"นังแจ๋ว..."
เสียงตัวละครตัวผู้มีอันจะกินในฐานะของนางอิจฉาในทีวีตะโกนลั่นบ้าน หลังพบว่าชุดราตรีตัวเก่งมีสภาพไม่พร้อมพอที่เธอจะสวมใส่ไปงานเลี้ยงเพื่อจะจับพระเอกในค่ำคืนนี้ได้
ไม่นานผู้ถูกเรียกซึ่งเป็นหญิงสาววัยเดียวกันกับผู้เรียก หากแต่มีทุกอย่างที่ตรงกันข้าม ทั้งการแต่งตัว ผิวพรรณ และที่สำคัญคือ "สถานะ" ก็โผล่เข้ามาอยู่ในฉากอย่างลุกลี้ลุกลน แววตามีความหวาดหวั่นพร้อมรับฟังคำสั่ง
ผมปล่อยให้เรื่องราวของละครดำเนินต่อไปอย่างมิได้สนใจอะไรมากนัก เพราะมัวแต่คิดเรื่อยเปื่อยไปถึงเรื่องๆ หนึ่งในอดีตเมื่อครั้งยังเด็กที่ต้องสะดุ้งทุกครั้งเมื่อได้ยินคำๆ นี้
...
"แจ๋ว"...อย่างที่รู้ๆ กันว่า ปัจจุบันคำๆ นี้มันได้กลายเป็นกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งสรรพนามของหญิงสาวที่มีอาชีพ "คน(รับ)ใช้" ไปเป็นที่เรียบร้อย
เป็นทั้งในโลกแห่งละคร และโลกแห่งความเป็นจริง
ผมลองใช้ความพยายามอย่างคร่าวๆ หาจุดเริ่มต้นของที่มาของการใช้คำว่า "แจ๋ว" กับตัวละครคน(รับ)ใช้ว่าจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักเท่าไหร่ จะว่าเป็นเพราะตัวละครที่เล่นบทคน(รับ)ใช้ตัวนั้นมีชื่อว่า "แจ๋ว" จริงๆ ก็ไม่มีหลักฐานชี้ชัด เพราะขนาดนักแสดงรุ่นเก๋าอย่าง "ป้าจิ๊ อัจฉราพรรณ" ที่แจ้งเกิดขึ้นมาจากบทคน(รับ)ใช้ในละครเรื่อง "ขบวนการคนใช้" เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาก็มิได้มีชื่อที่ว่า หากแต่ยังใช้ชื่อว่า "อีเอี้ยง"
หรืออาจจะเป็นเพราะการที่ตัวละครนายจ้างเอ่ยปากยกยอคำว่าแจ๋วขึ้นมาชมผลงานจากบทบาทหน้าที่ของลูกจ้างตนเองก็มีความเป็นไปได้
แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะอย่างไร และถึงแม้ด้วยคำว่าแจ๋วเองจะมีความหมายไปในทิศทางที่เป็นบวก ทว่านัยของการใช้คำๆ นี้ต้องยอมรับว่าตรงกันข้าม
ในทัศนะคติของคนส่วนใหญ่เฉพาะอย่างยิ่งการมองผ่านละคร "แจ๋ว" ก็คือหญิงสาวขี้เหร่ จมปลักอยู่กับความสกปรก เนื้อตัวกระเซอะกระเซิง มีห้องครัว - ห้องน้ำเป็นออฟฟิศ มีไม้กวาด ไม้ถูพื้น และเครื่องดูดฝุ่นเป็นอาวุธ การศึกษาไม่สูงมากนัก ชอบนินทาเจ้านาย อ่านหนังสือศาลาคนเศร้า และติดละครหลังข่าว ฯลฯ
ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เล็กๆ นะครับกับทัศนะที่ว่า เพราะมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) เองยังมองว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่งและจัดโครงการที่ชื่อว่ามาเพื่อลบทัศนะคติและความคิดดังกล่าวรวมทั้งสร้างค่านิยมในเชิงบวกให้กับเหล่า "แจ๋ว" มากขึ้นในโครงการที่ชื่อ "โครงการรณรงค์เพื่อความเข้าใจแรงงานเด็กทำงานบ้าน" เมื่อปี 2548 กันเลยทีเดียว
...
