แถวๆ ปากซอยที่ตั้งของหอพักที่ผมพักอยู่ (ซ.วัดดุสิตาราม สะพานพระปิ่นเกล้า) มีคลอง(ปูน)ที่เชื่อมต่อมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่คลองหนึ่ง(ในจำนวนหลายคลอง)
เชื่อมั้ยครับว่านอกจาก(ช่วงเช้าๆ จนถึงสายๆ)ของวันที่มีพนักงานกทม.มาทำความสะอาด(ตักขยะ)ซึ่งนับได้ไม่น่าจะเกิน 10 ครั้งแล้ว ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี ไม่มีเวลาไหนเลยที่คลองๆ นี้จะไร้ซึ่งกล่องโฟม ถุงพลาสติก ผักตบชวา หมอน ตุ๊กตา หมาเน่า แมวตาย ฯลฯ
เรื่องสีของน้ำไม่ต้องพูดถึง ดำสนิท ขณะที่เรื่องของกลิ่นยังถือว่าโชคดีเพราะในยามเวลาเหตุการณ์สงบๆ ไม่มีอะไรไปรบกวนมันก็แค่โชยๆ ออกมาตามความแรงของลมที่พัดผ่าน แต่ถ้ามีอะไรไปรบกวน มันจะอาละวาดทันที
เรียนกันตรงๆ ครับว่า นอกจากจะเป็น "คลองทิ้งขยะ" รองรับน้ำเสียจากร้านค้าและบ้านเรือนบริเวณนั้นแล้ว ผมไม่เห็นว่ามันจะถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นใดอีกเลย
---
มีใครคิดเหมือนผมบ้างหรือไม่ครับว่า นอกจากจะหย่อนจนยานโทงเทงเป็นโหนกกะปั๋งในเรื่องของการรักษากฏหมาย ระเบียบ-วินัย ต่างๆ ของบ้านเมืองแล้ว ระบบวิธีการคิดในการแก้ไขปัญหาของผู้ใหญ่หรือคนในบ้านเมืองเราซึ่งส่วนใหญ่นอกจากจะเป็นไปในลักษณะของ "วัวหายล้อมคอก" แล้ว คอกที่ล้อมขึ้นยังเป็นคอกที่ชวนให้น่าสงสัยถึงประสิทธิภาพ - ประสิทธิผลสิ้นดี
- ติดยูบีซีให้กับประชาชนภาคใต้เพราะเชื่อว่าจะลดปัญหาความวุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- เอาสปอร์ตไลท์ไปติดหน้าโรงแรมม่านรูดกันเด็กไปใช้บริการ
- สร้างสนามแข่งรถ(มอเตอร์ไซค์)เพื่อแก้ปัญหาแก๊งซิ่งกวนเมือง
หรือจะเป็นกรณีเหตุการณ์ระเบิดในกรุงฯ ทั้ง 9 จุดเมื่อช่วงปีใหม่ ก่อนจะนำมาซึ่งข่าวๆ หนึ่งที่เรียนตามตรงครับว่าแรกๆ ผมเองไม่เชื่อว่ามันจะเป็นเรื่องจริงขึ้นมา นั่นก็คือข่าวที่ว่าผู้บริหารกทม.ได้สั่งเก็บถังขยะแบบเก่าทิ้งไป ขณะที่ในบางพื้นที่ก็จะนำเอาที่รองรับขยะแบบใหม่(ชนิดใส)มาใช้งานแทน
แต่เรื่องจริงก็อย่างที่เห็นๆ กัน คือผมคิดผิด
---
ปัญหาสังคม ปัญหาสวัสดิการการบริการที่ว่าแย่แล้ว ที่น่าห่วงยิ่งกว่าก็คือเรื่องปัญหาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งเสมือนกับ "หัวใจ" ในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนพื้นพิภพนี้
ประมาณการเป็นตัวเลข จากพื้นที่ของประเทศทั้งหมดนั้น ณ เวลานี้ประเทศไทยเราเหลือพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ของป่าเพียง 20% กว่าๆ เท่านั้น
ที่น่าตกใจก็คือย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วประเทศไทยเรายังมีเนื้อที่ป่าที่สูงเกินครึ่งของประเทศอยู่เลย
