เหตุผลที่หยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านครั้งแรก เพราะมันเป็นหนังสือที่คุ้นหูมานาน และพอรู้ว่าจะมาทำเป็นหนังก็เลยต้องหยิบมาดูซักหน่อยว่ามันเจ๋งแค่ไหน
พออ่านไปซักพักก็รู้สึกว่าเป็นหนังสือที่เล่าเรื่องได้สนุกน่าติดตามดีนี่เอง ถึงได้โด่งดังจนถูกหยิบเอามาทำเป็นหนังในที่สุด
ข้อเสียอย่างเดียวก็คือ ความโอเวอร์ของมิแรนดา พริสลีย์ ตัวละครผู้เป็นเจ้านายในท้องเรื่องที่ดูเวอร์จนเกินจริง จนอดคิดไม่ได้ว่าจะมีใครที่ไหนที่จุกจิก เคร่งครัด เอาแต่ใจ เรื่องมาก ไม่แยแสต่อผู้อื่น หรือแม้แต่พยายามจะจำชื่อของผู้ที่สนทนาด้วย จึงรู้สึกว่าการระบายสีให้กับตัวละครตัวนี้มุ่งหวังที่จะสร้างแฟนตาซีของบุคคลที่อีโกจัดจนลืมความสมเหตุสมผลของความเป็นจริงของผู้เขียนที่เรียกร้องความสนใจมากเกินไป
แต่ก็ต้องมาประหลาดใจเมื่อมารู้เอาตอนอ่านไปได้เกือบครึ่งเล่มแล้วว่า เรื่องราวทั้งหมดในเล่ม โดยเฉพาะเจ้านายสุดเฮี้ยบนั้น สร้างมาจากเรื่องจริงแทบทั้งสิ้น
ซึ่งบุคคลที่ตัวผู้เขียนกล่าวถึงในที่นี้ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจาก แอนนา วินทัวร์ บ.ก.นิตยสาร Vouge ฉบับอเมริกานั่นเอง
แอนนา วินทัวร์ อาจจะไม่บุคคลที่ร่ำรวยอะไรนัก นอกจากรายได้เฉลี่ย 1 ล้านเหรียญต่อปีแล้ว เธอถือเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลสูงสุดของวงการแฟชันนับตั้งแต่เธอนั่งบัลลังก์ บรรณาธิการสูงสุดของ Vouge เมื่อปี 1988 และทำให้หนังสือเล่มนั้นขึ้นสู่หนึ่งในผู้ชี้นำเส้นทางแฟชันของโลกนับแต่นั้น
ขณะที่ผู้คนทั่วไปรับรู้ถึงแต่ความสามารถของเธอ งานเขียนเล่มนี้นี่เองที่เปิดโปงชีวิตอีกด้านหนึ่งของเธอ ที่เจ้าตัวอาจจะไม่ยินดีเปิดเผยนัก
The Devil Wears Prada จัดอยู่ในงานเขียนประเภท Chick Lit หรืองานเขียนเกี่ยวกับผู้หญิง โดยผู้หญิง สำหรับผู้หญิง ที่เป็นกระแสมาแรงเมื่อปลายยุค 90 โดยมีหัวหอกคือ Bridget Jones's Diary ของนักเขียนสาวอังกฤษเฮเลน ฟิลด์ดิง ที่ส่งให้ผลงานทั้งสองเรื่องกลายเป็นหนังที่โด่งดังไปเรียบร้อยแล้ว
สำหรับยุคนี้ Chick Lit ที่กลายเป็นตำนานไปแล้วคงจะได้แก่ The Devil Wears Prada ของลอเรน ไวส์เบอร์เกอร์ อดีตเด็กฝึกงานของ Vouge นิตยสารแฟชันสุดดัง ที่ผันตัวมาเป็นนักเขียนครั้งแรกด้วยผลงานชิ้นนี้เมื่อปี 2003
ซึ่งเธอนี่เองที่เป็นอดีตเด็กที่ "รองมือรองเท้า" แอนนา วินทัวร์ จนกลายมาเป็นแรงบัลดาลใจในการสร้าง แอนเดรีย-มิแรนดา ในที่สุด
