ได้รางวัล "สตาร์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ด" ในสาขาของรายการสร้างสรรค์สังคมยอดเยี่ยมไปอีกหนึ่งรางวัลสำหรับ "คนค้นฅน" ของบริษัท "ทีวีบูรพา"
เป็นรางวัลที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงและเชื่อว่าหากมีการจัดประกาศผลรางวัลกันอีกในสาขาที่มีความเกี่ยวข้องทำนองนี้ "คนค้นฅน" ก็คงจะกลายเป็นตัวเต็งอีก อย่างไม่ต้องสงสัย
เกือบจะสองปี (1 ปีกับอีก 9 เดือน) ที่รายการนี้ได้ออกอากาศมาต้องยอมรับว่า "คนค้นฅน" ได้สร้างรวมทั้งปลุกกระแสต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยได้มากมาย ทั้งที่เป็นรูปแบบรายการ "สารคดี" ที่ใครต่างก็มักจะเชื่อว่า "ปราบเซียน" แต่ "คนค้นฅน" ก็ทำให้เห็นแล้วว่าเพียงขอให้มีความมุ่งมั่น จริงใจ ที่สำคัญรู้จักที่จะเติมความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอลงไป ข้อจำกัดที่ว่านี่คือรายการสารคดี นี่คือรายการที่ไม่ได้ขายความตลก และนี่คือรายการที่ไม่ได้เอาดาราผู้หญิงแต่งตัวโป๊ๆ มาล่อ ก็ไม่ได้หมายความว่ารายการในทำนองนี้จะไม่มีคนดูอีกต่อไป
หลายๆ ชีวิตที่ "คนค้นฅน" นำเสนอเป็นชีวิตที่หวือหวารวมทั้งเหลือเชื่อยิ่งกว่าละครน้ำเน่า และอีกหลายชีวิตก็มีวิถี มีความเชื่อ มีหลักในการดำเนินตนที่ "คม" เสียยิ่งกว่าที่พระเอกหรือนางเอกในหนังพูดออกมาเสียอีก
ยิ่งดูก็ต้องบอกว่ายิ่งเข้มข้นและมีอะไรให้คิดให้ได้นั่งนึกตรึกตรอง
อย่างตอน "ปู่เย็น...เฒ่าทรนง" เรื่องราวของชายชราวัย 105 ปี ผู้ซึ่งไม่ยอมแพ้สังขารของตนเอง ที่มีเรือลำเล็กๆ ขนาด 1 คูณ 5 เมตร เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานในการลงข่ายหาปลานั้น ดูแล้วรู้สึกที่ประทับใจในวิธีการคิดและอดทึ่งไปกับวิถีการดำรงชีวิตของชายชราคนนี้ไม่ได้
ชีวิตก็เหมือนสะพาน เริ่มต้นแบบไม่มีอะไร ขึ้นไปจนถึงจุดสุดยอด จากนั้นก็ค่อยๆ ลง...แล้วตาย คือสิ่งที่เฒ่าเย็นบอก
เงิน 1 หมื่นบาทคือสิ่งที่ปู่เย็นต้องการ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องยากเพียงแต่แกเอ่ยปากผ่านทางรายการออกมา หากนั่นไม่ใช่สิ่งที่ชายชราคนนี้จะทำอย่างแน่นอน
แม้ชีวิตของแกจะดูราวกับเป็นคนที่เห็นแก่ตัว เพราะมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง หากินไปวันๆ แต่คำพูดที่ถามไถ่ทีมงานด้วยความห่วงใยกลัวว่าจะเหนื่อย กลัวว่าจะไม่มีข้าวกินนั้น มันแสดงให้เห็นถึงน้ำใจที่ยิ่งใหญ่ที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบและความเอื้ออาทรของชายชราคนนี้ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ในสังคมด้วยกันได้เป็นอย่างดี
เห็นความพยายามของปู่เย็นในรายการ "คนค้นฅน" ในการลงข่ายหาปลาไปขายเพื่อเก็บเงินให้ได้หนึ่งหมื่นบาทก่อนที่จะขึ้นไปใช้ชีวิตบนบกแล้วก็อดที่จะมานึกถึงข่าวคราวเรื่องของนักแสดงสาว "อั้ม พัชราภา" ที่ถูกว่าจ้างให้ไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ของสบู่ยี่ห้อหนึ่งด้วยจำนวนเงินที่สูงลิบลิ่วไม่ได้