หากอัตราส่วนยังคงเป็นไปเช่นนี้อีกไม่เกิน 50 ปี เด็กๆ ในบ้านเราคงต้องเข้าไปดูต้นไม้กันในพิพิธภัณฑ์
เรื่องจริงก็คือไม่ใช่บ้านเราเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับวิกฤติจากธรรมชาติ เพราะ ณ เวลานี้ทั้งโลกเองต่างก็อยู่ในความหวาดกลัวกับภาวะความเป็นไปของธรรมชาติในการปรับสมดุลของตัวมันเองที่ก่อให้เกิดทั้งภาวะความแห้งแล้ง น้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินไหว อากาศที่ปรวนแปร ร้อนจัด หนาวจัด ฯลฯ ซึ่งนับวันจะยิ่งมีความถี่และผลที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
แต่เรื่องจริงอีกประการก็คือขณะที่หลายประเทศทั่วโลกค่อนข้างจะเอาจริงเอาจังกับการหยุดยั้งภาวะที่ว่านี้(จะด้วยตระหนักถึงความรักตัวกลัวตายหรือสำนึกที่ดีก็ตาม)บ้านเราเองโดยเฉพาะภาครัฐฯ กลับไม่คิดจะให้ความสำคัญทั้งในวงกว้างและวงแคบ
ไม่ต้องเลยเถิดไปถึงทำเป็นรูปเป็นร่าง เอาแค่ความจริงใจในการสร้างบรรยากาศให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกหรือความตระหนักยังแทบจะไม่มี
ในงานเขียน "ความฝันโง่ๆ" ของวินทร์ เรียววารินทร์มีข้อความตอนหนึ่งบอกเล่าถึงกรุงโตเกียวซึ่งพื้นที่มีจำกัดมากๆ ได้มีศูนย์การค้าแห่งหนึ่งใช้เนื้อที่บนดาดฟ้าให้ชาวเมืองเช่าปลูกต้นไม้ในอัตราเดือนละสามพันเยนต่อ 1 แปลงเพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนใด้รู้สึกใกล้ชิดและรู้สึกรักธรรมชาติ
หลายห้างในหลายเมืองของหลายประเทศในแถบยุโรป ชาวเมืองจะต้องพกถุงผ้าหรือถุงพลาสติกเพื่อใส่สินค้าที่จะซื้อไปเอง เนื่องจากทางห้างสรรพสินค้าไม่มีให้บริการฟรี
ขณะที่การซื้อสินค้าประเภทบรรจุขวด นอกจากจะต้องพกไปเงินแล้วยังจะต้องพกเอาขวดเปล่าไปเปลี่ยนด้วย
ที่ประเทศเกาหลี เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา(และของทุกๆ ปี) ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคนเกาหลีเอง นั่นก็คือ "วันปลูกต้นไม้" และที่ประเทศอังกฤษเชื่อหรือไม่ว่ารัฐบาลต้องเสียเงินถึงปีละกว่า 10,500 ล้านบาทในการแก้ไขปัญหาที่ดูเล็กๆ อย่าง "ขยะหมากฝรั่ง" ซึ่งเหล่าชาวเมืองผู้ดีได้เสียเงินรวมกันกว่า 18,060 ล้านบาทซื้อมาเคี้ยว ฯลฯ
ส่วนที่เมืองไทย ณ คืนๆ หนึ่ง...ผมเปิดดูรายการเพลง(วัยรุ่น)รายการหนึ่ง มีการไปสัมภาษณ์ประชาชนถึงวิธีการที่จะช่วยกันทำให้อากาศที่ร้อน(จัด)ในช่วงนี้ลดลงได้อย่างไร?
เด็กวัยรุ่นชาย - หญิงหน้าตาหล่อ - น่ารักหลายคนเลยครับที่ตอบอย่างเอาจริงเอาจังว่า...ก็ติดแอร์สิ
เชื่อมั้ยครับ นี่ถ้าไม่ได้ดูหน้าดูตาของผู้ตอบ(จนอดภาวนาให้คำตอบที่ว่าเหล่านี้เป็นแค่ "มุกตลก" ไม่ได้แล้ว)ผมคงคิดว่านี่เป็นเสียงโฆษกรัฐบาลแถลงนโยบายออกมาจริงๆ นะเนี่ย...