คิดถึงเรื่องแจ๋วขึ้นมาก็เป็นเพราะช่วงอาทิตย์สองอาทิตย์ที่ผ่านมาผมทำงานบ้านค่อนข้างจะเยอะและ "ใส่ใจ" มากกว่าปกติ ทั้งกวาดหยากไย่บนเพดาน กวาดถูพื้น ปรับหมุนเตียง ล้างพัดลม กวาดใบไม้ที่ลานบ้าน ทำความสะอาดศาลพระภูมิ เอาที่นอนออกมาตาก ฯ
โดยมีสาเหตุมาจากประโยคๆ หนึ่ง
"เออ แปลกเนาะ ยิ่งโตยิ่งไม่มีระเบียบเอาซะเลย..."
ระยะหลังแม่มักจะพูดประโยคนี้ออกมาบ่อยๆ เมื่อผมกลับไปบ้านที่สระบุรี ซึ่งก็คงจะสมควรหรอกครับเมื่อสิ่งของต่างๆ ที่ผมพกพาไปด้วยถูกวางอย่างระเกะระกะ เรี่ยราด ไม่เว้นแม้กระทั่งเสื้อกางเกงที่ถูกถอดกองไว้กับพื้นโดยปล่อยให้ไม้แขวนเป็นหมัน
ขอโม้นิดนึงว่า ในอดีตผมได้ชื่อว่าเป็นเด็กที่มีระเบียบ รักความสะอาด และขยันทำงานบ้านมากๆ ส่วนหนึ่งก็คงจะเป็นเพราะช่วงที่ตั้งท้องนั้น แม่คาดหวังว่าลูกของตนเองจะต้องออกมาเป็นผู้หญิง(แม่ผมชอบเด็กผู้หญิงครับ) แต่เมื่อคลอดออกมาเป็นกระจู๋แทนกระจิ๋มท่านก็มิได้รู้สึกผิดหวังแต่อย่างไร
แม่เคยบอกว่าค่อนข้างจะเลี้ยงผมในรูปแบบของลูกสาวครับ
กล่าวคือไม่ถึงขนาดจับแต่งหรือให้ทำท่าทางกิริยาเป็นผู้หญิงอะไรนะครับ หากแต่ส่วนใหญ่จะหนักไปในเรื่องของการปลูกฝังงานบ้านต่างๆ ทั้ง การซัก - รีด เสื้อผ้า กวาดบ้าน ถูบ้าน ฯ (ยกเว้นเรื่องในครัวที่เก่งที่สุดก็เป็นได้แค่ผู้ช่วยเตรียมเครื่องปรุงตามคำสั่งของแม่)
ด้วยเหตุที่ว่าผมจึงไม่รู้สึกทั้งขี้เกียจ และรังเกียจต่องานบ้านเหมือนกับผู้ชายส่วนใหญ่ ตรงข้ามกลับรู้สึกชอบและสนุกเสียอีก
แง่หนึ่งที่ทำให้หลายคนมีความรู้สึกทัศนะคติไปในทิศทางลบต่อการงานบ้าน เพราะรู้สึกว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ,จุกจิก, เป็น "งาน" ที่ไม่มีความสำคัญเท่ากับ "อาชีพ" ที่ทำแล้วได้เงินเป็นผลตอบแทน ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศชายเองที่มองว่าตรงนี้ไม่ใช่เรื่องของบุรุษที่พึงกระทำเพราะเป็นหน้าที่ที่สงวนให้กับสตรีเพศเท่านั้น
ขณะที่ผมเองกลับมีความคิดว่ากิจกรรมงาน(ภายใน)บ้านนี่แหละครับคือหน้าที่พื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์อย่างเราๆ ซึ่งสมควรที่จะลงมือทำด้วยตัวเองอย่างใส่ใจ และให้ความสำคัญ เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เราได้มีเวลาอยู่กับครอบครัว อยู่กับตัวเองอันนำมาซึ่งการนึกคิดทบทวนตัวเอง ความมีสมาธิ ที่สำคัญทำแล้วได้เห็นผลที่ออกมาทันทีว่าอยู่ในระดับไหน สะอาดไม่สะอาด เป็นระเบียบหรือไม่เป็นระเบียบ
เป็นกิจกรรมที่เราต้องอยู่กับมัน และมันก็ต้องอยู่กับเรา
ยกตัวอย่างการซักผ้าเองด้วยมือ นอกจากเราจะรู้ว่าตรงไหนสกปรกมาก-น้อย จนสามารถควบคุมแรงที่ถูกส่งลงไปบนแปรงให้มันพอดิบพอดีแล้ว มันยังทำให้เรารู้ด้วยว่าหลังจากที่เสื้อ - กางเกงตัวนี้สะอาดแล้ว เราควรจะมีความระมัดระวังแบบใดบ้างที่จะไม้ให้เสื้อหรือกางเกงไม่เกิดความสกปรกขึ้นอีก
ถามว่าถ้าซักด้วยเครื่องฯ มันทำหรือหรือบอกอะไรกับเราเช่นนี้ได้มั้ย
เครื่องซักผ้ามันชวนให้เราระลึกถึงความทรงจำแห่งความสนุกเมื่อช่วงเย็นวันวานได้มั้ยว่ารอยขี้โคลนที่ถุงเท้านี้มาจากบทบาทการเป็น "เบคแฮม" ของเรา ขณะที่รอยโคลนที่หลังเสื้อเบอร์ 4 มันเกิดเพราะวิญญาณ "เจอร์ราด" เข้าสิง ฯ
เคล็ดอย่างหนึ่งของการทำงานบ้านให้สนุกก็คือ เมื่อเริ่มต้นทำอย่าพยายามคิดว่าเมื่อไหร่มันจะเสร็จ แต่ให้ถามตัวเองว่าเสร็จแล้วเราอยากให้ผลของมันเป็นอย่างไร?