แม้จะไม่มีการเปิดเผยตัวเลขแต่ว่ากันว่าไม่ต่ำกว่า 7 หลักอย่างแน่นอน
ที่น่าสนใจก็คืองานนี้มีข่าวออกมาว่าสาวอั้มเธอไม่ยอมที่จะถือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเนื่องจากไม่มีการระบุไว้ในสัญญารวมทั้งเรื่องที่ว่าเงินจากค่าจ้างครั้งนี้ก็ได้ได้กลายสภาพเป็นรถยนต์ป้ายแดงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าไปว่าจะมากระแนะกระแหนหรือบอกว่าสาวอั้มเธอผิด เธอเป็นคนไม่ดี เธอเห็นแก่ตัว เธอฟุ่มเฟือย...ไม่ใช่ และไม่มีสิทธิ์ที่จะไปคิดอย่างนั้นแม้แต่น้อยนิด
แน่นอนว่าถ้าเทียบกับระดับชื่อเสียงของนางเอกสาวในการโฆษณาครั้งนี้แล้วก็คงจะต้องบอกว่าเหมาะสมกันอยู่ เพียงแต่ถ้านำเอาเงินจำนวนดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับเนื้องานรวมไปถึงระดับความสามารถที่จะต้องใช้ในการโฆษณาครั้งนี้ผู้เขียนเองคงจะต้องบอกว่าเป็นการจ่ายที่ไม่คุ้มกันสักเท่าไหร่
ถึงขนาดพาลให้คิดว่าระหว่างเอเยนซี่ที่ดึงเอาสาวอั้มมาโฆษณาด้วยค่าตัวแพงๆ โดยหวังอาศัยความดังสร้างชื่อและยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์ กับคนที่คิดจะใช้ผลิตภัณฑ์นี้เพราะได้รับอิทธิพลมาจากสาวอั้มนั้น ใครกันแน่ที่มีสภาพเป็นเหยื่อ?
การได้มาซึ่งหนึ่งหมื่นบาทของปู่เย็นกับการได้มาซึ่งเงินล้าน(ที่แม้แต่จำนวนที่แน่นอนก็ยังไม่กล้าจะเปิดเผย)ของสาวอั้ม ใครที่น่าจะภาคภูมิใจ? และใครที่เราสมควรจะยกย่องมากกว่ากัน?
คำว่า "ชื่อเสียง" นี่ก็แปลกนะ ถูกสมมติขึ้นมาแท้ๆ แต่พอจะใช้หรือจะภาคิภูมิใจกับมันทีไรเสียเงินเสียทองทุกที
เป็นรางวัลที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงและเชื่อว่าหากมีการจัดประกาศผลรางวัลกันอีกในสาขาที่มีความเกี่ยวข้องทำนองนี้ "คนค้นฅน" ก็คงจะกลายเป็นตัวเต็งอีก อย่างไม่ต้องสงสัย
เกือบจะสองปี (1 ปีกับอีก 9 เดือน) ที่รายการนี้ได้ออกอากาศมาต้องยอมรับว่า "คนค้นฅน" ได้สร้างรวมทั้งปลุกกระแสต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยได้มากมาย ทั้งที่เป็นรูปแบบรายการ "สารคดี" ที่ใครต่างก็มักจะเชื่อว่า "ปราบเซียน" แต่ "คนค้นฅน" ก็ทำให้เห็นแล้วว่าเพียงขอให้มีความมุ่งมั่น จริงใจ ที่สำคัญรู้จักที่จะเติมความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอลงไป ข้อจำกัดที่ว่านี่คือรายการสารคดี นี่คือรายการที่ไม่ได้ขายความตลก และนี่คือรายการที่ไม่ได้เอาดาราผู้หญิงแต่งตัวโป๊ๆ มาล่อ ก็ไม่ได้หมายความว่ารายการในทำนองนี้จะไม่มีคนดูอีกต่อไป
หลายๆ ชีวิตที่ "คนค้นฅน" นำเสนอเป็นชีวิตที่หวือหวารวมทั้งเหลือเชื่อยิ่งกว่าละครน้ำเน่า และอีกหลายชีวิตก็มีวิถี มีความเชื่อ มีหลักในการดำเนินตนที่ "คม" เสียยิ่งกว่าที่พระเอกหรือนางเอกในหนังพูดออกมาเสียอีก
ยิ่งดูก็ต้องบอกว่ายิ่งเข้มข้นและมีอะไรให้คิดให้ได้นั่งนึกตรึกตรอง
