"ไอ้โง่เอ๊ย...โง่หลายก็ตายๆ ไปเลยไป...!"
แม่ผมพูดออกมาด้วยอารมณ์ความหมั่นไส้มากกว่าจะแช่งอย่างจริงๆ จังๆ ตามคำที่สบถที่ค่อนข้างจะรุนแรงไปยังชายวัยกลางคนที่ชื่อ "ประสาน" ซึ่งนอนซมอยู่บนเตียงในโรงพยาบาลหลังถูกส่งตัวมารักษาเพราะอาการความเครียดเมื่อตัวเขาเป็นคนเอ่ยปากไล่ลูกสาวในไส้คนเดียวออกจากบ้าน
"ลูกตัวเองแท้ๆ ไม่เชื่อ ดั๊นไปเชื่อคนอื่น..."
เสียงแม่ยังบ่นไม่เลิกโดยไม่เกรงใจและไว้หน้า ด้วยรู้ดีว่าเบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดที่ทำให้เขาผิดใจกับลูกสาวจนต้องมานอนแหง็กในโรงพยาบาลนั้นเกิดมาจากการที่อีกฝ่ายไปหลงเล่ห์มารยาจากผู้เป็นเมียใหม่และลูกเลี้ยง
ยังไม่ทันที่ผมจะห้ามปรามหรือแสดงความคิดเห็นอะไรบ้าง ภาพในจอทีวีก็ตัดเข้าสู่โฆษณาเสียก่อน...
ครับ ... "ประสาน" ที่แม่ผมแช่งบ่นนั้นเป็นตัวละครตัวหนึ่งจากละครเรื่อง "หวานใจท้ายครัว" ของบริษัท "เก็บเบี้ยใต้ถุณล้าณ จำกัด" ละครภาคค่ำของช่อง 7 ที่เพิ่งจะจบลงไป(โดยมี "เจ้าหญิงหลงยุค" มาแทน)
ผมเองมีโอกาสได้ติดตามชมละครเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าสองสัปดาห์ด้วยเหตุผล 2 ประการด้วยกัน หนึ่งคือเพราะมีเวลาว่างหลังต้องกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านนอก(สระบุรี)เนื่องจากประสบอุบัติเหตุทำให้แขนขวากับขาซ้ายเดี้ยงมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาฯ
สองคือแม่ผมจะดู
หวานใจท้ายครัวมีตัวละครหลักๆ ก็คือ "เปรี้ยว" (เอมี่ กลิ่นประทุม) นางเอกที่ไม่ต้องอะไรจากชีวิตนางซิน(เดอเรลล่า)เพราะต้องโดนแม่เลี้ยงที่ชื่อ "กุสุมา" และลูกๆ ทั้ง 3 ที่ประกอบไปด้วยพี่ชายคนโต "กัมปนาท" และสองน้องสาวอย่าง "กันตา (บี มาติกา)-กันทิมา (ปลา ปาลิตา)" รุมกลั่นแกล้งใส่ร้ายสารพัด โดยเปรี้ยวเองมีเพื่อน(นางเอก)บ้านติดกันชื่อ "อร" (เบ็นซ์ ปุณยาพร) ซึ่งอาศัยอยู่กับน้าสาว "ปรียานุช", น้าเขย "สมศักดิ์" และผู้เป็นยาย
ฟากพระเอกของเรื่องมีชื่อว่า "การิน" (อ้วน รังสิต) หนุ่มนักเรียนนอกที่กลับมารับช่วงธุรกิจจากทางบ้านและเป็นแฟนอยู่กับกันตา ซึ่งครั้งแรกที่เจอกับนางเอก พระเอกของเราเข้าใจว่าเธอเป็นคนรับใช้อยู่ในบ้านของแฟนสาว แต่ด้วยความถูกชะตาเขาจึงคอยหาเรื่องกลั่นแกล้งเธออยู่เป็นประจำ
ยังมีอีก 2 ตัวละครเด่นๆ หนึ่งก็คือเพื่อนพระเอก "พงศธร" (กลม นพพล) ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีเขาเป็นแฟนอยู่กับ "กันทิมา" ก่อนจะหันมาชอบพอกับอร และอีกคนก็คือ "โรส" นางแบบสาวชื่อดัง