ลองมาเป็นแจ๋วกันเถอะครับ ไม่ต้องเป็นทำทุกวันก็ได้ เดือนละครั้งก็ยังดี
แล้วคุณจะสนุกและหลงรัก "แจ๋ว" อย่างที่ผมรัก
...
"ผมจะไม่ทำอีกแล้วครับครู..." เสียงเพื่อนร่วมชั้นเด็กเล็กคนหนึ่งของผมบอกกับครูประจำชั้น หลังโดนตีเบาๆ ด้วยไม้บรรทัด
ตอนนั้นผมเองก็จำไม่ได้เหมือนกันครับว่า ในใจรู้สึกอย่างไรที่เพื่อนถูกตี แต่จำได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เพื่อนถูกครูทำโทษด้วยความเอ็นดูนั้นเกิดจากอะไร และมันทำให้ผมอดยิ้มขึ้นมาไม่ได้เมื่อคิดถึงความเดียงสาในวัยเยาว์
"ทีหลังห้ามล้อชื่อพ่อ ชื่อแม่กันอีกรู้มั้ย?..." เสียงครูพูดย้ำเป็นคำสั่ง
เสียงตัวละครตัวผู้มีอันจะกินในฐานะของนางอิจฉาในทีวีตะโกนลั่นบ้าน หลังพบว่าชุดราตรีตัวเก่งมีสภาพไม่พร้อมพอที่เธอจะสวมใส่ไปงานเลี้ยงเพื่อจะจับพระเอกในค่ำคืนนี้ได้
ไม่นานผู้ถูกเรียกซึ่งเป็นหญิงสาววัยเดียวกันกับผู้เรียก หากแต่มีทุกอย่างที่ตรงกันข้าม ทั้งการแต่งตัว ผิวพรรณ และที่สำคัญคือ "สถานะ" ก็โผล่เข้ามาอยู่ในฉากอย่างลุกลี้ลุกลน แววตามีความหวาดหวั่นพร้อมรับฟังคำสั่ง
ผมปล่อยให้เรื่องราวของละครดำเนินต่อไปอย่างมิได้สนใจอะไรมากนัก เพราะมัวแต่คิดเรื่อยเปื่อยไปถึงเรื่องๆ หนึ่งในอดีตเมื่อครั้งยังเด็กที่ต้องสะดุ้งทุกครั้งเมื่อได้ยินคำๆ นี้
...
