แม้จะไม่ฟู่ฟ่าเหมือนกับช่วงเวลา 3 - 4 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ต้องถือว่าอยู่ได้ทน อยู่ได้นานทีเดียวครับสำหรับกระแสความนิยมในการตอบรับต่อซีรี่ส์เกาหลีของคนดูละครบ้านเรา
พิจารณาถึง "เนื้อหา" รวมถึงวิธีการ "เล่าเรื่อง" ถึงวันนี้เชื่อว่าหลายคนคงจะเริ่มจับทางซีรี่ส์จากแดนกิมจินี้ได้ว่าเป็นไปในลักษณะใด เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่ยังวนเวียนอยู่กับเรื่องราวของความรัก ตัวเอกที่(เน้น)หล่อ - สวย (โดยเฉพาะเรื่องที่ถูกเลือกซื้อเข้ามาฉายในบ้านเรา) การใช้พล็อตเรื่องของความบังเอิญ(ฟ้าลิขิต)
หรือแม้กระทั่งการเรียกน้ำตา เสียงสะอื้นไห้ด้วยโศกนาฎกรรมและการพลัดพรากของตัวละครที่มีการแซวกันเล่นๆ ว่า ละครเกาหลีทุกเรื่องจะต้องมีตัวละครคนหนึ่งที่ป่วยตาย ไม่พระเอกก็ต้องนางเอก เพื่อนพระเอก เพื่อนนางเอก พ่อพระเอก แม่นางเอก ฯ
แต่ถึงจะเวียนวน ซ้ำซาก จนอาจจะเรียกได้ว่า "น้ำเน่า" ก็ตาม ทว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคุณภาพน้ำเน่าของซีรี่ส์เกาหลีกับคุณภาพความน้ำเน่าของละครไทยแล้ว อย่างไรเสียน้ำเน่าจากแดนกิมจินี้ก็ยังคงสะท้อนเงาจันทร์ได้สวยงาม ผุดผ่อง และหลายมุมจนน่ามองมากกว่าเงาจันทร์ที่สะท้อนอยู่ในน้ำเน่าของ(ละคร)ไทยอยู่ดี
สิ่งที่ทำให้ความน้ำเน่าของระหว่างละครเกาหลีกับละครไทยเกิดความแตกต่างกันขึ้นมา โดยส่วนตัวผมว่านอกจากเรื่องของคุณภาพ ความปราณีตและความตั้งใจในส่วนของโปรดักชั่นที่แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนจากความลงตัวของบทเจรจา ภาพ มุมกล้อง แสง สี เสื้อผ้า เครื่องประกอบฉาก เพลง + ดนตรี ประกอบกับการรู้จักใช้ทรัพยากรความงดงามของธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแล้ว
...ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเรื่องของ "มุมมอง" ของผู้ผลิตที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งสร้างทัศนะคติในด้านบวก สร้างแรงบันดาลใจในการลุกขึ้นมาแสวงหาความสำเร็จให้กับชีวิตต่อคนดู ขณะที่ของบ้านเราเองจะเน้นไปที่ความหลุดโลก การมุ่งประโลมอารมณ์เป็นหลัก ส่งผลให้ในหลายครั้งเราจะได้ฟังบทสนทนา ได้เห็นพฤติกรรมแบบโอเวอร์แอ็กติ้งของตัวละครที่คนส่วนใหญ่ไม่พูด ไม่ทำกันในชีวิตประจำวัน
มิได้จะบอกว่าละครของเกาหลีนั้นดูจริงจัง เป็นเหตุสมผลไปซะทั้งหมด และไม่มีโอเวอร์แอ็กติ้งนะครับ เพียงแต่ว่าองค์ประกอบโดยรวมต่อสิ่งที่ว่าของเขานั้นมันดูเป็นธรรมชาติ จริงใจ เข้าถึงอารมณ์ และชักนำความรู้สึกได้มากกว่า
หากพิจารณาถึงบทสรุปละครไทย เกือบจะทุกเรื่องผมว่าล้วนแล้วแต่สอนให้คนดูได้รับรู้ว่าการทำดีต้องได้ดี ทำชั่วก็ต้องได้ชั่วทั้งนั้นแหละครับ แต่ถามว่ากว่าจะไปถึงบทสรุปที่ว่าตลอดเวลาของเรื่องราวในละครที่ต้องเดินไป ทั้งเด็ก - เยาวชนเอง หรือผู้ใหญ่เอย ที่เฝ้าหน้าจออยู่ต้องเผชิญกับอะไรบ้าง?