โดยหนังกล่าวถึง แอนเดรีย แช็ค เด็กจบใหม่ ที่กลับได้งานที่สาวๆ หลายคนใฝ่ฝัน อย่างการเป็นผู้ช่วยให้กับมิแรนดา พรีสท์ลี บรรณาธิการผู้ยิ่งใหญ่ของรันเวย์นิตยสารแฟชันอันสุดดัง ของโลก โดยเธอหารู้ไม่ว่างานที่สุดท้ายจะต้องคอยรองมือรองเท้าเจ้านายผู้ร้ายดังนางมาร ที่คนในวงการต่างเชิดชู จะทำให้ชีวิตของเธอต้องเลวร้ายดังนรกนับแต่นั้น และยังได้เห็นว่าวงการแฟชันไม่ได้สวยหรูอย่างที่มันฉาบไว้แม้แต่น้อย
ลอเรน ไวส์เบอร์เกอร์ ใช้ความคับข้องใจที่มีต่ออดีตนายเก่าด้วยการระบายออกมาในงานเขียน ซึ่งจากการที่อ้างอึงถึงบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงนี้เอง ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของความโด่งดังของมันตั้งแต่นั้นมา
แม้จะออกมาปฏิเสธเสียงแข็งว่าแท้จริงแล้วแรงบันดาลใจดังกล่าวมาจากประสบการณ์ที่เธอและเพื่อนๆ ได้รับมาจากการทำงานในที่ทำงานแรกของพวกเธอ แต่ด้วยจุดคล้ายถึง 7 จุด ใหญ่ๆ ของมิแรนดาและแอนนา ทั้งชอบสวมแว่นกันแดดในสถานที่, มีหุ่นบอบบางขนาด size 0 ด้วยกันทั้งคู่ แต่ที่ยากที่จะมีใครเหมือนคือการมีปัญหาในการจำชื่อลูกน้องไม่ได้ด้วยกันทั้งคู่นั่นเอง
แม้ผู้เขียนจะไม่ยอมรับ แต่คนที่ทำให้เรื่องนี้มันเด่นชัดขึ้นไปอีกก็คือตัวแอนนา วินทัวร์นั่นเอง เมื่อเธอประกาศการเป็นต้นแบบในงานเขียนของอดีตเด็กฝึกงานด้วยการไปปรากฏตัวในการฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์ และยังสวมชุดของปราดาไปออกงานในวันนั้นให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเลย
ตัวหนังได้ผู้กำกับอย่างเดวิด แฟรงเคล ผู้เคยผ่านงานอย่างซีรีส์สุดดังอย่าง Sex and the City มาแล้ว ด้วยความที่พื้นเพเป็นคนนิวยอร์กแท้ๆ จึงทำให้ The Devil มีบรรยากาศและอารมณ์ ในการดำเนินเรื่องเหมือนกับซีรีส์สุดดังเรื่องนั้นอยู่เนืองๆ
ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหลักๆ นั้น แอนเดรียที่มีผมบลอนด์ในหนังสือกลับมีผมสีเข้ม เมื่อถูกรับบทโดยนักแสดงสาวหน้าหวานแอนน์ แฮธาเวย์ ขณะที่ตัวมิแรนดาที่เป็นชาวอังกฤษกลับได้นักแสดงหญิงผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกันอย่างเมอริล สตรีพมาสวมบท แล้วกลับเป็นเอมิลีผู้ช่วยซีเนียร์ในหนังที่ตัวละครมีสำเนียงและหน้าตาแบบอังกฤษอย่างชัดเจนเสียแทน
ในส่วนของการแสดงนั้นเป็นโอกาสอันดีที่แฟนๆ จะได้เห็นเมอริล สตรีพ พลิกบทบาทของเธอเป็นสาวเลือดเย็นอย่างมิแรนดา ที่แม้อาจจะทำให้เธอคว้าออสการ์ตัวที่ 3 ไม่ได้ แต่มีโอกาสสูงที่เธออาจจะทำลายการเข้าชิง 13 ครั้งของเธอเองในปีหน้า