"แจ๋ว"...อย่างที่รู้ๆ กันว่า ปัจจุบันคำๆ นี้มันได้กลายเป็นกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งสรรพนามของหญิงสาวที่มีอาชีพ "คน(รับ)ใช้" ไปเป็นที่เรียบร้อย
เป็นทั้งในโลกแห่งละคร และโลกแห่งความเป็นจริง
ผมลองใช้ความพยายามอย่างคร่าวๆ หาจุดเริ่มต้นของที่มาของการใช้คำว่า "แจ๋ว" กับตัวละครคน(รับ)ใช้ว่าจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักเท่าไหร่ จะว่าเป็นเพราะตัวละครที่เล่นบทคน(รับ)ใช้ตัวนั้นมีชื่อว่า "แจ๋ว" จริงๆ ก็ไม่มีหลักฐานชี้ชัด เพราะขนาดนักแสดงรุ่นเก๋าอย่าง "ป้าจิ๊ อัจฉราพรรณ" ที่แจ้งเกิดขึ้นมาจากบทคน(รับ)ใช้ในละครเรื่อง "ขบวนการคนใช้" เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาก็มิได้มีชื่อที่ว่า หากแต่ยังใช้ชื่อว่า "อีเอี้ยง"
หรืออาจจะเป็นเพราะการที่ตัวละครนายจ้างเอ่ยปากยกยอคำว่าแจ๋วขึ้นมาชมผลงานจากบทบาทหน้าที่ของลูกจ้างตนเองก็มีความเป็นไปได้
แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะอย่างไร และถึงแม้ด้วยคำว่าแจ๋วเองจะมีความหมายไปในทิศทางที่เป็นบวก ทว่านัยของการใช้คำๆ นี้ต้องยอมรับว่าตรงกันข้าม
ในทัศนะคติของคนส่วนใหญ่เฉพาะอย่างยิ่งการมองผ่านละคร "แจ๋ว" ก็คือหญิงสาวขี้เหร่ จมปลักอยู่กับความสกปรก เนื้อตัวกระเซอะกระเซิง มีห้องครัว - ห้องน้ำเป็นออฟฟิศ มีไม้กวาด ไม้ถูพื้น และเครื่องดูดฝุ่นเป็นอาวุธ การศึกษาไม่สูงมากนัก ชอบนินทาเจ้านาย อ่านหนังสือศาลาคนเศร้า และติดละครหลังข่าว ฯลฯ
ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เล็กๆ นะครับกับทัศนะที่ว่า เพราะมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) เองยังมองว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่งและจัดโครงการที่ชื่อว่ามาเพื่อลบทัศนะคติและความคิดดังกล่าวรวมทั้งสร้างค่านิยมในเชิงบวกให้กับเหล่า "แจ๋ว" มากขึ้นในโครงการที่ชื่อ "โครงการรณรงค์เพื่อความเข้าใจแรงงานเด็กทำงานบ้าน" เมื่อปี 2548 กันเลยทีเดียว
...
คิดถึงเรื่องแจ๋วขึ้นมาก็เป็นเพราะช่วงอาทิตย์สองอาทิตย์ที่ผ่านมาผมทำงานบ้านค่อนข้างจะเยอะและ "ใส่ใจ" มากกว่าปกติ ทั้งกวาดหยากไย่บนเพดาน กวาดถูพื้น ปรับหมุนเตียง ล้างพัดลม กวาดใบไม้ที่ลานบ้าน ทำความสะอาดศาลพระภูมิ เอาที่นอนออกมาตาก ฯ
โดยมีสาเหตุมาจากประโยคๆ หนึ่ง
"เออ แปลกเนาะ ยิ่งโตยิ่งไม่มีระเบียบเอาซะเลย..."
ระยะหลังแม่มักจะพูดประโยคนี้ออกมาบ่อยๆ เมื่อผมกลับไปบ้านที่สระบุรี ซึ่งก็คงจะสมควรหรอกครับเมื่อสิ่งของต่างๆ ที่ผมพกพาไปด้วยถูกวางอย่างระเกะระกะ เรี่ยราด ไม่เว้นแม้กระทั่งเสื้อกางเกงที่ถูกถอดกองไว้กับพื้นโดยปล่อยให้ไม้แขวนเป็นหมัน
ขอโม้นิดนึงว่า ในอดีตผมได้ชื่อว่าเป็นเด็กที่มีระเบียบ รักความสะอาด และขยันทำงานบ้านมากๆ ส่วนหนึ่งก็คงจะเป็นเพราะช่วงที่ตั้งท้องนั้น แม่คาดหวังว่าลูกของตนเองจะต้องออกมาเป็นผู้หญิง(แม่ผมชอบเด็กผู้หญิงครับ) แต่เมื่อคลอดออกมาเป็นกระจู๋แทนกระจิ๋มท่านก็มิได้รู้สึกผิดหวังแต่อย่างไร