ใช่...นางร้ายขี้อิจฉา เพศที่สามที่แว้ดๆ ตัวละครหญิงที่สวมเสื้อผ้าเหมือนไม่ได้สวม การเน้นแต่ความริษยา ไม่ทำมาหากินวันๆ มุ่งแต่แต่งตัวสวย-หล่อไล่จับแต่ผู้ชายผู้หญิง มุกตลกที่เสียดสีและล้อความแตกต่างของท้องถิ่น สำเนียงภาษา ฯลฯ เหล่านี้ที่นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดทัศนะในทิศทางบวกแล้ว ใช่หรือไม่ว่าหลายคนเองได้เกิดความชาชินมองถึงเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปกติธรรมดาไปแล้ว จะทั้งในจอหรือแม้กระทั่งนอกจอเองก็ตาม
ทั้งที่จะว่าไปแล้วด้วยศักยภาพของดารา ทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามและเครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ของเรานั้นทำสู้กับเขาได้อย่างสบาย
อ่านคำให้สัมภาษณ์ของตัวแทนจาก จากบริษัท Olive 9 และผู้บริหารของสถานี "MBC" ที่เป็นผู้วางแผนผลิตละครเรื่อง "จูมง" ซึ่งฮิตอย่างถล่มทลายที่ประเทศเกาหลี รวมถึงได้กระแสตอบรับที่ค่อนข้างจะดีจากคนดูละครของบ้านเรา ภายหลังจากที่ช่อง 3 เอามาฉายในข่าวหัวข้อ "ตามรอย "จูมง" แล้วย้อนดูผู้จัดละครไทย" จาก www.manager.co.th แล้วต้องบอกว่าน่าสนใจ ทั้งการก่อเกิดของละครเรื่องนี้ที่ต้องการหลีกหนีเรื่องราวความรักแบบกุ๊กกิ๊กๆ ด้วยการหยิบเอาเรื่องของประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์เข้ามาเกี่ยวร้อย รวมถึงจุดมุ่งหมายของการผลิต
"ทุกประเทศก็สำคัญรวมถึงมีวีรบุรุษที่สำคัญของตัวเองทั้งสิ้น อยากให้คนไทยที่ได้ชมละครจูมงได้นึกถึงฮีโร่หรือวีรบุรุษของตนเองในอดีตด้วยว่าพวกเขามีความสำคัญและประวัติศาสตร์ของชาติเราก็สำคัญเช่นกัน จึงอยากให้เป็นตัวสะท้อนและให้แต่ละประเทศหันมาสนใจประวัติศาสตร์ของชาติตนเองมากขึ้นด้วย"
"คือ อยากให้ผู้ชมเกาหลีและอีกหลายๆ ประเทศเห็นว่า เดิมทีจูมงเป็นคนธรรมดา ไม่เก่ง ไม่โดดเด่น ไม่มีความสามารถอะไรเลย ไม่เก่งทั้งเรื่องบู๊และบุ๋นแต่หลังจากที่เขาได้รู้เรื่องจริงเกี่ยวกับพ่อของตัวเอง เขาก็ตั้งสติได้ และทำให้ตัวเองกลายเป็นซูเปอร์ฮีโร่ในประวัติศาสตร์เกาหลีได้"
"เป้าหมายของผู้กำกับง่ายๆ เลยคืออยากให้คนทุกเพศ ทุกวัยตั้งสติได้ ให้เรื่องนี้เตือนสติว่าเราทุกคนสามารถเป็นใหญ่ได้ ทุกอย่างอยู่ที่ใจของเรา"
อ่านแล้วก็เศร้าครับ
เพราะในขณะที่เกาหลีกำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อันเกิดมาจากผลพวงของความใส่ใจในการทำงานอย่างเป็นกรอบเป็นกรำ ทั้งจากการท่องเที่ยว ละครที่ถูกส่งไปขายยังต่างชาติที่ไม่ได้มาเพียงตัวเงินอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงการรุกคืบทางวัฒนธรรม ประเพณี อันเป็นการปูพรมที่ค่อนข้างจะมั่นคงของผลประโยชน์ซึ่งจะตามมาในระยะยาว
