มองอย่างผิวเผิน Boarding Gate งานชิ้นใหม่ของผู้กำกับ โอลิวิเยร์ อัสซายาส ก็เป็นไปตามคำโปรยที่ว่าไว้บนโปสเตอร์ของหนัง ซึ่งก็คือ “She's losing control again” หรือทั้งตัวละครและตัวหนังเอง - ดูเหมือนจะสูญเสียการควบคุมอีกครั้งหนึ่ง
ค่อนข้างไม่ผิดเพี้ยนที่ Boarding Gate เป็นหนังที่ไร้การควบคุมใดๆ มันยุ่งเหยิงและคาดเดาไม่ได้มากกว่างานเพี้ยนๆ ของเขาอย่าง Demonlover (2002) ประมาณ 2 เท่า แต่ก็นั่นเอง การที่หนังดูไร้โครงสร้างและเต็มไปด้วยอารมณ์ลักลั่น มันไม่ได้หมายความว่าผู้กำกับควบคุมหนังของตัวเองไม่ได้
ตรงกันข้าม Boarding Gate เป็นการทดลองที่องค์ประกอบทุกส่วนได้รับการวางแผนอย่างรัดกุม อย่างน้อยๆ เมื่อได้ติดตามการผจญภัยอันหฤหรรษ์ของตัวละครจบลง คนดูจะได้รับก้อนความคิดอะไรบางอย่างกลับไปขบคิด - ที่เป็นมากกว่าการสั่งสอนธรรมดาๆ
ก่อนที่จะแจกแจงในประเด็นนั้น นี่เป็นหนังอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับหญิงสาวกร้านโลกคนหนึ่ง (เอเชีย อาร์เจนโต้ - หนึ่งในส่วนที่โดดเด่นและสาหัสที่สุดหนัง) ที่ได้รับการจ้างวานจากชู้รักหนุ่ม (คาร์ล อึ้ง) ให้ไปฆ่าเจ้าพ่อคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นชู้รักของเธอ (ไมเคิล แมดเสน) ก่อนที่เธอจะเข้าไปเกี่ยวพันกับธุรกิจผิดกฏหมายข้ามชาติ
ระหว่างเธอเรื่องกำลังเดินไปข้างหน้า อัสซายาสพยายมเบี่ยงเส้นทางที่มันควรจะเป็นตลอดเวลา จนถึง ณ เวลาหนึ่ง คนดูเหมือนถูกปล่อยทิ้งคว้าง ก่อนจะถูกกระชากดึงกลับมาอยู่ที่เดิมอย่างกะทันหันและรุนแรง
Boarding Gate เป็นหนัง Thriller (ระทึกขวัญ) ที่ตั้งหน้าตั้งตาต่อต้านธรรมเนียมนิยมโดยไม่แยแสผลัพธ์ด้านอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นกับคนดู การบิดเบือนดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพียงหนเดียว มันหักไปหักมา ราวกลับว่ากำลังดึงคนดูเข้าๆ ออกๆ จากจอหนังในจังหวะที่สม่ำเสมอ
ถ้ามองโดยการจับเอาลักษณะที่ควรจะเป็นของหนังระทึกขวัญมาเทียบกับ Boarding Gate ก็นับว่าหนังมีช่วงเวลาตื่นเต้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็น (ถึงแม้ฉากไล่ล่าบางฉากจะชวนให้นึกถึง The Bourne Ultimatum ก็ตาม) ฉากแอ็กชั่นหลายๆ ฉาก ถูกคั่นด้วยการสนทนายาวๆ – ยาวพอที่จะทำให้คนดูหมดความอดทน
อย่างที่กล่าวไป ทันทีที่คนดูรู้สึกอารมณ์เหือดแห้ง อัสซายาสจะพลิกเรื่องกลับไปเป็นอีกทาง เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนคุณนั่งดูหนังยานอนหลับของ เอริก โรห์แมร์ ควบคู่ไปกับ The Bourne Ultimatum สลับกันไปมาคนละ 10 – 20 นาที