ต้องยอมรับว่า ช่วงหลังนี้ที่มีการนำผลงานวรรณกรรมมาทำเป็นหนังใหญ่หลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งถ้าไม่นับ The Lord of the Rings ทั้ง 3 ภาคที่คว้าทั้งเงินทั้งกล่องจากฉบับจอใหญ่ไปเรียบร้อยแล้ว แทบจะหาหนังที่ประสบความสำเร็จจากการนำงานเขียนมาขึ้นจอใหญ่ให้ถูกใจแฟนๆ หนังสือซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักไม่ได้เลย
ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็ร่วมอยู่ในข่ายนั้นด้วย
แม้ความคาดหวังจะไม่เท่า Harry Potter หรือ Da Vinci Code แต่เรื่องนี้ก็ยังขาดเสน่ห์บางอย่างที่ตัวหนังสือมีให้ เพราะสไตล์การเขียนแบบ Chick Lit ที่จะเน้นการบอกเล่าโดยตัวละครหลักเป็นหลัก ซึ่งตัวหนังไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเล่าด้วยวิธีดังกล่าว ซึ่งทำให้ขาดรายละเอียดของเรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวละครแวดล้อมอื่นๆ ไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่จะทำให้โลกของแอนเดรียและมิแรนดาขาดน้ำหนักในการจูงใจผู้ดูให้อินไปกับเรื่องโดยรวม
และที่สำคัญที่สุดก็คือ ขณะที่ตัวหนังสือมีบทสรุปที่เฉียบคม แต่ตัวหนังกลับเร่งให้ไปถึงจุดดังกล่าวเสียจนดูธรรมดาๆ ไปเสียเฉยๆ
หนังเรื่องนี้จึงอาจจะไม่ใช่อีกเวอร์ชันหนึ่งที่น่าจดจำที่สุดของแฟนๆ The Devil Wears Prada แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยอ่านเวอร์ชันหนังสือ ก็ถือว่าเป็นหนังที่ดูสนุกดูเพลินใช้ได้เลยทีเดียว เพราะด้วยความดีความชอบของหนังสือที่อ่านสนุกอยู่แล้ว มุกต่างๆ ที่นำมาใช้และสอดแทรกลงไปก็ทำให้มันเป็นหนังที่ดูสนุกเรื่องหนึ่ง
ในส่วนตัวภาพยนตร์ได้มีการดัดแปลงรายละเอียดต่างๆ ให้ฉีกออกจากตัวหนังสือไปพอสมควร ดังนั้นกับคนที่ดูหนังมาแล้ว บอกได้เลยว่ายังมีรายละเอียดอื่นๆ รอให้ค้นหาในฉบับ หนังสือกันอีกเพียบ (รวมทั้งความเวอร์ต่างๆ ของมิแรนดา ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องก็มีให้แปลกใจกันอีกมากมาย)
ที่น่าสังเกตก็คือ หนังได้พยายามที่จะใส่อารมณ์ความเป็นมนุษย์มนาผู้มีเลือดเนื้อให้กับมิแรนดา พริสลีย์อยู่บ้าง ซึ่งต่างจากมิแรนดาที่มี "เลือดเนื้อ" จริงๆ ที่เลือดเย็นมากกว่านั้นนัก