แรกๆ ที่ดูก็เฉยๆ ครับ จะมีรู้สึกดีบ้างก็คือความสวย-น่ารักของคุณบี มาติกา กับความสามารถทางด้านการแสดงของคุณเอมี่ แต่ครั้นดูไปดูมาก็อดไม่ได้ที่จะทึ่งกับจินตนาการของผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่องนี้ตลอดไปยังผู้เขียนบทและผู้กำกับเอามากๆ
ไล่ไปตั้งแต่คาแรกเตอร์ฟากของตัวร้ายฝ่ายหญิง กุสุมา กับลูกสาวทั้งสอง ซึ่งทุกฉากทุกตอนที่ออกมานั้น บทสนทนาและการแสดงของพวกเธอล้วนแล้วแต่วนเวียนอยู่กับประเด็นที่ว่าจะทำอย่างไรถึงจะฮุบสมบัติจากพ่อนางเอก จะทำอย่างไรถึงจะ "จับ" พระเอกและเพื่อนพระเอกที่มีฐานะร่ำรวยมาเป็นสามีให้ได้
มีอยู่แค่นี้จริงๆ
เช่นเดียวกับตัวของ โรส เองที่แม้ในเรื่องจะเป็นถึงนางแบบชื่อดัง-ดูกิริยาท่าทางหรือก็เหมือนจะเป็นคนมีการศึกษา ทว่าในหัวก็มีแต่ความคิดที่จะแย่งเอาพระเอกมาเป็นของตนเองให้ได้เช่นกัน
ขณะที่ตัวร้ายฝ่ายชาย อย่าง "กัมปนาท" นั้นความดีไม่มีปรากฏ วันๆ หลงมัวเมาอยู่กับการพนันและก็ความคิดที่ว่าจะหาเงินมาใช้หนี้อย่างไร ท้ายสุดก็ต้องโกงเงินบริษัทกระทั่งถูกไล่ออก และสุดท้ายก็ต้องขายตัว
ส่วนน้าเขยของ อร อย่าง สมศักดิ์ ฉากไหนฉากนั้น ออกมาทีไร ก็จ้องแต่จะฟันหลานสะใภ้ท่าเดียว
ข้ามมาที่ฟากนางเอกของเรากับเพื่อน แม้จะดูเป็นคนไม่ยอมคน แต่ก็แสนจะนางเอ๊กนางเอกจริงๆ เพราะถึงจะโดนแกล้งสารพัด (จะ)โดนปล้ำก็ตั้งหลายครั้ง ก็ยังใจดี๊ใจดีไม่ยอมเอาเรื่อง ด้านของพระเอกหรือก็สุดจะสุภาพบุรุษเอามาก จนเหมือนคนซื่อบื้ออย่างไรอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ตัวเองก็เป็นถึงนักเรียนนอก เป็นผู้บริหารบริษัทใหญ่โตมีเงินเป็นพันล้าน
ไม่ได้กระแดะเป็นคนหัวสูงหรือมองว่าน้ำเน่าไร้สาระจนรับไม่ได้อะไรหรอกนะครับ แต่ที่ผ่านมาสาเหตุหนึ่งที่ผมไม่ชอบจะดูละครไทยมากนักก็คงจะเป็นเพราะความรู้สึกที่ว่าละครไทยนั้นมักจะได้อะไรจากการดูซ้ำๆ กัน เพราะส่วนใหญ่แม้จะต่างกรรม ต่างวาะระ ต่างสถานที่ ต่างสถานะ จะเป็นละครแนวพีเรียด แนวตลก แอ็กชั่น ดราม่า ผี ฯ แต่เนื้อหาก็มักจะวนเวียนอยู่กับประเด็นเดิมๆ คือ ความรัก, การแก่งแย่งกัน ไม่ผู้ชาย-ผู้หญิง ก็สมบัติ ทรัพย์สินเงินทอง
ตลอดจนเนื้อเรื่องก็ค่อนข้างจะขาดเหตุผลและความสมจริง เต็มไปด้วยการแสดงที่เต็มไปด้วยความโอเวอร์แอ็กติ้ง นางร้ายที่เหมือนคนโรคจิต, คนรับใช้+ตัวตลกที่แสนจะปัญญาอ่อน ฯ