...ปรากฏว่าที่บ้านเราเอง ผู้จัดละครส่วนใหญ่กลับกำลังเดือดเนื้อร้อนใจและคิดหนัก ที่จากนี้ไปจะไม่สามารถทำละครที่มีตัวละครแต่งตัวโป๊ๆ ตบตีกัน ด่ากันแว้ดๆ ได้สะดวกเหมือนแต่ก่อน
พิจารณาถึง "เนื้อหา" รวมถึงวิธีการ "เล่าเรื่อง" ถึงวันนี้เชื่อว่าหลายคนคงจะเริ่มจับทางซีรี่ส์จากแดนกิมจินี้ได้ว่าเป็นไปในลักษณะใด เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่ยังวนเวียนอยู่กับเรื่องราวของความรัก ตัวเอกที่(เน้น)หล่อ - สวย (โดยเฉพาะเรื่องที่ถูกเลือกซื้อเข้ามาฉายในบ้านเรา) การใช้พล็อตเรื่องของความบังเอิญ(ฟ้าลิขิต)
หรือแม้กระทั่งการเรียกน้ำตา เสียงสะอื้นไห้ด้วยโศกนาฎกรรมและการพลัดพรากของตัวละครที่มีการแซวกันเล่นๆ ว่า ละครเกาหลีทุกเรื่องจะต้องมีตัวละครคนหนึ่งที่ป่วยตาย ไม่พระเอกก็ต้องนางเอก เพื่อนพระเอก เพื่อนนางเอก พ่อพระเอก แม่นางเอก ฯ
แต่ถึงจะเวียนวน ซ้ำซาก จนอาจจะเรียกได้ว่า "น้ำเน่า" ก็ตาม ทว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคุณภาพน้ำเน่าของซีรี่ส์เกาหลีกับคุณภาพความน้ำเน่าของละครไทยแล้ว อย่างไรเสียน้ำเน่าจากแดนกิมจินี้ก็ยังคงสะท้อนเงาจันทร์ได้สวยงาม ผุดผ่อง และหลายมุมจนน่ามองมากกว่าเงาจันทร์ที่สะท้อนอยู่ในน้ำเน่าของ(ละคร)ไทยอยู่ดี
สิ่งที่ทำให้ความน้ำเน่าของระหว่างละครเกาหลีกับละครไทยเกิดความแตกต่างกันขึ้นมา โดยส่วนตัวผมว่านอกจากเรื่องของคุณภาพ ความปราณีตและความตั้งใจในส่วนของโปรดักชั่นที่แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนจากความลงตัวของบทเจรจา ภาพ มุมกล้อง แสง สี เสื้อผ้า เครื่องประกอบฉาก เพลง + ดนตรี ประกอบกับการรู้จักใช้ทรัพยากรความงดงามของธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแล้ว
...ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือเรื่องของ "มุมมอง" ของผู้ผลิตที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งสร้างทัศนะคติในด้านบวก สร้างแรงบันดาลใจในการลุกขึ้นมาแสวงหาความสำเร็จให้กับชีวิตต่อคนดู ขณะที่ของบ้านเราเองจะเน้นไปที่ความหลุดโลก การมุ่งประโลมอารมณ์เป็นหลัก ส่งผลให้ในหลายครั้งเราจะได้ฟังบทสนทนา ได้เห็นพฤติกรรมแบบโอเวอร์แอ็กติ้งของตัวละครที่คนส่วนใหญ่ไม่พูด ไม่ทำกันในชีวิตประจำวัน
มิได้จะบอกว่าละครของเกาหลีนั้นดูจริงจัง เป็นเหตุสมผลไปซะทั้งหมด และไม่มีโอเวอร์แอ็กติ้งนะครับ เพียงแต่ว่าองค์ประกอบโดยรวมต่อสิ่งที่ว่าของเขานั้นมันดูเป็นธรรมชาติ จริงใจ เข้าถึงอารมณ์ และชักนำความรู้สึกได้มากกว่า
หากพิจารณาถึงบทสรุปละครไทย เกือบจะทุกเรื่องผมว่าล้วนแล้วแต่สอนให้คนดูได้รับรู้ว่าการทำดีต้องได้ดี ทำชั่วก็ต้องได้ชั่วทั้งนั้นแหละครับ แต่ถามว่ากว่าจะไปถึงบทสรุปที่ว่าตลอดเวลาของเรื่องราวในละครที่ต้องเดินไป ทั้งเด็ก - เยาวชนเอง หรือผู้ใหญ่เอย ที่เฝ้าหน้าจออยู่ต้องเผชิญกับอะไรบ้าง?