ความลักลั่นทางด้านอารมณ์ นั้นหนักหนาพอๆ กับการให้รายละเอียดในเนื้อเรื่อง ในบทสัมภาษณ์ชิ้นหนึ่งของไมเคิล แมดเสน – หนึ่งในนักแสดงนำของเรื่อง - พูดถึงการทำงานในหนังเรื่องนี้ เขากล่าวว่า “ผมสับสนเกี่ยวกับตัวละครตัวนี้มากๆ ผมไม่รู้ว่าต้องเล่นเอี้ยอะไร คือว่าตัวละครตัวนี้ทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเตอร์เนต และยังเป็นนักเล่นหุ้น เขาเป็นนักธุรกิจที่มีออฟฟิศและลูกน้องเป็นขโยง เขาสวมเสื้อผ้ามีราคา มีรถหรูขับ ผมเข้าไม่ถึงมันจริงๆ เพราะผมไม่รู้ว่ามันเกี่ยวกับอะไร”
ในความคิดของอัสซายาส การยินยอมบอกรายละเอียดแก่คนดู อาจเป็นการทำลายความสมจริงของหนังไปบางส่วน (น่าสนใจที่รูปลักษณ์ของเอเชีย อาร์เจนโต้ และการหักมุมในตอนท้าย น่าจะเป็นการทำลายความสมจริงเสียมากกว่า)
เพราะฉะนั้น หนังจึงเหมือนจับคนดูมาชมเหตุการณ์บางอย่างที่มันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่จำเป็นต้องสาธยายซ้ำอีก รวมถึงคงต้องเป็นหน้าที่ของคนดูที่จะไปปะติดปะต่อเรื่องเอาเอง หรือในบางที - - คนดูอาจต้องยอมรับว่า เนื้อเรื่อง - ไม่ได้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการดูหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
พูดกันตามตรงแล้ว Boarding Gate ก็ไม่ได้เป็นหนังที่ “ดูไม่รู้เรื่อง” เสียทีเดียว มันมีเส้นเรื่องที่ชัดเจนพอสมควรในการตามติดชีวิตอันผกผันของซานดร้า นางเอกของเรื่อง เธอเข้าไปในโลกพิศวงของอาชญากรรมอย่างไม่ได้ตั้งใจ และต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดอย่างลำพัง
ถ้าใครได้ชมงานของโอลิวิเยร์ อัสซายาสมาบ้างสัก 1 – 2 เรื่อง คงพอจับมันมาโยงด้วยกันได้ เนื่องจากพล็อตเรื่องทำนองนี้ ถูกใช้มาแล้วในงานชิ้นก่อนๆ
ใน Demonlover คนดูถูกนำไปสู่โลกธุรกิจการค้าสื่อลามกในอินเตอร์เนต, ใน Clean คนดูถูกนำไปพบกับผู้หญิงคนหนึ่งที่แสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในโลกใบเก่าอันแสนอับเฉาของเธอ, ใน Sentimental Destinies คนดูพาไปพบกับธุรกิจการค้ากระเบื้องเคลือบในช่วงต้นศตวรรษที่ 20, ใน Irma Vep คนดูเข้าไปในกองถ่ายทำหนังสยองขวัญฝรั่งเศส หรือใน Late August, Early September คนดูก็ถูกนำไปสู่โลกของการก้าวข้ามวัยจากวัยรุ่นเป็นผู้ใหญ่ - โดยต้องเน้นย้ำว่า ทั้งหมดนั้น คนดูกับตัวละครได้รับการผูกติดไปด้วยกัน
สำหรับ Boarding Gate คนดูเริ่มต้นที่อังกฤษ ก่อนจะหักเหไปทั้งลักเซมเบิร์ก, ฮ่องกง และฝรั่งเศส ได้พบเจอตัวละครสำคัญๆ ที่เราไม่รู้จักแม้แต่ชื่อ กระทั่งภาษาที่พวกเขาพูด ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่ง
จากนิตยสาร ฟิล์ม คอมเมนต์ ฉบับ มกรา/กุมภา ปี 2008 โอลิวิเยร์ อัสซายาส ได้เขียนบทความถึง เอ็ดเวิร์ด หยาง ผู้ล่วงลับ บอกเล่าถึงความสัมพันธ์รวมถึงความรู้สึกที่เขามีต่อผู้กำกับชาวไต้หวันคนนี้
เนื้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงการพบปะกันของทั้งคู่ (ซึ่งนำพาความตื่นเต้นและดีใจมาสู่อัสซายาสอย่างท่วมท้น) หยางและอัสซายาสไม่ได้พูดคุยอะไรกันมากมาย (แม้ว่าการใช้ภาษาอังกฤษของทั้งสองคน ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ เลย) หากแต่การพูดคุยในครั้งนั้น กลับทำให้อัสซายาสตระหนักถึงความจริงใหม่ๆ ทั้งในการทำงาน และการใช้ชีวิต