นอกจากกับหยิบยกเรื่องจริงที่ผู้อ่านจับต้องได้มาเขียนจนโด่งดังแล้ว เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของ The Devil Wears Prada ก็คือการที่มันเป็นงานเขียนที่ผู้อ่านที่เป็นบรรดาผู้ที่เป็นเบี้ยล่างในสังคมได้ใช้เป็นที่ระบายออกเล็กๆ หลังจากการทำงานที่หนักหน่วงในแต่ละวัน ให้กับผู้ที่อยู่สูงขึ้นไปในที่ทำงานที่บางครั้งมองความสำเร็จในการทำงานเสียจนลืมความต้องการพื้นฐานของผู้ร่วมงานไปหน้าตาเฉย
อาจจะยากที่จะเชื่อได้ว่าจะมีลูกจ้างคนไหนที่เจอสภาพสาหัสสากรรจ์เหมือนที่แอนเดรียต้องเจอ ทั้งการต้องทำงานวันละเกือบ 20 ชั่วโมง(ที่ส่วนใหญ่มีแต่เรื่องไร้สาระ) อดข้าวอดน้ำเพื่อหุ่นสวย แถมยังต้องดูแลการแต่งตัวเพื่อให้เหมาะสมต่อการทำงานอีก แต่ในสภาวะปัจจุบันที่การหางานใหม่ให้ดีเท่าเดิมแทบจะเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ จุดนี้เองจึงถูกใช้เป็นที่กดดันคนหาเช้ากินค่ำผู้ไม่มีทางเลือกต้องจำทนต่อสภาวะที่ตนเผชิญอยู่ โดยไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้จะต้องเจอกับอะไร
อย่างน้อยงานเขียนชิ้นนี้ก็เป็นสิ่งที่บรรดามนุษย์เงินเดือนได้ใช้เป็นที่ระบาย หรือแม้แต่เป็นแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตที่อาจจะดีขึ้นก็เป็นได้
แต่ก่อนเก็บของออกจากออฟฟิศ อย่าลืมทิ้งหนังสือ(หรือดีวีดี) "นางมารสวมปราดา" ให้เจ้านายเก่าสุดเขี้ยวของคุณเอาไว้ดูต่างหน้าก็แล้วกัน
พออ่านไปซักพักก็รู้สึกว่าเป็นหนังสือที่เล่าเรื่องได้สนุกน่าติดตามดีนี่เอง ถึงได้โด่งดังจนถูกหยิบเอามาทำเป็นหนังในที่สุด
ข้อเสียอย่างเดียวก็คือ ความโอเวอร์ของมิแรนดา พริสลีย์ ตัวละครผู้เป็นเจ้านายในท้องเรื่องที่ดูเวอร์จนเกินจริง จนอดคิดไม่ได้ว่าจะมีใครที่ไหนที่จุกจิก เคร่งครัด เอาแต่ใจ เรื่องมาก ไม่แยแสต่อผู้อื่น หรือแม้แต่พยายามจะจำชื่อของผู้ที่สนทนาด้วย จึงรู้สึกว่าการระบายสีให้กับตัวละครตัวนี้มุ่งหวังที่จะสร้างแฟนตาซีของบุคคลที่อีโกจัดจนลืมความสมเหตุสมผลของความเป็นจริงของผู้เขียนที่เรียกร้องความสนใจมากเกินไป
แต่ก็ต้องมาประหลาดใจเมื่อมารู้เอาตอนอ่านไปได้เกือบครึ่งเล่มแล้วว่า เรื่องราวทั้งหมดในเล่ม โดยเฉพาะเจ้านายสุดเฮี้ยบนั้น สร้างมาจากเรื่องจริงแทบทั้งสิ้น
ซึ่งบุคคลที่ตัวผู้เขียนกล่าวถึงในที่นี้ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจาก แอนนา วินทัวร์ บ.ก.นิตยสาร Vouge ฉบับอเมริกานั่นเอง