เชื่อมั้ยครับว่านอกจาก(ช่วงเช้าๆ จนถึงสายๆ)ของวันที่มีพนักงานกทม.มาทำความสะอาด(ตักขยะ)ซึ่งนับได้ไม่น่าจะเกิน 10 ครั้งแล้ว ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี ไม่มีเวลาไหนเลยที่คลองๆ นี้จะไร้ซึ่งกล่องโฟม ถุงพลาสติก ผักตบชวา หมอน ตุ๊กตา หมาเน่า แมวตาย ฯลฯ
เรื่องสีของน้ำไม่ต้องพูดถึง ดำสนิท ขณะที่เรื่องของกลิ่นยังถือว่าโชคดีเพราะในยามเวลาเหตุการณ์สงบๆ ไม่มีอะไรไปรบกวนมันก็แค่โชยๆ ออกมาตามความแรงของลมที่พัดผ่าน แต่ถ้ามีอะไรไปรบกวน มันจะอาละวาดทันที
เรียนกันตรงๆ ครับว่า นอกจากจะเป็น "คลองทิ้งขยะ" รองรับน้ำเสียจากร้านค้าและบ้านเรือนบริเวณนั้นแล้ว ผมไม่เห็นว่ามันจะถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นใดอีกเลย
---
มีใครคิดเหมือนผมบ้างหรือไม่ครับว่า นอกจากจะหย่อนจนยานโทงเทงเป็นโหนกกะปั๋งในเรื่องของการรักษากฏหมาย ระเบียบ-วินัย ต่างๆ ของบ้านเมืองแล้ว ระบบวิธีการคิดในการแก้ไขปัญหาของผู้ใหญ่หรือคนในบ้านเมืองเราซึ่งส่วนใหญ่นอกจากจะเป็นไปในลักษณะของ "วัวหายล้อมคอก" แล้ว คอกที่ล้อมขึ้นยังเป็นคอกที่ชวนให้น่าสงสัยถึงประสิทธิภาพ - ประสิทธิผลสิ้นดี
- ติดยูบีซีให้กับประชาชนภาคใต้เพราะเชื่อว่าจะลดปัญหาความวุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- เอาสปอร์ตไลท์ไปติดหน้าโรงแรมม่านรูดกันเด็กไปใช้บริการ
- สร้างสนามแข่งรถ(มอเตอร์ไซค์)เพื่อแก้ปัญหาแก๊งซิ่งกวนเมือง
หรือจะเป็นกรณีเหตุการณ์ระเบิดในกรุงฯ ทั้ง 9 จุดเมื่อช่วงปีใหม่ ก่อนจะนำมาซึ่งข่าวๆ หนึ่งที่เรียนตามตรงครับว่าแรกๆ ผมเองไม่เชื่อว่ามันจะเป็นเรื่องจริงขึ้นมา นั่นก็คือข่าวที่ว่าผู้บริหารกทม.ได้สั่งเก็บถังขยะแบบเก่าทิ้งไป ขณะที่ในบางพื้นที่ก็จะนำเอาที่รองรับขยะแบบใหม่(ชนิดใส)มาใช้งานแทน
แต่เรื่องจริงก็อย่างที่เห็นๆ กัน คือผมคิดผิด
---
ปัญหาสังคม ปัญหาสวัสดิการการบริการที่ว่าแย่แล้ว ที่น่าห่วงยิ่งกว่าก็คือเรื่องปัญหาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งเสมือนกับ "หัวใจ" ในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนพื้นพิภพนี้
ประมาณการเป็นตัวเลข จากพื้นที่ของประเทศทั้งหมดนั้น ณ เวลานี้ประเทศไทยเราเหลือพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ของป่าเพียง 20% กว่าๆ เท่านั้น
ที่น่าตกใจก็คือย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วประเทศไทยเรายังมีเนื้อที่ป่าที่สูงเกินครึ่งของประเทศอยู่เลย
หากอัตราส่วนยังคงเป็นไปเช่นนี้อีกไม่เกิน 50 ปี เด็กๆ ในบ้านเราคงต้องเข้าไปดูต้นไม้กันในพิพิธภัณฑ์
