หนึ่งในความฝันอย่างหนึ่งของผมเมื่อครั้งยังเด็กๆ ก็คือความอยากเป็น "นักพากย์" ครับ
แต่ก็เช่นเดียวกับอีกหลายๆ ความอยากที่มี เพราะในชีวิตจริงผมไม่ได้แสดงถึงความพยายามที่จะเดินเข้าไปใกล้ความต้องการที่ว่าแม้แต่เพียงนิดเดียว
ได้แต่ปล่อยให้มันเป็นเพียงความฝัน...
สาเหตุที่คิดเคยอยากเป็นนักพากย์ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะว่าความเป็นคนช่างพูด ช่างคุยในวัยเด็ก รวมทั้งชอบที่จะไปนั่งแหกปากตะโกนปาวๆ อยู่ข้างๆ สนามฟุตบอลเวลาผู้ใหญ่ รุ่นพี่เขาเล่นบอลกัน ซึ่งพอโตขึ้นมาเพียงแค่ระดับชั้นมัธยม ความพูดน้อยลง(มากๆ) ประกอบกับนิสัยขี้อายที่เพิ่มมากขึ้นมาเรื่อยๆ ความอยากที่ว่าก็ค่อยๆ จางหายไปจนถูกลืม
ครั้น ณ เวลาปัจจุบัน เวลาที่คิดถึงเรื่องนี้ขึ้นมาผมว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดแล้วครับ หลังจากที่ได้มีโอกาสเข้าไปจัดรายการวิทยุแล้วได้ยินน้ำเสียงที่เหน่อๆ ของตนเองออกอากาศ
ไพเราะมากๆ ถึงขนาดที่ตัวผมเองไม่กล้าที่จะฟังนั่นแหละครับ...(555)
ในบรรดานักพากย์ทั้งในส่วนของหนัง การ์ตูน ซีรีส์ ที่เป็นที่คุ้นหูกันดีในปัจจุบันของบ้านเรา หลักๆ ถ้าเป็นหนังไทยเก่าๆ พระเอกก็ต้องเป็นอารอง เค้ามูลคดี, คุณปิยะ ชำนาญกิจ, ถ้าเป็นการ์ตูนก็ต้องเป็นของ "น้าต๋อย แซมเบ้" หรือถ้าเป็นหนังจีน - หนังฮ่องกง ก็ต้องเป็นหน้าที่ของทีมพากย์ "พันธมิตร" ของพี่โต๊ะ ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ ที่โด่งดังตีคู่มาพร้อมๆ กับทีมพากย์ "อีนทรี" ของคุณอภิชาติ อินทร ซึ่งแต่ก่อนประจำอยู่ที่ช่อง 3 หรือจะเป็นคุณรังสรรค์ ศรีสรากร ที่ใครหลายคนคงจะคุ้นหูกันดีกับเสียงของ "โจว เหวิน ฟะ" ใน "โหด เลว ดี" ภาค 1
เท่าที่มีโอกาสได้ทำงานสัมภาษณ์กับคนที่ทำอาชีพนี้ บทสรุปที่ได้นอกเหนือไปจากความเหมือนกับอาชีพอื่นๆ ที่มีแค่ความชอบหรือใจรักอย่างเดียวไม่พอหากแต่ต้องมีความเพียรพยายาม มีการฝึกฝนปรับปรุงและค้นหาเอกลักษณ์ที่เหมาะกับตัวของตัวเองแล้ว สิ่งที่คนขายเสียงเหล่านี้ยังจะต้องแบกรับไว้อีกก็คือความรู้สึกดูแคลนอย่างไม่ตั้งใจจากคนบางกลุ่มที่ไม่ค่อยถูกรสนิยมจากกับคำว่า "พากย์ไทย" สักเท่าไหร่
โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นภาพยนตร์
"การพากย์หนังแต่ก่อนจะพากย์เล่นสนุกอย่างเดียว กลุ่มคนที่ดูก็จะเป็นคนที่มุ่งหาความบันเทิงอย่างเดียว มุกตลกไม่ต้องคิดมากถึงเวลาเล่น ยำกันอย่างเดียว หนังเศร้าก็เล่นกันให้มันสนุก ด้วยเหตุนี้คนกลุ่มนึงที่เขาเป็นนักศึกษาเขาจะแอนตี้หนังพากย์ไทยเขาถือว่าทำลายหนัง ทำให้หนังเลอะเทอะ"
"แต่พอผมเข้ามาทำ โรงอีจีวี โรงเมเจอร์เกิดขึ้น คนดูหนังจะเป็นกลุ่มคนที่อีกระดับหนึ่งขึ้นมา เราก็คิดกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้คนกลุ่มนี้ไม่รังเกียจเรา เราก็จะเล่นมุกไม่เลอะเทอะ แต่พอออกตามโรงต่างจังหวัดเขาบอกว่ามันจืดสนิท ไม่ตลกเลย ตรงนี้เป็นปัญหามาก เราต้องคิดมากขึ้น"...ผมเคยไปสัมภาษณ์กับพี่โต๊ะเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว
อย่างที่เข้าใจกันถึงข้อดีของหนังพากย์ก็คือความสะดวกสำหรับคนดู(หนัง)กลุ่มใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งตามต่างจังหวัดซึ่งไม่มีความสุขนักในการที่จะต้องมานั่งอ่านซับไตเติ้ล(ไทย) แต่ในขณะเดียวกันคงจะต้องยอมรับว่าข้อเสียของมันก็มีเยอะอยู่เช่นกัน
มิใช่เพียงการพากย์เลยเถิดเลอะเทอะไปจากของเดิม หากแต่ยังรวมถึงเรื่อง ของ "บรรยากาศ" และ "อารมณ์" ของหนังที่แท้จริงซึ่งจำเป็นจะต้องฟังจากตัวหนัง และน้ำเสียงของตัวละครตัวนั้นๆ
นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า การดูหนัง ชมซีรีส์ที่พากย์บ่อยๆ "จิตนาการ" บางอย่างของเรามันได้ถูกบีบให้แคบลงอย่างไม่รู้ตัวจากความคุ้นเคยของเสียงพากย์ที่ไม่ต้องเห็นหน้าก็ตอบได้ทันทีว่านี่พระเอก นี่นางเอก เสียงนี้ตัวโกง
แน่นอนครับว่าเป็นไปไม่ได้เลยและไม่สมควรจะเป็นอย่างยิ่งกับการที่จะมีแต่หนัง - ซีรี่ส์ ที่ไม่มีการพากย์ เพราะฉะนั้นเรื่องคุณภาพของการพากย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการสร้างความ "น่าเชื่อถือ" และให้คนดู "เข้าถึง" อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครนั้นๆ อย่างที่หนังตั้งใจให้เป็น
ในส่วนที่เป็นภาพยนตร์ แม้จะมีอยู่ช่วงหนึ่งของบ้านเราที่ดูแล้วไม่ค่อยจะเข้าท่าสักเท่าไหร่กับอาการเห่อตามเมืองนอกด้วยการดึงเอาดารา คนดังมาพากย์แอนิเมชั่นโดยส่วนใหญ่หลายๆ คนไม่ได้ถูกพิจารณาถึงความ "เหมาะสม" แต่ถึงตอนนี้ผมว่าหนังพากย์ไทยตามโรง หรือจะเป็นหนังแผ่นเองค่อนข้างจะลงตัวดีแล้ว, ช่อง 3 เองในส่วนของหนังจีนชุด - ซีรีส์ต่างๆ ก็ดูสนุก มีชื่อเสียงเก่าๆ มาการันตีเช่นเดียวกับทีมพากย์การ์ตูนของโมเดิร์นไนน์ ทีวี หรือแม้กระทั่งทีมพากย์ของไอทีวีเอง
ที่น่าจะเอาใจใส่สักนิด ก็คือทีมพากย์ซีรีส์ของช่อง 7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหญ่มือโปรอย่างคุณ "ดวงดาว จารุจินดา"
เรื่องของลีลา จังหวะ อารมณ์ น้ำเสียง เหล่านี้ผมไม่ปฏิเสธถึงความเป็นมืออาชีพครับ แต่ที่ผมรู้สึกก็คือ โดย "เนื้อเสียง" ที่แท้จริงของคุณดวงดาวในวัยนี้มันไม่ค่อยจะเข้าเอาเสียเลยกับหน้าตาของตัวละครนางเอกวัย 18 - 23 โดยเฉพาะประเภทแก่นเซี้ยว+ซนนิดๆ ที่คุณดวงดาวรับหน้าที่พากย์หลายต่อหลายเรื่อง
ถึงตอนนี้ต้องยอมรับครับว่าซีรีส์เกาหลี - ญี่ปุ่นช่วงสายๆ วันเสาร์ - อาทิตย์ ของวิกหมอชิตนี้ค่อนข้างจะได้รับความนิยมในระดับสูงไปแล้ว ที่ต้องไม่ลืมก็คือโดยส่วนใหญ่ของผู้ชมที่นั่งเฝ้าหน้าจอดูซีรีส์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแฟนระดับมัธยม - มหาวิทยาลัย, คนที่เพิ่งจะเรียนจบเข้าทำงานปีสองปี มิใช่ลูกค้ากลุ่มเดียวกับแม่บ้าน - แม่ค้าที่จะได้ไม่สนใจกับละครน้ำเน่าของช่อง ประเภทไม่มีความสมจริงสมจังชนิดจับเอาเด็กอายุไม่ถึง 23 มาเล่นเป็นแม่ เป็นป้า เป็นยาย คนอายุรุ่นราวคราวเดียกันได้อย่างหน้าตาเฉย
งานนี้มิใช่ "ผลประโยชน์ทางอ้อม" ในเรื่องของการเปิดโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ๆ ได้มีโอกาสเดินขึ้นมาสู่เส้นทางอาชีพสายนี้(ที่ว่ากันว่าไม่มีเส้นก็อย่าหวัง)เท่านั้น...
หากแต่เป็นเรื่องของการรักษาผลประโยชน์ - ความพึงพอใจของคนดูซึ่งเป็นสิ่งที่ทางช่องเองต้องให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ มิใช่หรือครับ?
แต่ก็เช่นเดียวกับอีกหลายๆ ความอยากที่มี เพราะในชีวิตจริงผมไม่ได้แสดงถึงความพยายามที่จะเดินเข้าไปใกล้ความต้องการที่ว่าแม้แต่เพียงนิดเดียว
ได้แต่ปล่อยให้มันเป็นเพียงความฝัน...
สาเหตุที่คิดเคยอยากเป็นนักพากย์ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะว่าความเป็นคนช่างพูด ช่างคุยในวัยเด็ก รวมทั้งชอบที่จะไปนั่งแหกปากตะโกนปาวๆ อยู่ข้างๆ สนามฟุตบอลเวลาผู้ใหญ่ รุ่นพี่เขาเล่นบอลกัน ซึ่งพอโตขึ้นมาเพียงแค่ระดับชั้นมัธยม ความพูดน้อยลง(มากๆ) ประกอบกับนิสัยขี้อายที่เพิ่มมากขึ้นมาเรื่อยๆ ความอยากที่ว่าก็ค่อยๆ จางหายไปจนถูกลืม
ครั้น ณ เวลาปัจจุบัน เวลาที่คิดถึงเรื่องนี้ขึ้นมาผมว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดแล้วครับ หลังจากที่ได้มีโอกาสเข้าไปจัดรายการวิทยุแล้วได้ยินน้ำเสียงที่เหน่อๆ ของตนเองออกอากาศ
ไพเราะมากๆ ถึงขนาดที่ตัวผมเองไม่กล้าที่จะฟังนั่นแหละครับ...(555)
ในบรรดานักพากย์ทั้งในส่วนของหนัง การ์ตูน ซีรีส์ ที่เป็นที่คุ้นหูกันดีในปัจจุบันของบ้านเรา หลักๆ ถ้าเป็นหนังไทยเก่าๆ พระเอกก็ต้องเป็นอารอง เค้ามูลคดี, คุณปิยะ ชำนาญกิจ, ถ้าเป็นการ์ตูนก็ต้องเป็นของ "น้าต๋อย แซมเบ้" หรือถ้าเป็นหนังจีน - หนังฮ่องกง ก็ต้องเป็นหน้าที่ของทีมพากย์ "พันธมิตร" ของพี่โต๊ะ ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ ที่โด่งดังตีคู่มาพร้อมๆ กับทีมพากย์ "อีนทรี" ของคุณอภิชาติ อินทร ซึ่งแต่ก่อนประจำอยู่ที่ช่อง 3 หรือจะเป็นคุณรังสรรค์ ศรีสรากร ที่ใครหลายคนคงจะคุ้นหูกันดีกับเสียงของ "โจว เหวิน ฟะ" ใน "โหด เลว ดี" ภาค 1
เท่าที่มีโอกาสได้ทำงานสัมภาษณ์กับคนที่ทำอาชีพนี้ บทสรุปที่ได้นอกเหนือไปจากความเหมือนกับอาชีพอื่นๆ ที่มีแค่ความชอบหรือใจรักอย่างเดียวไม่พอหากแต่ต้องมีความเพียรพยายาม มีการฝึกฝนปรับปรุงและค้นหาเอกลักษณ์ที่เหมาะกับตัวของตัวเองแล้ว สิ่งที่คนขายเสียงเหล่านี้ยังจะต้องแบกรับไว้อีกก็คือความรู้สึกดูแคลนอย่างไม่ตั้งใจจากคนบางกลุ่มที่ไม่ค่อยถูกรสนิยมจากกับคำว่า "พากย์ไทย" สักเท่าไหร่
โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นภาพยนตร์
"การพากย์หนังแต่ก่อนจะพากย์เล่นสนุกอย่างเดียว กลุ่มคนที่ดูก็จะเป็นคนที่มุ่งหาความบันเทิงอย่างเดียว มุกตลกไม่ต้องคิดมากถึงเวลาเล่น ยำกันอย่างเดียว หนังเศร้าก็เล่นกันให้มันสนุก ด้วยเหตุนี้คนกลุ่มนึงที่เขาเป็นนักศึกษาเขาจะแอนตี้หนังพากย์ไทยเขาถือว่าทำลายหนัง ทำให้หนังเลอะเทอะ"
"แต่พอผมเข้ามาทำ โรงอีจีวี โรงเมเจอร์เกิดขึ้น คนดูหนังจะเป็นกลุ่มคนที่อีกระดับหนึ่งขึ้นมา เราก็คิดกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้คนกลุ่มนี้ไม่รังเกียจเรา เราก็จะเล่นมุกไม่เลอะเทอะ แต่พอออกตามโรงต่างจังหวัดเขาบอกว่ามันจืดสนิท ไม่ตลกเลย ตรงนี้เป็นปัญหามาก เราต้องคิดมากขึ้น"...ผมเคยไปสัมภาษณ์กับพี่โต๊ะเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว
อย่างที่เข้าใจกันถึงข้อดีของหนังพากย์ก็คือความสะดวกสำหรับคนดู(หนัง)กลุ่มใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งตามต่างจังหวัดซึ่งไม่มีความสุขนักในการที่จะต้องมานั่งอ่านซับไตเติ้ล(ไทย) แต่ในขณะเดียวกันคงจะต้องยอมรับว่าข้อเสียของมันก็มีเยอะอยู่เช่นกัน
มิใช่เพียงการพากย์เลยเถิดเลอะเทอะไปจากของเดิม หากแต่ยังรวมถึงเรื่อง ของ "บรรยากาศ" และ "อารมณ์" ของหนังที่แท้จริงซึ่งจำเป็นจะต้องฟังจากตัวหนัง และน้ำเสียงของตัวละครตัวนั้นๆ
นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า การดูหนัง ชมซีรีส์ที่พากย์บ่อยๆ "จิตนาการ" บางอย่างของเรามันได้ถูกบีบให้แคบลงอย่างไม่รู้ตัวจากความคุ้นเคยของเสียงพากย์ที่ไม่ต้องเห็นหน้าก็ตอบได้ทันทีว่านี่พระเอก นี่นางเอก เสียงนี้ตัวโกง
แน่นอนครับว่าเป็นไปไม่ได้เลยและไม่สมควรจะเป็นอย่างยิ่งกับการที่จะมีแต่หนัง - ซีรี่ส์ ที่ไม่มีการพากย์ เพราะฉะนั้นเรื่องคุณภาพของการพากย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการสร้างความ "น่าเชื่อถือ" และให้คนดู "เข้าถึง" อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครนั้นๆ อย่างที่หนังตั้งใจให้เป็น
ในส่วนที่เป็นภาพยนตร์ แม้จะมีอยู่ช่วงหนึ่งของบ้านเราที่ดูแล้วไม่ค่อยจะเข้าท่าสักเท่าไหร่กับอาการเห่อตามเมืองนอกด้วยการดึงเอาดารา คนดังมาพากย์แอนิเมชั่นโดยส่วนใหญ่หลายๆ คนไม่ได้ถูกพิจารณาถึงความ "เหมาะสม" แต่ถึงตอนนี้ผมว่าหนังพากย์ไทยตามโรง หรือจะเป็นหนังแผ่นเองค่อนข้างจะลงตัวดีแล้ว, ช่อง 3 เองในส่วนของหนังจีนชุด - ซีรีส์ต่างๆ ก็ดูสนุก มีชื่อเสียงเก่าๆ มาการันตีเช่นเดียวกับทีมพากย์การ์ตูนของโมเดิร์นไนน์ ทีวี หรือแม้กระทั่งทีมพากย์ของไอทีวีเอง
ที่น่าจะเอาใจใส่สักนิด ก็คือทีมพากย์ซีรีส์ของช่อง 7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหญ่มือโปรอย่างคุณ "ดวงดาว จารุจินดา"
เรื่องของลีลา จังหวะ อารมณ์ น้ำเสียง เหล่านี้ผมไม่ปฏิเสธถึงความเป็นมืออาชีพครับ แต่ที่ผมรู้สึกก็คือ โดย "เนื้อเสียง" ที่แท้จริงของคุณดวงดาวในวัยนี้มันไม่ค่อยจะเข้าเอาเสียเลยกับหน้าตาของตัวละครนางเอกวัย 18 - 23 โดยเฉพาะประเภทแก่นเซี้ยว+ซนนิดๆ ที่คุณดวงดาวรับหน้าที่พากย์หลายต่อหลายเรื่อง
ถึงตอนนี้ต้องยอมรับครับว่าซีรีส์เกาหลี - ญี่ปุ่นช่วงสายๆ วันเสาร์ - อาทิตย์ ของวิกหมอชิตนี้ค่อนข้างจะได้รับความนิยมในระดับสูงไปแล้ว ที่ต้องไม่ลืมก็คือโดยส่วนใหญ่ของผู้ชมที่นั่งเฝ้าหน้าจอดูซีรีส์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแฟนระดับมัธยม - มหาวิทยาลัย, คนที่เพิ่งจะเรียนจบเข้าทำงานปีสองปี มิใช่ลูกค้ากลุ่มเดียวกับแม่บ้าน - แม่ค้าที่จะได้ไม่สนใจกับละครน้ำเน่าของช่อง ประเภทไม่มีความสมจริงสมจังชนิดจับเอาเด็กอายุไม่ถึง 23 มาเล่นเป็นแม่ เป็นป้า เป็นยาย คนอายุรุ่นราวคราวเดียกันได้อย่างหน้าตาเฉย
งานนี้มิใช่ "ผลประโยชน์ทางอ้อม" ในเรื่องของการเปิดโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ๆ ได้มีโอกาสเดินขึ้นมาสู่เส้นทางอาชีพสายนี้(ที่ว่ากันว่าไม่มีเส้นก็อย่าหวัง)เท่านั้น...
หากแต่เป็นเรื่องของการรักษาผลประโยชน์ - ความพึงพอใจของคนดูซึ่งเป็นสิ่งที่ทางช่องเองต้องให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ มิใช่หรือครับ?