จะว่าไปก็หาใช่เรื่องแปลก เพราะละครไทยหลายเรื่องมักจะเอามาจากนิยายประเภทเพ้อ-พา-ชวนฝัน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วเกิดขึ้นจากจินตนาการของนักประพันธ์ที่คิดเอง-เออเองเกือบจะทั้งนั้น
ต่างไปจากละครหรือว่าซีรีส์ต่างประเทศ ตัวอย่างง่ายๆ อย่างของญี่ปุ่น ซึ่งหากจะเขียนเรื่องราวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง (ไม่เว้นแม้กระทั่งงานเขียนที่เป็นการ์ตูน)นั้น ส่วนใหญ่จะต้องมีทีมงานลงไปคลุกคลีศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างค่อนข้างจะจริงจัง ส่งผลให้งานที่ออกมามีเรื่องราวน่าเชื่อถือ-มีเหตุมีผล ตัวละครมีมิติไม่แบนแต๊ดแต๋เหมือนของไทย ตลอดจนเนื้อหาก็ค่อนข้างจะมีความหลากหลาย ทั้งที่เกี่ยวกับกีฬา, การเมือง, การแพทย์, การศึกษา, มิตรภาพของผองเพื่อน ฯ
ที่สำคัญก็คือความสนุกสนานต่างๆ นั้นไม่ได้ตั้งจำกัดอยู่ที่ประเด็นเรื่องรักๆ ใคร่ๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยที่ปมขัดแย้ง-อุปสรรคของเรื่องก็หาได้จำเป็นจะต้องมาจากตัวโกงหรือนางร้ายเสมอไป ขณะที่เนื้อหาก็มักจะมุ่งไปในทิศทางที่ตั้งเป็นคำถาม อันก่อให้เกิดประเด็นทางด้านความคิด หรือแม้กระทั่งทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำให้คนดูเองลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างทั้งเพื่อตัวเองหรือสังคม
ผิดกับละครไทยที่ดูเหมือนว่าจะเน้นทางด้านอารมณ์ของคนดูเป็นหลัก (เหมือนที่แม่ผมเป็น) อาทิ ทำให้หมั่นไส้ตัวตอแหลได้เท่าไหร่ยิ่งดี พระเอกจะดูโง่ก็ช่างมันคนจะได้ลุ้นกันสนุก โถ...นางเอกของเราช่างน่าสงสารอะไรอย่างนี้ ฯลฯ
เห็นปฏิกิริยาของแม่ระหว่างที่ดูละครที่มีทั้งหมั่นไส้ตัวร้าย ฉุนเฉียวกับความโง่ของพ่อพระเอก ขัดเคืองกับความดีของนางเอก-ความซื่อจนเซ่อของพระเอกแล้ว ก็อดที่จะสงสัยๆ ไม่ได้ว่า หรือว่าแท้ที่จริงแล้วในการทำละครขึ้นมาสักเรื่องหนึ่งนั้นบรรดาผู้ผลิตต้องการเห็นเพียงแค่อารมณ์เหล่านี้จากคนดูแค่นั้นเอง?
ลองย้อนกลับไปดูสิครับว่ามีละครไทยสักกี่เรื่องกันที่นำเสนอแล้วทำให้คนดูเกิดความสนใจเรื่องบ้านเมือง ก่อเกิดแรงบันดาลใจทำให้เยาวชนฝันอยากจะเป็นนักกีฬาระดับโลก, อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์, อยากเป็นพ่อครัวมือหนึ่ง, อยากกลับไปทำนา-ทำไร่, อยากเป็นโน่นนี่นั่น อยากทำนั่นนี่โน่น ฯลฯ เหมือนกับซีรีส์ประเทศอื่นที่เข้ามาฮิตบ้านเราบ้างหรือไม่?