ใช่...นางร้ายขี้อิจฉา เพศที่สามที่แว้ดๆ ตัวละครหญิงที่สวมเสื้อผ้าเหมือนไม่ได้สวม การเน้นแต่ความริษยา ไม่ทำมาหากินวันๆ มุ่งแต่แต่งตัวสวย-หล่อไล่จับแต่ผู้ชายผู้หญิง มุกตลกที่เสียดสีและล้อความแตกต่างของท้องถิ่น สำเนียงภาษา ฯลฯ เหล่านี้ที่นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดทัศนะในทิศทางบวกแล้ว ใช่หรือไม่ว่าหลายคนเองได้เกิดความชาชินมองถึงเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปกติธรรมดาไปแล้ว จะทั้งในจอหรือแม้กระทั่งนอกจอเองก็ตาม
ทั้งที่จะว่าไปแล้วด้วยศักยภาพของดารา ทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามและเครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ของเรานั้นทำสู้กับเขาได้อย่างสบาย
อ่านคำให้สัมภาษณ์ของตัวแทนจาก จากบริษัท Olive 9 และผู้บริหารของสถานี "MBC" ที่เป็นผู้วางแผนผลิตละครเรื่อง "จูมง" ซึ่งฮิตอย่างถล่มทลายที่ประเทศเกาหลี รวมถึงได้กระแสตอบรับที่ค่อนข้างจะดีจากคนดูละครของบ้านเรา ภายหลังจากที่ช่อง 3 เอามาฉายในข่าวหัวข้อ "ตามรอย "จูมง" แล้วย้อนดูผู้จัดละครไทย" จาก www.manager.co.th แล้วต้องบอกว่าน่าสนใจ ทั้งการก่อเกิดของละครเรื่องนี้ที่ต้องการหลีกหนีเรื่องราวความรักแบบกุ๊กกิ๊กๆ ด้วยการหยิบเอาเรื่องของประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์เข้ามาเกี่ยวร้อย รวมถึงจุดมุ่งหมายของการผลิต
"ทุกประเทศก็สำคัญรวมถึงมีวีรบุรุษที่สำคัญของตัวเองทั้งสิ้น อยากให้คนไทยที่ได้ชมละครจูมงได้นึกถึงฮีโร่หรือวีรบุรุษของตนเองในอดีตด้วยว่าพวกเขามีความสำคัญและประวัติศาสตร์ของชาติเราก็สำคัญเช่นกัน จึงอยากให้เป็นตัวสะท้อนและให้แต่ละประเทศหันมาสนใจประวัติศาสตร์ของชาติตนเองมากขึ้นด้วย"
"คือ อยากให้ผู้ชมเกาหลีและอีกหลายๆ ประเทศเห็นว่า เดิมทีจูมงเป็นคนธรรมดา ไม่เก่ง ไม่โดดเด่น ไม่มีความสามารถอะไรเลย ไม่เก่งทั้งเรื่องบู๊และบุ๋นแต่หลังจากที่เขาได้รู้เรื่องจริงเกี่ยวกับพ่อของตัวเอง เขาก็ตั้งสติได้ และทำให้ตัวเองกลายเป็นซูเปอร์ฮีโร่ในประวัติศาสตร์เกาหลีได้"
"เป้าหมายของผู้กำกับง่ายๆ เลยคืออยากให้คนทุกเพศ ทุกวัยตั้งสติได้ ให้เรื่องนี้เตือนสติว่าเราทุกคนสามารถเป็นใหญ่ได้ ทุกอย่างอยู่ที่ใจของเรา"
อ่านแล้วก็เศร้าครับ
เพราะในขณะที่เกาหลีกำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อันเกิดมาจากผลพวงของความใส่ใจในการทำงานอย่างเป็นกรอบเป็นกรำ ทั้งจากการท่องเที่ยว ละครที่ถูกส่งไปขายยังต่างชาติที่ไม่ได้มาเพียงตัวเงินอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงการรุกคืบทางวัฒนธรรม ประเพณี อันเป็นการปูพรมที่ค่อนข้างจะมั่นคงของผลประโยชน์ซึ่งจะตามมาในระยะยาว
...ปรากฏว่าที่บ้านเราเอง ผู้จัดละครส่วนใหญ่กลับกำลังเดือดเนื้อร้อนใจและคิดหนัก ที่จากนี้ไปจะไม่สามารถทำละครที่มีตัวละครแต่งตัวโป๊ๆ ตบตีกัน ด่ากันแว้ดๆ ได้สะดวกเหมือนแต่ก่อน