แอนนา วินทัวร์ อาจจะไม่บุคคลที่ร่ำรวยอะไรนัก นอกจากรายได้เฉลี่ย 1 ล้านเหรียญต่อปีแล้ว เธอถือเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลสูงสุดของวงการแฟชันนับตั้งแต่เธอนั่งบัลลังก์ บรรณาธิการสูงสุดของ Vouge เมื่อปี 1988 และทำให้หนังสือเล่มนั้นขึ้นสู่หนึ่งในผู้ชี้นำเส้นทางแฟชันของโลกนับแต่นั้น
ขณะที่ผู้คนทั่วไปรับรู้ถึงแต่ความสามารถของเธอ งานเขียนเล่มนี้นี่เองที่เปิดโปงชีวิตอีกด้านหนึ่งของเธอ ที่เจ้าตัวอาจจะไม่ยินดีเปิดเผยนัก
The Devil Wears Prada จัดอยู่ในงานเขียนประเภท Chick Lit หรืองานเขียนเกี่ยวกับผู้หญิง โดยผู้หญิง สำหรับผู้หญิง ที่เป็นกระแสมาแรงเมื่อปลายยุค 90 โดยมีหัวหอกคือ Bridget Jones's Diary ของนักเขียนสาวอังกฤษเฮเลน ฟิลด์ดิง ที่ส่งให้ผลงานทั้งสองเรื่องกลายเป็นหนังที่โด่งดังไปเรียบร้อยแล้ว
สำหรับยุคนี้ Chick Lit ที่กลายเป็นตำนานไปแล้วคงจะได้แก่ The Devil Wears Prada ของลอเรน ไวส์เบอร์เกอร์ อดีตเด็กฝึกงานของ Vouge นิตยสารแฟชันสุดดัง ที่ผันตัวมาเป็นนักเขียนครั้งแรกด้วยผลงานชิ้นนี้เมื่อปี 2003
ซึ่งเธอนี่เองที่เป็นอดีตเด็กที่ "รองมือรองเท้า" แอนนา วินทัวร์ จนกลายมาเป็นแรงบัลดาลใจในการสร้าง แอนเดรีย-มิแรนดา ในที่สุด
โดยหนังกล่าวถึง แอนเดรีย แช็ค เด็กจบใหม่ ที่กลับได้งานที่สาวๆ หลายคนใฝ่ฝัน อย่างการเป็นผู้ช่วยให้กับมิแรนดา พรีสท์ลี บรรณาธิการผู้ยิ่งใหญ่ของรันเวย์นิตยสารแฟชันอันสุดดัง ของโลก โดยเธอหารู้ไม่ว่างานที่สุดท้ายจะต้องคอยรองมือรองเท้าเจ้านายผู้ร้ายดังนางมาร ที่คนในวงการต่างเชิดชู จะทำให้ชีวิตของเธอต้องเลวร้ายดังนรกนับแต่นั้น และยังได้เห็นว่าวงการแฟชันไม่ได้สวยหรูอย่างที่มันฉาบไว้แม้แต่น้อย
ลอเรน ไวส์เบอร์เกอร์ ใช้ความคับข้องใจที่มีต่ออดีตนายเก่าด้วยการระบายออกมาในงานเขียน ซึ่งจากการที่อ้างอึงถึงบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงนี้เอง ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของความโด่งดังของมันตั้งแต่นั้นมา
แม้จะออกมาปฏิเสธเสียงแข็งว่าแท้จริงแล้วแรงบันดาลใจดังกล่าวมาจากประสบการณ์ที่เธอและเพื่อนๆ ได้รับมาจากการทำงานในที่ทำงานแรกของพวกเธอ แต่ด้วยจุดคล้ายถึง 7 จุด ใหญ่ๆ ของมิแรนดาและแอนนา ทั้งชอบสวมแว่นกันแดดในสถานที่, มีหุ่นบอบบางขนาด size 0 ด้วยกันทั้งคู่ แต่ที่ยากที่จะมีใครเหมือนคือการมีปัญหาในการจำชื่อลูกน้องไม่ได้ด้วยกันทั้งคู่นั่นเอง