แม่เคยบอกว่าค่อนข้างจะเลี้ยงผมในรูปแบบของลูกสาวครับ
กล่าวคือไม่ถึงขนาดจับแต่งหรือให้ทำท่าทางกิริยาเป็นผู้หญิงอะไรนะครับ หากแต่ส่วนใหญ่จะหนักไปในเรื่องของการปลูกฝังงานบ้านต่างๆ ทั้ง การซัก - รีด เสื้อผ้า กวาดบ้าน ถูบ้าน ฯ (ยกเว้นเรื่องในครัวที่เก่งที่สุดก็เป็นได้แค่ผู้ช่วยเตรียมเครื่องปรุงตามคำสั่งของแม่)
ด้วยเหตุที่ว่าผมจึงไม่รู้สึกทั้งขี้เกียจ และรังเกียจต่องานบ้านเหมือนกับผู้ชายส่วนใหญ่ ตรงข้ามกลับรู้สึกชอบและสนุกเสียอีก
แง่หนึ่งที่ทำให้หลายคนมีความรู้สึกทัศนะคติไปในทิศทางลบต่อการงานบ้าน เพราะรู้สึกว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ,จุกจิก, เป็น "งาน" ที่ไม่มีความสำคัญเท่ากับ "อาชีพ" ที่ทำแล้วได้เงินเป็นผลตอบแทน ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศชายเองที่มองว่าตรงนี้ไม่ใช่เรื่องของบุรุษที่พึงกระทำเพราะเป็นหน้าที่ที่สงวนให้กับสตรีเพศเท่านั้น
ขณะที่ผมเองกลับมีความคิดว่ากิจกรรมงาน(ภายใน)บ้านนี่แหละครับคือหน้าที่พื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์อย่างเราๆ ซึ่งสมควรที่จะลงมือทำด้วยตัวเองอย่างใส่ใจ และให้ความสำคัญ เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เราได้มีเวลาอยู่กับครอบครัว อยู่กับตัวเองอันนำมาซึ่งการนึกคิดทบทวนตัวเอง ความมีสมาธิ ที่สำคัญทำแล้วได้เห็นผลที่ออกมาทันทีว่าอยู่ในระดับไหน สะอาดไม่สะอาด เป็นระเบียบหรือไม่เป็นระเบียบ
เป็นกิจกรรมที่เราต้องอยู่กับมัน และมันก็ต้องอยู่กับเรา
ยกตัวอย่างการซักผ้าเองด้วยมือ นอกจากเราจะรู้ว่าตรงไหนสกปรกมาก-น้อย จนสามารถควบคุมแรงที่ถูกส่งลงไปบนแปรงให้มันพอดิบพอดีแล้ว มันยังทำให้เรารู้ด้วยว่าหลังจากที่เสื้อ - กางเกงตัวนี้สะอาดแล้ว เราควรจะมีความระมัดระวังแบบใดบ้างที่จะไม้ให้เสื้อหรือกางเกงไม่เกิดความสกปรกขึ้นอีก
ถามว่าถ้าซักด้วยเครื่องฯ มันทำหรือหรือบอกอะไรกับเราเช่นนี้ได้มั้ย
เครื่องซักผ้ามันชวนให้เราระลึกถึงความทรงจำแห่งความสนุกเมื่อช่วงเย็นวันวานได้มั้ยว่ารอยขี้โคลนที่ถุงเท้านี้มาจากบทบาทการเป็น "เบคแฮม" ของเรา ขณะที่รอยโคลนที่หลังเสื้อเบอร์ 4 มันเกิดเพราะวิญญาณ "เจอร์ราด" เข้าสิง ฯ
เคล็ดอย่างหนึ่งของการทำงานบ้านให้สนุกก็คือ เมื่อเริ่มต้นทำอย่าพยายามคิดว่าเมื่อไหร่มันจะเสร็จ แต่ให้ถามตัวเองว่าเสร็จแล้วเราอยากให้ผลของมันเป็นอย่างไร?
ลองมาเป็นแจ๋วกันเถอะครับ ไม่ต้องเป็นทำทุกวันก็ได้ เดือนละครั้งก็ยังดี
แล้วคุณจะสนุกและหลงรัก "แจ๋ว" อย่างที่ผมรัก
...
"ผมจะไม่ทำอีกแล้วครับครู..." เสียงเพื่อนร่วมชั้นเด็กเล็กคนหนึ่งของผมบอกกับครูประจำชั้น หลังโดนตีเบาๆ ด้วยไม้บรรทัด
ตอนนั้นผมเองก็จำไม่ได้เหมือนกันครับว่า ในใจรู้สึกอย่างไรที่เพื่อนถูกตี แต่จำได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เพื่อนถูกครูทำโทษด้วยความเอ็นดูนั้นเกิดจากอะไร และมันทำให้ผมอดยิ้มขึ้นมาไม่ได้เมื่อคิดถึงความเดียงสาในวัยเยาว์
"ทีหลังห้ามล้อชื่อพ่อ ชื่อแม่กันอีกรู้มั้ย?..." เสียงครูพูดย้ำเป็นคำสั่ง