การได้พบเจอความเปลี่ยนแปลงในชีวิต หรือสิ่งที่เราไม่คุ้นชิน อาจทำให้เรารู้สึกเหงา เหมือนในหนังของหว่องกาไว หรือใน Lost in Translation ของโซเฟีย คอปโปลา แต่นอกจากความเปลี่ยวเหงา – หลังจากซมซานใช้ชีวิตอย่างระหกระเหิน ตัวละครของอัสซายาสก็ได้พอกับการเกิดใหม่
Boarding Gate อาจแต่งอาค์ทรงเครื่องมาเป็นหนังระทึกขวัญก็จริง แต่โดยเนื้อแท้มันกล่าวถึงความเหงาระดับที่หนาวไปถึงขั้ววิญญาณ
ในโลกที่ไร้โครงสร้างหรือกฏเกณฑ์ใดๆ ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กันด้วยความตายและเงินตรา - ความรักกลายเป็นโบราณวัตถุที่โดนกลบฝังไปแล้ว ณ ตรงจุดใดจุดหนึ่งในทะเลทราย, แล้วเราจะมีชีวิตรอดอยู่ในดินแดนมหัศจรรย์แบบนี้ได้อย่างไร
นี่คือสิ่งที่คนดูน่าจะได้รับไปเท่าๆ กันหลังจากชม Boarding Gate จบ แต่นั่นก็จำเป็นต้องอดทนดูให้จบ และคงต้องใช้ความพยายามอยู่สักหน่อยในการผ่านครึ่งชั่วโมงแรกของหนังมาให้ได้
โอลิวิเยร์ อัสซายาส เคยทำงานเป็นนักวิจารณ์ในนิตยสาร กาเย่ร์ส ดู ซีเนมา มาก่อน เป็นพวกบ้าหนังที่ผันตัวเองมาทำหนังแบบรุ่นลุงๆ ในยุคคลื่นลูกใหม่ฝรั่งเศสช่วงทศวรรษที่ 60
หนังของเขาอาจไม่สนุก เพราะพยายามทดลองโครงสร้างใหม่ๆ ของหนัง ไม่ใช่เพราะเขาทำหนังไม่เป็นอย่างที่คนใจแคบบางคนกล่าวหา
มองอย่างผิวเผิน Boarding Gate งานชิ้นใหม่ของผู้กำกับ โอลิวิเยร์ อัสซายาส ก็เป็นไปตามคำโปรยที่ว่าไว้บนโปสเตอร์ของหนัง ซึ่งก็คือ “She's losing control again” หรือทั้งตัวละครและตัวหนังเอง - ดูเหมือนจะสูญเสียการควบคุมอีกครั้งหนึ่ง
ค่อนข้างไม่ผิดเพี้ยนที่ Boarding Gate เป็นหนังที่ไร้การควบคุมใดๆ มันยุ่งเหยิงและคาดเดาไม่ได้มากกว่างานเพี้ยนๆ ของเขาอย่าง Demonlover (2002) ประมาณ 2 เท่า แต่ก็นั่นเอง การที่หนังดูไร้โครงสร้างและเต็มไปด้วยอารมณ์ลักลั่น มันไม่ได้หมายความว่าผู้กำกับควบคุมหนังของตัวเองไม่ได้
ตรงกันข้าม Boarding Gate เป็นการทดลองที่องค์ประกอบทุกส่วนได้รับการวางแผนอย่างรัดกุม อย่างน้อยๆ เมื่อได้ติดตามการผจญภัยอันหฤหรรษ์ของตัวละครจบลง คนดูจะได้รับก้อนความคิดอะไรบางอย่างกลับไปขบคิด - ที่เป็นมากกว่าการสั่งสอนธรรมดาๆ
ก่อนที่จะแจกแจงในประเด็นนั้น นี่เป็นหนังอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับหญิงสาวกร้านโลกคนหนึ่ง (เอเชีย อาร์เจนโต้ - หนึ่งในส่วนที่โดดเด่นและสาหัสที่สุดหนัง) ที่ได้รับการจ้างวานจากชู้รักหนุ่ม (คาร์ล อึ้ง) ให้ไปฆ่าเจ้าพ่อคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นชู้รักของเธอ (ไมเคิล แมดเสน) ก่อนที่เธอจะเข้าไปเกี่ยวพันกับธุรกิจผิดกฏหมายข้ามชาติ
ระหว่างเธอเรื่องกำลังเดินไปข้างหน้า อัสซายาสพยายมเบี่ยงเส้นทางที่มันควรจะเป็นตลอดเวลา จนถึง ณ เวลาหนึ่ง คนดูเหมือนถูกปล่อยทิ้งคว้าง ก่อนจะถูกกระชากดึงกลับมาอยู่ที่เดิมอย่างกะทันหันและรุนแรง
