัก แม้หลายฝ่ายจะมองว่าการแสดงอันยอดเยี่ยมใน Tinker Tailor Soldier Spy ของเขานั้นถึงระดับน่าจะได้รับรางวัลด้วยซ้ำไป
ฝ่ายมวยรองอย่าง เดเมียน บาเชียร์ จาก A Better Life นั้นถึงกับยอมรับด้วยตัวเองว่าการได้เข้าชิงออสการ์ก็ถือว่าเป็นรางวัลสำหรับเขาแล้ว
นักแสดงนำหญิง: “วิโอลา เดวิส”, “เมอริล สตรีฟ” ชิงดำ
8/13 - วิโอลา เดวิส (The Help)
6/5 - เมอริล สตรีฟ (The Iron Lady)
16/1 - มิเชล วิลเลียมส์ (My Week With Marilyn)
66/1 - รูนีย์ มารา (The Girl With The Dragon Tattoo)
66/1 - เกลนน์ โคลส์ (Albert Nobbs)
ในสาขานักแสดงนำหญิงเป็นรางวัลอีกหมวดที่ขับเคี่ยวสูสีเป็นอย่างยิ่ง กับการแข่งขันของนักแสดงหญิงยอดฝีมือ 3 คน
เมอริล สตรีฟ ได้ชื่อว่าเป็นราชินีรางวัลคนหนึ่ง กับการเข้าชิงออสการ์มาแล้วทั้งหมดถึง 17 ครั้ง แต่เอาจริง ๆ เธอก็คว้ารางวัลไปได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น และครั้งล่าสุดก็เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อนแล้ว ถ้ามองในมุมนี้ ปีนี้จึงสมควรแก่เวลาแล้วสำหรับออสการ์ตัวที่ 3 ของ สตรีฟ ซึ่งการแสดงชนิด "เด่นอยู่คนเดียว" ในหนัง The Iron Lady ก็ถือว่าส่งให้เธอคู่ควรกับรางวัลเหลือเกิน
อย่างไรก็ตามหากมองกันในมุมของราคาต่อรองแล้ว William Hill กลับให้ วิโอลา เดวิส เป็นเต็งหนึ่ง ซึ่งนอกจากฝีไม้ลายมือทางการแสดงแล้วหนังเรื่อง The Help ยังถือว่าเป็นงานขวัญใจมหาชน ทำเงินมากมาย ตัวของ เดวิส ก็คว้ารางวัลจากสถาบันต่าง ๆ มาแล้วร่วม 20 รางวัล โดยเฉพาะรางวัลใหญ่จาก Screen Actors Guild ที่ปกติแล้วมักจะสอดคล้องกับออสการ์อยู่เหมือนกัน
มิเชล วิลเลียมส์ คืออีกหนึ่งตัวเต็งของออสการ์สาขานำหญิงในปีนี้ ดาราสาววัย 32 ปี คนนี้แทบจะเรียกได้ว่าโดดเด่นที่สุดในนักแสดงหญิงรุ่นเดียวกัน เธอได้รับการเสนอชื่อชิงออสการ์มาแล้วถึง 3 ครั้ง รวมถึงจากการสวมบทบาทอดีตเซ็กซิมโบลแห่งฮอลลีวูด มาริลิน มอนโร ในปีนี้ ซึ่เธอทำหน้าที่ได้อย่างไร้ที่ติ เรียกว่าเป็นตัวเต็งลำดับต้น ๆ สำหรับออสการ์ประจำปี 2012 มาตลอด แต่ด้วยตัวหนังที่ได้รับคำวิจารณ์ไปแบบกลาง ๆ ชื่อของเธอจึงแผ่วลงมานิดหน่อยในช่วงหลัง
นักแสดงสมทบชาย: “คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์” เตรียมสร้างประวัติศาสตร์
1/33 - คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ (Beginners)
12/1 - เคนเน็ธ บรานาห์ (My Week With Marilyn)
20/1 - แม็กซ์ วอน ซีโด (Extremely Loud & Incredibly Close)
33/1 - นิค นอลตี้ (Warrior)
50/1 - โจนาห์ ฮิลล์ (Moneyball)
ด้วยราคา แทง 1 ได้ 33 และความเห็นจากเหล่าผู้สันทัดกรณีที่ชี้ไปทางเดียวกันหมด คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ แทบจะสามารถเตรียมสุนทรพจน์หลังรับรางวัลได้แบบสบายอกสบายใจไร้กังวลกันเลยทีเดียว กับการรับรางวัลที่จะเป็นทั้งประวัติศาสตร์ของตัวเขาเอง และประวัติศาสตร์ของออสการ์ด้วย
