เมื่อสัญญาในการซื้อขายกิจการระหว่างบริษัท Pixar Animation Studios Inc และ Walt Disney Co เสร็จสิ้นลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คำถามที่หลายคนในวงการหยิบยกขึ้นมาก็คือจะทำอย่างไร เมื่อบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์การ์ตูนยักษ์ใหญ่สองรายต้องมาทำงานภายใต้ชื่อเดียวกัน โดยไม่ก้าวก่ายหน้าที่หรือบทบาทของกันและกัน?

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาพิกซาร์ต่างได้รับคำยกย่องในผลงานการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่สวยงามทั้ง "Toy Story" และ "Finding Nemo" ขณะที่ภาพยนตร์การ์ตูนที่ประสบความสำเร็จของค่ายดิสนีย์ตลอด 10 ปีมานี้แทบจะไม่มีเอาเลย ซึ่งการตัดสินใจซื้อกิจการของพิกซาร์ อาจจะเป็นหนทางที่ช่วยให้วันเวลาเก่าๆ อันรุ่นโรจน์ของค่ายหนังตรามิ๊กกี เมาท์กลับคืนมาก็เป็นได้

"เรื่องของการ์ตูนยุคนี้ต้องยกให้กับพิกซาร์ มันเป็นความสำเร็จเทียบได้กับยุคทองของดิสนีย์เคยทำไว้เลยก็ว่าได้ ผมคิดว่าการรวมตัวกันครั้งนี้เพื่อภารกิจในการชุบชีวิตค่ายยักษ์ใหญ่อย่างดิสนีย์ให้กลับมาโลดแล่นบนเวทีอีกครั้ง ตอนนี้เราได้มาอยู่ในจุดสูงสุดของยุค CG(computer generated) เรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาที่จะหวนกลับไปสู่ผลงานที่ยอดเยี่ยมจากดิสนีย์ เหมือนที่เคยสัมผัสสมัยที่ผมยังเด็กๆ อีกครั้งหนึ่ง" เจอร์รี เบ็ค นักประวัติศาสตร์ทางด้านอุตสาหกรรมแอนิเมชันกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
โดยหน้าที่การกอบกู้ชื่อเสียงของดิสนีย์ครั้งนี้ อยู่ภายใต้การคุมบังเหียนของ "จอห์น ลาสเซตเตอร์" อดีตรองประธานในฝ่ายสร้างสรรค์ของพิกซาร์ ผู้ที่เคยร่วมงานกับทางดิสนีย์ในฐานะนักวาดการ์ตูนของที่นั่น และมีความจงรักภักดีต่อทางดิสนีย์เสมอมา การกลับมาเยือนถิ่นเก่าในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ครั้งนี้ เป็นข้อตกลงที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ในการรวมกิจการครั้งนี้เลยทีเดียว
ทิศทางการเปลี่ยนแปลง
ทอม สแต็กก์ส หัวหน้าฝ่ายการเงินของดิสนีย์กล่าวต่อรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การมาถึงของลาสเซตเตอร์ช่วยให้เกิด "ทุนทางสมอง" ให้แก่ฝ่ายดิสนีย์ เหมือนกับการที่เขาฝากผลงานทั้งในส่วนของเนื้อหาและด้านเทคนิกให้กับหนังของพิกซาร์ทั้ง 6 เรื่องที่ผ่านมา
"จอห์น ลาสเซตเตอร์และเอ็ด แคตมัล จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของพวกเรา มันเป็นส่วนผสมทางเคมีด้านความคิดสร้างสรรค์อันแสนวิเศษที่พวกเรามองหามาตลอดเวลา"
ทั้งสองสตูดิโอจะแยกกันสร้างสรรค์งาน โดยรูปแบบของผลงานที่ออกมาจะต้องมีเนื้อหาที่ฉีกกันออกไป หรือจะต้องมี "ภาพลักษณ์" ที่ไม่เหมือนกัน โดยจะเน้นการทำงานให้ลุล่วงไปทีละโปรเจ็กต์ (project-by-project basis) เป็นที่ตั้ง
สแต็กก์ส ยังกล่าวอีกว่า การ์ตูนแบบใช้มือคนวาดที่เป็นเอกลักษณ์ของดิสนีย์มาอย่างช้านานเป็นสิ่งที่ต้องสืบสานต่อไป