แม้ผู้เขียนจะไม่ยอมรับ แต่คนที่ทำให้เรื่องนี้มันเด่นชัดขึ้นไปอีกก็คือตัวแอนนา วินทัวร์นั่นเอง เมื่อเธอประกาศการเป็นต้นแบบในงานเขียนของอดีตเด็กฝึกงานด้วยการไปปรากฏตัวในการฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์ และยังสวมชุดของปราดาไปออกงานในวันนั้นให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเลย
ตัวหนังได้ผู้กำกับอย่างเดวิด แฟรงเคล ผู้เคยผ่านงานอย่างซีรีส์สุดดังอย่าง Sex and the City มาแล้ว ด้วยความที่พื้นเพเป็นคนนิวยอร์กแท้ๆ จึงทำให้ The Devil มีบรรยากาศและอารมณ์ ในการดำเนินเรื่องเหมือนกับซีรีส์สุดดังเรื่องนั้นอยู่เนืองๆ
ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหลักๆ นั้น แอนเดรียที่มีผมบลอนด์ในหนังสือกลับมีผมสีเข้ม เมื่อถูกรับบทโดยนักแสดงสาวหน้าหวานแอนน์ แฮธาเวย์ ขณะที่ตัวมิแรนดาที่เป็นชาวอังกฤษกลับได้นักแสดงหญิงผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกันอย่างเมอริล สตรีพมาสวมบท แล้วกลับเป็นเอมิลีผู้ช่วยซีเนียร์ในหนังที่ตัวละครมีสำเนียงและหน้าตาแบบอังกฤษอย่างชัดเจนเสียแทน
ในส่วนของการแสดงนั้นเป็นโอกาสอันดีที่แฟนๆ จะได้เห็นเมอริล สตรีพ พลิกบทบาทของเธอเป็นสาวเลือดเย็นอย่างมิแรนดา ที่แม้อาจจะทำให้เธอคว้าออสการ์ตัวที่ 3 ไม่ได้ แต่มีโอกาสสูงที่เธออาจจะทำลายการเข้าชิง 13 ครั้งของเธอเองในปีหน้า
ต้องยอมรับว่า ช่วงหลังนี้ที่มีการนำผลงานวรรณกรรมมาทำเป็นหนังใหญ่หลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งถ้าไม่นับ The Lord of the Rings ทั้ง 3 ภาคที่คว้าทั้งเงินทั้งกล่องจากฉบับจอใหญ่ไปเรียบร้อยแล้ว แทบจะหาหนังที่ประสบความสำเร็จจากการนำงานเขียนมาขึ้นจอใหญ่ให้ถูกใจแฟนๆ หนังสือซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักไม่ได้เลย
ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็ร่วมอยู่ในข่ายนั้นด้วย
แม้ความคาดหวังจะไม่เท่า Harry Potter หรือ Da Vinci Code แต่เรื่องนี้ก็ยังขาดเสน่ห์บางอย่างที่ตัวหนังสือมีให้ เพราะสไตล์การเขียนแบบ Chick Lit ที่จะเน้นการบอกเล่าโดยตัวละครหลักเป็นหลัก ซึ่งตัวหนังไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเล่าด้วยวิธีดังกล่าว ซึ่งทำให้ขาดรายละเอียดของเรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวละครแวดล้อมอื่นๆ ไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่จะทำให้โลกของแอนเดรียและมิแรนดาขาดน้ำหนักในการจูงใจผู้ดูให้อินไปกับเรื่องโดยรวม
และที่สำคัญที่สุดก็คือ ขณะที่ตัวหนังสือมีบทสรุปที่เฉียบคม แต่ตัวหนังกลับเร่งให้ไปถึงจุดดังกล่าวเสียจนดูธรรมดาๆ ไปเสียเฉยๆ