ครั้นมีการออกความเห็นอะไรไป ก็มักจะได้เหตุผลกลับมาจากบรรดาคนผลิตละครในทำนองที่ว่า...ทำละครขึ้นมาก็เพื่อต้องการสะท้อนสังคม หรือใครจะเถียงว่าเรื่องเมียน้อย เรื่องแย่งแฟน แย่งผัว เรื่องแย่งสมบัติ เรื่องตบตีกันเหล่านี้ในสังคมเราไม่มีเลย...แล้วไงล่ะ สุดท้ายละครก็สอนอยู่ว่าคนชั่วต้องได้รับผลกรรม ฯ
เมื่อคำตอบเป็นเช่นนี้ฉะนั้นก็อย่าได้แปลกใจเลยครับที่บ้านเราจะยังคงอุดมไปด้วยปัญหาสังคมต่างๆ มากมายชนิดที่ไม่มีวี่แววว่าจะลดลง หนำซ้ำกลับดูเหมือนจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามกระแสแห่ง "สมัยนิยม" เช่น ข่าวคลิปเด็กนักเรียนตีกัน, เยาวชนไทยติดความหรูหราฟุ่มเฟือยตะเกียกตะกายใช้ของแบรดน์เนม ถึงไม่ได้ของแท้ของปลอมก็เอา, นักศึกษาฆ่าตัวตายเพราะรักคุด, คนส่วนใหญ่ใช้อารมณ์นำหน้าตัดสินปัญหา, คนส่วนใหญ่มีความเห็นแก่ตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ อะไรทำนองนี้ออกมาอยู่เรื่อยๆ
และก็อย่าได้แปลกใจเลยครับว่าทั้งๆ ที่บ้านเราเองก็ค่อนข้างจะ "ตามทัน" ในเรื่องของด้านความเจริญทางด้านวัตถุ-เทคโนโลยีของสังคมอื่นที่เรามองว่าพัฒนาแล้ว หากแต่เรื่องความรู้ "เท่าทัน" ในสิ่งต่างๆ นั้นกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ก็ในเมื่อโลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว เพียงแค่ทำละครเรายังเป็นกันได้แค่เพียง "กระจก" ที่สะท้อนภาพไปสะท้อนภาพมา หากแต่ไม่มีใครเลยที่คิดจะเป็นเสมือน "ตะเกียง" สอนให้คนรู้จักคิดเพื่อที่จะพยายามช่วยกันส่องแสงหาทางออกให้กับสังคมเลย
อาจจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมด แต่ใครจะแย้งบ้างล่ะว่าไม่เกี่ยวกัน
แม่ผมพูดออกมาด้วยอารมณ์ความหมั่นไส้มากกว่าจะแช่งอย่างจริงๆ จังๆ ตามคำที่สบถที่ค่อนข้างจะรุนแรงไปยังชายวัยกลางคนที่ชื่อ "ประสาน" ซึ่งนอนซมอยู่บนเตียงในโรงพยาบาลหลังถูกส่งตัวมารักษาเพราะอาการความเครียดเมื่อตัวเขาเป็นคนเอ่ยปากไล่ลูกสาวในไส้คนเดียวออกจากบ้าน
"ลูกตัวเองแท้ๆ ไม่เชื่อ ดั๊นไปเชื่อคนอื่น..."
เสียงแม่ยังบ่นไม่เลิกโดยไม่เกรงใจและไว้หน้า ด้วยรู้ดีว่าเบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดที่ทำให้เขาผิดใจกับลูกสาวจนต้องมานอนแหง็กในโรงพยาบาลนั้นเกิดมาจากการที่อีกฝ่ายไปหลงเล่ห์มารยาจากผู้เป็นเมียใหม่และลูกเลี้ยง
ยังไม่ทันที่ผมจะห้ามปรามหรือแสดงความคิดเห็นอะไรบ้าง ภาพในจอทีวีก็ตัดเข้าสู่โฆษณาเสียก่อน...