"ทิศทางการการทำงานของเราขึ้นอยู่กับแนวคิดที่ได้รับการอนุมัติแล้วว่าเหมาะสมของทีมฝ่ายสร้างสรรค์"
ผู้สังเกตการณ์แจ้งว่าลาสเซตเตอร์และแคตมัล ซึ่งจะรับตำแหน่งประธานของฝ่าย Disney Feature Animation โดยทั้งคู่กำลังยุ่งอยู่กับงานสานต่องานหลายอย่างในดีสนีย์ ที่หลายชิ้นอยู่ในขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งกำลังจะวางแผนกับโปรเจ็กท์ใหม่อีกด้วย

สำหรับบรรยากาศในดิสนีย์หลังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ สตีฟ ฮูเลตต์ ผู้จัดการทางธุรกิจของบริษัท แอนิเมชัน กิลด์ โลคัล 839 ซึ่งรับหน้าที่เป็นตัวแทนของพนักงานของดิสนีย์ได้กล่าวต่อทางรอยเตอร์ว่า
"บรรยากาศเป็นไปด้วยดีทีเดียว ผมรู้ว่ามันเป็นความรู้สึกที่อธิบายยากของคนหลายๆ คนของที่นี่ที่มีต่อการรวมกิจการครั้งนี้ ตอนแรกผู้คนที่ก็ลิงโลดกันมาก ต่อมาก็มีคำถามจำพวกว่า "แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ,เราจะถูกปลดออกกันไหมเนี้ย" แต่ที่ผมรู้ก็คือการตกลงกันครั้งนี้ ได้ทำให้ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลากว่า 2-3 เดือนที่ผ่านมา ได้คลี่คลายลงเสียที"
นอกจากนี้ผู้สังเกตการณ์ยังกล่าวอีกว่ายังไม่มีแผนใดๆ ที่จะบอกได้ว่าทีมงานซึ่งอยู่ในกรอบแห่งสหภาพของดีสนีย์จะร่วมงานกับทีมของพิกซาร์ ที่มีความเป็นเอกเทศและมีอิสระในการทำงานมากกว่าได้อย่างไร แต่เป็นที่แน่นอนว่า แนวคิดใหม่ๆ ที่เกิดจากมันสมองของลาสเซตเตอร์และแคตมัลจะนำวิธีการที่เป็นวัฒนธรรมในการทำงานของพิกซาร์มาสู่ดิสนีย์อย่างแน่นอน
วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นแบบฉบับของพิกซาร์ก็คือการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนขนาดสั้น เพราะผลงานเหล่านี้ของค่ายพิกซาร์ต่างเดินหน้าคว้ารางวัลทางด้านแอนิเมชันอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งผลงานอย่าง Luxo Jr, ผลงานการ์ตูน 3D ขนาดสั้นเรื่องแรกของลาสเซตเตอร์นั่นเอง
ด้วยความใส่ใจในการเล่าเรื่องของผลงาน และในฐานะเป็นผู้เปิด "ไฟเขียว" ให้แก่โปรเจ็กต์ต่างๆ ของลาสเซตเตอร์ หน้าที่ในปัจจุบันของเขาในดีสนีย์ทุกวันนี้จึงได้แก่การนำผลงานบางเรื่องมาสานต่อ รวมทั้งยุติการสร้างผลงานบางชิ้นที่ไม่ดีพอ ตลอดจนยกเลิกการแนวคิดด้านการทำการ์ตูนภาคต่อแบบลวกๆ เพื่อขายแบบดีวีดีอีกด้วย
"ทันทีที่เขาขึ้นมาเป็นผู้นำของฝ่ายบริหาร คุณไม่มีทางได้เห็นการนำผลงานคลาสสิกของดิสนีย์มาทำภาคต่อแบบลวกๆ เหมือนที่แล้วมาได้หรอก" รามิน ซาเฮด บรรณาธิการนิตยสารแอนิเมชั่นกล่าว
ที่มาของการร่วมมือ
หลังจากที่มีความสัมพันธ์แบบผู้สร้าง(พิกซาร์)และผู้จัดจำหน่าย(ดิสนีย์)มาหลายปี ข้อตกลงในการร่วมกิจการครั้งนี้ได้เกิดขึ้นก่อนที่สัญญาในการเป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายจะหมดลงแค่ 1 เดือนเท่านั้นเอง

โดยความสัมพันธ์อันยาวนานของสองบริษัทดังกล่าว เริ่มต้นเมื่อดิสนีย์ยินดีที่จะช่วยเหลือด้านการเงินแก่พิกซาร์ในการผลิตการ์ตูน 3D เรื่องยาวเรื่องแรกอย่าง Toy Story ในปี 1991 จนถูกนำมาฉายได้จริงเมื่อปี 1995 ปีเดียวกับที่พิกซาร์ได้เป็นบริษัทมหาชน