หนังเรื่องนี้จึงอาจจะไม่ใช่อีกเวอร์ชันหนึ่งที่น่าจดจำที่สุดของแฟนๆ The Devil Wears Prada แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยอ่านเวอร์ชันหนังสือ ก็ถือว่าเป็นหนังที่ดูสนุกดูเพลินใช้ได้เลยทีเดียว เพราะด้วยความดีความชอบของหนังสือที่อ่านสนุกอยู่แล้ว มุกต่างๆ ที่นำมาใช้และสอดแทรกลงไปก็ทำให้มันเป็นหนังที่ดูสนุกเรื่องหนึ่ง
ในส่วนตัวภาพยนตร์ได้มีการดัดแปลงรายละเอียดต่างๆ ให้ฉีกออกจากตัวหนังสือไปพอสมควร ดังนั้นกับคนที่ดูหนังมาแล้ว บอกได้เลยว่ายังมีรายละเอียดอื่นๆ รอให้ค้นหาในฉบับ หนังสือกันอีกเพียบ (รวมทั้งความเวอร์ต่างๆ ของมิแรนดา ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องก็มีให้แปลกใจกันอีกมากมาย)
ที่น่าสังเกตก็คือ หนังได้พยายามที่จะใส่อารมณ์ความเป็นมนุษย์มนาผู้มีเลือดเนื้อให้กับมิแรนดา พริสลีย์อยู่บ้าง ซึ่งต่างจากมิแรนดาที่มี "เลือดเนื้อ" จริงๆ ที่เลือดเย็นมากกว่านั้นนัก
นอกจากกับหยิบยกเรื่องจริงที่ผู้อ่านจับต้องได้มาเขียนจนโด่งดังแล้ว เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของ The Devil Wears Prada ก็คือการที่มันเป็นงานเขียนที่ผู้อ่านที่เป็นบรรดาผู้ที่เป็นเบี้ยล่างในสังคมได้ใช้เป็นที่ระบายออกเล็กๆ หลังจากการทำงานที่หนักหน่วงในแต่ละวัน ให้กับผู้ที่อยู่สูงขึ้นไปในที่ทำงานที่บางครั้งมองความสำเร็จในการทำงานเสียจนลืมความต้องการพื้นฐานของผู้ร่วมงานไปหน้าตาเฉย
อาจจะยากที่จะเชื่อได้ว่าจะมีลูกจ้างคนไหนที่เจอสภาพสาหัสสากรรจ์เหมือนที่แอนเดรียต้องเจอ ทั้งการต้องทำงานวันละเกือบ 20 ชั่วโมง(ที่ส่วนใหญ่มีแต่เรื่องไร้สาระ) อดข้าวอดน้ำเพื่อหุ่นสวย แถมยังต้องดูแลการแต่งตัวเพื่อให้เหมาะสมต่อการทำงานอีก แต่ในสภาวะปัจจุบันที่การหางานใหม่ให้ดีเท่าเดิมแทบจะเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ จุดนี้เองจึงถูกใช้เป็นที่กดดันคนหาเช้ากินค่ำผู้ไม่มีทางเลือกต้องจำทนต่อสภาวะที่ตนเผชิญอยู่ โดยไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้จะต้องเจอกับอะไร
อย่างน้อยงานเขียนชิ้นนี้ก็เป็นสิ่งที่บรรดามนุษย์เงินเดือนได้ใช้เป็นที่ระบาย หรือแม้แต่เป็นแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตที่อาจจะดีขึ้นก็เป็นได้
แต่ก่อนเก็บของออกจากออฟฟิศ อย่าลืมทิ้งหนังสือ(หรือดีวีดี) "นางมารสวมปราดา" ให้เจ้านายเก่าสุดเขี้ยวของคุณเอาไว้ดูต่างหน้าก็แล้วกัน