ครับ ... "ประสาน" ที่แม่ผมแช่งบ่นนั้นเป็นตัวละครตัวหนึ่งจากละครเรื่อง "หวานใจท้ายครัว" ของบริษัท "เก็บเบี้ยใต้ถุณล้าณ จำกัด" ละครภาคค่ำของช่อง 7 ที่เพิ่งจะจบลงไป(โดยมี "เจ้าหญิงหลงยุค" มาแทน)
ผมเองมีโอกาสได้ติดตามชมละครเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าสองสัปดาห์ด้วยเหตุผล 2 ประการด้วยกัน หนึ่งคือเพราะมีเวลาว่างหลังต้องกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านนอก(สระบุรี)เนื่องจากประสบอุบัติเหตุทำให้แขนขวากับขาซ้ายเดี้ยงมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาฯ
สองคือแม่ผมจะดู
หวานใจท้ายครัวมีตัวละครหลักๆ ก็คือ "เปรี้ยว" (เอมี่ กลิ่นประทุม) นางเอกที่ไม่ต้องอะไรจากชีวิตนางซิน(เดอเรลล่า)เพราะต้องโดนแม่เลี้ยงที่ชื่อ "กุสุมา" และลูกๆ ทั้ง 3 ที่ประกอบไปด้วยพี่ชายคนโต "กัมปนาท" และสองน้องสาวอย่าง "กันตา (บี มาติกา)-กันทิมา (ปลา ปาลิตา)" รุมกลั่นแกล้งใส่ร้ายสารพัด โดยเปรี้ยวเองมีเพื่อน(นางเอก)บ้านติดกันชื่อ "อร" (เบ็นซ์ ปุณยาพร) ซึ่งอาศัยอยู่กับน้าสาว "ปรียานุช", น้าเขย "สมศักดิ์" และผู้เป็นยาย
ฟากพระเอกของเรื่องมีชื่อว่า "การิน" (อ้วน รังสิต) หนุ่มนักเรียนนอกที่กลับมารับช่วงธุรกิจจากทางบ้านและเป็นแฟนอยู่กับกันตา ซึ่งครั้งแรกที่เจอกับนางเอก พระเอกของเราเข้าใจว่าเธอเป็นคนรับใช้อยู่ในบ้านของแฟนสาว แต่ด้วยความถูกชะตาเขาจึงคอยหาเรื่องกลั่นแกล้งเธออยู่เป็นประจำ
ยังมีอีก 2 ตัวละครเด่นๆ หนึ่งก็คือเพื่อนพระเอก "พงศธร" (กลม นพพล) ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีเขาเป็นแฟนอยู่กับ "กันทิมา" ก่อนจะหันมาชอบพอกับอร และอีกคนก็คือ "โรส" นางแบบสาวชื่อดัง
แรกๆ ที่ดูก็เฉยๆ ครับ จะมีรู้สึกดีบ้างก็คือความสวย-น่ารักของคุณบี มาติกา กับความสามารถทางด้านการแสดงของคุณเอมี่ แต่ครั้นดูไปดูมาก็อดไม่ได้ที่จะทึ่งกับจินตนาการของผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่องนี้ตลอดไปยังผู้เขียนบทและผู้กำกับเอามากๆ
ไล่ไปตั้งแต่คาแรกเตอร์ฟากของตัวร้ายฝ่ายหญิง กุสุมา กับลูกสาวทั้งสอง ซึ่งทุกฉากทุกตอนที่ออกมานั้น บทสนทนาและการแสดงของพวกเธอล้วนแล้วแต่วนเวียนอยู่กับประเด็นที่ว่าจะทำอย่างไรถึงจะฮุบสมบัติจากพ่อนางเอก จะทำอย่างไรถึงจะ "จับ" พระเอกและเพื่อนพระเอกที่มีฐานะร่ำรวยมาเป็นสามีให้ได้
มีอยู่แค่นี้จริงๆ
เช่นเดียวกับตัวของ โรส เองที่แม้ในเรื่องจะเป็นถึงนางแบบชื่อดัง-ดูกิริยาท่าทางหรือก็เหมือนจะเป็นคนมีการศึกษา ทว่าในหัวก็มีแต่ความคิดที่จะแย่งเอาพระเอกมาเป็นของตนเองให้ได้เช่นกัน
ขณะที่ตัวร้ายฝ่ายชาย อย่าง "กัมปนาท" นั้นความดีไม่มีปรากฏ วันๆ หลงมัวเมาอยู่กับการพนันและก็ความคิดที่ว่าจะหาเงินมาใช้หนี้อย่างไร ท้ายสุดก็ต้องโกงเงินบริษัทกระทั่งถูกไล่ออก และสุดท้ายก็ต้องขายตัว
ส่วนน้าเขยของ อร อย่าง สมศักดิ์ ฉากไหนฉากนั้น ออกมาทีไร ก็จ้องแต่จะฟันหลานสะใภ้ท่าเดียว