ความสัมพันธ์ของสองบริษัทได้ก่อให้เกิดการ์ตูน 3D เรื่องเยี่ยมถึง 7 เรื่อง โดยผลงานชิ้นสุดท้ายที่สองบริษัทร่วมสร้างได้แก่ Cars ที่จะเปิดฉายในสหรัฐวันที่ 9 มิ.ย.ที่จะถึงนี้
โดยการพูดคุยเรื่องการต่อสัญญาเคยมีขึ้นแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน แต่การตกลงก็เป็นไปอย่างตะกุกตะกัก เนื่องด้วยปัญหาส่วนตัวที่ไม่ลงรอยกันระหว่างเจ้าของกิจการของพิกซาร์อย่างนายสตีฟ จ็อบ เจ้าพ่อแอ๊ปเปิล และนายไมเคิล ไอส์เนอร์ ซีอีโอคนเก่าของดิสนีย์ แต่ทันทีที่นายโรเบิร์ต ไอเกอร์มารับตำแหน่งดังกล่าวต่อจากทางไอส์เนอร์เมื่อปีที่แล้ว การเจรจาก็เดินหน้าไปด้วยดีนับแต่นั้น
จากการเจรจาดังกล่าว นำไปสู่การอภิปรายถึงผลการวิจัยที่ออกมาว่า บรรดาแม่ๆ และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ต่างก็ให้ความสนใจต่อผลงานของพิกซาร์มากกว่าดิสนีย์แล้วไอเกอร์ ซึ่งเคยกล่าวต่อผู้วิจัยเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมาว่า เหตุผลที่เขาเร่งให้ดิสนีย์ซื้อกิจการของพิกซาร์ นั้นเป็นผลมาจากตอนที่เขาไปร่วมเปิดฮ่องกงดิสนีย์แลนด์เมื่อเดือนก.ย.ปีที่แล้วนั่นเอง
"วันที่ผมได้ร่วมในงานเปิดตัวฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ ซึ่งผมกำลังยืนมองขบวนพาเหรดร่วมกับผู้คนอีกหลายพันคน และหลังจากที่ขบวนเคลื่อนตัวไปได้ซักพัก ผมก็สำนึกได้ว่ามันไม่มีตัวละครของดิสนีย์ในช่วง 10 ปีนี้อยู่ในนั้นเลย จะมีก็แต่ของพิกซาร์อย่างเดียว"
"สิ่งนั้นมันกระทบใจผมเต็มๆ เลย ว่าในช่วง 10 ปีมานี้เราได้ละเลยกับธุรกิจที่คอยหล่อเลี้ยงเราประดุจมารดาไปมากมายเพียงใด"
ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาพิกซาร์ต่างได้รับคำยกย่องในผลงานการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่สวยงามทั้ง "Toy Story" และ "Finding Nemo" ขณะที่ภาพยนตร์การ์ตูนที่ประสบความสำเร็จของค่ายดิสนีย์ตลอด 10 ปีมานี้แทบจะไม่มีเอาเลย ซึ่งการตัดสินใจซื้อกิจการของพิกซาร์ อาจจะเป็นหนทางที่ช่วยให้วันเวลาเก่าๆ อันรุ่นโรจน์ของค่ายหนังตรามิ๊กกี เมาท์กลับคืนมาก็เป็นได้
"เรื่องของการ์ตูนยุคนี้ต้องยกให้กับพิกซาร์ มันเป็นความสำเร็จเทียบได้กับยุคทองของดิสนีย์เคยทำไว้เลยก็ว่าได้ ผมคิดว่าการรวมตัวกันครั้งนี้เพื่อภารกิจในการชุบชีวิตค่ายยักษ์ใหญ่อย่างดิสนีย์ให้กลับมาโลดแล่นบนเวทีอีกครั้ง ตอนนี้เราได้มาอยู่ในจุดสูงสุดของยุค CG(computer generated) เรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาที่จะหวนกลับไปสู่ผลงานที่ยอดเยี่ยมจากดิสนีย์ เหมือนที่เคยสัมผัสสมัยที่ผมยังเด็กๆ อีกครั้งหนึ่ง" เจอร์รี เบ็ค นักประวัติศาสตร์ทางด้านอุตสาหกรรมแอนิเมชันกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