Boarding Gate เป็นหนัง Thriller (ระทึกขวัญ) ที่ตั้งหน้าตั้งตาต่อต้านธรรมเนียมนิยมโดยไม่แยแสผลัพธ์ด้านอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นกับคนดู การบิดเบือนดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพียงหนเดียว มันหักไปหักมา ราวกลับว่ากำลังดึงคนดูเข้าๆ ออกๆ จากจอหนังในจังหวะที่สม่ำเสมอ
ถ้ามองโดยการจับเอาลักษณะที่ควรจะเป็นของหนังระทึกขวัญมาเทียบกับ Boarding Gate ก็นับว่าหนังมีช่วงเวลาตื่นเต้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็น (ถึงแม้ฉากไล่ล่าบางฉากจะชวนให้นึกถึง The Bourne Ultimatum ก็ตาม) ฉากแอ็กชั่นหลายๆ ฉาก ถูกคั่นด้วยการสนทนายาวๆ – ยาวพอที่จะทำให้คนดูหมดความอดทน
อย่างที่กล่าวไป ทันทีที่คนดูรู้สึกอารมณ์เหือดแห้ง อัสซายาสจะพลิกเรื่องกลับไปเป็นอีกทาง เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนคุณนั่งดูหนังยานอนหลับของ เอริก โรห์แมร์ ควบคู่ไปกับ The Bourne Ultimatum สลับกันไปมาคนละ 10 – 20 นาที
ความลักลั่นทางด้านอารมณ์ นั้นหนักหนาพอๆ กับการให้รายละเอียดในเนื้อเรื่อง ในบทสัมภาษณ์ชิ้นหนึ่งของไมเคิล แมดเสน – หนึ่งในนักแสดงนำของเรื่อง - พูดถึงการทำงานในหนังเรื่องนี้ เขากล่าวว่า “ผมสับสนเกี่ยวกับตัวละครตัวนี้มากๆ ผมไม่รู้ว่าต้องเล่นเอี้ยอะไร คือว่าตัวละครตัวนี้ทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเตอร์เนต และยังเป็นนักเล่นหุ้น เขาเป็นนักธุรกิจที่มีออฟฟิศและลูกน้องเป็นขโยง เขาสวมเสื้อผ้ามีราคา มีรถหรูขับ ผมเข้าไม่ถึงมันจริงๆ เพราะผมไม่รู้ว่ามันเกี่ยวกับอะไร”
ในความคิดของอัสซายาส การยินยอมบอกรายละเอียดแก่คนดู อาจเป็นการทำลายความสมจริงของหนังไปบางส่วน (น่าสนใจที่รูปลักษณ์ของเอเชีย อาร์เจนโต้ และการหักมุมในตอนท้าย น่าจะเป็นการทำลายความสมจริงเสียมากกว่า)
เพราะฉะนั้น หนังจึงเหมือนจับคนดูมาชมเหตุการณ์บางอย่างที่มันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว และไม่จำเป็นต้องสาธยายซ้ำอีก รวมถึงคงต้องเป็นหน้าที่ของคนดูที่จะไปปะติดปะต่อเรื่องเอาเอง หรือในบางที - - คนดูอาจต้องยอมรับว่า เนื้อเรื่อง - ไม่ได้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการดูหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
พูดกันตามตรงแล้ว Boarding Gate ก็ไม่ได้เป็นหนังที่ “ดูไม่รู้เรื่อง” เสียทีเดียว มันมีเส้นเรื่องที่ชัดเจนพอสมควรในการตามติดชีวิตอันผกผันของซานดร้า นางเอกของเรื่อง เธอเข้าไปในโลกพิศวงของอาชญากรรมอย่างไม่ได้ตั้งใจ และต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดอย่างลำพัง
ถ้าใครได้ชมงานของโอลิวิเยร์ อัสซายาสมาบ้างสัก 1 – 2 เรื่อง คงพอจับมันมาโยงด้วยกันได้ เนื่องจากพล็อตเรื่องทำนองนี้ ถูกใช้มาแล้วในงานชิ้นก่อนๆ