ข้ามมาที่ฟากนางเอกของเรากับเพื่อน แม้จะดูเป็นคนไม่ยอมคน แต่ก็แสนจะนางเอ๊กนางเอกจริงๆ เพราะถึงจะโดนแกล้งสารพัด (จะ)โดนปล้ำก็ตั้งหลายครั้ง ก็ยังใจดี๊ใจดีไม่ยอมเอาเรื่อง ด้านของพระเอกหรือก็สุดจะสุภาพบุรุษเอามาก จนเหมือนคนซื่อบื้ออย่างไรอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ตัวเองก็เป็นถึงนักเรียนนอก เป็นผู้บริหารบริษัทใหญ่โตมีเงินเป็นพันล้าน
ไม่ได้กระแดะเป็นคนหัวสูงหรือมองว่าน้ำเน่าไร้สาระจนรับไม่ได้อะไรหรอกนะครับ แต่ที่ผ่านมาสาเหตุหนึ่งที่ผมไม่ชอบจะดูละครไทยมากนักก็คงจะเป็นเพราะความรู้สึกที่ว่าละครไทยนั้นมักจะได้อะไรจากการดูซ้ำๆ กัน เพราะส่วนใหญ่แม้จะต่างกรรม ต่างวาะระ ต่างสถานที่ ต่างสถานะ จะเป็นละครแนวพีเรียด แนวตลก แอ็กชั่น ดราม่า ผี ฯ แต่เนื้อหาก็มักจะวนเวียนอยู่กับประเด็นเดิมๆ คือ ความรัก, การแก่งแย่งกัน ไม่ผู้ชาย-ผู้หญิง ก็สมบัติ ทรัพย์สินเงินทอง
ตลอดจนเนื้อเรื่องก็ค่อนข้างจะขาดเหตุผลและความสมจริง เต็มไปด้วยการแสดงที่เต็มไปด้วยความโอเวอร์แอ็กติ้ง นางร้ายที่เหมือนคนโรคจิต, คนรับใช้+ตัวตลกที่แสนจะปัญญาอ่อน ฯ
จะว่าไปก็หาใช่เรื่องแปลก เพราะละครไทยหลายเรื่องมักจะเอามาจากนิยายประเภทเพ้อ-พา-ชวนฝัน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วเกิดขึ้นจากจินตนาการของนักประพันธ์ที่คิดเอง-เออเองเกือบจะทั้งนั้น
ต่างไปจากละครหรือว่าซีรีส์ต่างประเทศ ตัวอย่างง่ายๆ อย่างของญี่ปุ่น ซึ่งหากจะเขียนเรื่องราวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง (ไม่เว้นแม้กระทั่งงานเขียนที่เป็นการ์ตูน)นั้น ส่วนใหญ่จะต้องมีทีมงานลงไปคลุกคลีศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างค่อนข้างจะจริงจัง ส่งผลให้งานที่ออกมามีเรื่องราวน่าเชื่อถือ-มีเหตุมีผล ตัวละครมีมิติไม่แบนแต๊ดแต๋เหมือนของไทย ตลอดจนเนื้อหาก็ค่อนข้างจะมีความหลากหลาย ทั้งที่เกี่ยวกับกีฬา, การเมือง, การแพทย์, การศึกษา, มิตรภาพของผองเพื่อน ฯ
ที่สำคัญก็คือความสนุกสนานต่างๆ นั้นไม่ได้ตั้งจำกัดอยู่ที่ประเด็นเรื่องรักๆ ใคร่ๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยที่ปมขัดแย้ง-อุปสรรคของเรื่องก็หาได้จำเป็นจะต้องมาจากตัวโกงหรือนางร้ายเสมอไป ขณะที่เนื้อหาก็มักจะมุ่งไปในทิศทางที่ตั้งเป็นคำถาม อันก่อให้เกิดประเด็นทางด้านความคิด หรือแม้กระทั่งทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำให้คนดูเองลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างทั้งเพื่อตัวเองหรือสังคม
ผิดกับละครไทยที่ดูเหมือนว่าจะเน้นทางด้านอารมณ์ของคนดูเป็นหลัก (เหมือนที่แม่ผมเป็น) อาทิ ทำให้หมั่นไส้ตัวตอแหลได้เท่าไหร่ยิ่งดี พระเอกจะดูโง่ก็ช่างมันคนจะได้ลุ้นกันสนุก โถ...นางเอกของเราช่างน่าสงสารอะไรอย่างนี้ ฯลฯ
เห็นปฏิกิริยาของแม่ระหว่างที่ดูละครที่มีทั้งหมั่นไส้ตัวร้าย ฉุนเฉียวกับความโง่ของพ่อพระเอก ขัดเคืองกับความดีของนางเอก-ความซื่อจนเซ่อของพระเอกแล้ว ก็อดที่จะสงสัยๆ ไม่ได้ว่า หรือว่าแท้ที่จริงแล้วในการทำละครขึ้นมาสักเรื่องหนึ่งนั้นบรรดาผู้ผลิตต้องการเห็นเพียงแค่อารมณ์เหล่านี้จากคนดูแค่นั้นเอง?