เรื่องจริงก็คือไม่ใช่บ้านเราเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับวิกฤติจากธรรมชาติ เพราะ ณ เวลานี้ทั้งโลกเองต่างก็อยู่ในความหวาดกลัวกับภาวะความเป็นไปของธรรมชาติในการปรับสมดุลของตัวมันเองที่ก่อให้เกิดทั้งภาวะความแห้งแล้ง น้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินไหว อากาศที่ปรวนแปร ร้อนจัด หนาวจัด ฯลฯ ซึ่งนับวันจะยิ่งมีความถี่และผลที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
แต่เรื่องจริงอีกประการก็คือขณะที่หลายประเทศทั่วโลกค่อนข้างจะเอาจริงเอาจังกับการหยุดยั้งภาวะที่ว่านี้(จะด้วยตระหนักถึงความรักตัวกลัวตายหรือสำนึกที่ดีก็ตาม)บ้านเราเองโดยเฉพาะภาครัฐฯ กลับไม่คิดจะให้ความสำคัญทั้งในวงกว้างและวงแคบ
ไม่ต้องเลยเถิดไปถึงทำเป็นรูปเป็นร่าง เอาแค่ความจริงใจในการสร้างบรรยากาศให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกหรือความตระหนักยังแทบจะไม่มี
ในงานเขียน "ความฝันโง่ๆ" ของวินทร์ เรียววารินทร์มีข้อความตอนหนึ่งบอกเล่าถึงกรุงโตเกียวซึ่งพื้นที่มีจำกัดมากๆ ได้มีศูนย์การค้าแห่งหนึ่งใช้เนื้อที่บนดาดฟ้าให้ชาวเมืองเช่าปลูกต้นไม้ในอัตราเดือนละสามพันเยนต่อ 1 แปลงเพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนใด้รู้สึกใกล้ชิดและรู้สึกรักธรรมชาติ
หลายห้างในหลายเมืองของหลายประเทศในแถบยุโรป ชาวเมืองจะต้องพกถุงผ้าหรือถุงพลาสติกเพื่อใส่สินค้าที่จะซื้อไปเอง เนื่องจากทางห้างสรรพสินค้าไม่มีให้บริการฟรี
ขณะที่การซื้อสินค้าประเภทบรรจุขวด นอกจากจะต้องพกไปเงินแล้วยังจะต้องพกเอาขวดเปล่าไปเปลี่ยนด้วย
ที่ประเทศเกาหลี เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา(และของทุกๆ ปี) ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคนเกาหลีเอง นั่นก็คือ "วันปลูกต้นไม้" และที่ประเทศอังกฤษเชื่อหรือไม่ว่ารัฐบาลต้องเสียเงินถึงปีละกว่า 10,500 ล้านบาทในการแก้ไขปัญหาที่ดูเล็กๆ อย่าง "ขยะหมากฝรั่ง" ซึ่งเหล่าชาวเมืองผู้ดีได้เสียเงินรวมกันกว่า 18,060 ล้านบาทซื้อมาเคี้ยว ฯลฯ
ส่วนที่เมืองไทย ณ คืนๆ หนึ่ง...ผมเปิดดูรายการเพลง(วัยรุ่น)รายการหนึ่ง มีการไปสัมภาษณ์ประชาชนถึงวิธีการที่จะช่วยกันทำให้อากาศที่ร้อน(จัด)ในช่วงนี้ลดลงได้อย่างไร?
เด็กวัยรุ่นชาย - หญิงหน้าตาหล่อ - น่ารักหลายคนเลยครับที่ตอบอย่างเอาจริงเอาจังว่า...ก็ติดแอร์สิ
เชื่อมั้ยครับ นี่ถ้าไม่ได้ดูหน้าดูตาของผู้ตอบ(จนอดภาวนาให้คำตอบที่ว่าเหล่านี้เป็นแค่ "มุกตลก" ไม่ได้แล้ว)ผมคงคิดว่านี่เป็นเสียงโฆษกรัฐบาลแถลงนโยบายออกมาจริงๆ นะเนี่ย...