ถือเป็นประเด็นที่ใคร ๆ ก็พูดถึงตลอด กับการถูกมองข้ามของนักแสดงรุ่นใหญ่รายนี้ ที่กว่าจะได้ชิงออสการ์ครั้งแรกก็ต้องรอจนเขาอายุเหยียบ 70 ปีแล้ว แม้จะมีผลงานการแสดงอันยอดเยี่ยมมาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ซึ่งหากมองกันไปที่เนื้องาน คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ ก็โดดเด่นเหลือเกิน กับบทพ่อผู้มาเปิดเผยความเป็นเกย์ของตนเองเมื่อวัยล่วงเลยมาถึง 75 ปีแล้ว ในหนัง Beginners ซึ่งหากได้รับรางวัลจริง ๆ พลัมเมอร์ ก็จะสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักแสดงผู้มีอายุมากที่สุดที่คว้าออสการ์ได้ด้วยวัย 82 ปี ทำลายสถิติเดิมของ ทำลายสถิติเดิมของ เจสซิกา แทนดี้ ที่คว้าออสการ์ได้เมื่อมีวัย 80 ปี 252 วัน
นักแสดงสมทบหญิง: “อ็อตตาเวีย สเปนเซอร์” ไม่น่าพลาด
1/25 – อ็อตตาเวีย สเปนเซอร์ (The Help)
8/1 – เบเรนิซ เบโฌ (The Artist)
16/1 – เจสซิก้า เชสเทน (The Help)
40/1 – เมลิซซา แม็คคาธีย์ (Bridesmaids)
40/1 – เจเน็ท แม็คเธียร์ (Albert Nobbs)
หลังจากคว้ารางวัลลูกโลกทองคำมาแล้ว ราศีของ อ็อตตาเวีย สเปนเซอร์ ก็ดูเจิดจรัสมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งหลังจากเมื่อเธอสามารถเก็บรางวัลในสถาบันต่าง ๆ ต่อเนื่องทั้ง SAG, Critics Choice จนมาถึง BAFTA เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ยิ่งทำให้โอกาสคว้าออสการ์ของดาราสาวผิวสีรายนี้เด่นชัดขึ้นทุกที
ส่วนที่ตามมาห่าง ๆ ก็คือ ดาราสาวชาวอาร์เจนตินา เบเรนิซ เบโฌ แห่ง The Artist ที่คว้ารางวัลมาแล้วในหลายสถาบัน แต่หากเธอได้ออสการ์ขึ้นมาจริง ๆ ก็คงจะเป็นเรื่องเซอร์ไพร์ซของงานในปีนี้อยู่พอสมควรเลยทีเดียว
บทภาพยนตร์
บทภาพยนตร์ดัดแปลง: The Descendants - 1/40, Moneyball - 5/1, Hugo - 10/1, Tinker Tailor Soldier Spy - 16/1, The Ides Of March - 40/1
บทภาพยนตร์ดั้งเดิม: Midnight In Paris - 1/4, The Artist - 11/4, Bridesmaids - 20/1, A Seperation - 33/1, Margin Call - 40/1
ตลอดปี 2011 มีหนังที่สร้างจากบทเยี่ยม ๆ อยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะบทดั้งเดิมจากฝีมือของคนทำหนังชั้นยอด ทั้ง A Separation หนังอิหร่านที่เอาชนะกำแพงภาษาเข้าชิงด้านบทได้อย่างเหลือเชื่อ, The Artist กับการโชว์ฝีมือการเขียนบทหนังเงียบ ให้งานประเภทที่ดูเหมือนจะกึ่งสูญพันธ์ไปจากวงการภาพยนตร์ไปแล้ว ได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง รวมถึงหนังตลกสัปดนที่เล่าเรื่องทะลึ่งตึงตังของสาว ๆ อย่าง Bridesmaids ที่เป็นขวัญใจทั้งนักวิจารณ์และคนดู ... แต่สุดท้ายแล้วด้วยชื่อของ วูดดี้ อัลเลน กับบทภาพยนตร์ตลกฉลาดหลักแหลมแบบปัญญาชน น่าจะทำให้ Midnight In Paris คว้ารางวัลนี้ไปในที่สุด
สำหรับสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงนั้นดูจะตื่นเต้นน้อยกว่าซักนิดหน่อย เพราะงานเขียนบทของ อเล็กซานเดอร์ เพย์น กับ The Descendants แทบจะเป็นเต็งจ๋าที่มีโอกาสพลิกล็อกได้น้อยมากเต็มทน
หนังภาษาต่างประเทศ: ตัวแทนอิหร่านน่าลุ้น แต่โอกาสพลิกยังมี
1/12 - A Seperation
8/1 - In Darkness
14/1 - Footnote
16/1 - Monsieur Lazhar
33/1 – Bullhead