ใน Demonlover คนดูถูกนำไปสู่โลกธุรกิจการค้าสื่อลามกในอินเตอร์เนต, ใน Clean คนดูถูกนำไปพบกับผู้หญิงคนหนึ่งที่แสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในโลกใบเก่าอันแสนอับเฉาของเธอ, ใน Sentimental Destinies คนดูพาไปพบกับธุรกิจการค้ากระเบื้องเคลือบในช่วงต้นศตวรรษที่ 20, ใน Irma Vep คนดูเข้าไปในกองถ่ายทำหนังสยองขวัญฝรั่งเศส หรือใน Late August, Early September คนดูก็ถูกนำไปสู่โลกของการก้าวข้ามวัยจากวัยรุ่นเป็นผู้ใหญ่ - โดยต้องเน้นย้ำว่า ทั้งหมดนั้น คนดูกับตัวละครได้รับการผูกติดไปด้วยกัน
สำหรับ Boarding Gate คนดูเริ่มต้นที่อังกฤษ ก่อนจะหักเหไปทั้งลักเซมเบิร์ก, ฮ่องกง และฝรั่งเศส ได้พบเจอตัวละครสำคัญๆ ที่เราไม่รู้จักแม้แต่ชื่อ กระทั่งภาษาที่พวกเขาพูด ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่ง
จากนิตยสาร ฟิล์ม คอมเมนต์ ฉบับ มกรา/กุมภา ปี 2008 โอลิวิเยร์ อัสซายาส ได้เขียนบทความถึง เอ็ดเวิร์ด หยาง ผู้ล่วงลับ บอกเล่าถึงความสัมพันธ์รวมถึงความรู้สึกที่เขามีต่อผู้กำกับชาวไต้หวันคนนี้
เนื้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงการพบปะกันของทั้งคู่ (ซึ่งนำพาความตื่นเต้นและดีใจมาสู่อัสซายาสอย่างท่วมท้น) หยางและอัสซายาสไม่ได้พูดคุยอะไรกันมากมาย (แม้ว่าการใช้ภาษาอังกฤษของทั้งสองคน ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ เลย) หากแต่การพูดคุยในครั้งนั้น กลับทำให้อัสซายาสตระหนักถึงความจริงใหม่ๆ ทั้งในการทำงาน และการใช้ชีวิต
การได้พบเจอความเปลี่ยนแปลงในชีวิต หรือสิ่งที่เราไม่คุ้นชิน อาจทำให้เรารู้สึกเหงา เหมือนในหนังของหว่องกาไว หรือใน Lost in Translation ของโซเฟีย คอปโปลา แต่นอกจากความเปลี่ยวเหงา – หลังจากซมซานใช้ชีวิตอย่างระหกระเหิน ตัวละครของอัสซายาสก็ได้พอกับการเกิดใหม่
Boarding Gate อาจแต่งอาค์ทรงเครื่องมาเป็นหนังระทึกขวัญก็จริง แต่โดยเนื้อแท้มันกล่าวถึงความเหงาระดับที่หนาวไปถึงขั้ววิญญาณ
ในโลกที่ไร้โครงสร้างหรือกฏเกณฑ์ใดๆ ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กันด้วยความตายและเงินตรา - ความรักกลายเป็นโบราณวัตถุที่โดนกลบฝังไปแล้ว ณ ตรงจุดใดจุดหนึ่งในทะเลทราย, แล้วเราจะมีชีวิตรอดอยู่ในดินแดนมหัศจรรย์แบบนี้ได้อย่างไร
นี่คือสิ่งที่คนดูน่าจะได้รับไปเท่าๆ กันหลังจากชม Boarding Gate จบ แต่นั่นก็จำเป็นต้องอดทนดูให้จบ และคงต้องใช้ความพยายามอยู่สักหน่อยในการผ่านครึ่งชั่วโมงแรกของหนังมาให้ได้
โอลิวิเยร์ อัสซายาส เคยทำงานเป็นนักวิจารณ์ในนิตยสาร กาเย่ร์ส ดู ซีเนมา มาก่อน เป็นพวกบ้าหนังที่ผันตัวเองมาทำหนังแบบรุ่นลุงๆ ในยุคคลื่นลูกใหม่ฝรั่งเศสช่วงทศวรรษที่ 60
หนังของเขาอาจไม่สนุก เพราะพยายามทดลองโครงสร้างใหม่ๆ ของหนัง ไม่ใช่เพราะเขาทำหนังไม่เป็นอย่างที่คนใจแคบบางคนกล่าวหา