โดยหน้าที่การกอบกู้ชื่อเสียงของดิสนีย์ครั้งนี้ อยู่ภายใต้การคุมบังเหียนของ "จอห์น ลาสเซตเตอร์" อดีตรองประธานในฝ่ายสร้างสรรค์ของพิกซาร์ ผู้ที่เคยร่วมงานกับทางดิสนีย์ในฐานะนักวาดการ์ตูนของที่นั่น และมีความจงรักภักดีต่อทางดิสนีย์เสมอมา การกลับมาเยือนถิ่นเก่าในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ครั้งนี้ เป็นข้อตกลงที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ในการรวมกิจการครั้งนี้เลยทีเดียว
ทิศทางการเปลี่ยนแปลง
ทอม สแต็กก์ส หัวหน้าฝ่ายการเงินของดิสนีย์กล่าวต่อรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การมาถึงของลาสเซตเตอร์ช่วยให้เกิด "ทุนทางสมอง" ให้แก่ฝ่ายดิสนีย์ เหมือนกับการที่เขาฝากผลงานทั้งในส่วนของเนื้อหาและด้านเทคนิกให้กับหนังของพิกซาร์ทั้ง 6 เรื่องที่ผ่านมา
"จอห์น ลาสเซตเตอร์และเอ็ด แคตมัล จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของพวกเรา มันเป็นส่วนผสมทางเคมีด้านความคิดสร้างสรรค์อันแสนวิเศษที่พวกเรามองหามาตลอดเวลา"
ทั้งสองสตูดิโอจะแยกกันสร้างสรรค์งาน โดยรูปแบบของผลงานที่ออกมาจะต้องมีเนื้อหาที่ฉีกกันออกไป หรือจะต้องมี "ภาพลักษณ์" ที่ไม่เหมือนกัน โดยจะเน้นการทำงานให้ลุล่วงไปทีละโปรเจ็กต์ (project-by-project basis) เป็นที่ตั้ง
สแต็กก์ส ยังกล่าวอีกว่า การ์ตูนแบบใช้มือคนวาดที่เป็นเอกลักษณ์ของดิสนีย์มาอย่างช้านานเป็นสิ่งที่ต้องสืบสานต่อไป
"ทิศทางการการทำงานของเราขึ้นอยู่กับแนวคิดที่ได้รับการอนุมัติแล้วว่าเหมาะสมของทีมฝ่ายสร้างสรรค์"
ผู้สังเกตการณ์แจ้งว่าลาสเซตเตอร์และแคตมัล ซึ่งจะรับตำแหน่งประธานของฝ่าย Disney Feature Animation โดยทั้งคู่กำลังยุ่งอยู่กับงานสานต่องานหลายอย่างในดีสนีย์ ที่หลายชิ้นอยู่ในขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งกำลังจะวางแผนกับโปรเจ็กท์ใหม่อีกด้วย
สำหรับบรรยากาศในดิสนีย์หลังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ สตีฟ ฮูเลตต์ ผู้จัดการทางธุรกิจของบริษัท แอนิเมชัน กิลด์ โลคัล 839 ซึ่งรับหน้าที่เป็นตัวแทนของพนักงานของดิสนีย์ได้กล่าวต่อทางรอยเตอร์ว่า
"บรรยากาศเป็นไปด้วยดีทีเดียว ผมรู้ว่ามันเป็นความรู้สึกที่อธิบายยากของคนหลายๆ คนของที่นี่ที่มีต่อการรวมกิจการครั้งนี้ ตอนแรกผู้คนที่ก็ลิงโลดกันมาก ต่อมาก็มีคำถามจำพวกว่า "แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ,เราจะถูกปลดออกกันไหมเนี้ย" แต่ที่ผมรู้ก็คือการตกลงกันครั้งนี้ ได้ทำให้ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลากว่า 2-3 เดือนที่ผ่านมา ได้คลี่คลายลงเสียที"
นอกจากนี้ผู้สังเกตการณ์ยังกล่าวอีกว่ายังไม่มีแผนใดๆ ที่จะบอกได้ว่าทีมงานซึ่งอยู่ในกรอบแห่งสหภาพของดีสนีย์จะร่วมงานกับทีมของพิกซาร์ ที่มีความเป็นเอกเทศและมีอิสระในการทำงานมากกว่าได้อย่างไร แต่เป็นที่แน่นอนว่า แนวคิดใหม่ๆ ที่เกิดจากมันสมองของลาสเซตเตอร์และแคตมัลจะนำวิธีการที่เป็นวัฒนธรรมในการทำงานของพิกซาร์มาสู่ดิสนีย์อย่างแน่นอน
วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นแบบฉบับของพิกซาร์ก็คือการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนขนาดสั้น เพราะผลงานเหล่านี้ของค่ายพิกซาร์ต่างเดินหน้าคว้ารางวัลทางด้านแอนิเมชันอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งผลงานอย่าง Luxo Jr, ผลงานการ์ตูน 3D ขนาดสั้นเรื่องแรกของลาสเซตเตอร์นั่นเอง
ด้วยความใส่ใจในการเล่าเรื่องของผลงาน และในฐานะเป็นผู้เปิด "ไฟเขียว" ให้แก่โปรเจ็กต์ต่างๆ ของลาสเซตเตอร์ หน้าที่ในปัจจุบันของเขาในดีสนีย์ทุกวันนี้จึงได้แก่การนำผลงานบางเรื่องมาสานต่อ รวมทั้งยุติการสร้างผลงานบางชิ้นที่ไม่ดีพอ ตลอดจนยกเลิกการแนวคิดด้านการทำการ์ตูนภาคต่อแบบลวกๆ เพื่อขายแบบดีวีดีอีกด้วย
"ทันทีที่เขาขึ้นมาเป็นผู้นำของฝ่ายบริหาร คุณไม่มีทางได้เห็นการนำผลงานคลาสสิกของดิสนีย์มาทำภาคต่อแบบลวกๆ เหมือนที่แล้วมาได้หรอก" รามิน ซาเฮด บรรณาธิการนิตยสารแอนิเมชั่นกล่าว
ที่มาของการร่วมมือ
หลังจากที่มีความสัมพันธ์แบบผู้สร้าง(พิกซาร์)และผู้จัดจำหน่าย(ดิสนีย์)มาหลายปี ข้อตกลงในการร่วมกิจการครั้งนี้ได้เกิดขึ้นก่อนที่สัญญาในการเป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายจะหมดลงแค่ 1 เดือนเท่านั้นเอง
โดยความสัมพันธ์อันยาวนานของสองบริษัทดังกล่าว เริ่มต้นเมื่อดิสนีย์ยินดีที่จะช่วยเหลือด้านการเงินแก่พิกซาร์ในการผลิตการ์ตูน 3D เรื่องยาวเรื่องแรกอย่าง Toy Story ในปี 1991 จนถูกนำมาฉายได้จริงเมื่อปี 1995 ปีเดียวกับที่พิกซาร์ได้เป็นบริษัทมหาชน
ความสัมพันธ์ของสองบริษัทได้ก่อให้เกิดการ์ตูน 3D เรื่องเยี่ยมถึง 7 เรื่อง โดยผลงานชิ้นสุดท้ายที่สองบริษัทร่วมสร้างได้แก่ Cars ที่จะเปิดฉายในสหรัฐวันที่ 9 มิ.ย.ที่จะถึงนี้
โดยการพูดคุยเรื่องการต่อสัญญาเคยมีขึ้นแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน แต่การตกลงก็เป็นไปอย่างตะกุกตะกัก เนื่องด้วยปัญหาส่วนตัวที่ไม่ลงรอยกันระหว่างเจ้าของกิจการของพิกซาร์อย่างนายสตีฟ จ็อบ เจ้าพ่อแอ๊ปเปิล และนายไมเคิล ไอส์เนอร์ ซีอีโอคนเก่าของดิสนีย์ แต่ทันทีที่นายโรเบิร์ต ไอเกอร์มารับตำแหน่งดังกล่าวต่อจากทางไอส์เนอร์เมื่อปีที่แล้ว การเจรจาก็เดินหน้าไปด้วยดีนับแต่นั้น
จากการเจรจาดังกล่าว นำไปสู่การอภิปรายถึงผลการวิจัยที่ออกมาว่า บรรดาแม่ๆ และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ต่างก็ให้ความสนใจต่อผลงานของพิกซาร์มากกว่าดิสนีย์แล้วไอเกอร์ ซึ่งเคยกล่าวต่อผู้วิจัยเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมาว่า เหตุผลที่เขาเร่งให้ดิสนีย์ซื้อกิจการของพิกซาร์ นั้นเป็นผลมาจากตอนที่เขาไปร่วมเปิดฮ่องกงดิสนีย์แลนด์เมื่อเดือนก.ย.ปีที่แล้วนั่นเอง
"วันที่ผมได้ร่วมในงานเปิดตัวฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ ซึ่งผมกำลังยืนมองขบวนพาเหรดร่วมกับผู้คนอีกหลายพันคน และหลังจากที่ขบวนเคลื่อนตัวไปได้ซักพัก ผมก็สำนึกได้ว่ามันไม่มีตัวละครของดิสนีย์ในช่วง 10 ปีนี้อยู่ในนั้นเลย จะมีก็แต่ของพิกซาร์อย่างเดียว"
"สิ่งนั้นมันกระทบใจผมเต็มๆ เลย ว่าในช่วง 10 ปีมานี้เราได้ละเลยกับธุรกิจที่คอยหล่อเลี้ยงเราประดุจมารดาไปมากมายเพียงใด"