หนังภาษาต่างประเทศเป็นรางวัลอีกสาขาที่มีตัวเต็งที่โดดเด่นชนิดเหนือกว่าเรื่องอื่นอย่างชัดเจน
A Seperation หนังจากอิหร่าน ไม่เพียงได้รับการยกย่องในหมู่หนังภาษาต่างประเทศด้วยกันเท่านั้น แต่มีเสียงชมว่านี้แทบจะเป็นหนังที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของปี 2011 ด้วยซ้ำ หลักฐานกับการได้ชิงรางวัลด้านบทภาพยนตร์ด้วย ก็ถือเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างดี นอกจากนั้นประเด็นความตึงเครียดทางการเมือง ก็น่าจะทำให้หนังอิหร่านได้รับความสนใจยิ่งขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาที่ผ่านมารางวัลในสาขาภาษาต่างประเทศของออสการ์ก็มีการพลิกล็อกให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ตั้งแต่ในยุคที่ Farewell My Concubine ต้องพลาดออสการ์อย่างน่าเสียดายไปให้กับหนังสเปน Belle Epoque, หนังญี่ปุ่น Depatures ชนะ The Class จากฝรั่งเศส, No Man's Land คว้ารางวัลได้แทนที่จะเป็น Ameile หรือเมื่อไม่กี่ปีก่อน หนังอาร์เจนตินา The Secret in Their Eyes เอาชนะ A Prophet หนังดังจากฝรั่งเศสไปได้ .... เพราะฉะนั้นเรียกว่าไม่มีอะไรแน่นอน สำหรับออสการ์สาขาหนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม
ภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยม: ปีที่ไม่มี Pixar
1/16 - Rango
10/1 - Chico And Rita
12/1 - A Cat In Paris
20/1 - Puss In Boots
40/1 - Kung Fu Panda 2
ในปีที่ Pixar เจ้าของ 6 ออสการ์สาขาภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยม ฟอร์มตกจน Car 2 ผลงานประจำปี 2011 มาไม่ถึงงานแจกรางวัลออสการ์ จึงดูเหมือนว่าโอกาสได้เปิดกว้างสำหรับผู้สร้างอนิเมชั่นเจ้าอื่น ๆ บ้างแล้ว
แต่ถึงแบบนั้นก็ยังมี Rango ของ Industrial Light and Magic มาเป็นตัวเต็งแทน โดยการ์ตูนที่มีพระเอกดัง จอห์นนี่ เดปป์ ให้เสียงพากย์เรื่องนี้ได้รับคำชมทั้งงานภาพที่โดดเด่น และเนื้อหาที่จริงจังแตกต่างจากการ์ตูนทั่ว ๆ ไป
ซึ่งถ้าไม่ใช่ Rango แล้วออสการ์ก็อาจจะตัดสินใจมอบรางวัลในสาขานี้ให้กับงานประเภททางเลือกอย่าง Chico And Rita หรือ A Cat In Paris ก็เป็นได้ แต่โอกาสก็เรียกว่ายังน้อยอยู่ดี ส่วน DreamWorks Animation เจ้าของออสการ์สาขาภาพยนตร์อนิเมชั่นตัวแรกจาก Shrek เมื่อ 11 ปีก่อน ก็คงต้องรอรางวัลตัวที่ 2 ของบริษัทต่อไปแม้ปีนี้จะมีผลงานเข้าชิงถึงสองเรื่องคือ Puss In Boots และ Kung Fu Panda 2 แต่ความโดดเด่นที่จะทำให้คว้ารางวัลออสการ์นั้นดูเหมือนจะมีอยู่ไม่ค่อยสูงนัก
เกาะติดข่าวบันเทิงและร่วมวงเมาท์ดารากับ ""ซ้อ 7"ก่อนใคร ผ่าน SMS โทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย ระบบ dtac - เข้าเมนู write Message พิมพ์ R แล้วส่งไปที่หมายเลข 1951540 ระบบ AIS - กด *468200311 แล้วโทร.ออก ระบบ True Move และ Hutch - เข้าเมนู write Message พิมพ์ ENT แล้วส่งไปที่หมายเลข 4682000 *ค่าบริการเพียง 29 บาท ต่อเดือน ทดลองใช้ฟรี 15 วัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก |