ความจริงทั้งชีวิตของเด็กหรือว่าผู้ใหญ่เองก็คงจะไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากการเป็น "ผ้าขาว" หรอกครับ
เพราะแต่ละคนต่างก็เลือกได้ว่าจะแต่งเติมทาสีหรือระบายวาดภาพอะไรลงไป เพียงแต่งานศิลปะบนผ้าขาวของเด็กๆ ที่ออกมานั้นมักจะถูกมองว่าเป็นงานที่บริสุทธิ์กว่า เนื่องจากทุกสีที่ระบายลงไปส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นสีที่เกิดขึ้นมาจากความรู้สึกใสๆ ไม่มีมายา ใดๆ ไร้อคติเพราะประสบการณ์ของชีวิตยังน้อยเกือบจะทั้งสิ้น แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ที่มักจะยกเอาเหตุผลแวดล้อมต่างๆ มากมายเข้ามาเป็นส่วนผสมในเนื้อสีหรือบีบบังคับให้มือตวัดวาดเส้นสายลวดลายมากกว่าคำสั่งที่ออกมาจากหัวใจอย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้นการปลูกฝังระบบความคิด ความรู้และเหตุผลต่างๆ ในวัยเด็กจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและพอที่จะทำนายถึงอนาคตได้ว่าพวกเขาจะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่วาดรูปเช่นไรลงบนผืนผ้าขาวของตนเอง
วันเสาร์ที่ผ่านมาผมนั่งดูรายการ "เกมทศกัณฐ์เด็ก" เห็นน้องผู้ชายที่แต่งตัวเป็นซูเปอร์แมนเล่นเกมอยู่แล้วก็ต้องรู้สึกตกใจกับภาพที่ออกอากาศในวันดังกล่าว
ภายหลังจากการทายหน้าผิดชวดเงินจำนวน 2 แสนบาท (แต่ก็ได้ไป 1.5 แสน) เด็กชายคนที่ว่าแกไม่เข้าใจว่าทำไมแกถึงได้ตอบผิด และแกเข้าใจว่าเป็นเพราะพิธีกรของรายการอย่างคุณ "ปัญญา นิรันดร์กุล" หลอกให้แกตอบผิด เด็กคนนั้นจึงร้องไห้ โวยวาย และเดินเข้าไปทำท่าทำทางฮึดฮีดใส่คุณปัญญา
ตอนแรกก็นึกว่าจะมีการเตี๊ยมกัน แต่หลังจากเห็นเรื่องเหมือนจะไม่จบกระทั่งทีมงานของรายการต้องออกมาไกล่เกลี่ยพยายามอธิบายให้แกเข้าใจในกฏกติกานั่นเองจึงได้รู้ว่า อ้าว...นี่มันของจริงนี่นา
อาจจะดูเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ
มองกันแบบเฉพาะส่วน ผมว่าตัวรายการของคุณปัญญาเองมีส่วนสำคัญอยู่เหมือนกันที่ทำให้เด็กชายคนที่ว่าแกแสดงอาการเช่นนั้นออกมา เพราะที่ผ่านมาโดยส่วนตัวผมรู้สึกว่ารายการนี้ค่อนข้างจะพยายามเอาใจ ให้กำลังใจ ด้วยการให้ประสบการณ์กับเด็กๆ ในรูปแบบของการตั้งเงื่อนไขเป็นตัวรางวัลผ่านการช่วยเหลือต่างๆ ต่างๆ ชนิดที่ว่าบางครั้งเด็กเองก็แทบไม่จำเป็นจะต้องรู้หรอกว่า คำถามมันคืออะไร? คำตอบที่ถูกคืออะไร? สาระสำคัญมันคืออะไร?
หลายคนเข้าใจว่าตอบอย่างไร จะตอบว่าบนหรือล่าง ก็ต้องได้รับคำตอบออกมาจากพิธีกรว่าถูกต้องแล้วคร้าบ...แล้วก็รับเงินรางวัลหลักพันหลักหมื่นกลับบ้าน
เมื่อมองไปถึงการเลี้ยงดูของผู้ได้ชื่อว่าเป็นพ่อแม่คนสมัยนี้ ผมว่ามีไม่น้อยทีเดียวที่ใช้หลักการเดียวกันกับรูปแบบในรายการที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของเด็กๆ ออกมาในลักษณะของการต้องเป็นคนที่ "ผิดไม่ได้ - แพ้ไม่เป็น" ผ่านการเลี้ยงดูที่ใช้ลักษณะของการโอ๋การปลอบโดยไร้เหตุผลและการอธิบายที่มิต้องไปพูดถึงเรื่องของการลงโทษกรณีที่เด็กเกิดทำความผิดขึ้นมา
ในอนาคตโอกาสที่เด็กเหล่านี้จะกลายเป็นเด็กที่ค่อนข้างจะเอาแต่ใจตนเองอย่างปราศจากเหตุผลย่อมจะมีอยู่สูงทีเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งเพราะทั้งหมดล้วนแล้วมาแต่ความรักของผู้เป็นพ่อแม่เองที่มีความต้องการให้ลูกมีชีวิตที่สุขสบาย ไม่อยากให้ลำบาก โดยหารู้ไม่ว่าการให้ความสบาย การตามใจ หรือการโอ๋ โดยปราศจากบทเรียนของความผิดหรือการลงโทษใดๆ เลยเหล่านี้คือสิ่งที่ค่อนข้างจะอันตรายเป็นอย่างยิ่งต่ออนาคตของบุตรหลานของตนเอง
อย่าลืมว่า ความล้มเหลว ความผิดพลาด การเรียนรู้ที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ แม้จะต้องเสียใจหรือเจ็บปวด หรือทำให้เด็กๆ อาจจะต้องเสียหน้า ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่จะกลายเป็นวัคซีนสร้างความแข็งแกร่งกับการใช้ชีวิตให้กับพวกเขาได้ในอนาคต
...
ด้วยสังคมที่ต้องดิ้นรนกันแข่งขันทำมาหากินอย่างเร่งรีบ มองถึงเรื่องความสุขสบายซึ่งต้องมาจากเงินตรา การทำอะไรต้องมองถึงเรื่องของการได้มาซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศคำสรรเสริญเยินยออย่างในภาวะปัจจุบันเช่นนี้ ส่งผลให้มีเด็กอีกจำนวนไม่น้อยทีเดียวครับที่เกิดขึ้นมาโดยแทบไม่ได้สัมผัสเลยว่าไอ้ความรู้สึกหรือระบบความคิดของการ "แบบเด็กๆ" ที่แท้จริงนั้นมันเป็นเช่นไร ด้วยการถูกจำกัดให้ทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่เยาวว์วัย ทั้งเรียนดนตรี เรียนศิลปะ เรียนพิเศษ เรียนภาษาเพิ่มเติม ส่งเข้าประกวดเวทีนั้น ส่งออกรายการช่องนั้นช่องนี้ ฯลฯ
อย่างที่เคยเขียนเรียนไปแล้วว่า ผมค่อนข้างจะตกใจทีเดียวกับคำพูดของเพื่อนที่มีลูกที่บอกว่าเขาต้องเร่งหาเงินจำนวนนับแสนบาทเพื่อเป็นเพียงค่าเล่าเรียนให้กับลูกของตนเองในระดับ "อนุบาล"
แค่ระดับอนุบาลนะครับ ไม่นับต่อชั้นมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัย
การยัดเยียดซึ่งกิจกรรมมากมายก่ายกองอาจจะทำให้เด็กสามารถทำอะไรได้เหมือนกับผู้ใหญ่และนำมาซึ่งคำชมจากคนรอบข้างว่านี่แหละ "อัจฉริยะ" แต่มันจะมีประโยชน์อะไรกันล่ะครับถ้ากิจกรรมดังกล่าวทำให้ชีวิตในวัยเด็ก และความสุขที่เกิดจากความคิดจินตนาการอันแสนจะบริสุทธิ์ของพวกเขาซึ่งอาจจะถูกบ้าง ผิดบ้างกระทั่งทำความเดือดร้อนให้เราบ้างต้องมลายหายไป
เคยคิดกันมั้ยว่าเจ้าตัวเล็กต้องการเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ความสุขจากการชื่นชมว่าเป็นอัจฉริยะ แท้ที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่เด็กต้องการ หรือพ่อแม่ของเด็กกันแน่ที่อยากจะได้ยิน
คนที่รวยในขณะที่อายุยังน้อยกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จไปแล้วในปัจจุบัน
ไม่ใช่ว่าจะแนะนำให้สนุกกันจนเพลินไม่ทำอะไรเลยถึงขนาดที่ว่า อยู่ ม. 6 แล้วยังมาวิ่งเล่นซ่อนแอบกับเพื่อนๆ แบบผมเลยครับ เพียงแค่อยากให้ตระหนักกันสักนิดนึงถึงความพร้อม หรือศักยภาพที่แท้จริง ตลอดจนความเหมาะสมทางวัยวุฒิภาวะของพวกเขา มิใช่เอาทุกสิ่งทุกอย่างหรืออ้างหลักประกันความเป็นอยู่ในอนาคตมาเป็นตัวไปกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ขึ้นมา
ยิ่งดูรายการทีวีที่ผู้ผลิตต่างๆ บอกว่าเป็นรายการเพื่อเด็กแล้วต้องบอกว่าค่อนข้างจะน่าผิดหวังครับ เพราะส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่การ์ตูนเพื่อความบันเทิงกันอย่างเดียวแล้ว รายการที่ว่านี้ก็มักจะเป็นเครื่องมือทำมาหากินหรือเวทีของผู้ใหญ่ที่จับเอาเด็กมาแสดง "จำอวด" เฉพาะอย่างยิ่งประเภทส่งเด็กแข่งร้องเพลงออกลักษณะยั่วยวน นุ่งน้อยห่มน้อยเต้นหางเครื่องทำท่าทำทางแหกแข้งยกขา เหมือนกับที่พี่ๆ เขาทำโดยหารู้ไม่ถึงนัยที่แท้จริงซึ่งแอบแฝงอยู่
น้อยนักที่จะมีรายการที่ฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ไปตามระดับปัญญาและประสบการณ์ตามวัยของตนเอง ยิ่งเรื่องที่จะปลูกฝังให้เด็กได้ทำสิ่งที่เรียกกันว่า "ความดี" ด้วยแล้วยิ่งหาได้น้อยมาก
เป็นเรื่องที่ดีที่เราจะฝึกให้เด็กได้มีการกล้าแสดงออก กล้าที่จะคิดที่จะคิดและพูด แต่ผู้ปกครองเองก็น่าจะเข้าใจด้วยว่าการกล้าแสดงออกกับความ "แก่แดด" รวมทั้งการกล้าพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ใหญ่ กับการแสดงความก้าวร้าวอย่างขาดสัมมาคาราวะนั้นมันคนละเรื่องกัน
ประเด็นนี้ถ้านึกไม่ออกก็ให้ดูพนักงานของ อสมท.ที่แสดงโห่ฮาใส่อาจารย์ป๋อง "พงษ์ศักดิ์ พยัฆสิเชียร" ที่กลายเป็นข่าววุ่นวายกันอยู่นั่นก็ได้ครับ นี่แหละพวกไม่มีสัมมาคาราวะของแท้
อย่าตามใจหรืออย่าไปยัดเยียดกิจกรรมที่มันเกินพอดีจนทำให้ลูกหลานของเราต้องโตมาเป็นคนอวดฉลาดมารยาททรามแบบนี้เลยครับ
เพราะแต่ละคนต่างก็เลือกได้ว่าจะแต่งเติมทาสีหรือระบายวาดภาพอะไรลงไป เพียงแต่งานศิลปะบนผ้าขาวของเด็กๆ ที่ออกมานั้นมักจะถูกมองว่าเป็นงานที่บริสุทธิ์กว่า เนื่องจากทุกสีที่ระบายลงไปส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นสีที่เกิดขึ้นมาจากความรู้สึกใสๆ ไม่มีมายา ใดๆ ไร้อคติเพราะประสบการณ์ของชีวิตยังน้อยเกือบจะทั้งสิ้น แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ที่มักจะยกเอาเหตุผลแวดล้อมต่างๆ มากมายเข้ามาเป็นส่วนผสมในเนื้อสีหรือบีบบังคับให้มือตวัดวาดเส้นสายลวดลายมากกว่าคำสั่งที่ออกมาจากหัวใจอย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้นการปลูกฝังระบบความคิด ความรู้และเหตุผลต่างๆ ในวัยเด็กจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและพอที่จะทำนายถึงอนาคตได้ว่าพวกเขาจะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่วาดรูปเช่นไรลงบนผืนผ้าขาวของตนเอง
วันเสาร์ที่ผ่านมาผมนั่งดูรายการ "เกมทศกัณฐ์เด็ก" เห็นน้องผู้ชายที่แต่งตัวเป็นซูเปอร์แมนเล่นเกมอยู่แล้วก็ต้องรู้สึกตกใจกับภาพที่ออกอากาศในวันดังกล่าว
ภายหลังจากการทายหน้าผิดชวดเงินจำนวน 2 แสนบาท (แต่ก็ได้ไป 1.5 แสน) เด็กชายคนที่ว่าแกไม่เข้าใจว่าทำไมแกถึงได้ตอบผิด และแกเข้าใจว่าเป็นเพราะพิธีกรของรายการอย่างคุณ "ปัญญา นิรันดร์กุล" หลอกให้แกตอบผิด เด็กคนนั้นจึงร้องไห้ โวยวาย และเดินเข้าไปทำท่าทำทางฮึดฮีดใส่คุณปัญญา
ตอนแรกก็นึกว่าจะมีการเตี๊ยมกัน แต่หลังจากเห็นเรื่องเหมือนจะไม่จบกระทั่งทีมงานของรายการต้องออกมาไกล่เกลี่ยพยายามอธิบายให้แกเข้าใจในกฏกติกานั่นเองจึงได้รู้ว่า อ้าว...นี่มันของจริงนี่นา
อาจจะดูเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ
มองกันแบบเฉพาะส่วน ผมว่าตัวรายการของคุณปัญญาเองมีส่วนสำคัญอยู่เหมือนกันที่ทำให้เด็กชายคนที่ว่าแกแสดงอาการเช่นนั้นออกมา เพราะที่ผ่านมาโดยส่วนตัวผมรู้สึกว่ารายการนี้ค่อนข้างจะพยายามเอาใจ ให้กำลังใจ ด้วยการให้ประสบการณ์กับเด็กๆ ในรูปแบบของการตั้งเงื่อนไขเป็นตัวรางวัลผ่านการช่วยเหลือต่างๆ ต่างๆ ชนิดที่ว่าบางครั้งเด็กเองก็แทบไม่จำเป็นจะต้องรู้หรอกว่า คำถามมันคืออะไร? คำตอบที่ถูกคืออะไร? สาระสำคัญมันคืออะไร?
หลายคนเข้าใจว่าตอบอย่างไร จะตอบว่าบนหรือล่าง ก็ต้องได้รับคำตอบออกมาจากพิธีกรว่าถูกต้องแล้วคร้าบ...แล้วก็รับเงินรางวัลหลักพันหลักหมื่นกลับบ้าน
เมื่อมองไปถึงการเลี้ยงดูของผู้ได้ชื่อว่าเป็นพ่อแม่คนสมัยนี้ ผมว่ามีไม่น้อยทีเดียวที่ใช้หลักการเดียวกันกับรูปแบบในรายการที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของเด็กๆ ออกมาในลักษณะของการต้องเป็นคนที่ "ผิดไม่ได้ - แพ้ไม่เป็น" ผ่านการเลี้ยงดูที่ใช้ลักษณะของการโอ๋การปลอบโดยไร้เหตุผลและการอธิบายที่มิต้องไปพูดถึงเรื่องของการลงโทษกรณีที่เด็กเกิดทำความผิดขึ้นมา
ในอนาคตโอกาสที่เด็กเหล่านี้จะกลายเป็นเด็กที่ค่อนข้างจะเอาแต่ใจตนเองอย่างปราศจากเหตุผลย่อมจะมีอยู่สูงทีเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งเพราะทั้งหมดล้วนแล้วมาแต่ความรักของผู้เป็นพ่อแม่เองที่มีความต้องการให้ลูกมีชีวิตที่สุขสบาย ไม่อยากให้ลำบาก โดยหารู้ไม่ว่าการให้ความสบาย การตามใจ หรือการโอ๋ โดยปราศจากบทเรียนของความผิดหรือการลงโทษใดๆ เลยเหล่านี้คือสิ่งที่ค่อนข้างจะอันตรายเป็นอย่างยิ่งต่ออนาคตของบุตรหลานของตนเอง
อย่าลืมว่า ความล้มเหลว ความผิดพลาด การเรียนรู้ที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ แม้จะต้องเสียใจหรือเจ็บปวด หรือทำให้เด็กๆ อาจจะต้องเสียหน้า ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่จะกลายเป็นวัคซีนสร้างความแข็งแกร่งกับการใช้ชีวิตให้กับพวกเขาได้ในอนาคต
...
ด้วยสังคมที่ต้องดิ้นรนกันแข่งขันทำมาหากินอย่างเร่งรีบ มองถึงเรื่องความสุขสบายซึ่งต้องมาจากเงินตรา การทำอะไรต้องมองถึงเรื่องของการได้มาซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศคำสรรเสริญเยินยออย่างในภาวะปัจจุบันเช่นนี้ ส่งผลให้มีเด็กอีกจำนวนไม่น้อยทีเดียวครับที่เกิดขึ้นมาโดยแทบไม่ได้สัมผัสเลยว่าไอ้ความรู้สึกหรือระบบความคิดของการ "แบบเด็กๆ" ที่แท้จริงนั้นมันเป็นเช่นไร ด้วยการถูกจำกัดให้ทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่เยาวว์วัย ทั้งเรียนดนตรี เรียนศิลปะ เรียนพิเศษ เรียนภาษาเพิ่มเติม ส่งเข้าประกวดเวทีนั้น ส่งออกรายการช่องนั้นช่องนี้ ฯลฯ
อย่างที่เคยเขียนเรียนไปแล้วว่า ผมค่อนข้างจะตกใจทีเดียวกับคำพูดของเพื่อนที่มีลูกที่บอกว่าเขาต้องเร่งหาเงินจำนวนนับแสนบาทเพื่อเป็นเพียงค่าเล่าเรียนให้กับลูกของตนเองในระดับ "อนุบาล"
แค่ระดับอนุบาลนะครับ ไม่นับต่อชั้นมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัย
การยัดเยียดซึ่งกิจกรรมมากมายก่ายกองอาจจะทำให้เด็กสามารถทำอะไรได้เหมือนกับผู้ใหญ่และนำมาซึ่งคำชมจากคนรอบข้างว่านี่แหละ "อัจฉริยะ" แต่มันจะมีประโยชน์อะไรกันล่ะครับถ้ากิจกรรมดังกล่าวทำให้ชีวิตในวัยเด็ก และความสุขที่เกิดจากความคิดจินตนาการอันแสนจะบริสุทธิ์ของพวกเขาซึ่งอาจจะถูกบ้าง ผิดบ้างกระทั่งทำความเดือดร้อนให้เราบ้างต้องมลายหายไป
เคยคิดกันมั้ยว่าเจ้าตัวเล็กต้องการเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ความสุขจากการชื่นชมว่าเป็นอัจฉริยะ แท้ที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่เด็กต้องการ หรือพ่อแม่ของเด็กกันแน่ที่อยากจะได้ยิน
คนที่รวยในขณะที่อายุยังน้อยกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จไปแล้วในปัจจุบัน
ไม่ใช่ว่าจะแนะนำให้สนุกกันจนเพลินไม่ทำอะไรเลยถึงขนาดที่ว่า อยู่ ม. 6 แล้วยังมาวิ่งเล่นซ่อนแอบกับเพื่อนๆ แบบผมเลยครับ เพียงแค่อยากให้ตระหนักกันสักนิดนึงถึงความพร้อม หรือศักยภาพที่แท้จริง ตลอดจนความเหมาะสมทางวัยวุฒิภาวะของพวกเขา มิใช่เอาทุกสิ่งทุกอย่างหรืออ้างหลักประกันความเป็นอยู่ในอนาคตมาเป็นตัวไปกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ขึ้นมา
ยิ่งดูรายการทีวีที่ผู้ผลิตต่างๆ บอกว่าเป็นรายการเพื่อเด็กแล้วต้องบอกว่าค่อนข้างจะน่าผิดหวังครับ เพราะส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่การ์ตูนเพื่อความบันเทิงกันอย่างเดียวแล้ว รายการที่ว่านี้ก็มักจะเป็นเครื่องมือทำมาหากินหรือเวทีของผู้ใหญ่ที่จับเอาเด็กมาแสดง "จำอวด" เฉพาะอย่างยิ่งประเภทส่งเด็กแข่งร้องเพลงออกลักษณะยั่วยวน นุ่งน้อยห่มน้อยเต้นหางเครื่องทำท่าทำทางแหกแข้งยกขา เหมือนกับที่พี่ๆ เขาทำโดยหารู้ไม่ถึงนัยที่แท้จริงซึ่งแอบแฝงอยู่
น้อยนักที่จะมีรายการที่ฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ไปตามระดับปัญญาและประสบการณ์ตามวัยของตนเอง ยิ่งเรื่องที่จะปลูกฝังให้เด็กได้ทำสิ่งที่เรียกกันว่า "ความดี" ด้วยแล้วยิ่งหาได้น้อยมาก
เป็นเรื่องที่ดีที่เราจะฝึกให้เด็กได้มีการกล้าแสดงออก กล้าที่จะคิดที่จะคิดและพูด แต่ผู้ปกครองเองก็น่าจะเข้าใจด้วยว่าการกล้าแสดงออกกับความ "แก่แดด" รวมทั้งการกล้าพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ใหญ่ กับการแสดงความก้าวร้าวอย่างขาดสัมมาคาราวะนั้นมันคนละเรื่องกัน
ประเด็นนี้ถ้านึกไม่ออกก็ให้ดูพนักงานของ อสมท.ที่แสดงโห่ฮาใส่อาจารย์ป๋อง "พงษ์ศักดิ์ พยัฆสิเชียร" ที่กลายเป็นข่าววุ่นวายกันอยู่นั่นก็ได้ครับ นี่แหละพวกไม่มีสัมมาคาราวะของแท้
อย่าตามใจหรืออย่าไปยัดเยียดกิจกรรมที่มันเกินพอดีจนทำให้ลูกหลานของเราต้องโตมาเป็นคนอวดฉลาดมารยาททรามแบบนี้เลยครับ