อย่างตอน "ปู่เย็น...เฒ่าทรนง" เรื่องราวของชายชราวัย 105 ปี ผู้ซึ่งไม่ยอมแพ้สังขารของตนเอง ที่มีเรือลำเล็กๆ ขนาด 1 คูณ 5 เมตร เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานในการลงข่ายหาปลานั้น ดูแล้วรู้สึกที่ประทับใจในวิธีการคิดและอดทึ่งไปกับวิถีการดำรงชีวิตของชายชราคนนี้ไม่ได้
ชีวิตก็เหมือนสะพาน เริ่มต้นแบบไม่มีอะไร ขึ้นไปจนถึงจุดสุดยอด จากนั้นก็ค่อยๆ ลง...แล้วตาย คือสิ่งที่เฒ่าเย็นบอก
เงิน 1 หมื่นบาทคือสิ่งที่ปู่เย็นต้องการ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องยากเพียงแต่แกเอ่ยปากผ่านทางรายการออกมา หากนั่นไม่ใช่สิ่งที่ชายชราคนนี้จะทำอย่างแน่นอน
แม้ชีวิตของแกจะดูราวกับเป็นคนที่เห็นแก่ตัว เพราะมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง หากินไปวันๆ แต่คำพูดที่ถามไถ่ทีมงานด้วยความห่วงใยกลัวว่าจะเหนื่อย กลัวว่าจะไม่มีข้าวกินนั้น มันแสดงให้เห็นถึงน้ำใจที่ยิ่งใหญ่ที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบและความเอื้ออาทรของชายชราคนนี้ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ในสังคมด้วยกันได้เป็นอย่างดี
เห็นความพยายามของปู่เย็นในรายการ "คนค้นฅน" ในการลงข่ายหาปลาไปขายเพื่อเก็บเงินให้ได้หนึ่งหมื่นบาทก่อนที่จะขึ้นไปใช้ชีวิตบนบกแล้วก็อดที่จะมานึกถึงข่าวคราวเรื่องของนักแสดงสาว "อั้ม พัชราภา" ที่ถูกว่าจ้างให้ไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ของสบู่ยี่ห้อหนึ่งด้วยจำนวนเงินที่สูงลิบลิ่วไม่ได้
แม้จะไม่มีการเปิดเผยตัวเลขแต่ว่ากันว่าไม่ต่ำกว่า 7 หลักอย่างแน่นอน
ที่น่าสนใจก็คืองานนี้มีข่าวออกมาว่าสาวอั้มเธอไม่ยอมที่จะถือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเนื่องจากไม่มีการระบุไว้ในสัญญารวมทั้งเรื่องที่ว่าเงินจากค่าจ้างครั้งนี้ก็ได้ได้กลายสภาพเป็นรถยนต์ป้ายแดงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าไปว่าจะมากระแนะกระแหนหรือบอกว่าสาวอั้มเธอผิด เธอเป็นคนไม่ดี เธอเห็นแก่ตัว เธอฟุ่มเฟือย...ไม่ใช่ และไม่มีสิทธิ์ที่จะไปคิดอย่างนั้นแม้แต่น้อยนิด
แน่นอนว่าถ้าเทียบกับระดับชื่อเสียงของนางเอกสาวในการโฆษณาครั้งนี้แล้วก็คงจะต้องบอกว่าเหมาะสมกันอยู่ เพียงแต่ถ้านำเอาเงินจำนวนดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับเนื้องานรวมไปถึงระดับความสามารถที่จะต้องใช้ในการโฆษณาครั้งนี้ผู้เขียนเองคงจะต้องบอกว่าเป็นการจ่ายที่ไม่คุ้มกันสักเท่าไหร่
ถึงขนาดพาลให้คิดว่าระหว่างเอเยนซี่ที่ดึงเอาสาวอั้มมาโฆษณาด้วยค่าตัวแพงๆ โดยหวังอาศัยความดังสร้างชื่อและยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์ กับคนที่คิดจะใช้ผลิตภัณฑ์นี้เพราะได้รับอิทธิพลมาจากสาวอั้มนั้น ใครกันแน่ที่มีสภาพเป็นเหยื่อ?
การได้มาซึ่งหนึ่งหมื่นบาทของปู่เย็นกับการได้มาซึ่งเงินล้าน(ที่แม้แต่จำนวนที่แน่นอนก็ยังไม่กล้าจะเปิดเผย)ของสาวอั้ม ใครที่น่าจะภาคภูมิใจ? และใครที่เราสมควรจะยกย่องมากกว่ากัน?
คำว่า "ชื่อเสียง" นี่ก็แปลกนะ ถูกสมมติขึ้นมาแท้ๆ แต่พอจะใช้หรือจะภาคิภูมิใจกับมันทีไรเสียเงินเสียทองทุกที