ลองย้อนกลับไปดูสิครับว่ามีละครไทยสักกี่เรื่องกันที่นำเสนอแล้วทำให้คนดูเกิดความสนใจเรื่องบ้านเมือง ก่อเกิดแรงบันดาลใจทำให้เยาวชนฝันอยากจะเป็นนักกีฬาระดับโลก, อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์, อยากเป็นพ่อครัวมือหนึ่ง, อยากกลับไปทำนา-ทำไร่, อยากเป็นโน่นนี่นั่น อยากทำนั่นนี่โน่น ฯลฯ เหมือนกับซีรีส์ประเทศอื่นที่เข้ามาฮิตบ้านเราบ้างหรือไม่?
ครั้นมีการออกความเห็นอะไรไป ก็มักจะได้เหตุผลกลับมาจากบรรดาคนผลิตละครในทำนองที่ว่า...ทำละครขึ้นมาก็เพื่อต้องการสะท้อนสังคม หรือใครจะเถียงว่าเรื่องเมียน้อย เรื่องแย่งแฟน แย่งผัว เรื่องแย่งสมบัติ เรื่องตบตีกันเหล่านี้ในสังคมเราไม่มีเลย...แล้วไงล่ะ สุดท้ายละครก็สอนอยู่ว่าคนชั่วต้องได้รับผลกรรม ฯ
เมื่อคำตอบเป็นเช่นนี้ฉะนั้นก็อย่าได้แปลกใจเลยครับที่บ้านเราจะยังคงอุดมไปด้วยปัญหาสังคมต่างๆ มากมายชนิดที่ไม่มีวี่แววว่าจะลดลง หนำซ้ำกลับดูเหมือนจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามกระแสแห่ง "สมัยนิยม" เช่น ข่าวคลิปเด็กนักเรียนตีกัน, เยาวชนไทยติดความหรูหราฟุ่มเฟือยตะเกียกตะกายใช้ของแบรดน์เนม ถึงไม่ได้ของแท้ของปลอมก็เอา, นักศึกษาฆ่าตัวตายเพราะรักคุด, คนส่วนใหญ่ใช้อารมณ์นำหน้าตัดสินปัญหา, คนส่วนใหญ่มีความเห็นแก่ตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ อะไรทำนองนี้ออกมาอยู่เรื่อยๆ
และก็อย่าได้แปลกใจเลยครับว่าทั้งๆ ที่บ้านเราเองก็ค่อนข้างจะ "ตามทัน" ในเรื่องของด้านความเจริญทางด้านวัตถุ-เทคโนโลยีของสังคมอื่นที่เรามองว่าพัฒนาแล้ว หากแต่เรื่องความรู้ "เท่าทัน" ในสิ่งต่างๆ นั้นกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ก็ในเมื่อโลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว เพียงแค่ทำละครเรายังเป็นกันได้แค่เพียง "กระจก" ที่สะท้อนภาพไปสะท้อนภาพมา หากแต่ไม่มีใครเลยที่คิดจะเป็นเสมือน "ตะเกียง" สอนให้คนรู้จักคิดเพื่อที่จะพยายามช่วยกันส่องแสงหาทางออกให้กับสังคมเลย
อาจจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมด แต่ใครจะแย้งบ้างล่ะว่าไม่เกี่ยวกัน